ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ชื่อเรื่อง ทานานิสํสกถา (ฉลองต้นเครื่องทาน) สพ.บ. 466/1 หมวดหมู่ พุทธศาสนา ภาษา บาลี-ไทยอีสาน หัวเรื่อง ชาดก เทศน์มหาชาติ ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ 20 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
พิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2525
ผู้พิมพ์ : Publisher:
คณะอนุกรรมการประมวลเอกสาร ในคณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
อธิบาย : Description:
พิมพ์จำนวน 20,000 เล่ม พิมพ์4สี จำนวน 332 หน้า
ISBN:
974-7919-60-5
ราคา : Price:
300
หนังสือนำชมกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นหนังสือ และสมุดภาพที่ได้รวบรวมเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในกรุงรัตนโกสินทร์ อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ในด้านต่างๆ จัดพิมพ์ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
ผู้สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลได้ที่หอสมุดแห่งชาติ และห้องสมุดประชาชน ทั่วประเทศ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๔๗๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๒๐๕๐
ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2538 สถานที่พิมพ์ : ลำพูน สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ. ภายในหนังสือที่ระลึกในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพงศ์ธารา ณ ลำพูน จะบอกเล่าเรื่องราวลำดับวงศ์ของเจ้าผู้ครองนครลำพูน พงศาวดารเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง และเมืองลำพูนไชย ในสมัยรัตนโกสินทร์ และมีการพูดถึงประวัติศาสตร์เมืองลำพูน ทั้งตำนานการสร้างเมือง ลำดับกษัตริย์ที่ครองเมืองลำพูน มีการพูดถึงบทบาทที่สำคัญของผู้ปกครองในแต่ละคนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการสร้างเมืองลำพูน
วันศุกร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยท่านผู้หญิง สิริกิติยา เจนเซน รับมอบไฟล์ภาพถ่ายความละเอียดสูง “พระที่นั่งพุทไธสวรรย์” จากการจัดทำนิทรรศการดิจิทัล (ภายใต้โครงการวังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา) จากบริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกรมศิลปากร และเจ้าหน้าที่ ร่วมในพิธีรับมอบ ณ ห้องประชุมผู้บริหารกรมศิลปากร ชั้น ๘ อาคารกรมศิลปกร (เทเวศร์)
ในที่ประชุมมรดกโลก ครั้งที่ ๔๓ พอใจการดำเนินงานของกรมศิลปากรในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พร้อมขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ และกลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทปลายบัด ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List)
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก สมัยประชุมที่ ๔๓ ณ เมืองบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจัน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน – ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรมศิลปากร๒ เรื่อง ได้แก่
๑. การรายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการติดตามตรวจสอบของศูนย์มรดกโลก โดยในปีนี้มีแหล่งมรดกโลก ๑๑๒ แหล่ง ที่ยังคงต้องส่งรายงานสถานภาพการอนุรักษ์ตามที่ศูนย์มรดกโลกร้องขอ รวมถึงมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาด้วย โดยกรมศิลปากรได้ส่งรายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตามร่างข้อตัดสินใจขององค์กรที่ปรึกษา (ICOMOS )สรุปผลจากที่ประชุมฯ ดังนี้
๑.๑ ที่ประชุมรับทราบและชื่นชมความพยายามในการอนุรักษ์และการจัดการ โดยเฉพาะการปรับปรุงแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๗๐) รวมถึงยุทธศาสตร์การป้องกันความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
๑.๒ เห็นชอบการปรับระเบียบกฎเกณฑ์การขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อปกป้องคุณค่าความเป็นสากลอันโดดเด่นของพื้นที่โบราณสถาน
๑.๓ ร้องขอให้ไทยติดตามแผนการดำเนินการตามคำสั่งรื้อถอนอาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีผลกระทบทางลบต่อคุณค่าความเป็นสากลอันโดดเด่นของพื้นที่โบราณสถาน
๑.๔ ที่ประชุมพอใจกับการจัดให้มีกิจกรรมการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของงานช่างฝีมือในท้องถิ่น ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมเฉพาะทาง
๑.๕ ส่งเสริมให้ไทยเฝ้าระวังพื้นที่โบราณสถานที่มีชื่ออยู่ในบัญชีอย่างสม่ำเสมอและเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการแทรกแซงใดๆ ต่อพื้นที่โบราณสถาน จะต้องอยู่บนหลักการของการอนุรักษ์ทางวิทยาศาสตร์และคงไว้ซึ่งโครงสร้างทางกายภาพและเทคนิคแบบดั้งเดิม
๑.๖ ร้องขอให้ไทยต้องแจ้งต่อศูนย์มรดกโลก (World Heritage Centre) ถึงแผนการในอนาคตสำหรับการอนุรักษ์โบราณสถานหรือการก่อสร้างในพื้นที่ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณค่าความเป็นสากลอันโดดเด่นของพื้นที่โบราณสถาน
๑.๗ ร้องขอเพิ่มเติมให้ขยายขอบเขตของพื้นที่โบราณสถานที่เป็นมรดกโลก เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงร่องรอยอันสมบูรณ์และรุ่งเรืองของอยุธยา โดยให้ส่งพร้อมรายงานสถานภาพการอนุรักษ์ รวมทั้งแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และระเบียบเกณฑ์การขออนุญาตปลูกสร้าง (ปรับปรุง) ให้จัดส่งรายงานต่อศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓
๒. ที่ประชุมมีมติรับรองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย จำนวน ๒ แหล่ง ได้แก่ เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ และ กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทปลายบัด จ.บุรีรัมย์ ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) โดยประเทศไทยจะต้องเตรียมจัดทำเอกสารเพื่อนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวเข้าสู่บัญชีมรดกโลกต่อไป
ภาพ : เขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีเทพ
ภาพ : อุทยานประวัติศาสตร์ พนมรุ้ง
ภาพ : ปราสาทเมืองต่ำ
ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ได้มอบเอกสารจำนวนมากและของที่ระลึกแก่ หจช.ตรัง ทั้งเอกสารและสิ่งของสะท้อนถึงประวัติชีวิต การปฏิบัติงานในบทบาทนักการเมือง การดำรงตำแหน่งในหน้าที่ต่าง ๆ จนถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งในด้านประวัติศาสตร์
ในฐานะที่ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย เป็นบุคคลสำคัญของชาติและเป็นชาวตรังที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในการบริหารประเทศ กรมศิลปากรจึงจัดแสดงประวัติและผลงานไว้ที่ หจช.ตรัง เพื่อเป็นเกียรติยศและประกาศคุณงามความดีให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นแบบอย่างแก่สาธารณชน ควบคู่กับการให้บริการเอกสารที่ได้รับมอบ จึงได้จัดทำ "ห้องเกียรติยศ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๐" ขึ้น ซึ่งเป็นต้นแบบและตำนานลูกชาวบ้านจากเมืองตรังคนแรกที่ก้าวไปสู่จุดหมายสูงสุดบนถนนสายการเมือง
กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต จะจัดการแสดงดนตรีสำหรับประชาชน ณ สังคีตศาลา ปีที่ ๕๙เพื่อเป็นการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมด้านการแสดงดนตรีสำหรับประชาชน ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ ระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ ถึง เดือนเมษายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
การจัดแสดงดนตรีสำหรับประชาชน ณ สังคีตศาลา ได้มีการดำเนินงานมานับแต่ปี ๒๔๙๑ สืบต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยจัดการแสดงที่หลากหลายจากศิลปินของกรมศิลปากรและศิลปินรับเชิญ ได้แก่ การบรรเลงดนตรีสากล(วงดนตรีลูกทุ่ง วงสตริง วงหัสดนตรี วงสังคีตประยุกต์วงดุริยางค์สากล วงโยวาทิต)การแสดงนาฏศิลป์ โขน การแสดงนาฏศิลป์ละคร ละครนอก ละครใน ละครพันทาง ละครเสภา ละครชาตรี ละครดึกดำบรรพ์)การแสดงหุ่นกระบอก การแสดงโขนสด การแสดงหุ่นละครเล็ก การแสดงพื้นเมือง(ลำตัด เพลงอีแซว ลิเก)การบรรเลงดนตรีไทย (วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงมโหรี วงเครื่องสายปี่ชวา วงปี่พาทย์มอญ วงอังกะลุง วงปี่พาทย์ชวา)สักวาออกตัว การบรรเลงและการแสดงนาฏศิลป์จากต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการแสดงผลงานรายการดนตรีสำหรับประชาชน เป็นการเผยแพร่ความรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏดุริยางคศิลป์แก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
โดยเก็บค่าเข้าชมคนละ ๒๐ บาท
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักการสังคีต กรมศิลปากร หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๕ ๙๐๙๗ เริ่มเปิดสังคีตศาลาวันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
< ย้อนกลับ
แผ่นศิลาจำหลักพระพุทธรูปปางสมาธิ
เลขทะเบียน ๐๙/๓๒๓/๒๔๙๗
ศิลปะทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕
หินทราย ขนาด สูง ๑๒๐ เซนติเมตร กว้าง ๖๔.๕ เซนติเมตร
พบที่ เมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
แผ่นศิลาจำหลักพระพุทธรูปปางสมาธิ ด้านบนสลักเป็นรูปโค้งสอบขึ้นไปแบบกลีบบัว บริเวณกึ่งกลางของแผ่นศิลาสลักเป็นภาพพระพุทธรูปปางสมาธิประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวหงายอยู่ในซุ้มประตู พระพุทธรูปมีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรปิดสนิท พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนา ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดขนาดใหญ่ อุษณีษะนูนขึ้นมา พระกรรณยาว พระศอเป็นปล้อง พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาด้านขวา ชายสังฆาฏิยาวจรดพระอุระด้านซ้าย
ด้านบนของพระพุทธรูปมีสถูปทรงหม้อน้ำหรือปูรณฆฏะ ตั้งอยู่บนฐานรูปบัวหงาย และมีอักษรจารึกที่กรอบซุ้มเฉพาะส่วนซ้ายวนขึ้นไปกรอบบน ความในจารึก คือ เย ธมฺมา เหตุ ปฺปภวา เหตุมํ เตสํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ แปลว่า ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคตกล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้ แต่จารึกนี้มีสภาพชำรุด อักษรข้อความเหลือไม่จบคาถา ซึ่งคาถาบทนี้เป็นคาถาแสดงพระอริยสัจ อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่พระอัสชิ ปัญจวัคคีย์ องค์หนึ่งแสดงแก่พระสารีบุตรก่อนออกบวช ภายหลังได้นิยมนำคาถาบทนี้ไปจารึกลงบนเหรียญ พระพิมพ์ และสลักลงบนภาพสลักเนื่องในพุทธศาสนา
Carved Stone Buddha Image in Meditation Posture
Registration No. 09/323/2497
Dvaravati Style, ca. 9 - 10th Century
Sandstone, Height 120 cm. Width 64.5 cm.
Found at Mueang Sema, Sung Noen district, Nakhon Ratchasima province and donated by Somdet Phra Maha Viravong to the Fine Arts Department in 1927.
The Buddha image has a slightly squares face, the eyebrows connect above the nose, eyes are downcast, the nose is flat, the lips are thick and the ears are long. The hair has large curls with a cone-shaped knot. The Buddha is sitting in the meditation mudra on a lotus base.
Above the Buddha is a stupa and an inscription. The inscription refers to the Dhamma of the Buddha (the teachings of the Buddha). Unfortunately, part of the inscription has disappeared. This passage is very important and was referred to as the Heart of Buddhism. In addition, these passages were frequently engraved on medals, Buddha votive tablets and Buddhist sculptures.