ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)  ชบ.บ.49/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ก/1-6  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.249/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : วินัยกิจ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


โบราณคดีที่ทรงรักทรงรักษา   “...ในการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เรามักจะต้องเดินทางมาก ต้องเข้าไปในภูมิประเทศที่มีลักษณะต่างๆ กัน ลักษณะภูมิประเทศแปลกๆ เหล่านี้ นอกจากมีความสวยงามแล้วยังเป็นเครื่องกำหนดความเป็นอยู่ของมนุษย์ไม่มากก็น้อย สถานที่ส่วนใหญ่ที่เราเยี่ยมเยียนมักจะเป็นชุมชนใหญ่น้อย ที่อยู่อาศัยของคนมากหน้าหลายตาที่มีวิถีชีวิต ถือประเพณี ประกอบการงานอาชีพต่างกัน สถานที่เหล่านี้บ้างก็เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่ แต่เรามักจะพบบ่อยๆ ว่า บริเวณที่ตั้งชุมชนในปัจจุบันนี้เคยมีมนุษย์มาตั้งหลักแหล่ง ทำมาหาเลี้ยงชีพ สร้างสรรค์วัฒนธรรมสืบทอดกันมาแต่อดีตอันยาวนาน บางครั้งเราอาจอดเสียมิได้ที่จะนึกย้อนกลับไปว่า แต่ก่อนสถานที่ที่เรากำลังยืนอยู่ เป็นทางดำเนินชีวิตของบรรพชน ไม่รู้จักเท่าไรที่ผ่านความสุข ความทุกข์ นานาประการ ได้มาและสูญเสียสิ่งต่างๆ จนผืนแผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินไทย ที่เป็นของเรา ที่เราจะต้องถนอมรักษาไว้ให้อยู่ต่อไปอย่างดี...”๑   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนพระราชหฤทัยในประวัติศาสตร์โบราณคดีนับแต่ทรงพระเยาว์ ทรงเล่าถึงกิจกรรมสำคัญที่ต้องพระราชหฤทัยอย่างหนึ่ง คือ การศึกษาโบราณคดี หรือประวัติศาสตร์ ในครั้งนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเชิญศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ  ดิศกุล เพื่อถวายคำบรรยายในเรื่องโบราณคดี และนำเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ    เมื่อทรงเจริญพระชันษา ทรงเลือกสาขาวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอกในการศึกษาปริญญาตรี ที่คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร              วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท เรื่อง จารึกปราสาทพนมรุ้ง นับเป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงคุณค่าในทางวิชาการ ไม่เฉพาะเพียงเรื่องราวศิราจารึกที่เป็นภาษาตะวันออกเท่านั้น หากยังเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางโบราณคดีของโบราณสถานปราสาทพนมรุ้งด้วย             ความสนพระราชหฤทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยพระองค์เอง เมื่อทรงมีโอกาสนำสรรพวิทยา  ที่ทรงเรียนรู้มาถ่ายทอด ทำให้เมื่อทรงตกลงพระราชหฤทัยในการรับราชการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓  เป็นต้นมา จึงทรงเลือกสอนวิชาประวัติศาสตร์ และอารยธรรมไทยให้แก่นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เพื่อปลูกฝังความรัก ความภาคภูมิในประวัติความเป็นมาของชาติและบรรพชนไทย             นอกจากพระองค์จะทรงสอนในห้องเรียนแล้ว ยังทรงมีพระราชดำริว่า การศึกษาด้วยการฟังบรรยาย การอ่านหนังสือ หรือศึกษาจากสไลด์ภาพนิ่ง หรือสื่ออื่นใดนั้นไม่สามารถให้ภาพที่แท้จริงได้ จึงทรงจัดกิจกรรมทัศนศึกษาประกอบในการสอนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงนำคณาจารย์และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าไปทัศนศึกษาพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ในแต่ละครั้งทรงนำนักเรียนของพระองค์ไปยังสถานที่สำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ รวมถึงสถานที่สำคัญด้านอื่นๆ เช่น การทหาร การเกษตร ฯลฯ ดังที่ได้พระราชทาน สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ ความตอนหนึ่งว่า    “...การบรรยายถ่ายทอดความรู้ของอาจารย์ให้นักเรียน การเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมออกความคิดเห็น การให้นักเรียนอ่านหนังสือ การค้นคว้าในห้องสมุด การไปศึกษาค้นคว้าต่อในสถาบันที่มีข้อมูล เช่น หอจดหมายเหตุ หรือการออกไปสัมภาษณ์ การออกไปสังเกตการณ์ ออกไปเห็นอะไรๆ ให้กว้างขวาง และรู้จักโยงวิชาการต่างๆ  ที่ได้เรียนรู้มาเข้าด้วยกัน ประวัติศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความเป็นมา ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องอดีตที่ห่างไกลอย่างเดียว ความเป็นมาทุกๆ นาทีที่เปลี่ยนไปก็ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ โดยคิดอย่างกว้างที่สุด การสอนแต่เรื่องโบราณอาจเป็นประโยชน์แก่นักเรียนน้อยเกินไป ประวัติศาสตร์แบ่งได้เป็นหลายสาขา แต่ต้องโยงเข้าหากันให้ได้ เพราะว่าเป็นปัจจัยของชีวิตด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณี หรือว่าเทคโนโลยี การใช้วิธีสอนให้ออกไปศึกษานอกห้องเรียนหรือทัศนศึกษาเป็นครั้งคราว เพื่อให้ดูทุกอย่าง และฝึกตัดสินว่าตนเองเห็นว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร การดูงานหรือทัศนศึกษาช่วยให้เห็นหลายสิ่งหลายอย่าง ได้พบปะผู้คนที่แปลกออกไปกว่าคนที่เคยพบเห็นอยู่เป็นประจำ ได้มีโอกาสพูดคุยกับคนฐานะต่างๆ มีลักษณะนิสัยต่างกัน มาจากสิ่งแวดล้อมต่างกัน แล้วฝึกการวิจัย การเรียนรู้นอกห้อง...การจัดแต่ละครั้งต้องการให้นักเรียนได้รับความรู้ทั่วไปทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ความมั่นคงและการทหาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่องอาชีพราษฎรเป็นเรื่องที่เน้นมากตลอดเวลา...”๒             ในการเสด็จพระราชดำเนินแต่ละครั้ง ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการ นักโบราณคดีผู้ปฏิบัติงานของกรมศิลปากรเป็นวิทยากรนำชม รวมทั้งพระราชทานแนวพระราชดำริในการจัดพิมพ์เอกสารประกอบการทัศนศึกษาในแต่ละครั้ง โดยทรงพระราชนิพนธ์ คำนำ และทรงเป็นบรรณาธิการในการจัดพิมพ์เอกสารนั้นด้วยพระองค์เอง  ทรงสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังในงานโบราณคดี และการอนุรักษ์โบราณสถาน                          แนวพระราชดำริที่พระราชทานแก่กรมศิลปากรในการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแหล่งโบราณคดี และโบราณสถาน ถือเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี โบราณสถานอย่างยั่งยืน ซึ่งกรมศิลปากรได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติสืบต่อมา ดังปรากฏในกรณีต่างๆ ได้แก่แนวพระราชดำริเมื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแหล่งต้นน้ำเมืองสุโขทัย (โซกพระร่วงลองพระขรรค์ และโซกอื่นๆ เมื่อวันที่ ๑๙ -  ๒๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๔)             ในครั้งนั้นพระราชทานพระราชานุญาตให้คณะข้าราชการกรมศิลปากร ประกอบด้วย รองอธิบดีกรมศิลปากร (นายนิคม  มูสิกะคามะ) ผู้อำนวยการกองโบราณคดี (นายประโชติ  สังขนุกิจ) หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (นางสาวมณีรัตน์  ท้วมเจริญ)  หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (นายเอนก  สีหามาตย์) ฯลฯ เข้าเฝ้าเป็นกรณีพิเศษ เพื่อรับพระราชทานกระแสพระราชดำริเกี่ยวกับการจัดทำกำหนดการนำนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าไปทัศนศึกษา และแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดการโบราณวัตถุ ซึ่งมีสาระโดยสังเขป ดังนี้   ·    การบรรยายและนำชมวิทยากรผู้บรรยายมักจะอธิบายรายละเอียดลึกเกินไป มีคำศัพท์เฉพาะต่างๆ ซึ่งทรงเข้าใจ เพราะทรงมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ เนื่องจากทรงสนพระราชฤทัย และเคยเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโบราณสถาน และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กราบบังคมทูลอธิบายให้ทราบแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์  แต่นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าไม่มีความรู้พื้นฐานด้านนี้ จึงควรใช้ภาษาง่ายๆ ในการบรรยาย ไม่ควรใช้ศัพท์ทางวิชาการมาก หากใช้ก็ควรอธิบายความหมายให้ชัดเจน   ·     การอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดการโบราณวัตถุ กรมศิลปากรควรสร้างคลังพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่เพื่อจัดเก็บของให้เป็นระบบ สามารถใช้เป็นสถานที่ศึกษาเปรียบเทียบโบราณวัตถุ ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการขายโบราณวัตถุว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำ ถ้าจะขายก็ควรทำเทียมขึ้นมาขายน่าจะดีกว่า                 เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน พระราชทานแนวพระราชดำริว่า การที่กรมศิลปากรมีบุคลากรปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์โบราณสถานไม่เพียงพอ ควรที่จะเปิดหลักสูตรวิชาเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานในสถาบันการศึกษาที่อยู่ในการดูแลของกรม เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางเข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติงาน และลดปัญหาการว่างงาน   การอนุรักษ์หลักฐานทางโบราณคดีในบริเวณหลุมขุดค้นวัดชมชื่น อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย             เมื่อคราวที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่ขุดค้นวัดชมชื่น เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๗ และทรงถามถึงการอนุรักษ์หลักฐานทางโบราณคดีในบริเวณหลุมขุดค้นนั้น กรมศิลปากรได้น้อมนำพระราชดำริในการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีดังกล่าว ด้วยการจัดให้พื้นที่หลุมขุดค้นวัดชมชื่นเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี โดยสร้างหลังคาคลุมหลุมขุดค้น จัดแสดงข้อมูลพร้อมภาพเกี่ยวกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ และการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบแหล่ง ส่งผลให้แหล่งขุดค้นวัดชมชื่นได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศไทยที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งในเวลาต่อมา             จากแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อันทรงคุณประโยชน์ต่อ การดำเนินงานด้านโบราณคดีและการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ ดังที่กล่าวมา นับเป็นพระกรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อกรมศิลปากร สะท้อนถึงพระราชหฤทัยที่ทรงรักและทรงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้คงอยู่ยั่งยืนสืบไป   อ่านต่อ ที่นี่   ที่มาข้อมูล : หนังสือสิปปธัช : พระผู้เป็นธงชัยแห่งสรรพศิลป์ (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส ๑๐๔ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร)           


ชื่อผู้แต่ง         : กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง          : ตำนานพระแก้วมรกต ครั้งที่พิมพ์      : พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์    : พระนคร สำนักพิมพ์      : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ ปีที่พิมพ์         : ๒๕๐๘           จำนวนหน้า     : ๖๒ หน้า  หมายเหตุ      : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนายเลี่ยม  ปราบใหญ่ และนางจู  ปราบใหญ่                     หนังสือเรื่องตำนานพระแก้วมรกดนี้ มีฉบับอยู่ในหอสมุดแห่งชาติหลายสำนวน ฉบับนี้เข้าใจว่าเป็นสำนวนแต่งในรัชกาลที่ ๕ อาศัยฉบับเดิมซึ่งพระเจ้านันทเสน ผู้ครองนครหลวงพระบาง นำมาทูลเกล้าถวายฯ ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๑ มีรายละเอียดปรากฎอยู่ในบันทึกของเจ้าหน้าที่กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ซึ่งได้พิมพ์อยู้ในตำนานพระแก้วมรกต ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ 


110 ปี กรมศิลปากร




ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุการเดินทางของราล์ฟ ฟิตช และจดหมายเหตุของวิลาภาเคทะระ เรื่องคณะทูตลังกาเข้ามาประเทศสยาม ชื่อผู้แต่ง : นันทา สุตกุล, แปล. ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : วัดประยุรวงศาวาสจำนวนหน้า : 146 หน้า สาระสังเขป : เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางทองอยู่ วีรเวศม์เลขา (สามสูตร) ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส ในวันที่ 21 มีนาคม 2508 และในหนังสือเล่มนี้ได้พิมพ์เรื่องของจดหมายเหตุการเดินทางของราล์ฟ ฟิตช และจดหมายเหตุของวิลาภาเคทะระ เรื่องคณะทูตลังกาเข้ามาประเทศสยาม โดยนางสาวนันทา สุตกุล ศ.บ. (โบราณคดี) กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรม ศิลปากร ได้แปลและเรียบเรียงไว้


“ สถานพระนารายณ์ ” จาก สถานรวบรวมโบราณวัตถุ สู่ ศักดิ์สิทธิ์สถาน ของชาวโคราช ___________________________________ บริเวณจุดกึ่งกลางเมืองนครราชสีมา นอกจากจะเป็นจุดสูงสุดของเมืองนครราชสีมาแล้ว พื้นที่บริเวณนี้นับว่าเป็น หัวใจของเมืองอีกด้วย เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ทั้งในศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ที่ชาวโคราชให้ความเคารพศรัทธามาอย่างยาวนาน อันได้แก่ วัดกลางนคร (วัดพระนารายณ์มหาราช) ศาลหลักเมือง และสถานพระนารายณ์ ที่จะนำมาเสนอในวันนี้ครับ . จุดเริ่มต้นของ สถานพระนารายณ์ นั้น คงเริ่มต้นจากการเป็นจุดที่ผู้คนในอดีต นำโบราณวัตถุ ประเภทชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมหินทราย อาทิ ทับหลัง ปราสาทจำลอง กรอบประตู ประติมากรรมรูปเคารพ และรูปบุคคลหินทราย ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ โดยกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 มารวบรวมไว้ ทางด้านทิศใต้ของคูน้ำรอบอุโบสถ วัดกลางนคร แต่จะเริ่มต้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน ทั้งนี้เมื่อเวลาผ่านไป จุดรวบรวมโบราณวัตถุแห่งนี้ จึงถูกขนานนามหรือเรียกชื่อใหม่ โดยยึดโยงจากรูปเคารพพระนารายณ์ที่พบ ว่า หอนารายณ์ ศาลพระนารายณ์ และสถานพระนารายณ์ ในเวลาต่อมา . จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เราเห็นว่า สถานพระนารายณ์ ถูกยกให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวโคราชให้ความสำคัญ เป็นระยะเวลาอย่างน้อยกว่า 122 ปี โดยอ้างอิงจากเหตุการณ์คราวล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เสด็จทอดพระเนตร และสักการะ ณ หอนารายณ์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2443 โดยจากภาพถ่ายเก่าจะเห็นได้ว่า สถานพระนารายณ์ในอดีต ถูกสร้างขึ้นอย่างเรียบง่ายไม่ถาวร กระทั่ง พ.ศ.2511 สถานพระนารายณ์ถูกสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารถาวรดังเช่นในปัจจุบัน . ใน พ.ศ.2507 กรมศิลปากร ได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานมหาวีรวงศ์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย สถานพระนารายณ์ ในวันนี้ จึงหลงเหลือโบราณวัตถุเพียง 2 รายการเท่านั้น ได้แก่ 1. ประติมากรรมรูปพระนารายณ์ และ 2. ประติมากรรมพระคเณศวร์ ให้ประชาชน ได้เคารพจวบจนถึงปัจจุบัน และจากการขุดค้นทางโบราณคดีใน พ.ศ. 2562 ไม่พบหลักฐาน หรือร่องรอยศาสนสถานใต้ผิวดิน จึงเป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า โบราณวัตถุดังกล่าวถูกเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น แต่จะเป็นที่ใดนั้น ยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจน . ในอนาคตอันใกล้ สถานพระนารายณ์ หลังนี้ กำลังจะถูกรื้อ และสร้างใหม่ ให้งดงาม สมเกียรติ คนโคราช โดยได้รับความร่วมมือทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปลาย พ.ศ.2565 ที่จะถึงนี้ การนำเสนอในครั้งนี้ จึงมีความตั้งใจให้ทุกท่านได้รำลึก และรู้จัก สถานพระนารายณ์ แห่งนี้ไปพร้อมกัน ครับ เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา




ชื่อผู้แต่ง           - ชื่อเรื่อง            อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนธาตุผลิน ) ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์      ไทยการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2514 จำนวนหน้า     90 หน้า รายละเอียด                  หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระณิชยสารวิเทศ (ผาด มนธาตุผลิน ) เนื้อหาสาระประกอบด้วยประวัติผู้เสียชีวิต คำไว้อาลัย พิธีของทุกคนของ ม.ว หญิง  พูนพิศมัย ดิศกุล ประกอบด้วยพิธีต่างๆ  ดังนี้ทำขวัญ ๓ วัน ทำขวัญเดือน โกนจุก  บวชเณร บวชพระและตาย งาน ๗-๕๐-๑๐๐ วัน รวมทั้งเผาศพ เรื่องคู่มือปฎิบัติพิธีต่างๆโดยกองวัฒนธรรม สนง.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและ ด.ศ.ร ( การเดินทางเพื่อการศึกษาระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อน ) ๒๕๐๑ ชมภูมิประเทศ ประเทศไทยฝั่งมหาสมุทรอินเดียโดยพระพณิชยสารวิเทศ


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระสังคิณี-พระมหาปัฏฐาน) (อท.บ. 1/1) อท.บ.                                  1/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           46 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดศรีมหาโพธิ ต.โรงช้าง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.10 คำขอขมาและคำอธิษฐานเข้าพรรษาประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ธรรมคดีลักษณะวัสดุ              38; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    เวชศาสตร์                        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 


          สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร และ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ขอเชิญชวนผู้ชอบเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดภาพถ่ายเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2565 (Thai Museum Day 2022) กับกิจกรรม Museum Photo Contest ภายใต้แนวคิด The Power of Thai Museums "พลังพิพิธภัณฑ์ไทยที่มีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคม ผ่านมุมมองทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างความยั่งยืน การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล และการสร้างชุมชนผ่านการศึกษา" ลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท กติกาการประกวด - ต้องเป็นภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานพิพิธภัณฑ์ไทย - สามารถใช้กล้องดิจิทัล กล้องฟิล์ม หรือสมาร์ทโฟน - ศึกษากติกาการประกวดผ่านทาง Scan QR Code บนโปสเตอร์   *โปรดอ่านกติกาการประกวดภาพถ่ายอย่างละเอียด   รางวัลการประกวด หัวข้อ 1. The Power of Achieving Sustainability : พลังพิพิธภัณฑ์ในการบรรลุความยั่งยืน - ชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 5,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 3,000 บาท 1 รางวัล   หัวข้อ 2. The Power of Innovating on Digitalisation and Accessibility : พลังพิพิธภัณฑ์แห่งการสร้างสรรค์ด้านดิจิทัล - ชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 5,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 3,000 บาท 1 รางวัล   หัวข้อ 3. The Power of Community Building Through Education : พลังพิพิธภัณฑ์ของการสร้างชุมชนผ่านการศึกษา - ชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 5,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 3,000 บาท 1 รางวัล   กำหนดการกิจกรรม - เปิดรับผลงานภาพถ่าย วันที่ 1 – 10 กันยายน 2565  - ส่งผลงานผ่านทางอีเมล nationalmuseumthailand@gmail.com - หมดเขตส่งภาพถ่ายในวันที่ 10 กันยายน 2565 เวลา 18.00 น.‼️ - ประกาศและมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลต่างๆ ในงาน Museum Talk ในวันที่ 19 กันยายน 2565   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2164 2511 หรือทางเพจ Facebook : Thai Museum Day 2022


พิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ขอนำเสนอชุดความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ วัตถุพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี ผ่านชุดความรู้ #พิพิธ(สาระ)ภัณฑ์ โดยตอนแรกนำเสนอเรื่อง #พระบรมสารีริกธาตุเก่าที่สุดในวัฒนธรรมทวารวดี พระบรมสารีริกธาตุ คือ พระบรมอัฐิขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ นับเป็นปูชนียวัตถุแทนพระพุทธองค์ที่พุทธศาสนิกชนนับถือบูชาแต่แรกปรินิพพานสืบมาจนถึงปัจจุบัน ในมหาปรินิพพานสูตรกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุว่า หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว โทณพราหมณ์ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน เพื่อให้กษัตริย์และพราหมณ์อัญเชิญกลับไปยังดินแดนของตน ๘ เมือง ได้แก่ เมืองราชคฤห์ เมืองเวสาลี เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองอัลปัปปะ เมืองรามคาม เมืองเวฏฐทีปกะ เมืองปาวา และเมืองกุสินารา กษัตริย์เมืองต่าง ๆ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานในสถูป นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการบูชาพระบรมสารีริกธาตุในเวลาต่อมา ในดินแดนไทยเมื่อมีการรับพุทธศาสนาจากชมพูทวีป วัฒนธรรมแรกที่รับพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นภายใต้ชื่อว่า “ทวารวดี” ที่มีช่วงอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๖ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่ามีการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ใต้ฐานของเจดีย์หมายเลข ๑ เมืองโบราณคูบัว ซึ่งถือเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในวัฒนธรรมทวารวดี โดยการขุดค้นทางโบราณคดีพบการก่ออิฐเรียงเป็นหลุมบริเวณกลางเจดีย์ในระดับพื้นดิน ลักษณะตารางเว้นช่องว่างที่มุมทั้ง ๔ และช่องตรงกลาง คือ ตำแหน่งของการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอยู่ในผอบครอบ ๓ ชั้น ซึ่งลักษณะการก่ออิฐเป็นช่องตารางนี้คล้ายคลึงกับแผ่นหินที่สลักแผ่นหินหรือก่ออิฐเป็นช่อง ๕ ช่อง หรือ ๙ ช่อง และบรรจุสิ่งของมงคลต่าง ๆ ลงไป แบบเดียวกับประเพณีวางศิลาฤกษ์ของอินเดีย ลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผอบทั้ง ๓ ชั้นนั้น ชั้นแรกเป็นผอบสำริดฝาลายดอกบัว ชั้นที่ ๒ ผอบเงินฝาตกแต่งลายกลีบบัว ชั้นล่างสุดเป็นผอบทองคำเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ เซนติเมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๕ องค์ ลูกปัดแก้วสีน้ำเงินสมัยทวารวดี ชิ้นส่วนทองคำที่ยังไม่ได้แปรสภาพ และวัตถุสีแดงคล้ายก้อนดินบรรจุรวมอยู่ด้วย ช่องสำหรับบรรจุผอบถูกปิดด้วยแผ่นหิน สลักภาพพระพุทธรูปนูนต่ำขนาบข้างด้วยสถูปทรงหม้อปูรณฆฏะ (หม้อน้ำ) และธรรมจักรที่ตั้งอยู่บนเสา ซึ่งเป็นการปิดห้องกรุให้มิดชิดตามคัมภีร์ในพุทธศาสนา การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในสถูปเจดีย์นั้นเป็นแนวคิดมาจากสถานที่ฝังศพ โดยพระบรมสารีริกธาตุเปรียบเสมือนกระดูกของคนตาย ห้องกรุใต้สถูปเปรียบได้กับหลุมฝังศพ องค์เจดีย์ที่ก่อทับพระบรมสารีริกธาตุก็พัฒนามาจากเนินดินฝังศพพระบรมสารีริกธาตุที่ค้นพบจากเจดีย์หมายเลข ๑ ซึ่งได้รับการขุดค้น ขุดแต่งอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยนักโบราณคดีนี้ ถือได้ว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการประดิษฐานในดินแดนประเทศไทยเป็นองค์แรกๆ++ปัจจุบันพระบรมสารีริธาตุที่เก่าแก่ที่สุดนี้ ประดิษฐานอยู่ที่ห้องวัฒนธรรมทวารวดี อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี


Messenger