ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ขอนำเสนอเกร็ดความรู้ สิ่งละอันพันละน้อยที่น่าสนใจของจังหวัดราชบุรี มานำเสนอให้แก่ท่านผู้สนใจ ผ่านชุดความรู้ #เรื่องมีอยู่ว่า... โดยในตอนแรก ขอเสนอ เรื่อง #ปลายี่สก ของดีเมืองราชบุรีสำหรับชาวราชบุรี หลายท่านคงจะเคยได้ยินชื่อปลายี่สก ที่ปรากฏอยู่ในประโยคสุดท้ายของคำขวัญประจำจังหวัดราชบุรี ##ย่านยี่สกปลาดีแต่จะมีสักกี่ท่านที่ทราบประวัติความเป็นมา และเคยได้มีโอกาสลิ้มรสชาติปลายี่สก ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนลดลงอย่างมากด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความรับรู้เกี่ยวกับปลายี่สกของเราๆ ลดน้อย หรือหมดไปวันนี้เรามาทำความรู้จักกับปลายี่สก ของดีเมืองราชบุรีกันค่ะ



ชื่อผู้แต่ง           นางบรรณกิจโกศลและบุตรธิดา ชื่อเรื่อง           พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ รองอำมาตย์โท ขุนบรรณกิจโกศล ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        รสพ. เชิงสะพานยมราช ปีที่พิมพ์          ๒๕๕๐ จำนวนหน้า      ๒๙ หน้า รายละเอียด      เป็นหนังสือที่ระลึกงานเป็นกิจศพ ของรองอำมาตย์โท ขุนบรรณกิจโกศล (รวย บุญยพุกกณะ) ซึ่งบุตรและธิดา ร่วมกันพิจารณาแล้วว่า ต้องการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์แก่ท่านขุน-บรรณกิจโกศล เนื้อหาในหนังสือ เกี่ยวกับประวัติของขุนบรรณกิจโกศล  วิธีการทำบุญ  การตั้งโต๊ะหมู่บูชา  การนิมนต์พระ คำถวายสังฆทาน  และคำอาราธนา เพื่อเป้นประโยชน์แก่ผู้ได้รับเล็ก ๆ น้อย ๆ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 145/2เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/3ง เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง           สยามมาตเทวี และเครื่องประทีป ในวรรณคดี ชื่อผู้แต่ง         อนุมานราชธน, พระยา พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     พระนคร สำนักพิมพ์       บริษัท การพิมพ์สตรีสาร จำกัด ปีที่พิมพ์          2507 จำนวนหน้า      67 หน้า รายละเอียด                     สยามมาตาเทวี เครื่องประทีปในวรรณคดี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางประสาตรสิทธิแพทย์ (หร่วม สุกุมลนันทน์) ณ วัดมกุฎกษัตริยามราม เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๗ กล่าวถึง 2 เรื่องคือ เรื่องสยามมาตาเทวีและเครื่องประทีปในวรรณคดี สยามมาตาเทวี เป็นเรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยซึ่งเรียกว่าประเทศสยาม ส่วนเรื่องเครื่องประทีปในวรรณคดี เกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้จากหนังสือวรรณคดี เพื่อให้ทราบว่าเครื่องประทีปของไทยแต่เดิมมีอย่างไร แล้ววิวัฒนาการมาอย่างไร


เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (๒ เมษายน) หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา จึงขอรวบรวมหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่านพร้อมบรรณนิทัศน์  โดยสามารถติดต่อขอใช้บริการตัวเล่มได้ที่ห้องหนังสือทั่วไปชั้น ๑  และห้องค้นคว้า ชั้น ๒ ค่ะ จัดทำโดย นางอุษา ลีลามโนธรรม เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน


เลขทะเบียน : นพ.บ.384/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143  (26-39) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.525/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 3.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ-ชาดทึบ-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 175  (260-266) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ติโลกทีปนี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อเรื่อง                         ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ.                            241/16หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  56 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


ชื่อเรื่อง                             มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์)  อย.บ.                                423/3 ประเภทวัสดุ/มีเดีย          คัมภีร์ใบลาน  หมวดหมู่                          พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                     46 หน้า : กว้าง 4.5 ซม.  ยาว 57 ซม. หัวเรื่อง                             พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                            ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับล่องชาด ทองทึบ รักทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  


องค์ความรู้ตอนที่ 2 ที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า "Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?" นำเสนอเกี่ยวกับชื่อ “ลังกาสุกะ” ที่ปรากฏในเอกสารโบราณต่างๆ และสันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณยะรัง ลังกาสุกะ เป็นชื่อเมืองที่ปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณ กล่าวกันว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 – 21 ผลจากการศึกษาเอกสารโบราณ นักวิชาการได้สรุปในเบื้องต้นว่าที่ตั้งของเมืองลังกาสุกะนั้นตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายูโดยมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนใต้และบริเวณเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าลังกาสุกะนั้นตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณยะรัง แต่ทั้งนี้การศึกษาเรื่องเอกสารโบราณยังมีข้อถกเถียงอีกมากมายหลายประการ การนำเสนอองค์ความรู้ในครั้งนี้เป็นเพียงทฤษฎีหนึ่งในการศึกษาเมืองลังกาสุกะที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลทางด้านวิชาการถือเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ แต่ทั้งนี้ การศึกษาเอกสารโบราณ ยังมีปัญหาอีกมากในการนำมาใช้งาน ทั้งการอ่านหรือแปลความ หรืออคติของผู้เขียนเอง ดังนั้น การศึกษาเอกสารโบราณเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการตีความทางด้านโบราณคดี --------------------------- Ep1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3  จังหวัดชายแดนใต้ https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790 Ep2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ? Ep3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี Ep4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ EP5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR) Ep6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี --------------------------- อ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้. สงขลา : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา, ๒๕๖๕. อมรา ศรีสุชาติ.ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,๒๕๕๗. --------------------------- ข้อมูลการศึกษาลังกาสุกะเพิ่มเติม  Gustaaf Schlegel, “Geographical Notes  Lang-ga-siu or Lang-ga-su and Sih-lan shan Ceylon, in T’uong Pao vol.9 No.3 (1898), 191-200  Ed. Huber, “Reviewed Work: En Oud-Javaansch geschiedkundig gedicht uit het bloeitijdperk van Madjapahit by H. Kern”in Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient Vol.4, No. 1/2 (janvier-juin 1904), 474-475  Paul Pelliot, Deux itinéraires de Chine en Inde à la fin du VIIIe siècle in Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient ,1904 vol 4, 131-413  G.E. Gerini, “The Nagarakretakama list of the countries on the Indo-Chinese mainland” in Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland, (1905), 485-511  Charles Otto Blagden, “Siam and the Malay peninsula” in Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland, (1906), 107-119  G.P. Rouffaer, Was Malaka Emporium Voor 1400 A. D., Genaamd Malajoer? En Waar Lag Woerawari, Ma-Hasin, Langka, Batoesawar? in Bijdragen tot de taal-, land- en volkenkunde, deel Ixxvii (1921), 359-569   W. Linehan, “Langkasuka The Island of Asoka” in Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society, Vol. 21, No. 1 (144) (April 1948), pp. 119-123.  G. Ferrand, “Le Melaka, Le Melayur” in Journal Asiatique (paris), 1918, 391-484.   George Coedes, “Le royaume de Crivijaya” in Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient ,1918 vol XVIII,no.6, 1-36. and Les états hindouisés d'Indochine et d'Indonésie (Paris : De Boccard, 1964)  Roland Braddell, “Notes on Ancient Times in Malaya - Langkasuka and Kedah” in Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society, Vol. 23, No. 1 (151) (February, 1950), 1-36.  Paul Wheatley, “Langkasuka” in The Golden Khersonese (Kuala Lumpur : University of Malaya Press, 1961), 252 - 267.



          พลับพลาที่ประทับ สถานีรถไฟบางปะอิน ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงราวปี พ.ศ.2434-2439 ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างทางรถไฟสายเหนือ กรุงเทพ-โคราช ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกในประเทศไทยไม่เพียงแต่รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นแล้ว ภายในยังถูกประดับดับตกแต่งด้วยงานศิลปกรรมที่สวยงามและประณีต ประกอบด้วย งานแกะสลักไม้ งานปิดทอง และงานกระจกเขียนสี หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่ากระจกสเตนกลาส ณ เวลานี้ อาคารหลังนี้มีอายุราว 130 กว่าปี ซึ่งควรถึงแก่เวลาในการอนุรักษ์ตัวอาคารและกระจกสเตนกลาส ซึ่งเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานของวัสดุ รวมถึงปัจจัยภายนอก          เมื่อวันที่ 12-16 มิถุนายน 2566 สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาจึงได้ดำเนินการสำรวจและบันทึกสภาพความเสียหายอย่างครบถ้วนโดยวิเคราะห์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ก่อนดำเนินการรื้อถอนกระจกสเตนกลาสถอดเก็บเพื่อดำเนินการอนุรักษ์ตัวอาคารและกระจกสเตนกลาสต่อไป การดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย - สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา -  การรถไฟแห่งประเทศไทย - รองศาสตราจารย์ จักรพันธ์ วิลาสินิกุล และอาจารย์สวรรยา จันทรสมัยสตูดิโอแก้ว คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร - Jerry Cummins & Jill Stehn Pty. Ltd.           จากการตรวจสอบสภาพของกระจกสเตนกลาสโดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา และผู้เชี่ยวชาญด้านงานอนุรักษ์กระจกสเตนกลาสจากประเทศออสเตรเลีย สตูดิโอแก้ว จากคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาศิลปากร พบว่า รางตะกั่วซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญที่จะประคองชิ้นกระจกให้ยึดติดบนผนังได้นั้นเสื่อมสภาพลง รวมถึงชิ้นกระจกบางส่วนได้แตกและหลุดหาย จึงทำให้น้ำฝนสามารถไหลผ่านเข้าตัวอาคารได้ และมีโอกาสที่งานศิลปกรรมจะเสืยหายโดยง่ายในอนาคตที่มาของข้อมูล : Facebook สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา https://www.facebook.com/100064413381094/posts/pfbid0DvgL3Yve5YBBjdcENx3VqkZ1zhCAHrGLBptM1uVmkZ3ZiA3ig5YdxcEqp382W9eKl/


Messenger