ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในบทบาทหน้าที่ของเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์สืบสานมรดกภูมิปัญญาภาษาโบราณ ปีงบประมาณ 2566 "กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้และทบทวนบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครอนุรักษ์สืบสานมรดกภูมิปัญญาภาษาโบราณ" ในวันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook live : National Library of Thailand
ชื่อเรื่อง ท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้แต่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่ 959.373 ส691ทสถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ 2551ลักษณะวัสดุ 100 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์ แบบเรียน อู่ทอง(สุพรรณบุรี) -- ประวัติศาสตร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก จัดทำโครงการ “พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง” มีเป้าหมายจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่น กำหนดเป็นระยะๆ ตามแนวการพัฒนาหลักสูตร กำหนดกรอบแนวการพัฒนา จัดทำลักษณะหน่วยการเรียนรู้สอดแทรกไว้ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ ในระดับชันประถมศึกษาปีที่ 1 - 6
ความเชื่อของ “พรหมลิขิต”
พรหมลิขิต แปลโดยรูปศัพท์ได้ว่า ข้อความหรือลวดลายที่พระพรหมเขียนไว้ ถือเป็นคติความเชื่อที่ว่า ชะตาชีวิตของมนุษย์ได้ถูกกำหนดไว้โดยพระพรหม เทพสำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อาจสืบเนื่องมาจาก การที่พระพรหมอยู่ในฐานะพระผู้สร้าง จึงเกี่ยวพันกับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด คติเรื่องพรหมลิขิตปรากฏมาตั้งแต่อินเดียและคงเผยแพร่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คติเรื่องพรหมลิขิตนี้ ชาวมอญรุ่นเก่าเชื่อกันว่า เมื่อทารกใกล้คลอดจะต้องนำผ้าขาวมาปูตั้งแต่ประตูหัวกระไดบ้าน จนมาถึงสถานที่อันจะทำคลอด และจัดหาเครื่องประกอบพิธีประกอบด้วย มะพร้าวหนึ่งผล กล้วยหนึ่งหวี เครื่องหอมจำพวกแป้งและน้ำมันต่าง ๆ ดินสอและสมุดเตรียมไว้ข้างที่นอนทารกให้พร้อม เมื่อทารกกำเนิดขึ้นพระพรหมจะดำเนินบนผ้าขาว มาทำการลิขิตขีดเขียนที่หน้าผากของทารก
ส่วนคติไทยโบราณก็ใกล้เคียงกับทางมอญ กล่าวคือ เมื่อเด็กเกิดมาได้ ๖ วัน พระพรหมจะเสด็จลงมาเขียนเส้นไว้ที่หน้าผาก เพื่อกำหนดหมายว่าเด็กผู้นั้นจะมีความเป็นอยู่วิถีชีวิตอย่างไรตราบจนวันตาย อนึ่ง สิ่งที่พระพรหมกำหนดไว้กล่าวกันว่ามีอยู่ ๕ ประเภท คือ
๑. อายุขัย คือ บุคคลนั้นจะมีอายุยืนยาวหรือสั้นเพียงใด
๒. ภาวะจิตใจหรืออารมณ์
๓. สติปัญญา ความเฉลียวฉลาด
๔. ฐานะความเป็นอยู่
๕. ความรู้สึกสำนึกในบาปบุญคุณโทษ
เรื่อง พรหมลิขิต มีพื้นฐานจากทางพราหมณ์-ฮินดูอย่างชัดเจน แต่ได้กลมกลืนอยู่ในวัฒนธรรมความเชื่อในสังคมไทยเสมอมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งความเชื่อเรื่องพระพรหมมีอำนาจบันดาลโชคชะตาของมนุษย์ ยังสะท้อนออกมาในตำราพรหมชาติ ที่เกี่ยวข้องไปกับเรื่องราวทางโหราศาสตร์ ว่าด้วยอิทธิพลของวันเดือนปีเกิด อาจรวมถึงลายมือ ลายเท้า และลักษณะสัดส่วนของร่างกายอีกด้วย
สำหรับภาพโบราณวัตถุที่นำมาประกอบเรื่องราวนี้ เป็นพระพรหมองค์เดิมที่เคยประดิษฐาน ณ สี่แยกราชประสงค์ ที่สร้างขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างโรงแรม เพื่อขอพรให้เกิดความราบรื่น บัลดาลสิ่งร้ายให้กลายเป็นดี
ตามคำแนะนำของ พล.ร.ต. หลวงสุวิชานแพทย์ โดยการก่อสร้างศาลพระพรหม มีนายเจือระวี ชมเสรี และ ม.ล.ปุ่ม มาลากุล แห่งกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบศาล ส่วนผู้ออกแบบและปั้นพระพรหมคือ นายจิตร พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ เป็นการปั้นตามแบบแผนกรมศิลปากร โดยปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์ปิดทอง ซึ่งการสร้างพระพรหมที่โรงแรมเอราวัณจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างศาลพระพรหมไว้บูชาตามบ้านเรือน หรืออาคารใหญ่ ๆ อย่างแพร่หลายในสังคมไทย ก่อนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ พระพรหมจะถูกทุบทำลายโดยชายผู้หนึ่ง เป็นเหตุให้มีการซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร แล้วนำกลับไปประดิษฐาน ณ ที่เดิม ขณะเดียวกันได้ถอดพิมพ์องค์เดิมเพื่อหล่อองค์ใหม่เป็นโลหะ ซึ่งก็คือองค์ในภาพนั่นเอง ปัจจุบันเก็บรักษา ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อ้างอิง
- กรมศิลปากร. นามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวดประเพณีราษฎร์ เล่ม ๓. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๙.
- กรมศิลปากร. พระมหาพรหมองค์เดิม ที่บูรณปฏิสังขรณ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
- ธนิต อยู่โพธิ์ และคนอื่น ๆ. พรหมสี่หน้า. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, ๒๕๔๙.
- เสมียนอารีย์. “กำเนิดศาลพระพรหม” ณ โรงแรมเอราวัณ สี่แยกราชประสงค์.” ใน ศิลปวัฒนธรรม [ออนไลน์]. เข้าถึงได้http://xn--www-dkl8ayt.silpa-mag.com/history/article_89966
- ไทยรัฐ. “ครบรอบ 61 ปี วันตั้งศาลท้าวมหาพรหม ชาวไทย-ต่างชาติแห่สักการะแน่น.” ใน ไทยรัฐออนไลน์. เข้าถึงได้http://xn--www-dkl8ayt.thairath.co.th/news/crime/1121557
เหลืองจันทบูร เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าดิบที่โล่งแจ้ง แสงแดดจัดถึงร่มรำไร บริเวณแถบภาคตะวันออกของไทยตั้งแต่ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด จนถึงป่าแถบชายแดนกัมพูชา บ้างพบในป่าแถบปราจีนบุรีและนครราชสีมาเช่นกัน ออกดอกปีละครั้งระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม โดยออกดอกเป็นช่อทั้งต้น ดอกบานทนนาน กลีบดอกสีเหลืองสดเป็นมัน อาจมีแต้มสีแดงภายในคอขนาดต่าง ๆ กัน หรือเป็นเพียงขีดสีแดง หรือไม่มีแต้มเลย ชนิดที่มีแต้มมักเรียกว่าเหลืองขมิ้นหรือเหลืองนกขมิ้น
ประวัติความเป็นมาของกล้วยไม้เหลืองจันทบูร พบว่ามีบันทึกของหญิงลักษณาเลิศได้กล่าวถึงกล้วยไม้นี้ว่าพบอยู่ในเขตมณฑลจันทบูร เช่น เขาสระบาป และได้ทราบจากนายซเรอเบเล็นว่า นายฟรีดริคส์ ซึ่งทำงานอยู่ห้าง บีกริมม์ได้นำไปยุโรปให้ศาสตราจารย์ไรค์เชนปาคจัดลำดับทางอนุกรมวิธาน โดยได้จัดให้กล้วยไม้สายพันธุ์เหลืองจันทบูรมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium friedericksianum Rchb.f. เป็นกล้วยไม้สกุล Dendrobium วงศ์ Epidendroideae และกล้วยไม้สายพันธุ์เหลืองจันทบูรชนิดมีแต้มมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium friedericksianum Rchb.f. var. oculatum. กล้วยไม้นี้มีชื่อไทยว่าเอื้องเหลืองจันทบูร แต่ชื่อท้องถิ่นที่ชาวจันทบุรีนิยมเรียกคือ เหลืองจันทบูร หรือ เอื้องนกขมิ้น
กล้วยไม้เหลืองจันทบูรเป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบในประเทศไทย มีสถานภาพเป็นพืชอนุรักษ์ภายใต้การควบคุมของกฎหมายไทยตามบัญชี 2 ของอนุสัญญา CITES เป็นกล้วยไม้ถูกรุกราน และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์จากป่าในธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ซึ่งเดิมเคยเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมจันทบุรี เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองนี้ ได้มีการจัดทำห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้เหลืองจันทบูรตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา กรอปกับได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เพื่ออนุรักษ์กล้วยไม้นี้ให้เป็นกล้วยไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี ทั้งนี้ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อปลุกจิตสำนึกภายใต้งาน “รักษ์เหลืองจันท์วันดอกไม้บาน” ขึ้นทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ปัจจุบันใช้ชื่องานว่า “ราชมงคล รักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน” นอกจากจะมีการจัดแสดงและการประกวดกล้วยไม้เหลืองจันทบูร และกล้วยไม้พันธุ์อื่นๆ แล้ว ยังมีการออกร้านและจัดแสดงสินค้าการเกษตร และการเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักศึกษาด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม “คืนเหลืองจันทบูรสู่ป่า” โดยจัดร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ ชมรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศจันทบูร เทศบาลพลวง และประชาชนที่สนใจเป็นประจำทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปีเช่นกัน
ปัจจุบันเหลืองจันทบูรได้รับการยกย่องให้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
สาโรจน์ ประเสริฐศิริวัฒน์. เหลืองจันทบูร. จันทบุรี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โปร ออฟเซท, 2549.
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก “เพจราชมงคล รักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน” https://www.facebook.com/RMUTTO.CHAN.ORCHIDFESTIVAL
เรียบเรียง: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ขอเชิญเที่ยวงาน "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี ๒๕๖๗" ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การออกร้านจำหน่ายสินค้า การแสดงหมากรุกคน ณ ลานหน้าวัดมหาธาตุ การแสดงแสงสี ชุด อานุภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช การแสดงลิเก การแสดงฉ่อย การแสดงโขน
ชื่อเรื่อง เรื่องของชาติไทยผู้แต่ง พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียเลขหมู่ 959.301 อ197รนสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ ประสานมิตรการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2507ลักษณะวัสดุ 210 หน้า หัวเรื่อง ไทย – ประวัติศาสตร์ – สมัยแรกเริ่มก่อน พ.ศ.1800ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้เรื่องกล่าวถึงไทยในจีน ประเทศจีนสมัยเมื่อราว 4,000 ปีล่วงมาแล้ว กำเนิดชาติอ้ายลาว อาณาจักรน่านเจ้า และไทยในแหลมอินโดจีน
ชื่อเรื่อง ประวัติชีวิตและนิราศบางเรื่องของสุนทรภู่ผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ชีวประวัติ ประวัติบุคคลเลขหมู่ 928.95911 ส798ดปรสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บำรุงเมืองปีที่พิมพ์ 2502ลักษณะวัสดุ 216 หน้า หัวเรื่อง สุนทรโวหาร(ภู่), พระ, 2329-2398ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมประวัติและผลงานต่างๆ ของสุนทรภู่ แบ่งออกเป็นตอนๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นไปในชีวิตได้อย่างชัดเจน และแพร่หลายในหมู่นักศึกษาและนักวรรณคดี
วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานปราสาทเปือยน้อย และร่วมให้กำลังใจแก่ทีมงานในการจัดกิจกรรมโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจร ประจำปี 2567 สำนักการสังคีต ณ ปราสาทเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่อง พลสังขยา (พลสังขยา) สพ.บ. 464/1ก หมวดหมู่ พุทธศาสนา ภาษา บาลี-ไทยอีสาน หัวเรื่อง พุทธศาสนา ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ 40 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม. บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
“วันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน”
วันสุนทรภู่ หมายถึง วันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง ซึ่งมีผลงานด้านบทกลอนที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเป็นจำนวนมาก
สุนทรภู่ เกิดวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ณ บริเวณด้านเหนือของพระราช วังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่วนมารดาไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นคนจังหวัดใด สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เมื่อท่านเกิดได้ไม่ถึงหนึ่งขวบ บิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดากลับไปบวชที่วัดป่า อำเภอแกลง ส่วนมารดาได้ถวายตัวเป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
สุนทรภู่อยู่กับมารดา เข้าเรียนที่สำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดาราม มีความรู้จนได้เป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ด้วยความไม่ชอบงานเสมียน ทำได้ไม่นานก็ลาออก สุนทรภู่อยู่ในวังกับมารดา จนอายุได้ 20 ปี ได้ลอบรักใคร่กับสาวชาววัง ชื่อ จัน จนถูกลงโทษจองจำและถูกโบย เมื่อพ้นโทษ ได้กลับไปหาบิดาที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง และแต่งงานกับจัน แต่อยู่กันไม่นานก็เกิดระหองระแหง คงเป็นเพราะสุนทรภู่เมาสุราอยู่เป็นนิตย์ จึงได้เลิกหย่าร้างกัน
ในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด ในสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ถูกกล่าวหา ด้วยเรื่องเสพสุรา และเรื่องอื่นๆ จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร
ต่อมาสุนทรภู่ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) และเดินทางไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ บวชใหม่ถึง 2 ครั้ง แล้วลาสิกขาบทถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปี พ.ศ. 2394 รับราชการอยู่ 4 ปีก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 69 ปี
ผลงานของสุนทรภู่มีนิราศ 9 เรื่อง นิทาน 5 เรื่อง สุภาษิต 3 เรื่อง บทละคร 1 เรื่อง บทเสภา 2 เรื่อง และบทเห่กล่อม 4 เรื่อง
ในปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปี สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นกวีเอกของโลก เพื่อรำลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันที่รำลึกถึงสุนทรภู่ มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง