ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “121 ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับเมืองเชียงใหม่” ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต (ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ประจำปี 2566 ในวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 08.00 - 16.30 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม รับจำนวน 50 คน (นั่งรถราง)
ผู้สนใจสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม (*สิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรม พิจารณาตามลำดับการลงทะเบียน)
เนื่องในเทศกาลคเณศจตุรถีและวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ได้จัดทำของที่ระลึกเป็น Magnet จำนวน 2 Collections ได้แก่ "Our Phimai national museum" รวมภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย 4 versions จากอดีต ถึงปัจจุบัน "Our Collection" ภาพโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑ์ จำหน่ายชิ้นละ 20 บาท ค่าจัดส่งตามจริง เปิดจำหน่ายเฉพาะในช่วงวันพิพิธภัณฑ์ไทย เดือนกันยายนนี้เท่านั้น ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ทั้งนี้ หากสนใจอยากเลือกชมด้วยตัวเอง สามารถไปซื้อได้ที่ "งานมหาคณปติบูชา" ระหว่างวันที่ 16 -19 กันยายน 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รายได้นำเข้าสวัสดิการเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย)
ชื่อเรื่อง ท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้แต่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่ 959.373 ส691ทสถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ 2551ลักษณะวัสดุ 92 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์ แบบเรียน อู่ทอง(สุพรรณบุรี) -- ประวัติศาสตร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก จัดทำโครงการ “พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง” มีเป้าหมายจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่น กำหนดเป็นระยะๆ ตามแนวการพัฒนาหลักสูตร กำหนดกรอบแนวการพัฒนา จัดทำลักษณะหน่วยการเรียนรู้สอดแทรกไว้ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ ในระดับชันประถมศึกษาปีที่ 1 - 6
พัดเปรียญฆราวาส ซึ่งตามประวัติระบุเอาไว้ว่าได้รับจากพระเจริญโภคสมบูรณ์ กรมพระคลังข้างที่ ส่งมอบให้กรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔
มีลักษณะเป็นพัดหน้านาง พื้นพัดทำจากผ้าตาดสีแดง ตรงกลางปักลายด้วยดิ้นทองเป็นกลีบบัว ประดับดิ้นเลื่อมขลิบทองเป็นแนวรัศมีและกระหนกแซม ขอบพัดปักเป็นเส้นคั่นและกระหนกด้ามทำจากไม้คาดกลางทาบตับพัด ตรงกลางทำเป็นปุ่มนูนสองด้าน ยอดพัดเป็นงากลึงรูปหัวเม็ด มีงาแกะสลักลายกระหนกตรงคอพัดรองรับขอบพัดด้านล่าง ปลายเป็นสันงานช้างกลึง นับเป็นพัดพิเศษและมีขนาดเล็กกว่าพัดยศทั่วไป
สันนิษฐานว่าเป็นพัดเปรียญ ๕ ประโยค สำหรับฆราวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ครั้งทรงแปลหนังสือนิบาตชาดกถวาย เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗
พัดเปรียญ เป็นพัดที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระภิกษุ สามเณร สันนิษฐานว่ามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่การแบ่งสีพัดตามลำดับชั้นนั้นเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ สีเขียว หมายถึง พัดเปรียญธรรม ๓ ประโยค สีน้ำเงิน หมายถึง พัดเปรียญธรรม ๔ ประโยค สีแดง หมายถึง พัดเปรียญธรรม ๕ ประโยค และสีเหลือง หมายถึง พัดเปรียญธรรมตั้ง ๖ ประโยคขึ้นไป
นอกจากนี้พัดเปรียญยังพระราชทานแก่ฆราวาสผู้มีความชำนาญในภาษาบาลีสันสกฤตถึงขั้นเปรียญธรรม ทั้งนี้การพระราชทานพัดเปรียญแก่ฆราวาส มีปรากฏด้วยกันถึง ๒ ครั้ง คือ
ครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพัดเปรียญ ๕ ประโยคให้แก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นบัณฑิตทางอรรถคดีธรรมจารีตในพระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ส่วนครั้งที่สองเกิดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพัดเปรียญเป็นเกียรติยศให้แก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ผู้ซึ่งเถรสมาคมยกย่องว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในภาษาบาลีเทียบเท่าเปรียญธรรม ๕ ประโยค
พัดเปรียญสำหรับฆราวาสที่มีขนาดเล็กพิเศษนี้ จึงนับเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่หาชมได้ยากยิ่ง
แหล่งที่มา
๑. ณัฏฐภัทร จันทวิช. ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์. เข้าถึงเมื่อ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖, เข้าถึงได้จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book32.html
๒. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. ตาลปัตร. เข้าถึงเมื่อ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://dictionary.orst.go.th/
๓. พระมหานิรุตตุ์ ฐิตสํวโร. คู่มือสมณศักดิ์ พัดยศ ฉบับสมบูรณ์ (ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. ๒๕๕๒ เพิ่มเติมพัดใหม่ ๕ ตำแหน่ง) (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธงธรรม,๒๕๕๒), ๑๙๐-๑๙๓.
๔. ชินดนัย ไม้เกตุ และหฤษฎ์ แสงไพโรจน์. พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์และประวัติชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธุ์. เข้าถึงเมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖, เข้าถึงได้จาก https://urbanally.org/article/History-of-living-old-building
ชื่อเรื่อง อธิบายเครื่องบูชาและตำนานโต๊ะเครื่องบูชาผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ การวาดเส้น และศิลปะตกแต่งเลขหมู่ 747.8 ด495อสสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งเรื่องธรรมปีที่พิมพ์ 2505ลักษณะวัสดุ 98 หน้า หัวเรื่อง มัณฑศิลป์ เครื่องบูชาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้อธิบายเครื่องบูชา ทั้งอย่างม้าหมู่ และโต๊ะหมู่จีน บูชาพระศรีรัตนตรัยที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 5 - 7 มีนาคม 2567 เริ่มจับจองพื้นที่ ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป บริเวณลานหน้าปราสาท ทิศตะวันออก และพระอาทิตย์จะตกประมาณ 17.55 น.
ทุกท่านสามารถไปร่วมชมแสงสุดท้ายของวัน ณ ปราสาทพนมรุ้ง เทวสถานศาสนาพราหมณ์ฮินดูไศวนิกายที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ค่าบัตรเข้าชม (รับเฉพาะเงินสดเท่านั้น) ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าชมฟรี ติดต่อสอบถามโทร 0 4466 6251 หรือ Inbox facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park
หมายเหตุ : ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ 15 ช่องประตู เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากมีฝนตก หมอก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้
โรมาโน วิเวียนี (Romano Viviani)
ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri)
ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ.2476 (1933)
เทคนิค: สำริด (Bronze)
ขนาด : สูง 27 เซนติเมตร (H.27 cm.)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s02ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri
ชื่อเรื่อง ทำบุญสามแบบและการมองสิ่งทั้งปวงในด้านใน, จิตตานุภาพผู้แต่ง พุทธทาสภิกขุผู้แต่งเพิ่ม หลวงวิจิตรวาทการประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ จริยศาสตร์ จริยธรรม ศีลธรรมเลขหมู่ 179.9 พ334ททสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รวมมิตรไทยปีที่พิมพ์ 2513ลักษณะวัสดุ 186 หน้า หัวเรื่อง ธรรมกับชีวิตประจำวันภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเรื่องทำบุญสามแบบและการมองสิ่งทั้งปวงในด้านในของท่านพุทธทาสภิกขุกับเรื่องจิตตานุภาพของหลวงวิจิตรวาทการ
วันจันทร์ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เข้าร่วมกิจกรรมโครงการปลูกต้นไม้ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๑ จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน ณ บริเวณโบราณสถานเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ชุดข้าราชการ
แบบศิลปะ : รัตนโกสินทร์
ลักษณะ : เสื้อมีลักษณะเป็นเสื้อคอตั้งแขนยาวสีดำ มีเอวปาด และชายด้านหลังยาวคลุมสะโพก คอปกเสื้อเป็นแบบคอตั้งสีแดงปักลายกระหนกติดติดเข็มพระนามาภิไธยย่อ ป.ป.ร. แขนเสื้อมีชายแถบสีแดงปักลายกระหนกหน้าสิงห์ด้วยดิ้นสีทอง บริเวณหน้าอกเสื้อปักลายกระหนกเปลว มีกางเกงสีครีมและกระดุมสีน้ำตาล บริเวณชายกางเกงมีกระดุมทำจากทองแดงดุนลายอุณาโลมกลับด้าน (เลข 6) ภายใต้จุลมงกุฎ และโบว์สีทองมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นโบว์ริบบิ้นสีเหลือง พร้อมตราพระสัญลักษณ์อุณาโลมกลับด้าน (เลข 6) ภายใต้จุลมงกุฎ และรูปลูกกุญแจ
ความสำคัญ : เป็นตัวอย่างชุดข้าราชการพลเรือนในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 – 7 ชุดนี้มีหน้าตาคล้ายคลึงภาพถ่ายของพระยาโบราณราชธานินทร์
ขนาด : ชิ้นที่ 1 ไหล่กว้าง 38 ซม แขนยาว 57 ซม กางเกงยาว 108 ซม
ชนิด : ผ้า โลหะ
อายุ/สมัย : รัชกาลที่ 6 ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25
ประวัติ/ตำนาน : ชุดข้าราชการประกอบด้วย เสื้อ กางเกง และเครื่องราชอิสริยาภรณ์
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=53014
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th