ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/3ฆเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


          ส่องสัตว์ฯ ครั้งนี้จะพาไปทำความรู้จัก ‘หงส์’ ซึ่งจัดแสดงอยู่ในห้องศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หงส์ที่จะกล่าวถึงนี้ไม่ใช่สัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่บนโลกนี้จริงๆ แต่เป็นหงส์สำริด จากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ซี่งเป็นโบราณสถานสำคัญที่อยู่คู่เมืองนครศรีธรรมราชมายาวนาน   หงส์สำริดนี้พบที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพบร่วมกับประติมากรรมรูปเคารพสำคัญหลายองค์ ได้แก่ พระศิวนาฏราช พระวิษณุ พระหริหระ พระอุมา และพระคเณศ ซึ่งกรมศิลปากรได้เคลื่อนย้ายไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นมา จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าโบสถ์พราหมณ์สร้างขึ้นราวสมัยอยุธยา โดยมีฐานะเป็นเทวสถานประจำเมืองนครศรีธรรมราช ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมสำคัญของพราหมณ์ ปัจจุบันโบสถ์พราหมณ์ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๐ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๓   ลักษณะของหงส์สำริดนี้เป็นประติมากรรมรูปหงส์ยืน บนหัวมีหงอนยาว ปากคล้ายปากเป็ด มีลวดลายคล้ายเครื่องประดับอยู่บริเวณรอบคอ บนหลังทำช่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่คล้ายเป็นที่บรรจุหรือรองรับวัตถุบางอย่าง กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๓ การพบประติมากรรมรูปหงส์ร่วมกับเทวรูปองค์สำคัญในเทวสถานศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อาจมีความเป็นไปได้ว่าในอดีตมีการใช้หงส์สำริดเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีกรรม   “ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช” ซึ่งตีพิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์คำนำว่าได้รับมาจากเมืองนครศรีธรรมราชนานแล้ว แต่ยังมิได้ตรวจทำคำอธิบาย ภายในเล่มกล่าวถึงการจัดพิธีตรีพวาย-ตรียัมปวายเพื่อบูชาเทวรูปที่เมืองนครในเดือนอ้าย ประกอบด้วย ‘พระนารายณ์เทวรูป พระศรีลักษณมี พระมเหวารีย์ บรมหงษ์ และชิงช้าทองแดง’ อีกทั้งมีข้อความที่กล่าวถึงการแขวน ‘บรมหงษ์’ ไว้กับเสาชิงช้า และ ‘พราหมณ์สี่ตนทำบูชาอ่านหนังสือสถิตย์บรมหงษ์’ สอดคล้องการทำพิธีช้าหงส์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวายของราชสำนักไทยสมัยรัตนโกสินทร์ อันเป็นพระราชพิธีที่มีขึ้นในเดือนยี่ ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เรื่อง “พระราชพิธีสิบสองเดือน”    พิธีช้าหงส์ หรือกล่อมหงส์ เป็นพิธีการส่งเสด็จเทพกลับสู่สวรรค์ก่อนเสร็จสิ้นพระราชพิธีตรีพวาย-ตรียัมปวาย ประกอบด้วยการส่งเสด็จพระอิศวร พระอุมา พระคเณศ พระพรหม และพระนารายณ์ โดยพระมหาราชครูจะอัญเชิญเทวรูปขึ้นบุษบกหงส์ซึ่งแขวนไว้กับเสาคู่คล้ายเสาชิงข้าขนาดย่อม แล้วอ่านเวทบูชาหงส์พร้อมกับพราหมณ์อีก ๒ คน พราหมณ์อีก ๑ คนไกวเปลหงส์เป็นจังหวะสอดคล้องกับการอ่านเวทบูชา หลังจากนั้นจึงอ่านเวทปิดประตูเทวสถานเป็นอันเสร็จพิธีส่งเสด็จ พระราชพิธีตรีพวาย-ตรียัมปวายเป็นพิธีต่อเนื่องที่กระทำเป็นเวลา ๑๕ วัน เนื่องจากมีพิธีกรรมหลายขั้นตอน ยกตัวอย่างเช่น พิธีแห่นางดาน พิธีโล้ชิงช้า พิธีช้าหงส์ ฯลฯ นับว่าเป็นพระราชพิธีโบราณที่ปฏิบัติสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน ส่วนในจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งมีชุมชนพราหมณ์มาแต่เดิมก็ได้นำพิธีโล้ชิงช้ามาถือปฏิบัติด้วย โดยเรียกว่า พิธีแห่นางดาน เพื่อมิให้พ้องกับประเพณีราชสำนัก   นอกจากจะปรากฏบนประติมากรรมดังกล่าวแล้ว หงส์ยังปรากฏในงานศิลปกรรมที่พบในประเทศไทยหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น หงส์บนเสาตุงในศิลปะล้านนาสื่อถึงการนำพาดวงวิญญาณผู้ล่วงลับไปสู่สวรรค์โดยการเกาะตุงหรือธงที่ห้อยลงมาจากหงส์  หงส์ที่ปรากฏร่วมกับสัตว์หิมพานต์ต่างๆ บนลายรดน้ำหรือลายทองในศิลปะอยุธยาและงานจิตรกรรมในศิลปะรัตนโกสินทร์ มักเป็นหงส์ที่แตกต่างจากหงส์ตามธรรมชาติ มีการตกแต่งลวดลายบนตัวด้วยลายไทย แสดงถึงสถานะพิเศษของหงส์ที่มีความสง่างาม สูงส่ง และเป็นมงคล สอดคล้องกับการนำลักษณะของหงส์มาสร้างเป็นเรือพระที่นั่งในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เหมาะสมกับสถานะของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นสมมุติเทพ โดยรากความเชื่อนี้อาจมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่เชื่อว่าหงส์เป็นเทพพาหนะของพระพรหม และเป็นสัตว์ที่สามารถแยกน้ำนมหรือน้ำโสมออกจากน้ำได้ คือแยกสิ่งที่ดีออกจากสิ่งแปลกปนได้    ดังนั้นจึงมิใช่เรื่องแปลกที่ในประเทศไทยจะพบงานศิลปกรรมรูปหงส์เป็นจำนวนมากทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งต่างก็มีมีบทบาทในด้านความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ทั้งศาสนาพุทธและพราหมณ์-ฮินดู เป็นการแสดงออกในเชิงช่างที่จะแสดงความเชื่อนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม และช่วยให้พิธีกรรมลุล่วงไปได้ด้วยดี หากมีโอกาสได้ออกไปท่องเที่ยวในสถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมื่อไร ขอให้ลองสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวดูซักนิด เพื่อนๆ อาจจะพบหงส์อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งก็เป็นได้ -------------------------------------------------- อ้างอิง ๑. กรมศิลปากร. ย้อนรอยพิธีโล้ชิงช้าในสยาม. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๖๓.  ๒. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ตรีมูรติอภิมหาเทพของฮินดู. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 25๖๒. ๓. ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา). โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๓. ๔. กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. การศึกษาเรื่องหงส์จากศิลปกรรมในประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก https://www.thaiscience.info/Journals/Article/NRCT/10440239.pdf ๕. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. เข้าถึงเมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก https://vajirayana.org/ ๖. ปรีชา นุ่นสุข. ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช ภาพของศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช พุทธศตวรรษที่ 19-23. เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕, จาก http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/289   ---------------------------------------------------   ค้นคว้า/เรียบเรียง/กราฟิก : นางสาวชุติณัฐ ช่วยชีพ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ---------------------------------------------------   *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร  


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญรับชมและรับฟังรายการ "หนังสือดีมีให้ฟัง" ซึ่งสำนักหอสมุดแห่งชาติจะนำหนังสือดีทรงคุณค่าที่มีสาระและความบันเทิงมาเล่าให้ทุกท่านได้ฟัง​ทุกวันอังคาร สำหรับวันนี้ เสนอเรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาค 3 ตอนที่ 3 เรื่อง “เที่ยวมณฑลเพ็ชรบูรณ์” ผู้สนใจสามารถรับชมได้ที่ https://youtu.be/UT-Tirv7pFY


ชื่อเรื่อง           อนุสสติการพระราชทานเพลิงศพ  พระครูวิสุทธิโมลี (เอี่ยม  โชติจิตฺโต) ชื่อผู้แต่ง         พระครูสิริญาณวิมล พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       ธรรมสภา ปีที่พิมพ์          2547 จำนวนหน้า      254 หน้า รายละเอียด                    หนังสืออนุสสติการพระราชทานเพลิงศพ  พระครูวิสุทธิโมลี (เอี่ยม  โชติจิตฺโต)  อดีตเจ้าอาวาส     วัดเลียบ เจ้าคณะอำเภอเมืองสงขลา ณ เมรุชั่วคราววัดเลียบ  อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา  วันเสาร์ที่  27  มีนาคม พุทธศักราช  2547  ภายในหนังสือจะกล่าวถึงประวัติพระครูวิสุทธิ  และเนื้อหาฝึกประลองปัญญา  พุทธ - คริสต์  เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่คนไทยยังไม่ได้รับรู้  


เลขทะเบียน : นพ.บ.383/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143  (26-39) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : แม่ข้าว--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.524/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ-ชาดทึบ-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 175  (260-266) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อานิสงส์ 5 มาติกา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อเรื่อง                         ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ.                            241/15หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


ชื่อเรื่อง                          มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) อย.บ.                             423/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  30 หน้า : กว้าง 4.3 ซม.  ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                          พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                        ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก   เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับล่องชาด ทองทึบ รักทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



         พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เชิญชวนสถานศึกษา โรงเรียน หน่วยงาน หรือองค์กรใดๆ ที่มีความประสงค์ให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี นำนิทรรศการสัญจรไปจัดในกิจกรรมต่าง ๆ ของท่าน สามารถประสานผ่านทาง inbox ใน facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี หรือ โทรศัพท์ ๐๓๒ ๓๒๑ ๕๑๓ (ในเวลาทำการวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.) ทั้งนี้ โปรดประสานงานล่วงหน้าอย่างน้อย ๒ สัปดาห์          ชุดนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี มีจำนวน ๗ เรื่อง ประกอบด้วย ๑. แนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ๒. อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ๓. บ้านหลังแรกในราชบุรี ๔. เครื่องประดับโคกพลับ ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ๖. กำเนิดโอ่งมังกรราชบุรี ๗. One Day Trip ราชบุรี รวมทั้งยังมีกิจกรรมระบายสีภาพโบราณวัตถุ  การต่อจิ๊กซอว์ภาพสถานที่สำคัญ และโบราณวัตถุจำลอง (ภาชนะดินเผา) 


วันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน หมายถึง วันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง ซึ่งมีผลงานด้านบทกลอนที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเป็นจำนวนมาก สุนทรภู่ เกิดวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ณ บริเวณด้านเหนือของพระราช วังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่วนมารดาไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นคนจังหวัดใด สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เมื่อท่านเกิดได้ไม่ถึงหนึ่งขวบ บิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดากลับไปบวชที่วัดป่า อำเภอแกลง ส่วนมารดาได้ถวายตัวเป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข สุนทรภู่อยู่กับมารดา เข้าเรียนที่สำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดาราม มีความรู้จนได้เป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ด้วยความไม่ชอบงานเสมียน ทำได้ไม่นานก็ลาออก สุนทรภู่อยู่ในวังกับมารดา จนอายุได้ 20 ปี ได้ลอบรักใคร่กับสาวชาววัง ชื่อ จัน จนถูกลงโทษจองจำและถูกโบย เมื่อพ้นโทษ ได้กลับไปหาบิดาที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง และแต่งงานกับจัน แต่อยู่กันไม่นานก็เกิดระหองระแหง คงเป็นเพราะสุนทรภู่เมาสุราอยู่เป็นนิตย์ จึงได้เลิกหย่าร้างกัน ในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด ในสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ถูกกล่าวหา ด้วยเรื่องเสพสุรา และเรื่องอื่นๆ จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร ต่อมาสุนทรภู่ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) และเดินทางไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ บวชใหม่ถึง 2 ครั้ง แล้วลาสิกขาบทถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปี พ.ศ. 2394 รับราชการอยู่ 4 ปีก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ผลงานของสุนทรภู่มีนิราศ 9 เรื่อง นิทาน 5 เรื่อง สุภาษิต 3 เรื่อง บทละคร 1 เรื่อง บทเสภา 2 เรื่อง และบทเห่กล่อม 4 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปี สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นกวีเอกของโลก เพื่อรำลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันที่รำลึกถึงสุนทรภู่ มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง



ชื่อเรื่อง: ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา ผู้แต่ง: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๙๑สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์ยิ้มศรีจำนวนหน้า: ๔๖ หน้า เนื้อหา: "ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปธานถ่องวิจัย (ทองสุก กาญจนโรจน์) เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยได้ขออนุญาตใช้ต้นฉบับสำหรับมาจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกจากกรมศิลปากร เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ทางโบราณคดีในข้อสำคัญหลายประการ เคยพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ ต่อมายังไม่ปรากฏว่าเคยพิมพ์ที่ใดอีก เนื้อความว่าด้วย พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วย พงศาวดารพระพุทธชินราชชินศรี แลพระศรีศาสดา ตำนานที่ปรากฎในพงศาวดาร การสร้างพระพุทธรูปทั้ง ๓ พระองค์ของเมืองพิษณุโลก โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ วิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุ พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา ประดิษฐาน ณ วิหารใหญ่ทิศตะวันออก จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ เริ่มแรกประดิษฐานอยู่ในวิหารด้าน    ทิศใต้ของวัดพระศรีมหาธาตุ ต่อมาวิหารชำรุด จึงได้อัญเชิญพระศรีศาสดาไปไว้ที่วัดบางอ้อช้าง จังหวัดนนทบุรี วัดประดู่ คลองบางหลวง และวัดสุทัศน์     เทพวราราม ตามลำดับ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระศรีศาสดาและพระพุทธชินศรี   เคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามเดียวกันที่เมืองพิษณุโลก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระศรีศาสดาไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารนั้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๖ เป็นต้นมา เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๙๔๗เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๐หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในบทบาทหน้าที่ของเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์สืบสานมรดกภูมิปัญญาภาษาโบราณ ปีงบประมาณ 2566 "กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้และทบทวนบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครอนุรักษ์สืบสานมรดกภูมิปัญญาภาษาโบราณ" ในวันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ            ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook live : National Library of Thailand


Messenger