ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน” วันสุนทรภู่ หมายถึง วันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง ซึ่งมีผลงานด้านบทกลอนที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเป็นจำนวนมาก สุนทรภู่ เกิดวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ณ บริเวณด้านเหนือของพระราช วังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่วนมารดาไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นคนจังหวัดใด สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เมื่อท่านเกิดได้ไม่ถึงหนึ่งขวบ บิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดากลับไปบวชที่วัดป่า อำเภอแกลง ส่วนมารดาได้ถวายตัวเป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข สุนทรภู่อยู่กับมารดา เข้าเรียนที่สำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดาราม มีความรู้จนได้เป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ด้วยความไม่ชอบงานเสมียน ทำได้ไม่นานก็ลาออก สุนทรภู่อยู่ในวังกับมารดา จนอายุได้ 20 ปี ได้ลอบรักใคร่กับสาวชาววัง ชื่อ จัน จนถูกลงโทษจองจำและถูกโบย เมื่อพ้นโทษ ได้กลับไปหาบิดาที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง และแต่งงานกับจัน แต่อยู่กันไม่นานก็เกิดระหองระแหง คงเป็นเพราะสุนทรภู่เมาสุราอยู่เป็นนิตย์ จึงได้เลิกหย่าร้างกัน ในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด ในสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ถูกกล่าวหา ด้วยเรื่องเสพสุรา และเรื่องอื่นๆ จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร ต่อมาสุนทรภู่ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) และเดินทางไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ บวชใหม่ถึง 2 ครั้ง แล้วลาสิกขาบทถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปี พ.ศ. 2394 รับราชการอยู่ 4 ปีก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ผลงานของสุนทรภู่มีนิราศ 9 เรื่อง นิทาน 5 เรื่อง สุภาษิต 3 เรื่อง บทละคร 1 เรื่อง บทเสภา 2 เรื่อง และบทเห่กล่อม 4 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปี สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นกวีเอกของโลก เพื่อรำลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันที่รำลึกถึงสุนทรภู่ มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์ ผศ., อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี



ชื่อเรื่อง: เหตุการณ์ตอนต้นรัชชกาลที่ ๔ ผู้แต่ง: ราชบัณฑิตยสภา ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๗๕ สถานที่พิมพ์: พระนคร สำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร จำนวนหน้า: ๗๔  หน้า  เนื้อหา: เหตุการณ์ตอนต้นรัชชกาลที่ ๔ เล่มนี้ จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิ์สโมสร ณ พระเมรุวัดเทพศิริน    ทราวาส ปีวอก พ.ศ.๒๔๗๕ โดยราชบัณฑิตยสภาได้พิจารณาคัดความตอนที่ขาดจากพระราชพงศาวดารรัชชกาลที่ ๔ มาบูรณะให้ความติดต่อกันตลอดเรื่อง เนื้อหาเริ่มด้วยพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร คำแปลคาถา คำประกาศ ต่อจากนั้นเป็นส่วนของเนื้อความบันทึกเล่าเรื่องเปลี่ยนรัชชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยไปเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทวาวงศที่วัดบวรนิเวศน์ ตั้งการพิธีลาพระผนวช ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา จารึกพระสุพรรณบัฏ พระราชพิธีบรมราชาภิเศก เจ้าพระยาคลัง (ดิศ) ว่าที่สมุหะพระกลาโหมกราบบังคมทูล ข้าราชการฝ่ายในถวายตัว เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค พระราชพิธีบวรราชาภิเศก และเสด็จเลียบพระนคร เป็นต้น นับว่าเป็นหนังสือหายากที่ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ทำให้ทราบเหตุการณ์บ้านเมืองในยุคสมัยนั้น สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยได้อย่างดียิ่งเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๐๒๘ เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๒๑ หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จัดการบรรยายทางวิชาการออนไลน์สาธารณะ ประจำปี พ.ศ.2566  "คนพิพิธภัณฑ์อยากจะเล่า" ครั้งที่ 9 ขอเชิญร่วมฟังเรื่องเล่า ในหัวข้อ "การทำนิทรรศการและการจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร" เล่าเรื่องโดย นางสาววัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 14.30 น. เป็นต้นไป           ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live : Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง


          ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุทำให้เราทราบว่า การสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทางรถไฟนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการก่อสร้างที่ต้องบุกเบิกขนอุปกรณ์ก่อสร้างเข้าไปในพื้นที่ที่ไม่มีเส้นทางคมนาคมประเภทอื่นที่เหมาะสมนอกจากทางน้ำ ดังตัวอย่างการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือที่บริเวณเมืองพิจิตร ที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุชุด กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ดังนี้            เมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 122 (พ.ศ. 2446) พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงษ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ (พระยศและตำแหน่งในขณะนั้น – สะกดตามต้นฉบับ) ทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า ทรงได้รับรายงานจากเจ้ากรมรถไฟว่า การก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือซึ่งต้องขนส่งเครื่องเหล็กก่อสร้างไปทางเรือนั้นไม่สะดวก เนื่องจากติดแก่งสะพานหิน 2 แห่ง บริเวณใต้เมืองพิจิตรลงมา เจ้ากรมรถไฟเสนอให้ระเบิดศิลาใต้น้ำเป็นช่องเล็กๆ พอให้เรือสามารถแล่นผ่านไปได้ ประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งกรมขุนนริศรานุวัดติวงษ์ทรงเห็นว่าการระเบิดศิลานี้จะเป็นประโยชน์ไม่เฉพาะการก่อสร้างทางรถไฟเท่านั้น หากจะเป็นประโยชน์ต่อการสัญจรของประชาชนด้วย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น กรมรถไฟจะออกแต่ค่าแรง ส่วนค่าสิ่งของจะขอให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติโอนเงินเหลือจ่ายในกระทรวงโยธาธิการไปจ่าย เนื่องจากการบำรุงรักษาแม่น้ำลำคลองเป็นหน้าที่ของกระทรวงโยธาธิการที่ต้องทำอยู่แล้ว ซึ่งในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับว่า ทรงทราบเรื่องแล้ว และทรงเห็นว่าเป็นการดีควรจะระเบิด            หากพูดถึงการระเบิดหินในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อน อาจมีข้อสงสัยว่าจะระเบิดกันอย่างไร ใช้ระเบิดประเภทไหน แม้ว่าในเอกสารเรื่องนี้จะไม่ได้กล่าวถึงการดำเนินการระเบิดหินหลังจากที่มีพระราชหัตถเลขาแล้ว แต่ในเอกสารเรื่องเดียวกันนี้ได้ปรากฏหลักฐานการขออนุญาตสั่งเครื่องระเบิดของกรมรถไฟเพื่อใช้ในการสร้างรถไฟสายเหนือเมื่อเดือนสิงหาคม ร.ศ. 122 (ก่อนมีลายพระหัตถ์เรื่องขอระเบิดศิลาราว 2 เดือน) เครื่องระเบิดนี้ประกอบด้วย แก๊บดีโตเนเตอร์ (Blasting cap / Detonator) 25 หีบ หีบละ 10,000 ดอก ดินนาไมต์ (Dynamite) 200 หีบ หีบละ 50 ปอนด์ และฝักแค 50 ถัง ถังละ 250 ขด ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า การขออนุญาตสั่งเครื่องระเบิดจำนวนมากเช่นนี้ นอกเหนือจากการระเบิดหินเพื่อประโยชน์ในการวางรางรถไฟแล้ว เครื่องระเบิดส่วนหนึ่งอาจจะนำมาใช้ระเบิดหินในแม่น้ำด้วย -------------------------------------------   ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา) -------------------------------------------   เอกสารอ้างอิง: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ร.5 ยธ. 5.9/17 เรื่อง ระเบิดแก่งสพานหินใต้เมืองพิจิตรเพื่อการรถไฟสายเหนือ [ 5 ส.ค. – 31 ต.ค. 122 ].  -------------------------------------------   ที่มาของข้อมูล: เฟสบุ๊ก  หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ พะเยา https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchiveshttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/pfbid02Tm14Y8xMd8Nzfdb9ewQ5A4AmMAGpWUbcyPMBX8TFnbjfod4vVnLmtWdvUTKa8wNVl


ชื่อเรื่อง                     ท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง (สาระประวัติศาสตร์) : ประวัติศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นผู้แต่ง                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                     959.373 ส691ทสถานที่พิมพ์               สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                 ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์                    2551ลักษณะวัสดุ               146 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์                              แบบเรียน                              อู่ทอง(สุพรรณบุรี) -- ประวัติศาสตร์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           จัดทำโครงการ “พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง” มีเป้าหมายจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่น  กำหนดเป็นระยะๆ ตามแนวการพัฒนาหลักสูตร กำหนดกรอบแนวการพัฒนา จัดทำลักษณะหน่วยการเรียนรู้สอดแทรกไว้ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ ในระดับชันประถมศึกษาปีที่ 1 - 6      


         กาน้ำเปลือกไข่นกกระจอกเทศ          เดิมเป็นทรัพย์สินของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์ (ต้นราชสกุลสวัสดิวัฒน์) ตกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รับมาจากกระทรวงการคลัง เมื่อ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๘๒ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้ส่งเก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓          ตัวกาน้ำทำจากเปลือกไข่นกกระจอกเทศ ประกอบเข้ากับทองแดงหล่อเป็นเชิง หู ฝา และพวย ตกแต่งเป็นลายเถาไม้ ฝาทำเป็นลายดอกไม้พร้อมก้านดอกประดับโซ่คล้องกับหูกาน้ำ มีหูปละพวยโค้งสูง งานประณีตศิลป์ชิ้นนี้งดงาม หายาก มีมูลค่าสูง โดยสั่งนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อการสะสมของชนชั้นสูง ที่นิยมมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ ๕ โดยเฉพาะสิ่งของจากวัตถุเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา          ปัจจุบันจัดแสดงในนิทรรศการ  “Museum Unveiling” เรื่องลึกเบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ไทยในอดีตที่เก็บสะสมโบราณวัตถุหายาก          ในพุทธศักราช ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย “มิวเซียมหลวง”จากในพระบรมมหาราชวังมายังพระราชวังบวรสถานมงคล “มิวเซียมหลวงที่วังหน้า” ในยุคนั้นจัดเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป การจัดแสดงวัตถุจึงเป็นการรวบรวมวัตถุจากทุกสาขาวิชา อาทิ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ และวัตถุทางธรรมชาติวิทยา เพื่อนำเสนอของแปลก ของหายาก เครื่องราชบรรณาการ และศิลปวัตถุอันมีค่า ตอบสนองคำว่า “พิพิธภัณฑ์” ซึ่งแปลว่า นานาวัตถุ          ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๖๙ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงปรับปรุงการจึงแสดงพิพิธภัณฑสถาน เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทโบราณคดีและศิลปะ จึงมีการเคลื่อนย้ายและจัดส่งโบราณวัตถุศิลปวัตถุส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับโบราณคดีไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น สัตว์ชำแหละเนื้ออาบน้ำยาส่งไปโรงเรียนเพาะช่าง ตัวอย่างแร่ธาตุส่งให้กรมโลหะกิจ และตัวอย่างสินค้าพื้นเมืองส่งไปให้กรมพาณิชย์ เป็นต้น          ส่วนโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ไม่สามารถจำแนกให้หน่วยงานอื่นๆ ได้เก็บรวบรวมไว้ในคลังพิพิธภัณฑสถาน ทั้งนี้ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ ของสะสมของชนชั้นสูงส่วนหนึ่ง ได้ตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินและใช้ในการจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้วย     อ้างอิง ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. “ดุริยางค์แห่งราชสำนัก : นิทรรศการรำลึก ๑๔๐ ปี พิพิธภัณฑ์ไทย”. ศิลปากร. ๕๗ ๔ (กันยายน-ตุลาคม) ๒๕๕๗.  กรมสิลปากร, วัธนธัมไทย เรื่องของไนพิพิธภันทแห่งชาติ. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันท, ๒๔๘๖.


วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ร่วมงานพิธีเปิดและควบคุมการขอนุญาตใช้สถานที่จัดงานสืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ ปี ๒๕๖๖ พร้อมกับควบคุมและตรวจสอบการบินโดรนบันทึกภาพ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อโบราณสถาน


          นายจรวย พงษ์ชีพ หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดำน้ำหยด” เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2476เป็นเกษตรกรสวนผลไม้ชาวอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นบุคคลต้นแบบผู้ริเริ่มนวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาการทำสวนผลไม้ ผลงานชิ้นแรกที่ทำให้นายจรวยเป็นที่รู้จัก คือ การแก้ปัญหาเงาะขี้ครอก หรือเงาะที่ไม่ติดผล โดยค้นพบว่าน้ำยาเร่งดอกสับปะรดเพื่อให้สับปะรดออกผลตามฤดูกาลนั้น สามารถนำมาใช้กับเงาะเพื่อแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นผู้ริเริ่มการผสมข้ามพันธุ์ผลไม้หลายชนิด เช่น เงาะไทยกับเงาะอินโดนีเซีย ทุเรียนพันธุ์ทองย้อยกับทุเรียนพันธุ์กระดุมทอง ซึ่งทำให้ได้ทุเรียนที่มีรสหวาน เมล็ดลีบ และทนต่อโรค             ผลงานชิ้นสำคัญที่ทำให้นายจรวยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในระดับชาติและนานาชาติ คือ การพัฒนาชลประทานระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นวิธีการให้น้ำแบบประหยัดและให้ผลตอบแทนสูงสุด เนื่องจากสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ตามความต้องการ และช่วยประหยัดเวลาในการให้น้ำ โดยนายจรวย  เกิดการจุดประกายความคิดมาจากความบังเอิญที่พบว่าบริเวณต้นเงาะที่ให้ผลผลิตมากเป็นพิเศษนั้นมีท่อน้ำวางผ่านและมีรูรั่ว จึงได้เริ่มต้นคิดค้นและพัฒนาระบบการให้น้ำแบบน้ำหยดมาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรชาวสวนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยชื่อ “ดำน้ำหยด” ที่เป็นที่รู้จักนั้น “ดำ” มาจากชื่อเล่นของนายจรวย และในช่วงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจึงได้ขนานนามว่า “ดำน้ำหยด” จนเรียนกันติดปากถึงทุกวันนี้            ระบบน้ำหยดที่นายจรวยได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นนั้นจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบไฟฟ้า โดยพื้นที่นั้นจะต้องมีแหล่งน้ำสำหรับใช้กับระบบสปริงเกอร์ มีการวางและต่อระบบน้ำ การประกอบระบบพ่นน้ำ และติดตั้งมอเตอร์ปั๊มน้ำ หากแหล่งน้ำอยู่ไกลก็อาจใช้เครื่องสูบน้ำแทน ภายหลังมีการพัฒนาระบบหัวฉีดหรือหัวจ่ายน้ำแบบต่างๆ เพื่อการประยุกต์ใช้กับพืชและระบบน้ำแต่ละชนิดให้เหมาะสม ทั้งนี้การให้น้ำโดยระบบน้ำหยดเพื่อให้พืชได้ผลผลิตที่ดี จำเป็นต้องมีการคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน เช่น ปริมาณน้ำที่พืชแต่ละชนิดต้องการ ระบบการสูบจ่ายน้ำ ประเภทและคุณภาพของดิน ตลอดจนสภาพภูมิอากาศร่วมด้วย           นายจรวย พงษ์ชีพ ได้รับการยกย่องจากมูลนิธิธารน้ำใจให้เป็นคนไทยตัวอย่างด้านการเกษตร ประจำปี พ.ศ. 2522 และได้รับการประสาทปริญญาเทคโนโลยีการเกษตร มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พืชศาสตร์) จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2529   แหล่งข้อมูลอ้างอิง ข้อควรรู้สักนิดก่อนติดสปริงเกอร์. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2566, จาก: https://www.baanlaesuan.com/45192/maintenance/sprinkler วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2544. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก.  ดำน้ำหยด ผู้พิชิตน้ำแห่งเมืองขลุง.  ระยอง: ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก, ม.ป.ป.    เรียบเรียง: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี



          หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรม "Chocolate Fondue ช็อกโกแลต ฟองดูว์" ในโครงการKidsเรียนรู้@หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี ในวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องเด็กและเยาวชน หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3451 3925 - 6


องค์ความรู้ : สำนักการสังคีต เรื่อง โขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์ โขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจรของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร โดยมีเป้าหมายในการเดินทางไปจัดการแสดงยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค โดยการเดินทางสัญจรไปจัดการแสดงที่ภาคใต้เมื่อปี ๒๕๖๖ ได้เพิ่มความแปลกใหม่และท้าทาย ด้วยการนำ “โขน” และ “โนรา” สองศิลปะการแสดงที่มีรากวัฒนธรรมหยั่งลึก ซึ่งได้รับการประกาศรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ จากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มาจัดแสดงบนเวทีเดียวกัน ภายใต้การนำเสนอวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามมกุฎอยุธยา กำกับการแสดงโดยปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน (ด้านอำนวยการแสดง) “โขน” กำเนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ กระบี่กระบอง และหนังใหญ่ เป็นนาฏกรรมเก่าแก่ที่มีแบบแผนสืบมาแต่โบราณ ผ่านการพัฒนาแก้ไขปรับปรุงให้ประณีตงดงามขึ้นตามลำดับ ผู้แสดงเป็นตัวยักษ์และลิงสวมหัวโขนปิดหน้า ผู้แสดงตัวพระ – นาง ซึ่งสมมติเป็นเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ ชาย หญิง สวมศิราภรณ์ประดับศีรษะ แสดงท่าเต้นและรำไปตามบทพากย์ - เจรจา บทร้อง และเพลงหน้าพาทย์ โดยมีวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง เว้นแต่ตัวแสดงที่เป็นตัวตลกจะเป็นผู้เจรจาเอง “โนรา” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ที่มีลีลาการร่ายรำที่งดงาม แข็งแรง กระฉับกระเฉง ประกอบการขับกลอนด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ มีลูกคู่และดนตรีร้องรับด้วยจังหวะที่คึกคักฉับไวอันเป็นเอกลักษณ์ มีรากมาจากพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อบูชาวิญญาณบรรพชนและมีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนใต้มาอย่างช้านาน โขนพบโนรา นับเป็นมิติใหม่แห่งการแสดงที่ผสานร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เชื่อมร้อยมรดกวัฒนธรรมให้เป็นหนึ่งเดียว โดยความร่วมมือระหว่างสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติประจำปี ๒๕๖๔ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) มารับบทเป็นพระอินทร์แปลง และร่วมออกแบบบทร้อง เพลงดนตรี สร้างสรรค์ผสมผสานท่ารำโนราให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่เป็นแกนหลัก แสดงร่วมกันระหว่างนาฏศิลปินจากสำนักการสังคีต และผู้แสดงโนราจากมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา กระบวนการจัดทำบทการแสดงโขนพบโนรา เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามมกุฎอยุธยา เริ่มจากการจัดทำบทโขนขึ้นเป็นหลัก โดยจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ สำนักการสังคีต เป็นผู้ปรับปรุงบทการแสดงในตอนศึกอินทรชิตแผลงศรพรหมาสตร์จากบทเดิมของกรมศิลปากร ซึ่งนำมาจากบทคอนเสิร์ตพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ด้วยเป็นตอนที่มีความเหมาะสมที่จะนำไปร้อยเรียงเป็นบทการแสดงโขนร่วมกับโนรา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์เรียบเรียงบทชมช้างเอราวัณและระบำหน้าช้างในส่วนของโนรา โดยปรับทำนองและคำร้องเพลงกลอนโนราตั้งแต่ช่วงอินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์ - อินทรชิตแผลงศรพรหมาสตร์ให้เป็นทางโนราได้อย่างลงตัว สวยงาม สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของทั้งสองศิลปะได้เป็นอย่างดี โขนพบโนรา เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามมกุฎอยุธยา จัดแสดงครั้งแรกวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เนื้อเรื่องกล่าวถึง ทศกัณฐ์มีบัญชาให้กาลสูรไปแจ้งแก่อินทรชิตให้ทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ อินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์ และสั่งให้ไพร่พลแปลงกายเป็นเทวดา นางฟ้า นาค ฤษี และขบวนเกียรติยศ การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณ เคลื่อนขบวนจับระบำรำฟ้อนไปในอากาศทำกลลวงให้ฝ่ายกองทัพพระลักษมณ์หลงกล เมื่อสบโอกาส อินทรชิตจึงแผลงศรพรหมาสตร์ถูกพระลักษมณ์และพลวานรสลบไป ต่อมาพิเภกได้บอกสรรพยาในการแก้ไขพิษศรพรหมาสตร์แก่พระราม จนพระลักษมณ์และพลวานรฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง จากนั้นยกกองทัพออกทำศึกกับทศกัณฐ์จนได้รับชัยชนะ เมื่อเสร็จศึกจึงรับนางสีดาพร้อมยกขบวนกองทัพคืนกลับไปปกครอง กรุงศรีอยุธยา เหล่าบรรดาเทพบุตร นางฟ้า ต่างร่วมกันจับระบำรำฟ้อนถวายพระพรชัยด้วยความยินดี รูปแบบการแสดง การแสดงโขนดำเนินเรื่องด้วยการขับร้อง การพากย์ - เจรจา และบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ตามรูปแบบของการแสดงโขน โนราดำเนินเรื่องตามเนื้อเรื่องหลักของการแสดงโขน โดยผู้แสดงโนราเป็นผู้ขับกลอนเองและดนตรีร้องรับ ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานกับเพลงบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์เครื่องคู่ในการรำโนรา ใช้เวลาทำการแสดงประมาณ ๒ ชั่วโมง ๒๐ นาที การแต่งกาย ผู้แสดงโขนแต่งกายยืนเครื่องตามจารีต ผู้แสดงโนราสวมเครื่องแต่งกายโนราที่ร้อยเรียงขึ้นด้วยลูกปัดสีสันต่าง ๆ สวมปีกหาง ศีรษะสวมเทริดทรงสูง และออกแบบพัฒนาชุดพระอินทร์แปลงขึ้นใหม่อย่างโนรา โดยใช้โทนสีเขียวและเหลืองทอง ตามความหมายและเอกลักษณ์ของตัวละคร รวมทั้งการใช้ ศร อาวุธประจำตัวของตัวละครตามจารีตของการแสดงอย่างครบถ้วน ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ประกอบการแสดงโขน และใช้วงปี่พาทย์ชาตรี (วงโนรา) บรรเลงประกอบการแสดงโนรา กำกับดนตรีโดย พงค์พันธ์ เพชรทอง ดุริยางคศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต ปรับวิธีการบรรเลงเพลงลิงลาน และเพลงกราวรำพม่าให้เป็นสำเนียงพื้นบ้านภาคใต้ เพื่อให้สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างหน้าทับของวงปี่พาทย์และวงโนรา ในบทบาทของผู้แสดงโนรา รายการอ้างอิง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. โนรา ศิลปะการร้อง รำ ที่ผูกพันกับชีวิต. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๖๓. จรัญ พูลลาภ. นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. สัมภาษณ์. ๒๓ มกราคม ๒๕๖๗. พงค์พันธ์ เพชรทอง. ดุริยางคศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. สัมภาษณ์. ๒๔ มกราคม ๒๕๖๗. ภาพถ่าย กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สำนักการสังคีต กรมศิลปากร บทความโดย ธัญนัฏกร กล่ำแดง นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ สำนักการสังคีต


         โรมาโน วิเวียนี (Romano Viviani)          ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri)          ปีพุทธศักราช: ปี พ.ศ.2473 (1930)          เทคนิค: หล่อปลาสเตอร์ (Plaster)          ขนาด : สูง 27 เซนติเมตร (H.27 cm.)            แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s03ok/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri


วันพฤหัสบดีที่  18  เมษายน  2567  เวลา 16.00 น. นายวิเชต ลิ้มภักดี เข้าร่วมการแถลงข่าว งาน“ศิวะราตรี ปูชนียาลัย ปราสาทเปือยน้อย” ประจำปี 2567 และการแสดงโขน ประกอบแสง สี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พาลีสอนน้อง โครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจร ประจำปี 2567 นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ณ ห้องแสดงสำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น



Messenger