เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เล่าเรื่องประติมานวิทยา: วัชรปรยังกะ (Vajraparyaṅka)
เล่าเรื่องประติมานวิทยา: วัชรปรยังกะ (Vajraparyaṅka)
ท่านั่งขัดสมาธิเพชร เป็นท่านั่งโยคะ (อาสนะ-asana) หรือท่านั่งบำเพ็ญเพียร ทำสมาธิฝึกจิต เรียกอีกว่า วัชราสนะ (Vajrāsana) หรือ ธยานสนะ (Dhyānasana)
วัชรปรยังกะ (Vajraparyaṅka) มีความหมายเกี่ยวข้องกับวัชราสน์ คือบัลลังก์เพชร ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับเมื่อบำเพ็ญสมาธิ ผจญมาร มารวิชัย และตรัสรู้ ลักษณะพระชงฆ์ (แข้ง) ไขว้กันอย่างมั่นคง แลเห็นฝ่าพระบาททั้งสอง มีความหมายเกี่ยวข้องกับการไม่สั่นสะเทือน การไม่เคลื่อนไหว
จัดเป็นท่านั่งของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าทั้งหลายเมื่อทำสมาธิ หรือปฏิบัติโยคะ
ภาพ 1. ลายเส้นแสดงวัชรปรยังกะ หรือนั่งขัดสมาธิเพชร
ภาพ 2. พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร (วัชรปรยังกะ) สมัยรัตนโกสินทร์
-----------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
-----------------------------------
อ้างอิงจาก
1. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism, 2014, 291. 2. The illustrated dictionary of Hindu iconography, 1985, 151 3. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอินเดีย, 2527, 336-337.
(จำนวนผู้เข้าชม 3760 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน