ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.249/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : วินัยกิจ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีชนชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันหลากหลายกลุ่ม โดยชาวลาวเวียงเป็นชนชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในตำบลดอนคาซึ่งปัจจุบันยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษไว้ อาทิ การพูดภาษาลาว การจัดงานประเพณี การละเล่น การเล่นดนตรี ฯลฯ           ในช่วงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ของทุกปี กลุ่มลาวเวียงในตำบลดอนคาจะจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาพระยาแถนซึ่งทำหน้าที่ดูแลฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล            หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี เดินทางไปสำรวจและบันทึกภาพเหตุการณ์ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวลาวเวียง ตำบลดอนคา ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยในแรก (๑๒ พ.ค. ๕๗) หมู่บ้านทั้งตำบล รวม ๒๐ หมู่บ้าน ได้จัดขบวนแห่หรือเอ้บั้งไฟจากหมู่บ้านของตน ผ่านวัดโภคาราม (วัดดอนคา) ซึ่งเป็นวัดสำคัญของชุมชนไปยังบริเวณหน้าอ­าคารองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา แต่ละหมู่บ้านตกแต่งรถแห่บั้งไฟอย่างสวยงา­ม รวมถึงจัดขบวนร้องรำสร้างความสนุกและคึกคร­ื้น ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคาจัดการประกวดขบ­วนแห่บั้งไฟ ซึ่งขบวนของหมู่ ๑ บ้านดอนคา,หัวตาล ได้รับรางวัลชนะเลิศ หมู่ ๒๐ บ้านใหม่ใต้ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ ๑ และหมู่ ๑๘ บ้านหนองทราย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ ๒ และในวันที่สอง (๑๓ พ.ค. ๕๗) ชาวบ้านจัดงานแข่งขันจุดบั้งไฟ ซึ่งนอกจากบั้งไฟจาก ๒๐ หมู่บ้านแล้วยังมีบั้งไฟจากชาวบ้านทั่วไปร่วมจุดด้วย รวมทั้งสิ้นจำนวน ๓๘ ลูก โดยมีการร้องรำและเล่นดนตรีประกอบเพื่อสร้างสีสันและบรรยากาศสนุกครึกครื้นเป็นอย่างมาก


ชื่อผู้แต่ง        :   สมเด็จพระอริยะวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน  อุฏฐายี) ชื่อเรื่อง         :   พระนิพนธ์ต่างเรื่อง และสยามปสัมปทา จดหมายเหตุเรื่อง ประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป ครั้งที่พิมพ์      :   พิมพ์ครั้งที่สาม สถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพธนบุรี สำนักพิมพ์      :   พุทธอุปถัมภ์การพิมพ์ ปีที่พิมพ์         :   ๒๕๑๕ จำนวนหน้า     :   ๒๙๔ หน้า หมายเหตุ       :  พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระเมรุพระศพ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)                      พระนิพนธ์ต่างเรื่องของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้ ซึ่งเป็นสารคดีธรรมที่พระองค์ได้ทรงนิพนธ์ในโอกาสต่างๆ ในสมัยที่พระองค์ดำรงสมณศักดิ์ชั้นต่างๆได้เลือกมาพิมพ์ในหนังสือสมัยละหนึ่งเรื่อง ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนิพนธ์เหล่านี้จะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในนิรุกติศาสตร์ อีกเรื่อง สยามูปสัมปทา จดหมายเหตุเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป ปรากฏตามคำนำในการพิมพ์ครั้งแรกในภาคภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป โดยเริ่มกล่าวถึงศาสนวงศ์ในลังกาตั้งแต่ต้นจนถึงเสื่อมทรามลงและในที่สุดได้สูญสิ้นสมณวงศ์




ชื่อเรื่อง : พระราชหัตถเลขาเรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายูของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภาจำนวนหน้า : 302 หน้า สาระสังเขป : หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในแหลมมลายู หรือเรียกว่าหัวเมืองปักษ์ใต้ แต่เดิมเดินทางลำบาก พระเจ้าแผ่นดินจึงไม่ได้เสด็จไปประพาส จนถึงรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อมีเรือกลไฟเป็นราชพาหนะแล้วจึงได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้เป็นครั้งแรก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้หลายครั้งเช่นกัน และในเวลาเสด็จประพาสหัวเมืองทางไกล พระองค์มักทรงพระราชนิพนธ์จดหมายรายการที่เสด็จไปแทบทุกครั้ง โดยการเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ก็ทรงพระราชนิพนธ์เป็นพระราชหัตถเลขาบอกข่าวเช่นกัน โดยทรงเล่าเรื่องที่เสด็จประพาสมายังผู้รักษานคร


พี่นักโบขอต้อนรับสัปดาห์นี้ ด้วยการพาทุกๆคน ไป #เที่ยวทิพย์ ณ หอไตรวัดศรีมงคล : หอไตรกลางน้ำที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ กันครับ . #หอไตรวัดศรีมงคล ตั้งอยู่นอกวัดศรีมงคล อำเภอศิลาลาด #จังหวัดศรีสะเกษ โดยตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด ห่างวัดมาประมาณ ๑๐๐ เมตร ลักษณะเป็นหอไตรกลางน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นที่นา หอไตรตั้งอยู่กลางสระน้ำมีความกว้างประมาณ ๒๐X๒๐ เมตร หอไตรเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมมีขนาดประมาณ ๓.๙๐X๓.๒๐ เมตร มีระเบียงโดยรอบออกเดินรอบได้มาอีกด้านละ ๑.๕๐ เมตร มีประตู(ป่อง)ทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ไม่มีหน้าต่าง ผนังมีความสูงประมาณ ๒ เมตร เขียนภาพจิตรกรรมบนพื้นไม้ไว้โดยรอบ ค่อนข้างจะลบเลือนโดยเฉพาะทางด้านทิศเหนือ ที่ตอนล่างของผนัง มุมอาคาร และกรอบประตู แกะสลักขอบไม้เป็นลายประดับอยู่ตลอดแนว มีการประดับลายด้วยกระจกกลม . จิตรกรรมแบ่งออกเป็นสองตอนคือตอนบนจะเขียนภาพเล่าเรื่อง จากการสำรวจน่าจะเป็นเรื่องในเวสสันดรชาดกและตอนล่างเขียนเป็นภาพเทวดาและลายผูก โดยเขียนตลอดแนวผนังทั้งสี่ด้าน แต่ด้านในไม่มีภาพเขียน ผนังอาคารทั้งสี่ด้านยังคงสภาพดีอยู่ มีร่องรอยสะพานจมอยู่ในน้ำทางด้านทิศเหนือ หลังคาเป็นทรงจั่วสองชั้นมุงด้วยสังกะสี แต่เดิมเป็นไม้แป้นเกล็ด ที่หน้าบันมีร่องรอยการและสลักไม้และเขียนสีประดับแต่ภาพลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว . สภาพอาคารชำรุด พื้นระเบียงชำรุดมากจากการเสื่อมสภาพของไม้ที่นำมาทำคาน พื้นไม้หลุดออกไปบางส่วน ทำให้ไม่สามารถเดินรอบอาคารได้ เสาหอไตรอยู่ในสภาพชำรุดจากการแช่น้ำมาเป็นเวลานาน ภาพจิตรกรรมส่วนมากลบเลือน จากการสอบถามข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้านและกำนัน ทราบว่า แต่เดิมวัดศรีมงคลอยู่ภายในหมู่บ้านเดิมชื่อวัดศรีสุมังค์ ต่อมาย้ายออกมาอยู่นอกหมู่บ้านนามมากแล้ว แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นชื่อวัดศรีมงคล เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมาจึงมีประชาชนเข้ามาอยู่ติดกับวัด แต่เดิมที่รอบวัดเป็นป่าและที่นา หอไตรน่าจะสร้างขึ้นเมื่อวัดย้ายออกมาตั้งในที่ปัจจุบัน . อายุของหอไตรวัดศรีมงคลน่าจะมีอายุประมาณเกือบ ๑๕๐ ปีมาแล้ว ซึ่งประมาณจากข้อมูลที่ได้รับว่าผู้เต่าผู้แก่ที่ผ่านมา ๔ ชั่วคนก็เคยเห็นหอไตรนี้แล้ว แต่ภาพจิตรกรรมน่าจะเขียนขึ้นหลังจากสร้างหอไตรไปแล้วเป็นเวลานานเนื่องจากภาพจิตรกรรมแม้จะเขียนแบบจิตรกรรมพื้นถิ่นเล่าเรื่องทศชาติชาดกแต่ก็เขียนด้วยตัวอักษรไทยกำกับไม่ใช้ตัวธรรมอีสาน ภาพเขียนน่าจะเขียนขึ้นเมื่อประมาณ ๖๐-๘๐ ปีมาแล้ว . เรียบเรียงนำเสนอโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี



ชื่อผู้แต่ง          หลวงนรินทรารณ์ และหมื่นรักษา ชื่อเรื่อง            ศรีทะนนไชย (สำนวนกาพย์) และลิลิตตำรานพรัตน์ ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ 3,2 สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์      ศรีเมืองการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2511 จำนวนหน้า     161 หน้า รายละเอียด                  ศรีทะนนไชย(สำนวนกาพย์) ลิลิตตำรานพรัตน์เป็นหนังสือที่ขออนุญาตจัดพิมพ์ เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายชิตศุภสิทธิ์ ศรีทะนนไชย(สำนวนกาพย์) ที่พระปฎิเวทย์วิศิษฐ์ มอบให้หอสมุดแห่งชาติส่วนเรื่องลิลิตตำรานพรัตน์หรือตำราแก้ว ๙ ประการ มีเพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.8 คำกลอนสุภาษิตประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ              32; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    วรรณคดี                        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 


          นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยความคืบหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน ในพื้นที่ของโรงเรียนสมานมิตรวิทยา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เพื่อสืบทอดมรดกวัฒนธรรมของศาสนาอิสลาม ให้ประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาเรียนรู้ เข้าใจและเข้าถึงได้ ซึ่งดำเนินงานมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ รับผิดชอบในการอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอานและศิลปวัตถุ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดูแลรักษาซ่อมแซมคัมภีร์อัลกุรอาน รวมถึงศิลปวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาอิสลาม ให้มีสภาพแข็งแรง สมบูรณ์ ด้วยหลักวิชาการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของกิจกรรมดังกล่าว    การดำเนินงานอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอานและศิลปวัตถุด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ ในพื้นที่ของโรงเรียนสมานมิตรวิทยา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส แบ่งเป็น ๔ งาน ได้แก่ การปฏิบัติสงวนรักษาศิลปวัตถุด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทไม้ ทองเหลือง เซรามิก เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา ปืนโลหะ มีด กริช เป็นต้น การกำจัดแมลงที่อยู่ภายในคัมภีร์อัลกุรอาน ประมาณ ๗๐ เล่ม ด้วยความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำมาก (ลบ ๑๘ องศาเซลเซียส) การซ่อมแซมคัมภีร์อัลกุรอานที่มีการชำรุดและมีอายุยาวนาน และงานสุดท้ายคือการควบคุมความชื้นในตู้จัดแสดงชั่วคราวภายในอาคารเรียน โรงเรียนสมานมิตรวิทยา เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราในตู้จัดแสดง ทั้งนี้ การดำเนินงานในพื้นที่ทุกครั้งกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ได้รับความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานจากชาวมุสลิมในพื้นที่และชุมชนมุสลิมใกล้เคียง สามารถสร้างบุคลากรในพื้นที่ให้สามารถดำเนินงานอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาอิสลาม อันเป็นการอนุรักษ์แบบยั่งยืน ใช้มิติทางวัฒนธรรมในการส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์และสืบทอดมรดกวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันในพหุสังคม           กรมศิลปากรเห็นความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากอดีต ซึ่งควรจะต้องเก็บรักษาเพื่อให้เป็นมรดกตกทอดของชุมชนในแต่ละพื้นที่และของประเทศ จึงได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์เรียนรู้อัลกุรอานเพื่อเก็บรักษาสมบัติของแผ่นดินให้คงอยู่ต่อไป เมื่อเปิดให้บริการแล้วจะเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอานและมรดกวัฒนธรรมอิสลาม ตลอดจนเป็นสถานที่จัดเก็บและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอานที่ได้มาตรฐานสากล และเป็นสื่อกลางในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีอันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข


หนังสือที่ระลึกนี้จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสที่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์) ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดศาลากลางจังหวัดตรัง ในวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2545 และนำเสนอภาพรวมของจังหวัด ทั้งในด้านสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมีอัธยาศัยไมตรี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของชาวจังหวัดตรัง


        ผู้เรียบเรียง  นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ         การทำบุญตักบาตรเทโวในเทศกาลวันออกพรรษาตามความเชื่อของชาวพุทธ คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา         เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก อันหมายถึงการเสด็จลงจาก เทวโลกของพระพุทธเจ้า โดยเสด็จ ลงทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสสนครทางตอนเหนือของกรุงสาวัตถี  ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันพระเจ้าเปิดโลก 



ชื่อผู้แต่ง           กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง           พระประวัติ และชุมนุมบทละคอนดึกดำบรรพ์ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        เอดิสัน เพรส โพรดักส์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๕๖ จำนวนหน้า      ๓๒๖ หน้า รายละเอียด      เนื่องในพุทธศักราช ๒๕๕๖ เป็นวาระครบรอบ ๑๕๐ ปี วันประสูติของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศนุวัดติวงศ์  ด้วยความรำลึกถึงพระคุณที่ทรงมีต่องานศิลปะวัฒนธรรม กรมศิลปากรจึงจัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้น เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ ในวาระสำคัญดังกล่าว เนื่องจากท่าน ทรงมีบทบาทสำคัญต่องานละครดึกดำบรรพ์  ด้วยทรงพระนิพนธ์บทละคร ปรับปรุงทำนองเพลง ออกแบบฉาก และกำกับการแสดง หนังสือเล่มนี้ จึงนำประวัติของท่านและบทละครจำนวน ๘ เรื่อง ที่ท่านทรงได้ตรวจชำระไว้แล้วมาเผยแพร่


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 145/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger