ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
พระราชวินิจฉัยให้งานศิลปกรรมงามตามขนบช่าง
พุทธศักราช ๒๕๕๘ เป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ ๕ รอบในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ยังความปลื้มปีติโสมนัสมาสู่ปวงข้าราชการกรมศิลปากรและประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าด้วยพระองค์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยหลายแขนง ซึ่งรวมถึงด้านศิลปกรรมสาขาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทย และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ดังเช่น สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ธำรง รักษา และสืบทอดงานศิลปกรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ดำเนินงานด้านผดุงรักษา ฟื้นฟู และสืบทอดศิลปะวิทยาการด้านช่างฝีมือด้านช่าง และงานศิลปะในการบูรณะซ่อมแซม เพื่ออนุรักษ์งานศิลปกรรมที่มีคุณค่าของชาติ ปฏิบัติงานด้านการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปกรรมไทย ทั้งแบบประเพณีร่วมสมัย และศิลปะแบบประยุกต์
กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ ได้ดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการจัดสร้างบานประตูประดับมุก ณ หอพระมณเฑียรธรรม ภายในวัดพระศรีรัตนศาสาดรามขึ้นใหม่จำนวน ๑ คู่ ด้วยพระองค์ทรงห่วงใยบานประตูประดับมุกคู่เดิม ที่ต้องกรำแดดและถูกละอองฝน จนทำให้ลวดลายมุกเสื่อมสภาพเกิดความทรุดโทรม และทรงห่วงใยว่าต่อไปเยาวชนรุ่นใหม่อาจจะไม่มีโอกาสได้เห็นงานช่างศิลป์อันงดงามของบานประตูคู่นี้ที่ประกอบไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรม ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศชาติ
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เริ่มดำเนินการจัดสร้างเมื่อต้นพุทธศักราช ๒๕๕๐ ดำเนินงานจัดสร้างด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง และละเอียดอ่อน ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัสดุที่นำมาใช้ปฏิบัติงาน ได้แก่ หอยโข่งมุก ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่งที่มีความแวววาวในตัว ต้องนำมาขัดหินปูนออก แล้วนำมาขัดเจียนให้มีขนาดบางจนได้ขนาดที่เหมาะสม จากนั้นนำมาฉลุลวดลาย และประดับลวดลายมุกลงบนบานประตู โดยใช้กรรมวิธีและวัสดุแบบโบราณ คือใช้ยางรักเป็นตัวประสานพื้น และถมลายด้วยยางรักผสมสมุกกะลา ปล่อยให้แห้งสนิททีละชั้นจนเต็ม จึงขัดแต่งผิวหน้าลายด้วยกระดาษทรายน้ำจนเนื้อรักสมุกที่ทับบนตัวลายมุกออกหมด จนปรากฏลวดลายประดับมุกครบทั้งบาน นำกระดาษทรายอย่างละเอียดมากๆ มาขัดจนเรียบ และขัดมันโดยใช้ผ้านุ่มชุบด้วยสมุกเขากวางบดละเอียด(เขากวางแก่นำมาเผาไฟจนเป็นถ่านสีขาว)มาขัดบนผิวงานให้เป็นมัน ถ้าปรากฏจุดใดไม่เป็นมัน แสดงว่ายังต้องขัดเพิ่มด้วยกระดาษทรายละเอียดและทดสอบด้วยสมุกเขากวางใหม่จนผิวเป็นมัน ใช้ยางรักน้ำเกลี้ยงชโลมทั่วผิวแล้วเช็ดถอนยางรักออก แล้วขัดถูด้วยผ้าให้เกิดความร้อน จนได้ผิวงานมันวาว เรียบร้อยสวยงาม
เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ ขณะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการพิเศษ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยเรื่อง “งานช่างหลวง”ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ทรงพระกรุณาประดับลวดลายชุดสุดท้ายบนบานประตูบานใหม่ และคณะช่างนำกลับมาดำเนินการต่อจนกระทั่งแล้วเสร็จในพุทธศักราช ๒๕๕๕ รวมระยะเวลาดำเนินงานทั้งสิ้น ๕ ปี
ปัจจุบัน สำนักช่างสิบหมู่อยู่ในระหว่างการดำเนินการซ่อมอนุรักษ์บานประตูบานเก่า เพื่อเสริมความสมบูรณ์ สวยงาม ด้วยกระบวนการวิธีแบบโบราณ ณ สำนักช่างสิบหมู่ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ก่อนที่จะเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษารูปแบบศิลปกรรมของโบราณวัตถุอันมีค่าของชาติต่อไป
เนื่องในพุทธศักราช ๒๕๕๘ อันเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมายุครบ ๕ รอบ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักช่างสิบหมู่ได้มีโอกาสรับสนองเบื้องพระยุคลบาทอีกวาระหนึ่ง โดยนายสมชายศุภลักษณ์อำไพพร ตำแหน่งนายช่างศิลปกรรมอาวุโส สังกัดสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ออกแบบตราสัญลักษณ์ เพื่อใช้เป็นตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๕ รอบ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ซึ่งรัฐบาลโดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ต่อไป
อ่านต่อ ที่นี่
ที่มาข้อมูล : หนังสือสิปปธัช : พระผู้เป็นธงชัยแห่งสรรพศิลป์ (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส ๑๐๔ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร)
ชื่อผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
ชื่อเรื่อง : โคลงโลกนิติ
ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : ประชุมช่าง
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๑
จำนวนหน้า : ๑๑๘ หน้า
หมายเหตุ : พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเริงฤทธิ์สงคราม (น้อม พงษ์สิน)
หนังสือ โคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาแต่โบราณ ครั้งกรุงเก่า เดิมนักปราชญ์ผู้แต่งเที่ยวเลือกหาคาถาสุภาษิต ภาษาบาลีและสันสกฤต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ คือ คัมภีร์โลกนิติบ้าง คัมภีร์โลกนัยบ้าง ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบทก็มี เลือกคาถาสุภาษิตเหล่านั้นมาตั้งแล้วแปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุกๆ คาถา รวมเป็นเรื่อง เรียกว่า โคลงโลกนิติ
ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระสังขศาสตร์วินิจฉัย (ชั้น นิธิประภา) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2510สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : วัดมกุฎกษัตริยาราม จำนวนหน้า : 114 หน้า สาระสังเขป : เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระสังขศาสตร์วินิจฉัย (ชั้น นิธิประภา) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม ในวันที่ 9 มกราคม 2510 ซึ่งเป็นผู้พิพากษา และในหนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เรื่องราวต่างๆ ไว้หลายเรื่อง คือ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น สิ่งที่ควรรู้ในการสมาคม อาหารฝรั่ง และอาหารจีน
"สืบร่องรอยชื่อ “#พิมาย” ที่เก่าที่สุด และสืบสาวราวเรื่องพระเจ้าชัยวีรวรมัน ผ่านจารึกวัดจงกอ"
#จารึกวัดจงกอ เป็น จารึกหินทราย สลักด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร ข้อความกล่าวถึง ธุลีพระบาทกมรเตงกำตวนอัญศรีชยวีรวรมันเทวะ (พระเจ้าชัยวีรวรมัน) มีพระบรมราชโองการ ให้ดำเนินการรังวัดและปักเขตที่ดิน เพื่อกัลปนาพร้อมด้วยข้าทาส ถวายแด่ #กมรเตงชคตวิมาย ระบุ มหาศักราช 930 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 1551 ซึ่งนับเป็นจารึกที่เอ่ยถึง “วิมายฺ” หรือ “พิมาย” ที่เก่าแก่ที่พบอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากเป็นจารึกที่เอ่ยถึง “วิมายฺ” ที่เก่าที่สุดแล้ว จารึกวัดจงกอ ยังกล่าวถึง บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์กัมพูชา อย่าง พระเจ้าชัยวีรวรมัน ซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 จากข้อความบนจารึกวัดจงกอเเละจารึกที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวีรวรมันจึงสันนิษฐานว่า พระองค์ทรงถูกแย่งชิงราชสมบัติ โดย พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1
ภายหลังได้โยกย้าย มาตั้งถิ่นฐาน ใกล้กับเมืองพิมาย โดยประเด็นนี้ เป็น 1 ใน 3 ประเด็น ที่จารึกวัดจงกอ ช่วยเราสืบสาวราวเรื่อง ที่เกี่ยวกับ พระเจ้าชัยวีรวรมัน ได้เป็นอย่างดี
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
ชื่อผู้แต่ง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
ชื่อเรื่อง สามกรุง
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์ชัยฤทธิ์
ปีที่พิมพ์ 2495
จำนวนหน้า 455 หน้า
รายละเอียด วรรณกรรมไทยมีเนื้อหาเหมือนพงศาวดารไทยสมัยตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ.2310 จนถึงสมัยพ.ศ.2487โดยแต่งเป็นบทร้อยกรองประเภทโคลงร่ายและกาพย์เพื่อให้น่าสนใจในการติดตามเรื่องราวจากพงศาวดาร
ชื่อเรื่อง สพ.ส.9 หัวใจคาถาอาคมประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ 125; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ไสยศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538
วันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการเปิดโครงการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร (ระยะที่ ๑) พร้อมด้วยนางรักชนก โคจรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมราชาวดี โรงแรมชวาลันรีสอร์ท อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ทั้งนี้โครงการได้รับเกียรติจากอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ อาทิ ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม นายบวรเวท รุ่งรุจี โดยโครงการจัดระหว่างวันที่ ๘-๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ เพื่อให้บุคคลากรภายในกรมศิลปากร ได้เพิ่มพูนศักยภาพ ความรู้ และการทำงานบูรณาการร่วมกัน อย่างประสิทธิภาพ
เอกสารโบราณ หมายถึง เอกสารที่มีอายุหนึ่งร้อยปีขึ้นไป ใช้บันทึกตัวอักษรและภาษาของคนสมัยโบราณสำหรับเผยแพร่ความรู้ ติดต่อสื่อสาร หรือบันทึกความทรงจำ เนื่องจากประเทศไทยในสมัยก่อนยังไม่มีกระดาษและเทคโนโลยีการพิมพ์ คนไทยจึงประยุกต์วัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ในธรรมชาติ เช่น หิน เปลือกไม้ ใบไม้ มาผ่านกระบวนการดัดแปลงให้เป็นวัตถุที่สามารถรองรับการบันทึกได้ ดังนั้นเอกสารโบราณจึงมีคุณค่าต่อการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอารยธรรมของคนสมัยโบราณ เช่น จดหมายเหตุ พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ กฎหมาย คณิตศาสตร์ วรรณคดี ธรรมคดี ฯลฯ ซึ่งกรมศิลปากรตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารโบราณเป็นอย่างดี จึงได้จัดให้มีโครงการสำรวจและอนุรักษ์เอกสารโบราณขึ้นตามแหล่งเอกสารโบราณต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เอกสารโบราณเหล่านี้คงอยู่ในสภาพที่ดี เป็นระเบียบ และเก็บรักษาต่อไปได้อีกหลายร้อยปี
วัดไก่เตี้ยเป็นแหล่งเอกสารโบราณที่สำคัญ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการศึกษาของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หรือ อาจจะสืบประวัติไปได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ทำให้มีตำราที่ใช้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ เป็นจำนวนมากซึ่งผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน ตำราเหล่านี้จึงอยู่ในฐานะเป็นเอกสารโบราณที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ดังนั้นกรมศิลปากรร่วมกับวัดไก่เตี้ย จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณขึ้น เพื่อดำเนินการสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน และจัดเก็บเอกสารโบราณของวัดให้เป็นระบบ อันจะต่อยอดไปสู่การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเอกสาร อักษร ภาษาโบราณ และเผยแพร่ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบไป
กรมศิลปากรและวัดไก่เตี้ย ได้ร่วมกันทำงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยมีเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร พระสงฆ์วัดไก่เตี้ยและวัดใกล้เคียง รวมถึงประชาชนในบริเวณชุมชนวัดไก่เตี้ยผู้มีจิตศรัทธา ร่วมมือร่วมใจกันทำงานจนแล้วเสร็จในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ รวมระยะเวลาทำงานทั้งสิ้น ๙ วัน อนุรักษ์เอกสารโบราณของวัดได้เป็นคัมภีร์ใบลาน จำนวนทั้งสิ้น ๔๑ มัด ๑๒๖ เลขที่ ๖๕๓ ผูก
กรมศิลปากร โดยกลุ่มตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้สำรวจพบคัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ที่ระบุปีที่สร้างอย่างน้อย ๓ คัมภีร์ ดังนี้
- คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วกต.๒๗/ค/๑ เรื่อง วิธูรชาดก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๖๓ สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม อักษรขอม ภาษาบาลี ฉบับล่องชาดข้างลาย ปัจจุบันอายุ ๔๐๒ ปี
- คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วกต.๔๗/๑ เรื่อง กุสลวินิจฺฉยกถา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๓๒ สมัยสมเด็จพระเพทราชา อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย ฉบับทองทึบ ปัจจุบันอายุ ๓๓๓ ปี
- คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วกต.๙๗/๑ เรื่อง ภิกฺขุปาติโมกฺข สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๔๓ สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อักษรขอม ภาษาบาลี ฉบับล่องชาด ปัจจุบันอายุ ๒๒๒ ปี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ขอนำเสนอเกร็ดความรู้ สิ่งละอันพันละน้อยที่น่าสนใจของจังหวัดราชบุรี มานำเสนอให้แก่ท่านผู้สนใจ ผ่านชุดความรู้ #เรื่องมีอยู่ว่า... โดยในตอนแรก ขอเสนอ เรื่อง #ปลายี่สก ของดีเมืองราชบุรีสำหรับชาวราชบุรี หลายท่านคงจะเคยได้ยินชื่อปลายี่สก ที่ปรากฏอยู่ในประโยคสุดท้ายของคำขวัญประจำจังหวัดราชบุรี ##ย่านยี่สกปลาดีแต่จะมีสักกี่ท่านที่ทราบประวัติความเป็นมา และเคยได้มีโอกาสลิ้มรสชาติปลายี่สก ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนลดลงอย่างมากด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความรับรู้เกี่ยวกับปลายี่สกของเราๆ ลดน้อย หรือหมดไปวันนี้เรามาทำความรู้จักกับปลายี่สก ของดีเมืองราชบุรีกันค่ะ
ชื่อผู้แต่ง นางบรรณกิจโกศลและบุตรธิดา
ชื่อเรื่อง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ รองอำมาตย์โท ขุนบรรณกิจโกศล
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ รสพ. เชิงสะพานยมราช
ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๐
จำนวนหน้า ๒๙ หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือที่ระลึกงานเป็นกิจศพ ของรองอำมาตย์โท ขุนบรรณกิจโกศล (รวย บุญยพุกกณะ) ซึ่งบุตรและธิดา ร่วมกันพิจารณาแล้วว่า ต้องการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์แก่ท่านขุน-บรรณกิจโกศล เนื้อหาในหนังสือ เกี่ยวกับประวัติของขุนบรรณกิจโกศล วิธีการทำบุญ การตั้งโต๊ะหมู่บูชา การนิมนต์พระ คำถวายสังฆทาน และคำอาราธนา เพื่อเป้นประโยชน์แก่ผู้ได้รับเล็ก ๆ น้อย ๆ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 145/2เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)