ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ เป็นหนังสือเก็บรวบรวมสุภาษิตจากหนังสือเรื่องต่างๆ ที่สุนทรภู่แต่งไว้ ส่วสุภาษิตสอนสตรีนั้น สุนทรภู่เห็นจะแต้งเมื่อราวระหว่าง พ.ศ. 2380 จน พ.ศ. 2383 ในเวลาสึกกลับออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลงลอยเรืออยู่
สาระสังเขป : หนังสือว่าด้วยมนุษยธรรม 4 ประการ ว่าโดยอาการแยกได้เป็น 4 ประการ คือ นิรัสสาสกธรรม (ธรรมเครื่องหายใจออกอย่างที่เท่ากับไม่ได้หายใจออกเลย)1 ทุรัสสาสกธรรม (ธรรมเครื่องหายใจออกอย่างชั่ว)1 สวาสสาสกธรรม (ธรรมเครื่องหายใจออกอย่างดี)1 และปรมัสสาสกธรรม (ธรรมเครื่องหายใจออก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง)1 ผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระโรงพิมพ์ : เชียงเฮงปีที่พิมพ์ : 2478 ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.30ร.9377จบเลขหมู่ : 923.1593 จ196อ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา พุทธศาสนา -- บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 20 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
ชื่อเรื่อง : จารึกสมัยสุโขทัย
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2526
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
เลขทะเบียน : นพ.บ.53/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 51.3 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 34 (344-352) ผูก 6หัวเรื่อง : จตุกฺกนิบาต --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : รามเกียรติ์ เล่ม 7
ชื่อผู้แต่ง : พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา
จำนวนหน้า : 358 หน้า
สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร ดำเนินเรื่องโดยการเล่าเรื่องติดต่อกันตั้งแต่ต้นจนจบ พระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ เล่ม 7 เริ่มจากตอน วิรุญจำบังอาสาออกรบโดยกำบังกาย หนุมานแสดงตัวเป็นวานร ทศกัณฐ์กลับลงกา ทศกัณฐ์ยกทัพ นางมณโฑหุงน้ำทิพย์สำเร็จ พระรามแผลงศรพรหมาสตร์ จนถึงตอนหนุมานอาสาออกรบ
1. ว่าด้วยเรื่องวันศุกในญาณสูตร ทำนายวัน เดือน ปีที่จะตายของคน 2. ตำรายาเกร็ด อักษรขอม – ไทย ภาษาบาลี – ไทย เช่น กำเนิดตำรายา, แก้ประดง, แก้สลบ, แก้อีดำอีแดง, ยาจุดกาน, แก้ทราง, แก้ดำ, ยาต้มแก้สันนิบาต, ยาตัดรากไข้, ยาหาลงเมือง, ยาเขียวพิสดาร, ยาประจำธาตุเด็ก, ยาทำกาน ฯลฯ
ฮะกิม โอมาร์ คัยยาม. รุไบยาต. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแปลและนิพนธ์เทียบเป็นโคลงสุภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. พระนคร : กรมศิลปากร, 2513. รุไบยาต เป็นวรรณคดีเปอร์เซียที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งฮะกิม โอมาร์ คัยยาม กวีและนักปราชญ์คนสำคัญของเปอร์เซียนิพนธ์ไว้ เป็นบทกวีที่มีลีลาไพเราะ มีใจความเปรียบเปรยลัทธิศาสนาซึ่งมีผู้นับถือในสมัยนั้น และเชิญชวนให้มนุษย์ทั้งหลายให้รีบหาความสุขสบายต่างๆ ในโลกด้วยการเสพสุขจากรูป รส กลิ่นเสียง และสัมผัส ก่อนจะอำลาโลกนี้ไป รุไบยาต ยังเป็นบทกวีที่มีคุณค่าสำคัญแสดงถึงปรัชญาชีวิตอันลึกซึ้งในเรื่องความไม่เที่ยงของชีวิต
V.I.P. ย่อมาจาก very important person คือ บุคคลสำคัญ บุคคลพิเศษ หรือที่สมัยนี้นิยมเรียกกันว่า เซเล็บ (celebrity) มี วี.ไอ.พี.ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยด้วยหรือ รู้ได้อย่างไรว่าเขาหรือเธอเป็นบุคคลพิเศษ เมื่อนักโบราณคดีขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่เป็นแหล่งฝังศพ มักมีโครงกระดูกที่พบหลักฐาน เช่น สิ่งของอุทิศในพิธีกรรมการฝังศพ เครื่องประดับตกแต่งร่างกาย ที่มีปริมาณและความหลากหลายแตกต่างจากโครงกระดูกอื่นๆในแหล่งเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด หลักฐานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็น วี.ไอ.พี. หรือบุคคลสำคัญที่มีฐานะ สถานะพิเศษในชุมชนที่ผู้ทำพิธีฝังศพยอมรับ หรือมีความผูกพัน แสดงออกด้วยการมอบสิ่งของอุทิศจำนวนมาก หายาก และมีค่าให้กับผู้ตาย ในสมัยหินใหม่มีตัวอย่าง วี.ไอ.พี. หรือบุคคลสำคัญที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นเพศหญิง ตายเมื่ออายุ ๓๕ ปี กำหนดอายุประมาณ ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว หลุมศพของเธอมีขนาดใหญ่ ร่างกายตกแต่งด้วยเครื่องประดับจำนวนมากอย่างหรูหรา จนได้รับการขนานนามว่า “เจ้าแม่โคกพนมดี” เป็นโครงกระดูกที่แสดงถึงความร่ำรวยที่สุดในแหล่ง จากลักษณะของกระดูกแสดงว่าเมื่อยังมีชีวิตเป็นคนที่ทำกิจกรรมที่ใช้แขนท่อนล่างและมือมาก ประกอบกับสิ่งของในหลุมฝังศพเป็นอุปกรณ์เกี่ยวข้องกับการทำภาชนะดินเผา ได้แก่ หินดุ หินขัดภาชนะ และแท่งดินเหนียวดิบจำนวนมากวางสุมทับลำตัวเป็นกองสูงมีภาชนะดินเผาทุบแตกวางไว้ด้านบน ทำให้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นช่างปั้นภาชนะดินเผาหญิงที่มีความสำคัญมากของชุมชน ลูกปัดเปลือกหอย เครื่องประดับของ “เจ้าแม่โคกพนมดี” ได้แก่ ลูกปัดเปลือกหอยมากกว่า ๑๒๐,๐๐๐ เม็ด บริเวณกระดูกอกและแผ่นหลังลักษณะที่น่าจะเย็บติดกับผ้าเป็นเสื้อหรือเสื้อคลุมมากกว่าจะเป็นสายสร้อย เครื่องประดับศรีษะทำจากเปลือกหอย แผ่นวงกลมมีเดือยทำจากเปลือกหอย ๒ วงที่ไหล่ซ้ายขวา กำไลเปลือกหอยสวมข้อมือซ้าย เขี้ยวสัตว์เจาะรู ๕ เขี้ยวบริเวณอก และลูกปัดทรงตัวไอกว่า ๙๕๐ เม็ด ลักษณะที่อาจร้อยเป็นสายหรือเย็บติดกับผ้าสวมบริเวณอกและใต้แขน ลูกปัดเปลือกหอยทรงตัวไอกว่า ๙๕๐ เม็ด เครื่องประดับศรีษะ ทำจากเปลือกหอย ชุมชนโบราณสมัยเหล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็พบหลักฐาน วี.ไอ.พี.เช่นกัน ที่แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา มีบุคคลพิเศษเป็นเพศหญิง ๑ โครง เพศชาย ๑ โครง อายุ ๑,๗๐๐ - ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว เป็นเพียง ๒ โครงเท่านั้นที่พบเครื่องประดับทองคำ ขณะที่โครงกระดูกอื่นๆในแหล่งตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับสำริดและหิน ได้แก่ กำไลสำริด แหวนสำริด จี้หินอาเกต ลูกปัดหินคาร์นีเลียนฯ วี.ไอ.พี. ชายหญิง ๒ โครงนี้ ประดับร่างกายด้วย สร้อยลูกปัดทองคำและแหวนเงิน ซึ่งเป็นวัสดุมีค่าหายากในสมัยนั้น ไม่สามารถผลิตเองได้เป็นสินค้านำเข้าจากต่างแดน โครงกระดูกเพศหญิงตกแต่งร่างกายโดดเด่นพิเศษมาก ด้วยสายสร้อยลูกปัดทองคำถึง ๖๘ เม็ดร่วมกับลูกปัดอะเกต จี้อะเกตบริเวณคอ ขดเกลียวสำริดที่หูซ้ายขวา กำไลสำริดอย่างน้อย ๓๘ วง แหวนนิ้วมือสำริด ๖๔ วง แหวนเงิน ๑ วง แหวนนิ้วเท้าสำริด ๙ วง และสวมแหวนเงิน ๑ วง ส่วนโครงกระดูกเพศชาย มีสร้อยคอลูกปัดทองคำ ๕๓ เม็ด แต่เครื่องประดับสำริดมีน้อยชิ้น ลูกปัดทองคำ ในหลุมฝังศพ วี.ไอ.พี. สมัยเหล็ก อายุ ๑,๗๐๐ - ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว สิ่งของอุทิศในพิธีกรรมการฝังศพยุคก่อนประวัติศาสตร์นี้ เป็นเสมือนตัวแทนความผูกพัน ความอาลัย การให้เกียรติและการแสดงความระลึกถึงของญาติพี่น้อง ผู้คนในชุมชนต่อผู้ตาย และบางส่วนคงเป็นของใช้ เครื่องมือประกอบอาชีพ เครื่องประดับที่ผู้ตายเคยใช้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง. ข้อมูล : นางศิริพันธ์ ตาบเพ็ชร์ นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กองโบราณคดี
องค์ความรู้ เรื่อง นิทานพื้นบ้านเมืองสุพรรณ โดยหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อเรื่อง : วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
ผู้แต่ง : จรีย์ สุนทรสิงห์
ปีที่พิมพ์ : 2543
สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่
สำนักพิมพ์ : ดาวคอมพิวกราฟิค
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : สำนักนายกรัถมนตรี
ปีที่พิมพ์ : 2486
หมายเหตุ : -
หนังสือวัธนธัมไทย เรื่อง ประวัติการทูตของไทย กล่าวถึงความสัมพันธ์กับประชาชาชาติใกล้เคียง ตั้งแต่สมัยนานเจา สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และการสัมพันธ์กับชาติยุโรป ได้แก่ โปรตุเกสและสเปน เดนมาร์ก เนอเทอร์แลน อังกริด ฝรั่งเสส และความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น
การแสดงเบิกโรง เรื่อง ตำนานท้าวเวสสุวัณ เป็นนาฏกรรมสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร แนวคิดและการออกรูปแบบการแสดงโดยนายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ ได้นำบทบาทและความเป็นมาของท้าวเวสสุวัณมาจากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจัดทำเป็นบทนาฏกรรม ซึ่งไม่เคยมีจัดแสดงมาก่อน และเป็นการแสดงเบิกโรงชุดใหม่นอกเหนือจากที่กรมศิลปากรเคยจัดแสดงมา จัดแสดง ครั้งแรกในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำปี ๒๕๖๓ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ และวันอาทิตย์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณ โรงละครแห่งชาติ เรื่องราวท้าวเวสสุวัณ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวไว้ว่าเป็นบุตรพระฤษี วิศระวัส (วิศราวะ) หรือเปาลัสตยะกับนางธาดาหรือเทพวรรณี ธิดาพระภารทวาชมหาฤษี ตั้งแต่กำเนิดมามีร่างกาย ไม่งดงาม จึงมีอีกนามหนึ่งว่า “กุเวร” หมายถึง ตัวขี้ริ้ว อาศัยในป่าหิมพานต์เมื่อเจริญวัยได้บำเพ็ญตบะอยู่หลายพันปี พระพรหมและพระอินทร์จึงพากันเสด็จลงมาโปรด ท้าวเวสสุวัณขอพรให้ตนมีฤทธิ์อำนาจเป็นผู้ดูแลมนุษย์โลก พระพรหมประทานพรให้ตามที่ขอ และมอบหน้าที่ให้เป็นโลกบาลประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ) แล้วยังประทานบุษบก วิเศษสำหรับใช้เดินทางไปในอากาศตามต้องการ พระอินทร์เชิญให้ไปประทับยังพิมานชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะเป็นที่สถิตของท้าวโลกบาล อีก ๒ องค์ คือพระวรุณและพระยม แต่ท้าวเวสสุวัณขอผัดผ่อนโดยให้เหตุผลว่า ต้องการอยู่ปรนนิบัติพระบิดา ที่ชรามากแล้วไปจนกว่าจะละสังขาร ต่อมาพระวิศระวัสผู้เป็นพระบิดาแนะนำให้ไปอยู่เมืองลงกา ซึ่งพระวิษณุกรรมได้สร้างขึ้นไว้ในปางก่อน เพื่อเป็นที่อยู่ของพวกรากษส แต่ได้ทิ้งร้างหนีไปอยู่บาดาลเพราะเกรงเดชพระนารายณ์ อยู่มามีพญารากษสตนหนึ่ง ชื่อ ท้าวสุมาลี ซึ่งถูกพระนารายณ์ขับไล่ลงไปอยู่บาดาล ได้ขึ้นมาเยี่ยมมนุษย์โลกเห็นท้าวเวสสุวัณขึ้นบุษบกลอยไปใน อากาศเพื่อไปเฝ้าพระบิดา ก็มีใจริษยาคิดอุบายจะแย่งชิงและเอาพระนครลงกาคืน จึงใช้ให้ธิดา ชื่อ“ไกกะสี” ไปยั่วยวนพระฤษีวิศระวัส จนเป็นที่พอใจรับนางไว้เป็นชายา ให้กำเนิดบุตรธิดา คือ ท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) กุมภกรรณ พิเภษณ์ (พิเภก) และนางศูรปนขา (สำมนักขา) นางไกกะสียุยงท้าวราพณ์ลูกชายให้ไปแย่งชิงเอาเมืองลงกาและบุษบก ท้าวเวสสุวัณสู้ไม่ได้จึงหลบหนีภัยออกจากกรุงลงกา แรมรอนมาในป่าแทบสิ้นชีวิต จนพระพรหมต้องเสด็จมาช่วยเหลือ สร้างเมืองใหม่ให้ทางทิศอุดร ชื่อว่า “อลกา” หรือมีชื่อเรียกอื่นๆว่า “ประภา”หรือ“วสุสถลี” (วสุธา) บ้าง เป็นเมืองทิพย์ มีอุทยานวิเศษรโหฐานชื่อว่า เจตระรถหรือเจตรถ อยู่บนเขามันทรอันต่อเนื่องกับเขาพระสุเมรุ พระนครและสวนขวัญ เป็นรมณียสถานสำราญ ผู้ที่อยู่ในที่นั้นจะปราศจากโรค ความเหน็ดเหนื่อย ความวิตก ความหิว และไม่กลัวเกรงภัย ต่าง ๆ มีอายุยืนถึงหมื่นปี ต้นไม้มีใบเป็นผ้าเนื้อดี มีดอกเป็นมณีมีค่าและมีผลออกเป็นนารี (นารีผล) เหล่าข้าบาทบริจา ในเมืองอลกาล้วนแต่เป็นกินรี กินรา จึงมีนามเรียกอีกว่า“มยุราช” (เจ้าแห่งมยุคือกินนร) นอกจากนี้ ยังประทานให้เป็น เจ้าแห่งทรัพย์สินทั้งหลายบนแผ่นดินโลกมนุษย์ จึงมีนามอีกนามหนึ่งว่า “ธนบดี” (หมายถึง เจ้าแห่งทรัพย์ทั้งหลาย) และให้อยู่เป็นอมฤตหรืออมตะ (ไม่มีตาย) ท้าวเวสสุวัณ มีนามเรียกอีกว่า กุเวร เวสสวัณ ไพษรพน์ กุตนุ ยักษราช กำเนิดเป็นยักษ์ เชื้อสายพรหมพงศ์ มีกายสีขาว รูปร่างลักษณะค่อนข้างประหลาด ถืออาวุธ คือ กระบองยาว เพราะร่างกายพิการขาโกงมี ๓ ขา (ขาที่ ๓ หมายถึงกระบองยาว ที่ใช้ช่วยค้ำยันเวลาเดิน ซึ่งตั้งไว้ในลักษณะของไม้เท้าเพื่อให้ดูสวยงามภูมิฐาน เป็นยักษ์ที่ยึดถือคุณธรรม ในเรื่องรามเกียรติ์ได้กล่าวประวัติไว้ว่า ชื่อ “กุเปรัน” พี่ชายต่างมารดาของทศกัณฐ์ บทบาทปรากฏเพียงแค่ เมื่อถูกทศกัณฐ์แย่งชิงบุษบกไป ต่อจากนั้นก็มิได้กล่าวถึง ......................................................................... เรียบเรียง : นายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร.........................................................................