ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
ปีที่พิมพ์ : 2476
หมายเหตุ : พระพิพิธสุนทร พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาวรวิไชยวุฒิกร (เลื่อม สนธิรัตน) ปีระกา พ.ศ. 2476
หนังสือเล่มนี้ พราหมณ์ ป.ส. ศาสตรี ได้แปลมาจากภาษาอังกฤษ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศระหว่างสยามกับนานาประเทศ โดยเฉพาะ ประเทศสยามกับฮอลันดา และปอรตุเกส
จาก พ.ศ. ๒๕๐๕ ถึงปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๖๓ ย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อ ๕๘ ปี แห่งความสูญเสียเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พายุโซนร้อนชื่อ “แฮเรียต” ได้เข้าถล่มภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า ๙๐๐ คน และประชาชนนับหมื่นคนไร้ที่อยู่อาศัย เรื่องราวเกี่ยวกับวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ จากหนังสือ แหลมตะลุมพุกพิลาป โดย คุณครูตรึก พฤกษะศรี ซึ่งเป็นครูที่โรงเรียนปากพนัง เล่าเหตุการณ์มหาวาตภัย ความว่า “เริ่มเกิดพายุโซนร้อน “แฮเรียต” พัดผ่านเข้ามาทางแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ในตอนค่ำของวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาวตำบลบ้านแหลมตะลุมพุก หายไปในทะเลเกือบหมด ดังภาพที่ปรากฏ ผู้คนที่รอดตาย ไปติดอยู่บนต้นไม้บ้าง ขึ้นไปอยู่บนหลังคาบ้าง ส่วนที่ทนกับแรงน้ำ แรงลม ไม่ไหวก็เสียชีวิต หายไปในทะเลบ้าง บ้านพักทับบ้าง ส่วนที่รอดตายบางคนเหลือแต่ร่างกาย เสื้อผ้าหายไปหมด บางคนก็สติฟั่นเฟือน รุ่งเช้าผู้คนที่รอดตาย ก็พยายามช่วยเหลือกัน บ้างก็ร่ำร้อง ผู้ประคองตัวเองได้ ก็ตามหาญาติ อาหารก็ไม่มีกินต้องหามะพร้าวอ่อนกินประทังชีวิตไว้ก่อน ผู้ที่แข็งแรงพอจะเดินได้ ก็พยายามเดินมุ่งหน้าเข้ามาในอำเภอปากพนัง เพื่อแจ้งให้ทางการได้ทราบถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ ชม.เมื่อทางอำเภอได้รับทราบก็ร่วมมือกับพ่อค้า ประชาชนช่วยเหลือถึงแม้ในตัวอำเภอเสียหายเหมือนกันแต่ยังน้อยกว่า “ จากเหตุการณ์ดังกล่าว สอดคล้อง กับเอกสารจดหมายเหตุภาพส่วนบุคคลของ นายโกมล พันธรังษี ที่จัดเก็บเพื่อให้บริการในหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นชุดภาพเหตุการณ์ วาตภัย แฮเรียตถล่มแหลมตะลุมพุกอำเภอปากพนัง ซึ่งมีให้บริการในหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ---------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์---------------------------------------------------
สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ วันนี้เราขอเสนอองค์ความรู้ เรื่อง สัตตภัณฑ์ : พุทธศิลป์ถิ่นล้านนา ค่ะ
สัตตภัณฑ์ เป็นเครื่องสักการะในพระพุทธศาสนาที่งดงามอย่างหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะเป็นเชิงเทียนตั้งอยู่หน้าแท่นแก้ว ใช้เป็นที่ปักเทียนสำหรับบูชาองค์ พระธาตุเจดีย์ หรือพระประธานในพระวิหารหรือพระอุโบสถ์ ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาและมีนัย คติ ความเชื่อต่าง ๆ แฝงอยู่อย่างแยบยลและกลมกลืน นับเป็นงานศิลปกรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์และปรากฏมีอยู่ในวัฒนธรรม ล้านนาเท่านั้น ความงดงามของลวดลายประดับสัตตภัณฑ์ ล้วนมีความโดดเด่นและงดงาม
หากท่านใดสนใจชมความประณีตงดงามของสัตตภัณฑ์ที่จัดแสดงอยู่ สามารถเข้าชมได้ที่ ณ อาคารจัดแสดง ห้องเครื่องสักการะบูชาในพระพุทธศาสนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ค่ะ ทางเรายินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ แล้วพบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ
-------------------------------------
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘
e-mail : cm_museum@hotmail.com
ชื่อเรื่อง เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ. 194/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 55.1 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.80/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
โบราณสถานวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามหรือโบราณสถานร้าง ต.๒๙ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากประตูนะโมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑.๗ กิโลเมตร เดิมนั้นชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดตาเถรขึงหนัง ส่วนชื่อวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามที่เรียกกันในปัจจุบันนั้น มาจากจารึกวัดตาเถรขึงหนังที่มีการพบที่วัดแห่งนี้ เนื้อหาของจารึกได้กล่าวถึงสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาและสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดีราชโอรส (พญาไสลือไท) ได้อาราธนาพระเถระสำคัญองค์หนึ่งนามว่า ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม จากเมืองกำแพงเพชรมาอำนวยการสร้างวัดนี้ในปี พ.ศ. ๑๙๔๓ และต่อมาในปี พ.ศ. ๑๙๔๖ ได้มีการปลูกพระศรีมหาโพธิ์ เนื้อหาของจารึกถูกบันทึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย – ไทยสุโขทัย จารึกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๗ ภายหลังการสร้างวัดแล้วเสร็จ ดังปรากฏข้อความในจารึกดังนี้ “…ศักราช ๗๖๒ นาคนักษัตรปีมะโรง สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา มหาดิลกรัตนราชนาถ-กรรโลง แม่และสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (โอรส) ราชอำนวจน้าวห้าวหาญ นำ พ(ล) รชราคลาธรณีดลสกลกษัตริย์ (หากขึ้นเสวยใน) มหามไหสวริยอัครราช เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ (นครศรีสัชนาลัย) สุโขทัย แกวกลอยผลาญปรปักษ์ศตรูนู พระราชสีมา…เป็นขนอบขอบพระบางเป็นแดน เท่าแสนสอง หนองห้วยและแพร่…สมเด็จแม่ออกท่าน จึงจักให้นิมนต์ตนสมเด็จพระ(มหา) ศรี (กิรติ) เจ้าเหง้าพุทธางกูรดรุณพันลอก ฝูงอริยะ จากสถานสถิระ คือพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้างพระอาวาสอาสน์อันดีมีชื่อศรีพิจิตรกิรติกัลยารามเป็นสนามเจ้ามหาสัปปุรุษทั้งหลาย จักถวายอัญชุลีน้อมตน นมัสการคำนับ อันดับนั้น ศักราช ๗๖๕ ในปีมะแมแปรวันเดือนในเดือนอ้าย ออกใหม่ใส่ไว้ได้แปดค่ำ วันพฤหัสบดีศรีทินพารกาลยามตะวันชายย้ายหกบาทฉายาเสร็จ สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดามหาดิ (ลกรัตนราช) กรรโลง จึงสถิตสถาปนาปลูกพระพฤกษาอธิบดีศรีมหา (โพธิ)…” ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นวัดที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นขอบเขตวัด โดยมีโบราณสถานตั้งอยู่ภายในซึ่ง ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างดังนี้ ๑. เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้างด้านละ ๑๗ เมตร ที่ฐานด้านตะวันออกและตะวันตก ทำเป็นซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง โดยเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกปรากฏร่องรอยการก่อเป็นซุ้มโค้งสูงขึ้นไปคล้ายกรวยแหลม ๒. ฐานวิหารก่ออิฐ ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๓ เมตร อยู่ทางด้านหน้า หรือตะวันออกของเจดีย์ประธาน ๓. ฐานเจดีย์ราย ๔ ฐาน ตั้งเรียงรายอยู่โดยรอบฐานเจดีย์ประธาน ๔. คูน้ำล้อมรอบอาณาเขตวัด มีขนาดของคูกว้างประมาณ ๑๕ เมตร ล้อมรอบพื้นที่วัดที่มีขนาดกว้าง ๔๐ เมตร และยาว ๘๐ เมตร ---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย---------------------------------------------------
เลขทะเบียน : นพ.บ.150/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 92 (404-407) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้เนื่องในวันครบรอบ ๑๑๓ ปี ชาตกาล ศาสตาจารย์นายแพท สุด แสงวิเชียร ผู้บุกเบิกวิชามนุษยวิทยากายภาพในงานโบราณคดีจัดทำข้อมูลโดยนายจุลเกียรติ ไพบูลย์เกษฒ ผู้ช่วยนักโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี-----------------------------------------------เผยแพร่ข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร-----------------------------------------------
บวงสรวงเทพเจ้า,ยันต์และตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๖๑
เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สามัคคี ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.26/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)