ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

             เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์   A Passage to Wisdom” และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “มองอนาคตของพิพิธภัณฑ์ในทศวรรษหน้า” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 ในวาระครบรอบ 150 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง    มิวเซียม ณ หอคองคอเดีย และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2417  “พิพิธภัณฑ์ไทย” จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติ ที่สะท้อนภาพชาวสยามในการศึกษาหาความรู้ในกิจการต่าง ๆ และร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองสู่ความ “ซิวิไลซ์” ทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงเป็นโอกาสพิเศษที่คนพิพิธภัณฑ์ และผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ จะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์สร้างสรรค์จากพิพิธภัณฑ์ผ่านมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันแห่งองค์ความรู้สำหรับประชาชนและสังคมไทยอย่างยั่งยืน      กิจกรรม “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์  A Passage to Wisdom” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ไปจนถึง 20.00 น. ประกอบด้วย               1. การเสวนาและการบรรยายจากผู้บริหารองค์กรด้านพิพิธภัณฑ์ของไทย รวมถึงผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์ที่จะมาร่วมกันบอกเล่าเรื่องราวความรู้ต่าง ๆ สู่สาธารณชน อาทิ การเสวนาเรื่อง “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์: A Passage to Wisdom” การบรรยายเรื่อง “พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช” การบรรยายเรื่อง   “20 ปี พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย” สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครหรือรับชมผ่าน LIVE ทาง Facebook และ Youtube : Office of National Museums, Thailand 2. การจัดแสดงนิทรรศการพิเศษกับวัตถุสะสมชิ้นพิเศษจากพิพิธภัณฑ์เครือข่าย 24 แห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน พิพิธบางลำพู กรมธนารักษ์ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด               3. การออกร้านกิจกรรมพิเศษและการจำหน่ายของที่ระลึกจากพิพิธภัณฑ์เครือข่ายอีก 20 แห่ง  อาทิ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย  4. ตลาดสินค้าสร้างสรรค์ประเภทอาร์ตทอย                 นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 18 - 22 กันยายน 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังจัดให้มีกิจกรรม Museum Talk ยามค่ำ และเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Night Museum พร้อมทั้งนำชมพิพิธภัณฑ์ในหัวข้อ "เปิดกรุพิศวง : ปริศนาที่มาโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ Cabinets of Curiosities" ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ ณ จุดลงทะเบียนศาลาลงสรง ตั้งแต่เวลา 17.00 น. (ไม่รับลงทะเบียนล่วงหน้า)              ติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทาง Facebook : Thai Museum Day https://www.facebook.com/thaimuseumday และ Facebook : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร https://www.facebook.com/eduNMB


วัดตะพงใน           วัดตะพงใน ตั้งอยู่ที่ตําบลตะพง อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ตามประวัติกล่าวว่าวัดนี้ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๐๐ มีเรื่องเล่าว่าขณะเตรียมดินสร้างอุโบสถ มีรอยเท้าช้างปรากฏอยู่ จึงได้ขนานนามวัดว่า “วัดสุวรรณอินทร์คชรินทร์ธาราม” ต่อมา จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น“วัดตะพงใน” จากรูปแบบศิลปกรรมสถาปัตยกรรมและหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่าอุโบสถสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ ๓            หน้า-หลัง เรียงกัน ๒ ตับ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันประดับเครื่องถ้วย ฐานอุโบสถเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่รองรับตัวอาคาร ด้านหน้ามีชายคาพาไล ทำช่องทางเข้าออก ๒ ข้าง ตัวอาคารมีประตูทางเข้าออกด้านหน้า ๑ ประตู หน้าต่างด้านละ ๓ ช่อง เหนือประตูหน้าต่างประดับเครื่องถ้วย บานประตู-หน้าต่างมีร่องรอยการแกะสลักลายดอกไม้ลงรักถมสี เจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงระฆังก่ออิฐฉาบปูนตั้งอยู่บนฐานเขียง กรมศิลปากรได้ดําเนินการบูรณะโบราณสถานอุโบสถหลังเก่าเมื่อพ.ศ. ๒๕๕๘            กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๔ง ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ มีพื้นที่โบราณสถาน ๓ ไร่ ๒๔ ตารางวา Wat Taphong Nai           Wat Taphong Nai is a temple located in Taphong Subdistrict, Mueang District, Rayong Province. The temple was established in 1757, according to the history. There was also a story that an elephant's footprint was discovered while the ground was being prepared for the construction of the temple's ordination hall. The temple was therefore known as Wat Suwanin Khotcharintharam, although it was eventually renamed Wat Taphong Nai.           The significant ancient monuments in the temple are the old ordination hall and the Chedi. The ordination hall was built in brick and faces eastward. The hall is covered with three layers of double-gabled roof, with clay tiles. The roof is ornamented with a gable apex, rows of decorative ridges, and decorative gable end protrusions, while the tympanum is decorated by pottery. The front of the hall is a veranda with two entrances. At the front of the hall there is only one entrance. Each of the hall's side walls has three windows. The areas above the windows and the entrances are decorated with pottery. On the door panels are traces of lacquered and painted carving in a flower pattern. The Chedi is southeast of the ordination hall; it is on a square base, built in brick, painted in gold, and resembles a bell in shape.           According to the art and architecture style of the old ordination hall, as well as archaeological evidences excavated in 2015, the hall is assumed to be built in the 19th century, approximately during the reign of Rama III in the early Rattanakosin period. In 2015, the Fine Arts Department has restored the old ordination hall of Wat Taphong Nai.            The Fine Arts Department announced the registration of Wat Taphong Nai as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 118, Special Part 124, dated 17th December 2001. The total area of the monument is 4,896 square meters.   


ครั้งที่พิมพ์ : Edition:  พิมพ์ครั้งที่ 2 พุทธศักราช 2550 ผู้พิมพ์ : Publisher:  กรมศิลปากร อธิบาย : Description:  พิมพ์จำนวน 1,000 เล่ม พิมพ์4สี จำนวน 247 หน้า ISBN:  978-974-417-859-6 ราคา : Price:  230 หนังสืออุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวประวัติของการจัดสร้างอุทยานฯ และบริเวณชุมชนโดยรอบนิวาสสถานเดิมของพระองค์ท่าน ตลอดจนพิธีเปิดอุทยานฯ งานเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพและกิจกรรม ณ อุทยานฯ ประกอบด้วยอาคารโบราณที่ได้รับการอนุรักษ์จัดเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับการจัด นิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระราชจริยาวัตร อาคารจำลอง ภาพสลักหินขนาดใหญ่ที่ทำให้ได้สัมผัสกับพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกร ชาวไทยผู้สนใจติดต่อซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๔๗๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๒๐๕๐


ผู้แต่ง : สวาท ณ น่าน ปีที่พิมพ์ : 2538 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.     การรวบรวมรายละเอียดที่เกี่ยวกับตระกูล ณ น่าน ในหนังสือเล่มนี้จะทำให้เจ้านาย บุตรหลาน เชื้อวงศ์ของเจ้าผู้ปกครองนครน่าน ได้รับทราบไว้ว่าต้นตระกูลเป็นมาอย่างไร และจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจเรื่องของวงศ์ตระกูล ณ น่าน หนังสือเล่มนี้ถูกจัดทำขึ้นมาซึ่งไม่เคยมีผู้ใดจัดทำมาก่อน การค้นคว้าเรียบเรียงของหนังสือเล่มนี้ได้อาศัยพงศาวดารเมืองน่านเป็นหลักและความทรงจำที่มีอยู่ประกอบกับการบอกเล่า





เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น สถานที่ : เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นติดต่อ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ไม่เสียค่าใช้จ่าย


วันเด็กแห่งชาติ ณ บริเวณสวนนกชัยนาท  และบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี      


โครงการหอสมุดแห่งชาติสู่สถานศึกษาและชุมชน ครั้งที่ ๑   ณ โรงเรียนวิเชียรมาตุ ๒  อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง   เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓


พระพุทธรูปยืน เลขทะเบียน   ๐๙/๑๕/๒๕๓๒ ศิลปะทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔- ๑๕ หินทราย  ขนาด สูง ๑๕๕ เซนติเมตร กว้าง  ๕๒ เซนติเมตร   พบที่ บ้านดอนขวาง  ตำบลทัพรั้ง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา           ประติมากรรมชิ้นนี้พบที่บ้านดอนขวาง หมู่ ๓ ตำบลทัพรั้ง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา โดยกรมทหารช่างที่ ๑๑  ชุดปฏิบัติการที่ ๒ โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง  (อีสานเขียว) ในขณะขุดลอก   ลำห้วยยาง พบเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๒ และมอบให้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์           พระพุทธรูปยืน พระองค์ตั้งตรง พระหัตถ์และพระบาทหักหายไปทั้งสองข้าง พระเศียรและพระชงฆ์หักเป็นสองท่อนต่อไว้ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงนูนต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรนูนเหลือบมองต่ำ พระนาสิกได้รูป พระโอษฐ์สลักเป็นร่องลงไปและแสดงอาการยิ้ม พระกรรณค่อนข้างยาว ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดขนาดใหญ่ อุษณีษะนูนขึ้นมา บริเวณพระกรสลักเป็นร่องสำหรับนำเดือยส่วนพระหัตถ์ที่หักหายไปแล้วนั้น มาสวมเข้ากันอีกที ทรงแสดงปางวิตรรกะ (ประทานธรรม) ครองจีวรห่มคลุม ขอบจีวรด้านหน้าตกลงมาเป็นวงโค้งเหนือขอบสบง ซึ่งตกลงมาตรงๆ ถึงข้อพระบาท ส่วนขอบจีวรด้านข้างผายออกทั้งสองด้านแสดงความได้สัดส่วนอย่างแท้จริง สำหรับพระพุทธรูปแบบทวารวดีมักสลักด้วยศิลา แต่ที่หล่อด้วยสำริดก็มีบ้างเช่นกัน    ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก           ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ วัฒนธรรมทวารดีเจริญแพร่หลายอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาหลักและได้แผ่ขยายเข้ามาสู่ภาคอีสาน และคงอยู่จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งวัฒนธรรมทวารวดีนั้นได้รับต้นแบบจากประเทศอินเดีย เช่น ศิลปะอมราวดี ศิลปะคุปตะ และได้ถูกผสมผสานเข้ากับศิลปะท้องถิ่น    Standing Buddha Image Registration No. 09/15/2532 Dvaravati Style, ca. 9th - 10th century Sandstone, Height 155 cm. Width 52 cm.             Found by 11th engineer regiment while dredging the Lum Huay Yang (Yang canal) at Ban Donkhwang, Tap-rang sub-district, Noenthai district, Nakhon Ratchasima Province on 11th May 1989. It was later transferred to the Maha Viravong National Museum.           The Buddha is standing in the upright position, with both hands missing. The standing Buddha is in the double Vitarkamudra. His face is slightly square, the eyebrows connect above the nose, eyes are downcast, he has a small nose, smiling lip and long ears (now missing). Hair is in large curls with a cone-shaped knot. The robe is worn on both shoulders. The outer edge falls from the wrists in a curved line and is u-shaped above the shins.           In about the 7th century Theravada Buddhism practiced by the Dvaravati people from the central Chao Phraya basin, was a religion held in high esteem on the Isan Plateau until circa 11th century, ca. The Dvaravati style derived from Indian archetypes such as Amaravati and Gupta styles, and was integrated with local style.




          ชื่อเรื่อง : โลกในนิทรรศการ     ผู้เขียน : สฤณี อาชวานันทกุล     สำนักพิมพ์ : แซลมอน     ปีพิมพ์ : ๒๕๖๑     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๒๙๘-๔๑๐-๕     เลขเรียกหนังสือ : ๐๖๙.๕ ส๓๕๗ล     ประเภทหนังสือ : หนังสือกรมศิลปากร      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : "โลกในนิทรรศการ" ผลงานของเจ้าของเพจเฟซบุ๊กชื่อว่า "โลกในนิทรรศการ" ที่มีความชื่นชอบการท่องเที่ยวชมนิทรรศการ โดยผู้เขียนได้นำเสนอชิ้นงานจากนิทรรศการทั่วโลกที่น่าสนใจมากกว่า 100 ชิ้น เล่าเรื่องราวความเป็นมาเชื่อมโยงไปถึงประวัติศาสตร์ พร้อมภาพประกอบได้อย่างน่าติดตาม ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดของโลกในนิทรรศการนี้จะทำให้ ผู้อ่านได้รับรู้ความรู้สึกเหมือนกำลังก้าวเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่นำพาให้ย้อนเวลากลับไปเห็นความเป็นมาของโลก ร่องรอยของยุคสมัยเก่าก่อน และอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้อ่านเกิดแรงบันดาลใจอยากไปเยือนพิพิธภัณฑ์หรือสถานที่ต่างๆ ที่นำมาเสนอสักครั้งในชีวิต



Messenger