ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ชิต บุรทัต. กวีนิพนธ์บางเรื่อง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521 เป็นหนังสือรวบรวมผลงานกวีนิพนธ์บางส่วนของชิต บุรทัต จากหนังสือต่างๆ เช่น สรรเสริญพระคเณศวร มหานครปเวศคำฉันท์ ฉันท์ราชสดุดีและอนุสาวรียกถา คติของพวกเราชาวไทย ชาติปิยานุสรณ์ เขาย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ตาโป้คำฉันท์ เสียงสิงคาล สัตว์หน้าขน อุปมาธรรมชาติ วารสิสาขะมาส วัสสานฤดู เหมันตฤดู เหมือนพระจันทร์ข้างแรม นิราศแมวคราว สัญชาติอีกา กวีสี่ และกำเนิดแห่งสตรีคำโคลง เป็นต้น
ตราประจำจังหวัดชัยนาท (เดิม)
..
ในช่วงเวลาที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยเป็นยุคที่มีการปฏิรูปทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ รัฐบาลในยุคนั้น ได้พยายามวางแนวทางให้ประชาชนในชาติอยู่ในระเบียบวินัย เพื่อสนองแนวคิดความเป็นชาติที่มีอารยะ
..
ได้มีรัฐนิยมประกาศออกใช้ถึง 10 ฉบับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพูดจา มารยาท การแต่งกาย และอื่น ๆ ที่รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนปฏิบัติตาม
..
ความต้องการให้บ้านเมืองมีเอกลักษณ์ของตนเองนี้ ได้รวมไปถึงด้านการปกครองด้วย กล่าวคือรัฐบาลมีความคิดริเริ่มที่จะจัดทำตราประจำจังหวัดขึ้นใช้ นอกเหนือจากตราประจำตัว และตราประจำตำแหน่งข้าราชการ ซึ่งมีมาแล้วแต่โบราณ
..
แนวคิดการสร้างตราประจำจังหวัดของผู้นำรัฐบาลครั้งนั้นน่าจะมาจากเหตุหลัก 2 ประการคือ
1. ต้องการมีเครื่องหมายประจำจังหวัด ดังเช่นประเทศในยุโรป ที่มีเครื่องหมายประจำรัฐหรือแคว้นเห็นได้อย่างชัดเจน
2. ต้องการให้ประชาชนในท้องถิ่น มีความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของตน เนื่องจากตราประจำจังหวัดถือเป็นเอกลักษณ์ที่ใช้ในจังหวัดนั้น ๆ
..
จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้มอบนโยบายให้แก่กรมศิลปากร ซึ่งขณะ นั้นมี พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ดำรงตำแหน่งอธิบดี ออกแบบตราประจำจังหวัดทุกจังหวัด โดยกรมศิลปากรได้เริ่มดำเนินการออกแบบตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นต้นมา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่านของ กรมศิลปากรเป็นหลักในการออกแบบ ได้แก่ ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) เป็นผู้คิดความหมายจากชื่อจังหวัด หรือจากสิ่งสำคัญในแต่ละจังหวัด เพื่อจำลองออกมาเป็นภาพในดวงตราประจำจังหวัด และพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ร่างแบบตามแนวคิด ทั้งนี้กรมศิลปากรได้เปิดโอกาสให้คณะกรมการจังหวัดทุกจังหวัด มีส่วนในการเสนอข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณา ออกแบบดวงตราประจำจังหวัดด้วย ส่วนการเขียนลงเส้นนั้น มีช่างอาวุโสในแผนกหัตถศิลป กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เป็นผู้เขียนรวม ๔ นายคือ นายปลิว จั่นแก้ว นายทองอยู่ เรียงเนตร นายปรุง เปรมโรจน์ และนายอุ่ณห์ เศวตมาลย์
..
แต่แนวคิดในการออกแบบตราประจำจังหวัดของแต่ละจังหวัดนั้น กรมศิลปากรได้น้อมรับความเห็นของคณะกรมการจังหวัดทั้ง ๗๔ จังหวัด เพื่อมาใช้ในการออกแบบด้วย เพราะกรมศิลปากรเล็งเห็นว่า จะพิจารณาแนวทางการออกแบบ โดยอาศัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และความคิดเห็นในเชิงวิชาการเท่านั้นคงจะไม่ได้ เพราะความสำคัญของตราประจำจังหวัดนั้น อยู่ที่ว่าเมื่อทำขึ้นแล้ว ชาวจังหวัดโดยทั่วไปหรือส่วนมากจะพอใจใช้หรือไม่ อนึ่งเครื่องหมายนั้นต้องเป็นเครื่องหมายที่จะให้ใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ตลอดถึงเป็นเครื่องหมายสินค้า อุตสาหกรรมของพื้นเมือง จะใช้รูปปูชนียวัตถุสำคัญของจังหวัดนั้น ๆ ก็อาจไม่เหมาะแก่ความนิยมนับถือ ซึ่งการพิจารณาหลายด้านเช่นนี้ กรมศิลปากรจึงต้องหารือกับกรมการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อขอความคิดเห็นไปประกอบการพิจารณาว่า ควรใช้อะไรเป็นเครื่องหมายของจังหวัดนั่นเอง
..
โดยกรมการจังหวัดชัยนาทในเวลานั้น ได้เสนอรูปแบบตราประจำจังหวัดให้กับกรมศิลปากร โดยเสนอให้มีรูปพระธรรมจักร และรูปเขาสรรพยาที่มีหนุมานใช้หางพันรอบ ๆ เพื่อหาสังกรณีตรีชวา แต่กรมศิลปากรเห็นว่าวัดธรรมามูล เป็นโบราณสถานสำคัญของจังหวัด เพราะมีพระพุทธรูปที่เรียกกันว่า หลวงพ่อธรรมจักร ที่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนพลเมืองทั่วไป จึงเห็นควรทำเป็นรูปธรรมจักรกับภูเขา โดย ธรรมจักร มีความหมายถึง วัดธรรมามูล ส่วนภูเขา มีความหมายถึง เขาธรรมามูล หรือเขาสรรพยาก็ได้
..
ภายหลังเมื่อกรมศิลปากรได้ออกแบบตราประจำจังหวัดชัยนาทแล้ว จึงได้ตราประจำจังหวัดที่เป็นรูปธรรมจักร อยู่กลางตราสัญลักษณ์ โดยเบื้องหลังธรรมจักรเป็นรูปภูเขา เบื้องล่างและเบื้องบนของตราล้อมด้วยลายกระหนก
..
รูปธรรมจักรและภูเขานั้น เป็นสัญลักษณ์หมายถึง หลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปสำคัญซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วิหารบนเชิงเขาธรรมามูล ที่ชาวชัยนาทเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้มาก เชื่อว่าจะบันดาลความร่มเย็นเป็นสุข และความอุดมสมบูรณ์ให้แก่บ้านเมือง
..
ในปัจจุบันตราประจำจังหวัดชัยนาท ได้มีการปรับเปลี่ยนลักษณะต่างไปจากแบบเดิมของกรมศิลปากร โดยมีการเพิ่มรูปครุฑเข้าไปอยู่ใต้รูปธรรมจักร
เนื้อหาและภาพประกอบจากหนังสือ ตราประจำจังหวัด จัดพิมพ์เผยแพร่โดย กรมศิลปากร
ประติมากรรมดินเผารูปสตรี ประดับศาสนสถานสมัยทวารวดี ดินเผา สูงประมาณ ๒๖ เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ประติมากรรมดินเผารูปสตรี ใบหน้ากลม คิ้วต่อกันเป็นปีกกา ตาเหลือบมองลงต่ำ จมูกโด่ง ปากอมยิ้ม ไว้ผมแสกกลาง มัดผมเป็นจุกกลางศีรษะ ลักษณะคล้ายทรงผมที่พบในประติมากรรมศิลปะอินเดีย สวมเครื่องประดับ ได้แก่ ตุ้มหูรูปห่วงกลม ส่วนปลายของตุ้มหูโค้งเข้าหากัน ใบหูยาวจรดถึงบ่า สวมสร้อยลูกปัดที่มีจี้รูปโค้งประดับตรงกลาง ต้นแขนสวมเครื่องประดับ เครื่องประดับเหล่านี้มีรูปแบบคล้ายกับลูกปัดและเครื่องประดับที่พบภายในเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ประติมากรรมดังกล่าวใช้สองมือเกาะขอบฐานด้านล่าง เนื่องจากรอบข้างของประติมากรรมหักหายไป สันนิษฐานว่าหากมีสภาพที่สมบูรณ์ อาจมีลักษณะเป็นรูปวงโค้งเพื่อใช้ประดับศาสนสถานแบบเดียวกับวงโค้งรูปบุคคลที่เรียกว่า”กุฑุ”ซึ่งนิยมใช้ประดับขั้นหลังคาศาสนสถานแทนความหมายของชั้นวิมานในศาสนสถานสมัยทวารวดีที่พบภายในเมืองโบราณอู่ทอง เพื่อแสดงให้เป็นว่าเป็นวิมานของเหล่าเทพต่าง ๆ เป็นรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ และสมัยหลังคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๓ หรือเมื่อประมาณ ๑,๓๐๐ - ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว) ทั้งนี้มีหลักฐานการค้นพบ “กุฑุ” ดินเผา ในเมืองโบราณอู่ทอง จำนวนอย่างน้อย ๓ ชิ้น จัดแสดงอยู่ ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จำนวน ๒ ชิ้น และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๑ ชิ้น------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๗ โปรดให้ตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพญภาคย์ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๙
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณกรรมหลายประเภท ทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และบทความ เป็นงานเขียนที่มีพัฒนาการอย่างสูงสืบเนื่องมาแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จุดเด่นของวรรณกรรม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มุ่งเน้นการประพันธ์จากวรรณกรรมเริงรมย์ไปสู่วรรณกรรมสะท้อนสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสะท้อนภาพของวิถีชีวิต ค่านิยม และทัศนคติของชนชั้นกลางในการสร้างสังคมประชาธิปไตย อีกทั้งในยุคนี้ยังเป็นยุคเฟื่องฟูของนวนิยายสมัยใหม่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างความหฤหรรษ์ทางปัญญาแก่ผู้อ่าน และบุกเบิกแนวทางของวรรณกรรมสัจสังคมนิยม ให้เป็นแนวทางที่โดดเด่นของวรรณกรรมไทยร่วมสมัยมาจนทุกวันนี้ และหนึ่งในวรรณกรรมเล่มสำคัญที่มิอาจกล่าวผ่านเลยไปเล่มหนึ่ง ณ ช่วงเวลานั้น คือ “ดำรงประเทศ” ดำรงประเทศ เป็นวรรณกรรมที่หายสาบสูญไปเกือบ ๑๐๐ ปี โดยเป็นนวนิยายเรื่องแรกของเวทางค์ หรือ เรืออากาศโททองอิน บุณยเสนา ซึ่งเป็นนักเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นร่วมสมัย ในยุคเดียวกับดอกไม้สดและศรีบูรพา แต่น่าเสียดายที่นักเขียนซึ่งใช้นามปากกาว่า เวทางค์ กลับถูกลืมหายไปกับช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมอย่างน่าเสียดาย ดำรงประเทศ เวทางค์ได้เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์พานิชศุภผล จำหน่ายราคาเล่มละ ๑ บาท สำหรับท่วงทำนองการเขียนเป็นแบบจินตนิยายในแนวปรัชญาการเมือง โดยวางเนื้อเรื่องและบทบาทของตัวละครเน้นไปในทางให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงแก่นธรรมะ และระบอบ การปกครองของประเทศ ซึ่งขณะนั้นยังมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ผู้เขียนได้เน้นเสนอปรัชญาการเมืองในแบบ "ธรรมาธิปไตย" คือการปกครองโดยธรรมเพื่อความเป็นธรรมของราษฎร ซึ่งเป็นการปลุกให้นักอ่านได้ตื่นตัวแต่มิใช่เป็นการปลุกระดมดังเช่นปัจจุบัน ภายในเล่มของดำรงประเทศ แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น ๑๐ บท คือ บทที่ ๑ การสงคราม บทที่ ๒ กษัตราธิราช บทที่ ๓ การอบรม บทที่ ๔ ทาษของคนหรือชาติ บทที่ ๕ ความรัก บทที่ ๖ การปกครอง บทที่ ๗ เมืองบิตุราชและมาตุภูมิ บทที่ ๘ ความสวาท บทที่ ๙ รัฐประสาสโนบาย และบทที่ ๑๐ สาสนคุณ ดำรงประเทศ ถูกคัดเลือกให้เป็น ๑ ในหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ประเภทบันเทิงคดี ด้านนิยาย โดยวิทยากร เชียงกูล และคณะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ปัจจุบันสำนักพิมพ์ต้นฉบับได้นำนวนิยายเรื่อง ดำรงประเทศ ซึ่งเป็นวรรณกรรมเก่าและหายากมาจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ เพื่อร่วมอนุรักษ์และเผยแพร่แก่สาธารณะอย่างกว้างขวางอีกครั้งในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ ปัจจุบัน “ดำรงประเทศ” จัดเก็บและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๗๔ ให้บริการ ณ ห้องหนังสือหายาก อาคาร ๒ ชั้น ๓ และฉบับพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ต้นฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้บริการ ณ ห้องหนังสือประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ อาคาร ๑ ชั้น ๓ดำรงประเทศ โดย เวทางค์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๗๔ โรงพิมพ์พานิชศุภผลดำรงประเทศ โดย เวทางค์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๖ สำนักพิมพ์ต้นฉบับ---------------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ---------------------------------------------------------------------บรรณานุกรม ประกาศ วัชราภรณ์. ทำเนียบนักประพันธ์. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, ๒๕๓๒. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. วรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๗ : การตอบสนองรสนิยมของชนชั้นกลาง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ๖ (๑): ๗๗ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔. จาก: https://e-journal.sru.ac.th/ index.php/jhsc/article/view/111/pdf_107. ๒๕๕๗. วิทยากร เชียงกูล. สารานุกรมแนะนำหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๒. เวทางค์. ดำรงประเทศ. พระนคร: โรงพิมพ์พานิชศุภผล, ๒๔๗๔. เวทางค์. ดำรงประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ, ๒๕๕๖.
โครงการสร้างภาคีเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ (รวมใจประชารัฐ ร่วมรักษาโบราณสถาน เพื่อ“ศรีสะเกษ”บ้านเรา) ประจำปีงบประมำณ ๒๕๖๒ ระหว่ำงวันที่ ๖-๗ มิถุนำยน ๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น ๑ ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
ความในพระไตรปิฎกระบุว่า กัปปัจจุบันนี้ เรียกว่า ภัทรกัป แปลว่า กัปเจริญ มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดถึง ๕ พระองค์ อุบัติแล้ว ๔ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม คงเหลือพระเมตเตยยะ เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือพระศรีอารยเมตไตรย จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า ตามความเชื่อกระแสหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่สืบมาจากลังกา กล่าวว่าขณะนี้พระศรีอาริย์เกิดเป็นเทพบุตร ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต รอเวลามาบังเกิดเมื่อสิ้นพุทธกาลของพระโคดม เมื่อล่วงเวลา ๕,๐๐๐ ปี ดังความในบทไหว้ลายลักษณ์รอยพระพุทธบาท ซึ่งชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ชาวใต้สวดเป็นประจำทุกค่ำคืนว่า “...พระพุทธเจ้า เสด็จเข้านิฤพาน ยังแต่พระศรีอาริย์ ในชั้นดุสิตา พระพุทธรูปัง ยังครองศาสนา ให้สงฆ์ทั้งหลาย กราบไหว้วันทา ต่างองค์พระศาสดา สรรเพชญมุนี รักษาศาสนา ถ้วนห้าพันปี คำพระชินศรี โปรดให้แก่เรา...” เรื่องเล่าในพระพุทธศาสนากล่าวว่า เมื่อพระศาสนาพระสมณโคดมเจ้าถ้วนถึง ๕,๐๐๐ ปี พระพุทธศาสนาอันตรธานไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายประกอบด้วยอกุศลกรรมหนาแน่น ทำให้มีอายุน้อยถอยลงโดยลำดับ กระทั่งมีอายุ ๑๐ ปี ชายหญิงอายุได้เพียง ๕ ปี ก็แต่งงานกัน กาลนั้นจึงเกิดสัตถันตรกัป สมัยแห่งความพินาศ ด้วยมนุษย์จับอาวุธขึ้นมาประหัตประหารกัน โดยเห็นกันและกันเป็นสัตว์ เรียกว่า มิคคสัญญี เป็นเวลา ๗ วัน จนผืนแผ่นดินเต็มด้วยซากศพ นองด้วยน้ำเลือด น้ำหนอง คนเหล่าหนึ่งหนีไปอยู่ตามลำพังในซอกเขา พุ่มไม้ เถื่อนถ้ำ ที่วิเวก เมื่อครบ ๗ วัน ออกมาพบกัน ชักชวนกันทำการกุศล ด้วยอำนาจการจำศีลภาวนา จึงเกิดฝนตกเป็นเวลา ๗ ราตรี พัดเอาซากศพสิ่งปฏิกูลลอยไป จากนั้นด้วยผลแห่งทาน ศีล ภาวนาของคนทั้งหลาย โลกจึงกลับเจริญขึ้น เกิดห่าฝนมธุรสตกตลอด ๗ วัน เป็นอาหารแก่มนุษย์ ห่าฝนแก้วแหวนเงินทอง ห่าฝนของหอม ห่าฝนชะมด กฤษณา จันทน์จุณ ชำระล้างพื้นแผ่นดิน ให้กลิ่นหอม ห่าฝนข้าวสาร ข้าวเปลือก เลี้ยงชีวิตคน ห่าฝนผ้าผ่อนแพรพรรณ ห่าฝนภาชนะ เครื่องใช้สอย และห่าฝนแก้วมณีทั้งเจ็ด ตกลงทั่วทั้งแผ่นดิน อายุมนุษย์ก็ทวีขึ้นตามลำดับด้วยผลแห่งกุศลกรรม จนอายุยืนถึงอสงไขยหนึ่ง มนุษย์ไม่รู้จักความเจ็บ ความตาย มีความประมาท อายุจึงลดลงเหลือ ๘๐,๐๐๐ ปี ถึงวาระที่พระศรีอารยเมตไตรยจะเสด็จลงมาโปรดคนทั้งหลาย เป็นช่วงเวลาที่โลกมนุษย์เป็นแดนบรมสุข ด้วยความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ พระศรีอาริย์ จึงมาบังเกิดภายหลังพุทธกาลของพระพุทธเจ้าศากยมุนีเนิ่นนาน นับด้วยอสงไขย เป็นเวลานับประมาณไม่ได้ อย่างไรก็ดี ผู้ปรารถนาจะได้พบ เกิดทันศาสนาของพระศรีอาริย์ มีอยู่เป็นอันมาก ตามพื้นบ้าน พื้นเมือง จึงเกิดการแต่งนิทาน ว่าด้วยพระศรีอาริย์ยุคกึ่งพุทธกาล แสดงเรื่องพระศรีอาริย์จุติลงมาในโลกมนุษย์ เพื่อเยี่ยมโลก ในยุคศาสนาใกล้จะถึง ๒,๕๐๐ ปี ปรากฏเป็นคติความเชื่อเฉพาะถิ่นในที่บางแห่ง อาทิ ตำนานพระศรีอาริย์วัดไลย์ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น--------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร --------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ๑. จรัล ทองวิไล. “ไหว้ลายลักษณ์: วรรณกรรมแหล่บูชารอยพระพุทธบาทแบบฉบับภาคใต้.” นิตยสารศิลปากร, ปีที่ ๖๓, ฉบับที่ ๖ (พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๖๓): ๑๕-๒๙. ๒. เทพ สุทรศารทูล. กาพย์พระมาลัย. กรุงเทพฯ : พระนารายณ์, ๒๕๓๖. ๓. นิยะดา เหล่าสุนทร. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวน ที่ ๑. กรุงเทพฯ : ลายคำ, ๒๕๕๕. ๔. พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า๕. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๓. จักกวัตติสูตร ๖. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. ๗. สมุดมาลัยและสุบินกลอนสวด. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๕. ๘. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และ ดรณ์ แก้วนัย. “พระศรีอาริย์เมืองลพบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติ.” สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓ งานสำรวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง. ศูนย์สยามทัศน์ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เผยแพร่, ๒๕๕๗.
เลขทะเบียน: กจ.บ.8/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมตฺถสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฺฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 94 หน้า
วันอังคารที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงอาคารและห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า และร่วมประชุมหารือทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ พร้อมแนะนำแนวทางในการจัดการเข้าชมให้แก่เจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถบริการแก่ประชาชนที่มาใช้บริการได้อย่างเรียบร้อย โดยมีร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ให้การต้อนรับ กรมศิลปากร ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่า รวมถึงองค์ความรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีมาตรฐานทั้งรูปแบบอาคารที่สะดุดตาโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากหลุมขุดค้นทางโบราณคดี เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมที่สื่อถึงการพบโบราณวัตถุที่แทรกอยู่ในชั้นดิน ภูมิทัศน์ที่เปิดให้สัมผัสบรรยากาศภูมิประเทศ เพื่อให้เข้าใจถึงการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบนพื้นที่แหล่งโบราณคดีจริง รวมไปถึงนิทรรศการภายในที่ตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ที่สุด
ชื่อเรื่อง สาวิตรีผู้แต่ง พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพิมพครั้งที่ 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรม วรรณคดีเลขหมู่ 895.912 ม113สสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์ 2498ลักษณะวัสดุ 92 หน้าหัวเรื่อง วรรณคดีสันสกฤตภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกสาวิตรี เป็นบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง นิสัยจตุกกนิบาต (นิสัยจตุกกนิบาต)
สพ.บ. 358/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 52.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี