ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ


ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2498 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าจิตรปรีดี ประวิตร               พระราชนิพนธ์เรื่องลิลิตนิทราชาคริต เป็นหนังสือที่มีความสมบูรณ์ด้านวรรณคดี มีคติสอนใจ แก่ผู้ครองเรือนโดยทั่วไป และมีคติเตือนใจเรื่องความรักของมารดาที่มีต่อบุตรที่พรรณาไว้อย่างซาบซึ้ง


วิจิตรธรรมปริวัตร, พระยา. พุทธภาสิตานุสสรณ์ และปราภวสุตตคาถา.  พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2478.  พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ พระยาวิจิตรธรรมปริวัตร (คำ พรหมกสิกร) และในการฌาปนกิจศพ นายจินดา  พรหมกสิกร ซึ่งเป็นบุตรของพระยาวิจิตรธรรมปริวัตร วันที่ 24 เมษายน 2478โคลงพุทธศาสนสุภาษิต เล่มนี้ เจ้าคุณวิจิตรธรรมปริวัตร แต่งขึ้น โดยรวบรวมหัวข้อ พุทธศาสนสุภาษิต ซึ่งเป็นกระทู้ธรรม สำหรับนักธรรม ประพันธ์ขึ้น ในลักษณะโคลง ว่าด้วยเรื่อง อัปปมาท กรรม กิเลส ขันติ จิตต์ ตน ธรรม นิพพาน ปัญญา วาจา วิริยะ ศรัทธา ศีล สติ ฯลฯ นอกจากนั้ยังมีโคลงปราภวสุตตคาถา และลิลิตปกิรณกภาษิต294.343ว362พ


เล่าเรื่องประติมานวิทยา: วัชรปรยังกะ (Vajraparyaṅka)  ท่านั่งขัดสมาธิเพชร เป็นท่านั่งโยคะ (อาสนะ-asana) หรือท่านั่งบำเพ็ญเพียร ทำสมาธิฝึกจิต เรียกอีกว่า วัชราสนะ (Vajrāsana) หรือ ธยานสนะ (Dhyānasana)           วัชรปรยังกะ (Vajraparyaṅka) มีความหมายเกี่ยวข้องกับวัชราสน์ คือบัลลังก์เพชร ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับเมื่อบำเพ็ญสมาธิ ผจญมาร มารวิชัย และตรัสรู้ ลักษณะพระชงฆ์ (แข้ง) ไขว้กันอย่างมั่นคง แลเห็นฝ่าพระบาททั้งสอง มีความหมายเกี่ยวข้องกับการไม่สั่นสะเทือน การไม่เคลื่อนไหว           จัดเป็นท่านั่งของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าทั้งหลายเมื่อทำสมาธิ หรือปฏิบัติโยคะ ภาพ 1. ลายเส้นแสดงวัชรปรยังกะ หรือนั่งขัดสมาธิเพชร ภาพ 2. พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร (วัชรปรยังกะ) สมัยรัตนโกสินทร์ -----------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ -----------------------------------อ้างอิงจาก 1. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism, 2014, 291. 2. The illustrated dictionary of Hindu iconography, 1985, 151 3. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอินเดีย, 2527, 336-337.



         ต้นมะขามนี้ มิใช่เป็นต้นมะขามขนาดธรรมดา หากแต่เป็นต้นมะขามยักษ์ที่มีขนาดใหญ่มาก ขนาด 9 คนโอบ หรือประมาณ 9.5 เมตร สูงร่วมๆ 20 เมตร คาดว่าเป็นต้นมะขามใหญ่ที่สุดต้นหนึ่งในประเทศไทย เชื่อกันว่ามีอายุกว่า 1,000 ปี แผ่กิ่งก้านสาขาร่มรื่นงดงาม เรียกกันว่า ต้นมะขามคู่บุญขุนแผน           จากตำนานที่ย้อนรอยถึงวรรณคดีไทยเรื่อง “ขุนช้าง ขุนแผน” ที่อ้างถึง “ใบมะขาม” ตอนที่ 5 ขุนช้างขอนางพิม ได้กล่าวถึงขุนแผนเมื่อครั้งเป็นสามเณรแก้วได้ร่ำเรียนวิชาคาถาอาคมจากอาจารย์คงที่วัดแค และได้เรียนวิชาเสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อตัวแตนไว้โจมตีข้าศึกที่มารุกรานแผ่นดินสยาม... ----------------------------------------ผู้เรียบเรียง นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ----------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี = The trees of Siam : Treasures of the land under the royal benevolence of his majesty the king. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2560. เลขหมู่ 635.977 ว394ร วัดแค สุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี : วัน แฟมมิรี่ ปริ้นติ้ง เซอร์วิส, 2555. เลขหมู่ 294.3135 ว416 เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2544. เลขหมู่ 895.9112 ข521ส ว394


  การที่พญามังรายยึดเมืองหริภุญไชยแล้ว จะเห็นได้ว่าไม่ได้นำเอาลักษณะวัฒนธรรมของตนเข้ามา แต่กลับยอมรับในวัฒนธรรมหริภุญไชย โดยมีการบูรณะเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย ซึ่งเดิมพระเจ้าอาทิตยราชสร้างไว้เป็นทรงมณฑปให้เป็นทรงกลม นอกจากนี้ สิ่งที่จะยืนยันถึงประเด็นที่เมืองหริภุญไชยเป็นเมืองทางศาสนาคือ ในการย้ายจากหริภุญไชยมาเวียงกุมกาม และมอบเมืองหริภุญไชยให้อ้ายฟ้าปกครองนั้น มีบันทึกว่า " เมืองนี้เป็นเมืองพระเจ้า กูอยู่บ่ได้ " ลักษณะนี้อาจเป็นไปได้ว่า เมืองดังกล่าวคงจะรุ่งเรืองไปด้วยวัดวาอารามยากต่อการขยายเมือง เพราะแม้ในสมัยพญากือนาที่เชิญพระสุมนเถระจากสุโขทัยขึ้นไปเผยแพร่พุทธศาสนา ยังคงมาพักที่วัดพระยืน ลำพูน ก่อนที่จะเข้ามาที่เชียงใหม่ เรื่องราวเหล่านี้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมหริภุญไชยกับพญามังรายว่า เมื่อสร้างเวียงกุมกามบทบาทของพระพุทธศาสนาจากหริภุญไชยคงจะต้องแพร่กระจายมาถึงด้วย       หลักฐานทางโบราณคดีที่สามารถชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ คือ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม รูปแบบพระพิมพ์ดินเผา และภาชนะดินเผา หลักฐานเหล่านี้เมื่อนำมาเปรียบเทียบ จะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบศิลปะได้เป็นอย่างดี       หลักฐานประการแรก คือ ลักษณะสถาปัตยกรรมที่วัดกู่คำ หรือวัดเจดีย์เหลี่ยม มีลักษณะรูปแบบเดียวกับเจดีย์กู่กุดหรือสุวรรณจังโกฏิในเมืองหริภุญไชย ข้อแตกรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะทางศิลปะของพระพุทธรูป ลวดลายประดับซุ้มพระ ซึ่งที่เจดีย์เหลี่ยมได้ถูกเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นลักษณะของศิลปะพม่าเมื่อตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ลักษณะโครงสร้างโดยส่วนรวมแล้วมีลักษณะเป็นแบบเดียวกับเจดีย์กู่กุด             ซากเจดีย์อีกองค์หนึ่งที่น่าจะได้ต้นแบบมาจากรัตนเจดีย์วัดจามเทวี ที่มีรูปทรงเป็นรูป ๘ เหลี่ยม  มีพระพุทธรูปประดับตามซุ้มในแต่ละเหลี่ยม ส่วนบนเป็นองค์ระฆังกลมเหนือขึ้นไปชำรุดผุพัง นั่นก็คือ ซากเจดีย์ที่วัดเกาะกุมกามทีปราราม        หลักฐานประการที่ ๒ คือ พระพิมพ์ดินเผา ในการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดช้างค้ำ การขุดค้นที่วัดปู่เปี้ย และการขุดค้นที่วัดกุมกามทีปราราม พบพระพิมพ์ดินเผาแบบลำพูนเป็นจำนวนมาก ลักษณะของพระพิมพ์ดังกล่าว มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ การที่พบพระพิมพ์ดินเผาแบบลำพูนเป็นจำนวนมากนี้ ย่อมจะชี้ให้เห็นถึงการสืบเนื่องวัฒนธรรมทางศาสนาจากหริภุญไชยมาสู่เวียงกุมกาม        หลักฐานประการที่ ๓ ภาชนะดินเผาแบบหริภุญไชย ที่มีหลายรูปแบบ เช่น แบบลำตัวป่อง ปากเล็ก มีฐาน หรือแบบคล้ายน้ำต้นที่เนื้อหนากว่า โดยเฉพาะลวดลายที่เป็นแบบขีดรูปสามเหลี่ยมมีเส้นอยู่ภายในและทาน้ำดินสีแดงเข้ม พบจากการขุดค้นและขุดแต่งในเขตเวียงกุมกามเป็นจำนวนมาก อ้างอิง : นิตยสารของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ปีที่ ๓๑ เล่มที่ ๕ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๓๐


ชื่อเรื่อง                           เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐานสพ.บ.                                  195/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


มณฑป : เมืองศรีสัชนาลัย เมืองศรีสัชนาลัยมีการพบอาคารประเภทมณฑปเป็นจำนวนมาก ซึ่งความนิยมในการสร้างมณฑปเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปที่เมืองศรีสัชนาลัยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพุทธศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากลังกา การสร้างมณฑปนอกจากจะพบในวัฒนธรรมสุโขทัยแล้ว ยังนิยมสร้างและแพร่หลายในวัฒนธรรมของล้านนาด้วย โดยสร้างเป็นอาคารที่เรียกว่า “กู่” หรือ “ปราสาท” เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งเป็นคติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการจำลองคันธกุฎี โดยในพุทธประวัติกล่าวว่า “คันธกุฎี” เป็นที่ประทับขององค์พระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร ในเมืองสาวัตถี การสร้างอาคารทึบตันที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอย่างมณฑปสุโขทัยนี้ จะมีความสอดคล้องกับการสร้าง “ปฏิมาฆระ” ที่แพร่หลายอยู่ในศิลปะลังกา ซึ่งเป็นอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปโดยเฉพาะ สร้างขึ้นจากความเชื่อที่ว่าพระพุทธรูป คือ รูปจำลองขององค์พระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงต้องสร้างให้มีที่ประทับส่วนพระองค์  โดยลักษณะแผนผังของปฏิมาฆระในลังกาจะมีความคล้ายกับแผนผังของมณฑปสุโขทัย คือ เป็นห้องสี่เหลี่ยม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป และมีช่องเปิดด้านหน้า หลักฐานที่กล่าวถึงคำว่า “มณฑป” ในสมัยสุโขทัย ปรากฏความใน จารึกวัดอโสการาม ด้านที่ ๒ มีการจารึกเป็นอักษรไทยสุโขทัย ในปี พ.ศ.๑๙๔๒ กล่าวถึง สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงมีพระราชศรัทธาประดิษฐานพระสถูปบรรจุพระบรมธาตุไว้ในวัดอโสการาม ความว่า “...ทรงได้พระบรมธาตุมาแต่ลังกา ๒ องค์ คือ องค์ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก สีแก้วผลึก องค์ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด สีดอกพิกุลแห้ง ทรงบรรจุไว้ ณ ห้องพระธาตุในพระสถูปซึ่งทรงสร้างพร้อมกับ (นว)กรรม (สิ่งก่อสร้าง) ทั้งปวง คือ วิหาร มณฑป เจดีย์ ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ในวันอันเป็นศุภวารขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ จุลศักราชนับได้ ๗๖๑...” จากข้อความที่ปรากฏในจารึกนั้น คำว่า “มณฑป” คงเป็นที่รู้จักแล้วอย่างน้อยในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ------------------------------------ เรื่องและภาพโดย : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย                               สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กรมศิลปากร เอกสารอ้างอิง -วิไลรัตน์ ยังรอด, เรียนรู้สุโขทัย ศรีสัชนาลัย, ๒๕๕๑. -สงวน รอดบุญ , พุทธศิลปสุโขทัย, ๒๕๒๑. -ทรงยศ วีระทวีมาศ, มณฑปแบบสุโขทัยในศรีสัชนาลัย, ๒๕๓๓. -กรมศิลปากร, จารึกสมัยสุโขทัย, ๒๕๒๖.


เลขทะเบียน : นพ.บ.80/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม 


เลขทะเบียน : นพ.บ.150/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 92 (404-407) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ตำรายาแผนโบราณและกฏหมาย ชบ.ส. ๖๓เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.26/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



     "เจี๋ย เซียง เหฮียง  ประเพณีปีใหม่เมี่ยน" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีปีใหม่ของกลุ่มชนเมี่ยน ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ทางแถบจังหวัดตอนบนของประเทศไทย เมี่ยน อิ้วเมี่ยน หรือเย้า  สันนิษฐานว่าชื่อกลุ่มชาติพันธุ์มาจากชื่อเดิมว่า อี-ยู่เมี้ยน ในภาษาเวียดนาม เรียกชื่อกลุ่มชนนี้ว่า ม้าน และเป็นคำในภาษาจีนที่หมายถึงอนารยชน ตระกูลภาษา คือ สาขาของตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน (แม้ว-เย้า) หรือ เมี่ยว-เย้า (Miao-Yao) ในภาษาตระกูลจีน-ทิเบต ที่มีอิทธิพลจีน ลาว ไทยปะปนอยู่ ใช้อักษรจีนเป็นอักขระในการเขียน จดบันทึกต่างๆ กลุ่มชนเมี่ยนมีถิ่นกำเนิดเดิม อยู่บริเวณตอนใต้แถบที่ราบรอบทะเลสาบตง  ถึงในลุ่มแม่น้ำแยงซี ของสาธารณรัฐประชาชนจีน  ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖   จึงเริ่มมีการอพยพมาทางใต้และตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางตะวันออกของสหภาพพม่าแถบเชียงตุง และบริเวณทางเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา  จังหวัดน่าน จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก และจังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับในจังหวัดน่าน มีการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนเมี่ยน อยู่ในพื้นที่อำเภอต่างๆ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอท่าวังผา อำเภอสองแคว  อำเภอปัว อำเภอเวียงสา และอำเภอบ่อเกลือ เทศกาลปีใหม่ของชาวเมี่ยนจะจัดเป็นประจำทุก ๆ ปี หลังจากปีเก่าได้ผ่านพ้นไปแล้ว เช่นเดียวกับชนเผ่ากลุ่มอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากกลุ่มชนเมี่ยนใช้วิธีนับวัน เดือน ปี แบบจีน วันฉลองปีใหม่จึงเริ่มพร้อมกันกับชาวจีน คือ วันตรุษจีน ภาษาเมี่ยน เรียกว่า “เจี๋ยฮยั๋ง” ก่อนที่จะถึงพิธีเจี๋ยฮยั๋งนี้ ชาวบ้านแต่ละครัวเรือน จะต้องเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นทั้งของใช้ส่วนตัว และของใช้ในครัวเรือนให้เรียบร้อยก่อน  เพราะเมื่อถึงวันขึ้นปีใหม่แล้ว จะมีกฎข้อห้ามหลายอย่างที่ชาวเมี่ยนยึดถือและปฏิบัติกันต่อ ๆ กันมา  ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ญาติพี่น้องของชาวเมี่ยนแต่ละครอบครัว ซึ่งแต่งงานแยกครอบครัวออกไปอยู่ที่อื่น จะกลับมาเยี่ยมพ่อแม่และญาติพี่น้องของตนเอง ซึ่งเป็นการพบปะสังสรรค์ และทำพิธีบวงสรวงบรรพบุรุษร่วมกัน (เสียงเมี้ยน) การประกอบพิธีจะมีทั้งหมด  ๓ วัน ได้แก่ วันแรก ถือว่าเป็นวันสิ้นปีเก่า ซึ่งวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายที่จะทำการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ (ประเพณีของบางหมู่บ้าน อาจทำมาก่อนแล้วภายใน ๑ สัปดาห์) การทำพิธีบวงสรวงบรรพบุรุษร่วมกัน (เสียงเมี้ยน) เป็นการแสดงความขอบคุณแก่วิญญาณบรรพบุรุษที่ได้คุ้มครองดูแลในรอบปีที่ผ่านมาด้วยดี หรือบางครอบครัวที่มีการบนบานเอาไว้ก็จะทำพิธีแก้บน และเซ่นไหว้กันในวันนี้ นอกจากนั้นในวันสิ้นปีนี้ชาวเมี่ยนจะเตรียมข้าวของเครื่องใช้และจะซักผ้าทำความสะอาดบ้าน ให้เรียบร้อยก่อนวันขึ้นปีใหม่อีกด้วย วันที่ ๒ ตรงกับวันตรุษจีนถือว่าเป็นวันปีใหม่ หรือวันถือ แต่ละครอบครัวจะตื่นแต่เช้ามืด แล้วเดินไปหลังบ้านเพื่อเก็บก้อนหินเข้าบ้าน เป็นเสมือนการเรียกขวัญเงินขวัญทองเข้าบ้าน เชื่อว่าเงินจะไหลมาเทมาสู่ครอบครัว ทำให้ครอบครัวมีความสุข และในวันนี้ผู้ใหญ่จะต้มไข่เพื่อย้อมไข่แดง ส่วนเด็ก ๆ ตื่นขึ้นมาก็จุดประทัด หรือยิงปืนเพื่อเป็นสิริมงคล และเฉลิมฉลองปีใหม่  ในวันปีใหม่ชาวเมี่ยนจะทำแต่ในสิ่งที่เป็นมงคลเท่านั้น เช่น สอนให้เด็กเรียนหนังสือ ฝึกเด็กให้รู้จักทำงาน นำสิ่งที่ดีเข้าบ้านและจะไม่กระทำบางสิ่งบางอย่างที่ถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี เช่น จ่ายเงิน ทำงานหนัก เป็นต้น วันที่ ๓ ตามประเพณีแล้ว ชาวเมี่ยนจะไปทำความเคารพบุคคล ที่เคารพนับถือ แต่ในปัจจุบันนี้กระทำกันเฉพาะในบางหมู่บ้านเท่านั้น  ชาวเมี่ยน มีความเชื่อว่า “ไข่ต้มย้อมสีแดง” เป็นการอวยพรปีใหม่ ให้มีโชคลาภ สุขภาพแข็งแรง ชีวิตเจริญรุ่งเรือง และการมอบไข่ต้มย้อมสีแดง ให้กับแขกผู้มาเยือน ถือเป็นการอวยพร ในงานเฉลิมฉลองตรุษจีน และปีใหม่ของชาวเมี่ยน สิ่งที่ชาวเมี่ยนต้องเตรียมก่อนวันปีใหม่ ได้แก่ ๑. อาหารสัตว์ เช่น หยวกกล้วย หญ้าสำหรับเลี้ยงหมูเลี้ยงวัว และอื่น ๆ เพราะชาวเมี่ยนเชื่อว่า  ถ้าไปหาอาหารสัตว์ในวันขึ้นปีใหม่นี้ เมื่อถึงเวลาทำไร่ จะมีวัชพืชขึ้นมาก ทำให้ผลผลิตไม่ดีหรือไม่พอกิน ๒. ฟืน สำหรับหุงต้ม ชาวเมี่ยนเชื่อว่าถ้าไปตัดฟืนในวันขึ้นปีใหม่ จะทำให้ในตัวบ้านมีแมลงบุ้งมาก ๓. ขนม (ฌั้ว) ใช้สำหรับไหว้พรรพบุรุษ และใช้กินในวันขึ้นปีใหม่ ขนมที่ทำมี ข้าวปุก(ฌั้ว จซง) ข้าวต้มมัดดำ (ฌั้วเจี๊ยะ, ฌั้วจฉิว) ๔. เนื้อสัตว์ ส่วนมากจะฆ่ากันวันที่ ๓๐ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปีเก่า มีทั้งหมู และไก่ เพราะเมื่อถึงวันขึ้นปีใหม่ ชาวเมี่ยนจะไม่ฆ่าสัตว์ มีความเชื่อว่า ถ้าฆ่าสัตว์ในวันขึ้นปีใหม่นี้แล้ว จะทำให้การเลี้ยงสัตว์ไม่ดี และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ แก่สัตว์ได้ ๕. เตรียมไข่ เพื่อจะมาย้อมเป็นสีแดง สำหรับย้อมให้เด็ก และญาติพี่น้องที่มาเที่ยวในวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคล และเป็นสิ่งที่ดีงาม ๖. ของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้าเครื่องประดับ และอื่น ๆ จะต้องเตรียมให้พร้อมก่อนวันขึ้นปีใหม่ เพราะในวันขึ้นปีใหม่ ชาวเมี่ยนห้ามใช้เงิน ถ้าใช้เงินในวันนี้เชื่อว่า เวลามีเงินแล้ว จะไม่สามารถเก็บได้ ต้องจับจ่ายออกไปจะยากจน และไม่สามารถหาเงินทองได้ ๗. ประทัด ใช้จุดเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว เป็นการแสดงความยินดีที่ปีเก่าได้ผ่านไปด้วยดี และต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ธรรมเนียมที่ชาวเมี่ยนยึดถือปฏิบัติในวันปีใหม่  ๑. ไม่ใช้เงิน เพราะเชื่อว่า ถ้าใช้เงินจะไม่สามารถเก็บเงินอยู่ได้ ๒. ไม่ฆ่าสัตว์ เชื่อว่า จะเลี้ยงสัตว์ไม่เจริญ ๓. ไม่ทำไร่ เชื่อว่า จะปลูกพืชไม่งอกงาม ๔. ไม่เก็บฟืนและหาอาหารสัตว์ วันพักผ่อนก็ควรพักผ่อน ๕. ไม่กินอาหารประเภทผัก  อย่างไรก็ตามเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตและประเพณีของชาวเมี่ยน นอกจากประเพณีปีใหม่ที่ได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น ยังมีสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่น่ารู้อีกมากมาย ไม่ใช่เพียงแต่เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนเท่านั้น เพราะในจังหวัดน่านเอง ยังมี กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่ตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ในพื้นที่อำเภอต่างๆ เช่น ม้ง ลัวะ มลาบรี ยวน เป็นต้น ที่ล้วนแล้วแต่มีวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ซึ่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ก็คงจะได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดน่าน ในโอกาสต่อไป เอกสารอ้างอิง - กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. เมี่ยน อิ้วเมี่ยน (ออนไลน์), เข้าถึงข้อมูลเมื่อ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔, แหล่งที่มา: https://www.sac.or.th/datab.../ethnic-groups/ethnicGroups/85 - คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน. เอกลักษณ์น่าน, เชียงใหม่: MaxxPrint (ดาวคอมพิวเตอร์กราฟฟิก), ๒๔๔๙. - ชลลดา สังวร. เมี่ยน ชีวิต ศรัทธา และผ้าปัก เอกสารประกอบนิทรรศการเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๔๘ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน, ๒๕๔๘. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน. กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดน่าน, ไม่ระบุปีที่พิมพ์.  - ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. ประเพณีปีใหม่อิ้วเมี่ยน (ออนไลน์), เข้าถึงข้อมูลเมื่อ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔, แหล่งที่มา: http://m-culture.in.th/album - อภิชาต ภัทรธรรม. เย้า, (เอกสาร PDF วารสารการจัดการป่าไม้  ๒๕๕๒  หน้า ๑๓๔ - ๑๔๖: ออนไลน์), เข้าถึงข้อมูลเมื่อ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔, แหล่งที่มา http://frc.forest.ku.ac.th/.../Forest_management...


Messenger