ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
ชื่อเรื่อง : วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
ผู้แต่ง : จรีย์ สุนทรสิงห์
ปีที่พิมพ์ : 2543
สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่
สำนักพิมพ์ : ดาวคอมพิวกราฟิค
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : สำนักนายกรัถมนตรี
ปีที่พิมพ์ : 2486
หมายเหตุ : -
หนังสือวัธนธัมไทย เรื่อง ประวัติการทูตของไทย กล่าวถึงความสัมพันธ์กับประชาชาชาติใกล้เคียง ตั้งแต่สมัยนานเจา สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และการสัมพันธ์กับชาติยุโรป ได้แก่ โปรตุเกสและสเปน เดนมาร์ก เนอเทอร์แลน อังกริด ฝรั่งเสส และความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น
การแสดงเบิกโรง เรื่อง ตำนานท้าวเวสสุวัณ เป็นนาฏกรรมสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร แนวคิดและการออกรูปแบบการแสดงโดยนายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ ได้นำบทบาทและความเป็นมาของท้าวเวสสุวัณมาจากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจัดทำเป็นบทนาฏกรรม ซึ่งไม่เคยมีจัดแสดงมาก่อน และเป็นการแสดงเบิกโรงชุดใหม่นอกเหนือจากที่กรมศิลปากรเคยจัดแสดงมา จัดแสดง ครั้งแรกในรายการศรีสุขนาฏกรรม ประจำปี ๒๕๖๓ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ และวันอาทิตย์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณ โรงละครแห่งชาติ เรื่องราวท้าวเวสสุวัณ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวไว้ว่าเป็นบุตรพระฤษี วิศระวัส (วิศราวะ) หรือเปาลัสตยะกับนางธาดาหรือเทพวรรณี ธิดาพระภารทวาชมหาฤษี ตั้งแต่กำเนิดมามีร่างกาย ไม่งดงาม จึงมีอีกนามหนึ่งว่า “กุเวร” หมายถึง ตัวขี้ริ้ว อาศัยในป่าหิมพานต์เมื่อเจริญวัยได้บำเพ็ญตบะอยู่หลายพันปี พระพรหมและพระอินทร์จึงพากันเสด็จลงมาโปรด ท้าวเวสสุวัณขอพรให้ตนมีฤทธิ์อำนาจเป็นผู้ดูแลมนุษย์โลก พระพรหมประทานพรให้ตามที่ขอ และมอบหน้าที่ให้เป็นโลกบาลประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ) แล้วยังประทานบุษบก วิเศษสำหรับใช้เดินทางไปในอากาศตามต้องการ พระอินทร์เชิญให้ไปประทับยังพิมานชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะเป็นที่สถิตของท้าวโลกบาล อีก ๒ องค์ คือพระวรุณและพระยม แต่ท้าวเวสสุวัณขอผัดผ่อนโดยให้เหตุผลว่า ต้องการอยู่ปรนนิบัติพระบิดา ที่ชรามากแล้วไปจนกว่าจะละสังขาร ต่อมาพระวิศระวัสผู้เป็นพระบิดาแนะนำให้ไปอยู่เมืองลงกา ซึ่งพระวิษณุกรรมได้สร้างขึ้นไว้ในปางก่อน เพื่อเป็นที่อยู่ของพวกรากษส แต่ได้ทิ้งร้างหนีไปอยู่บาดาลเพราะเกรงเดชพระนารายณ์ อยู่มามีพญารากษสตนหนึ่ง ชื่อ ท้าวสุมาลี ซึ่งถูกพระนารายณ์ขับไล่ลงไปอยู่บาดาล ได้ขึ้นมาเยี่ยมมนุษย์โลกเห็นท้าวเวสสุวัณขึ้นบุษบกลอยไปใน อากาศเพื่อไปเฝ้าพระบิดา ก็มีใจริษยาคิดอุบายจะแย่งชิงและเอาพระนครลงกาคืน จึงใช้ให้ธิดา ชื่อ“ไกกะสี” ไปยั่วยวนพระฤษีวิศระวัส จนเป็นที่พอใจรับนางไว้เป็นชายา ให้กำเนิดบุตรธิดา คือ ท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) กุมภกรรณ พิเภษณ์ (พิเภก) และนางศูรปนขา (สำมนักขา) นางไกกะสียุยงท้าวราพณ์ลูกชายให้ไปแย่งชิงเอาเมืองลงกาและบุษบก ท้าวเวสสุวัณสู้ไม่ได้จึงหลบหนีภัยออกจากกรุงลงกา แรมรอนมาในป่าแทบสิ้นชีวิต จนพระพรหมต้องเสด็จมาช่วยเหลือ สร้างเมืองใหม่ให้ทางทิศอุดร ชื่อว่า “อลกา” หรือมีชื่อเรียกอื่นๆว่า “ประภา”หรือ“วสุสถลี” (วสุธา) บ้าง เป็นเมืองทิพย์ มีอุทยานวิเศษรโหฐานชื่อว่า เจตระรถหรือเจตรถ อยู่บนเขามันทรอันต่อเนื่องกับเขาพระสุเมรุ พระนครและสวนขวัญ เป็นรมณียสถานสำราญ ผู้ที่อยู่ในที่นั้นจะปราศจากโรค ความเหน็ดเหนื่อย ความวิตก ความหิว และไม่กลัวเกรงภัย ต่าง ๆ มีอายุยืนถึงหมื่นปี ต้นไม้มีใบเป็นผ้าเนื้อดี มีดอกเป็นมณีมีค่าและมีผลออกเป็นนารี (นารีผล) เหล่าข้าบาทบริจา ในเมืองอลกาล้วนแต่เป็นกินรี กินรา จึงมีนามเรียกอีกว่า“มยุราช” (เจ้าแห่งมยุคือกินนร) นอกจากนี้ ยังประทานให้เป็น เจ้าแห่งทรัพย์สินทั้งหลายบนแผ่นดินโลกมนุษย์ จึงมีนามอีกนามหนึ่งว่า “ธนบดี” (หมายถึง เจ้าแห่งทรัพย์ทั้งหลาย) และให้อยู่เป็นอมฤตหรืออมตะ (ไม่มีตาย) ท้าวเวสสุวัณ มีนามเรียกอีกว่า กุเวร เวสสวัณ ไพษรพน์ กุตนุ ยักษราช กำเนิดเป็นยักษ์ เชื้อสายพรหมพงศ์ มีกายสีขาว รูปร่างลักษณะค่อนข้างประหลาด ถืออาวุธ คือ กระบองยาว เพราะร่างกายพิการขาโกงมี ๓ ขา (ขาที่ ๓ หมายถึงกระบองยาว ที่ใช้ช่วยค้ำยันเวลาเดิน ซึ่งตั้งไว้ในลักษณะของไม้เท้าเพื่อให้ดูสวยงามภูมิฐาน เป็นยักษ์ที่ยึดถือคุณธรรม ในเรื่องรามเกียรติ์ได้กล่าวประวัติไว้ว่า ชื่อ “กุเปรัน” พี่ชายต่างมารดาของทศกัณฐ์ บทบาทปรากฏเพียงแค่ เมื่อถูกทศกัณฐ์แย่งชิงบุษบกไป ต่อจากนั้นก็มิได้กล่าวถึง ......................................................................... เรียบเรียง : นายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร.........................................................................
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453. พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ในปีระกา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452). พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2470.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำรัสสั่งให้พิมพ์พระราชทานในงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ปัญญาสมวาร พระศพสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2470 ซึ่งเป็นพระราชหัตถเลขาพระราชทานมายังพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จราชการรักษาพระนคร และได้ทรงแถลง เรื่อง เสด็จประพาส มณฑลราชบุรี จำนวน 6 ฉบับ915.9376จ657พ
เรื่องเล่าจากหอสมุดแห่งชาติ “หีบพระสมุดกรมราชเลขานุการในพระองค์” ที่ปรากฏการใช้งาน ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เมื่อคราวย้ายหอพระสมุดวชิรญาณ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ภายหลังเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก มาตั้งอยู่ ณ ตึกถาวรวัตถุ และทรงพระราชทานนามว่า “หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร” นั้น ปรากฏสิ่งของเครื่องใช้ ซึ่งตกทอดมาตั้งแต่ครั้งเป็นหอพระสมุด วชิรญาณ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง โดยยังปรากฏและใช้งานมาจนถึงปัจจุบันนอกเหนือจากหนังสือตัวเขียน หนังสือตัวพิมพ์ ตู้พระธรรม ตู้หนังสือ โต๊ะและเก้าอี้ นั้น ยังมีหีบไม้สัก ขนาดใหญ่ จำนวน ๕ ใบ ที่ปรากฏการใช้งาน ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้มาจากแหล่งใด จากการสันนิษฐานโดยหลักฐานที่ปรากฏบนหีบ คือ แผ่นทองเหลืองที่พบเพียงแผ่นเดียวจากหีบจำนวน ๕ ใบ ซึ่งมีการสลักอักษรโดยการนำพยัญชนะและสระมาไว้ในบรรทัดเดียวกัน ความเป็นไปได้ของหีบทั้งห้าใบนี้ อาจจะเป็น “อักษรอริยกะ” ซึ่งเป็นอักษรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้นเมื่อครั้งทรงผนวช และอีกความเป็นไปได้ คือ อักษรที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้น โดยทรงบัญญัติเป็นระเบียบวิธีเขียนหนังสือไทยแบบใหม่ ดังปรากฏในพระบรมราชาธิบายว่าด้วยเรื่อง “วิธีใหม่สำหรับใช้สระและเขียนหนังสือไทย” เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ แต่เนื่องด้วยบนแผ่นทองเหลืองสลักคำว่า “หีบพระสมุดกรมราชเลขานุการในพระองค์” ซึ่งจากการค้นคว้าพบว่า กรมราชเลขาธิการหรือออฟฟิศไปรเวตสิเกรตารีหลวง ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ ตรงกับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีเป็นพระองค์แรก จึงเป็นไปไม่ได้ที่แผ่นทองเหลืองที่ปรากฏจะเป็นอักษรอริยกะ ประเด็นสำคัญคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดรูปสระและวิธีการเขียนหนังสือไทยแบบใหม่ขึ้น โดยการนำพยัญชนะและสระมาไว้ในบรรทัดเดียวกันเช่นเดียวกับอักษรอริยกะ ซึ่งเขียนได้สวยงามเป็นระเบียบ ไม่กำกวม อ่านง่าย ทำให้เข้าใจในภาษาได้ถูกต้อง ทั้งนี้ในรัชสมัยของพระองค์ท่านได้มีการปรับปรุงส่วนราชการต่างๆ ในกระทรวงวังขึ้น ๒๐ กรม แต่ยังไม่ปรากฎชื่อกรมราชเลขานุการในพระองค์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อกระทรวงวังเป็น ศาลาว่าการกระทรวงวัง และมีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๑๐ กรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทวงและกรม พุทธศักราช ๒๔๗๖ ซึ่งหนึ่งใน ๑๐ กรม ที่ปรากฏนามคือ กรมราชเลขานุการในพระองค์ ดังนั้นจากหลักฐานทั้งหมดดังที่กล่าวในข้างต้น หีบพระสมุดของกรมราชเลขานุการในพระองค์ ทั้งห้าใบนั้น สันนิษฐานว่าถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๗๖ และสลักอักษรลงบนแผ่นทองเหลืองตามระเบียบวิธีเขียนหนังสือไทยแบบใหม่ ในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน “หีบพระสมุดกรมราชเลขานุการในพระองค์” จัดแสดง ณ บริเวณโถงกลางห้องหนังสือประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ อาคาร ๑ ชั้น ๓ และหากผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลที่ชัดเจนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดกันได้นะคะ ขอบคุณค่ะ ภาพแผ่นทองเหลืองสลักคำว่า “หีบพระสมุดกรมราชเลขานุการในพระองค์” ภาพหีบพระสมุดกรมราชเลขานุการในพระองค์ -----------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ -----------------------------------------------บรรณานุกรม จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. จากลายสือไทยสู่อักษรไทย. กรุงทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แลหอสมุดสำหรับพระนคร. พระนคร: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๑๒. พระบรมราชาธิบายพระบาสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : วิธีใหม่สำหรับใช้สระและเขียนหนังสือไทย. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, ๒๔๙๓. “พระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พุทธศักราช ๒๔๗๖” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๐ (๑๒ พ.ค. ๒๔๗๖) ๑๗๗. แม้นมาส ชวลิต. ประวัติหอสมุดแห่งชาติ. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๙.
หายไปรวบรวมข้อมูลทางโบราณคดีซะหลายวัน วันนี้แอดมินกลับมาตามสัญญาที่เคยบอกว่าจะมาเล่าให้ทุกคนฟังถึงผลการขุดทางโบราณคดีของบ้านเขียว (อาคารป่าไม้ ภาคแพร่) ค่ะ อาจจะดูเป็นวิชาการซักนิด แต่ถ้าคิดซะว่ากำลังดูนิยายสืบสวนอยู่ละรับรองเข้าใจได้ๆไม่ยาก และสนุกไม่แพ้กันเลยนะคะ แต่วันนี้ตกลงกันก่อนว่าเราจะลองสมมุติตัวเองเป็นนักสืบดู.....ไม่ได้สืบหาฆาตกรที่ไหน แต่เราจะสืบอดีตไปพร้อมๆกันค่ะ
การขุดทางโบราณคดีครั้งนี้เรามีเป้าหมายเพื่อหาพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของอาคารว่ามีรูปแบบดั้งเดิมและมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์ทางสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบไม้ส่วนต่างๆของอาคารที่คัดแยกไว้
เราได้ทำการขุดตรวจเป็นร่องยาวผ่ากลางอาคารทั้งแนวกว้างและแนวยาว โดยหลุมขุดของเราจะผ่าให้คร่อมแนวฐานเสาเพื่อจะได้เห็นร่องรอยการสร้างฐานรากอาคาร จากการขุดทางโบราณคดีเราพอจะปะติดปะต่อเรื่องราวได้ว่า อาคารในสมัยแรกสุดที่สร้างมีขนาดเล็กกว่าที่เห็นในปัจจุบัน อาจเป็นอาคารชั้นเดียว เนื่องจากพบบันไดทางขึ้นเพียง 2 ขั้นบันได อาคารมีมุขยื่นออกมาด้านหน้าไม่มากนัก (ยื่นออกมาทางทิศเหนือ) เนื่องจากพบฐานเสาที่รับหลังคามุข ๒ ช่วงเสา ตัวอาคารมีปีกอาคารขยายออกไปทั้งด้านซ้ายและขวา (ตะวันออกและตะวันตก) (แผนผังคล้ายตัว T ที่มีฐานสั้น) อาคารเดิมน่าจะมีระบบฐานรับน้ำหนักเป็นฐานก่ออิฐและมีไม้เป็นเสาหรือคานรับด้านบนที่เป็นพื้นภายในและตัวอาคาร
ทั้งนี้จากชั้นดินขุดตรวจในพื้นที่อาคารเราพบความน่าสนใจคือ เราพบชั้นดินตะกอนทรายแม่น้ำทับถมบนฐานเสาเป็นความหนาประมาณ 20-30 เซนติเมตร และพบหลักฐานที่สัมพันธ์กันคือ การก่อผนังอิฐปิดพื้นที่ระหว่างฐานเสาแต่ละต้น (นึกถึงภาพประมาณว่าถ้าเรามีบ้านเป็นเสา ใต้ถุนโล่ง พื้นที่ระหว่างเสาจะถูกก่ออิฐเชื่อมต่อปิดทึบทั้งหมด) รวมถึงพบดินถมที่อยู่เหนือจากชั้นตะกอนทรายน้ำท่วม เมื่อประมวลเข้าด้วยกันจึงบอกเล่าเรื่องราวได้ว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่ง พื้นที่เคยเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ โดยน้ำได้พัดพาตะกอนทรายมาทับถมพื้นที่เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้งานอาคารจึงดำเนินการ 2 สิ่งพร้อมกัน คือ ทำการก่อผนังอิฐรอบเชื่อมต่อรอบฐานเสา และทำการถมปรับดินภายในอาคารให้สูงขึ้นแล้วทำการปูอิฐปิดพื้นด้านบนที่เป็นพื้นใช้งานภายในอาคาร ซึ่งน่าจะมีเหตุผลมาจากการพยายามยกอาคารให้สูงขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วม ซึ่งการดำเนินการนี้ยังอยู่ในรูปแบบแผนผังเดิมของอาคาร ทั้งนี้หลักฐานในบริเวณที่ใกล้กันพบหลักฐานสำคัญอีกประการ คือ บริเวณฐานอาคารที่เคยเป็นฐานเสาเดิม มีฐานเสาซีเมนต์ที่มีการเสริมเหล็กทับลงไปบนฐานเสาเดิม (ในบริเวณฐานเสาเดิมที่ตั้งอยู่รอบอาคารและกลางอาคารพบลักษณะการนำฐานเสาใหม่ทับลงบนฐานเสาเดิมในทุกจุด) ซึ่งหลักฐานดังกล่าวสัมพันธ์กับการขยายปีกด้านขวาและซ้ายของอาคารออกไปอีก 1 ห้อง จึงสรุปได้ว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมอาคาร โดยสร้างปีกด้านซ้ายและขวาของอาคารเพิ่มและได้เปลี่ยนระบบการรับน้ำหนักของเสาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เป็นภาพถ่ายเก่า 2 ชิ้นประกอบ คือ ภาพถ่ายทางอากาศของวิลเลียม ฮันท์ ในปี 2487 และภาพถ่ายเก่าบริเวณด้านหน้าอาคาร ปี 2498 ที่พบผังอาคารสอดคล้องกับที่ได้กล่าวมานี้ จึงสรุปโดยคร่าวๆได้ว่า ผังอาคารและระบบรับน้ำหนักในลักษณะดังกล่าว เป็นการทำขึ้นเพื่อรองรับการเป็นอาคาร 2 ชั้น ซึ่งมีมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2487 เป็นอย่างน้อย
ชื่อเรื่อง เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐานสพ.บ. 195/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.4 ซ.ม. ยาว 54.9 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.80/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.150/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 92 (404-407) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ตำราหมอดู ชบ.ส. ๖๒เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สามัคคี ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.26/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)