ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ


          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณกรรมหลายประเภท ทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และบทความ เป็นงานเขียนที่มีพัฒนาการอย่างสูงสืบเนื่องมาแต่ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จุดเด่นของวรรณกรรม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มุ่งเน้นการประพันธ์จากวรรณกรรมเริงรมย์ไปสู่วรรณกรรมสะท้อนสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสะท้อนภาพของวิถีชีวิต ค่านิยม และทัศนคติของชนชั้นกลางในการสร้างสังคมประชาธิปไตย อีกทั้งในยุคนี้ยังเป็นยุคเฟื่องฟูของนวนิยายสมัยใหม่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างความหฤหรรษ์ทางปัญญาแก่ผู้อ่าน และบุกเบิกแนวทางของวรรณกรรมสัจสังคมนิยม ให้เป็นแนวทางที่โดดเด่นของวรรณกรรมไทยร่วมสมัยมาจนทุกวันนี้ และหนึ่งในวรรณกรรมเล่มสำคัญที่มิอาจกล่าวผ่านเลยไปเล่มหนึ่ง ณ ช่วงเวลานั้น คือ “ดำรงประเทศ”           ดำรงประเทศ เป็นวรรณกรรมที่หายสาบสูญไปเกือบ ๑๐๐ ปี โดยเป็นนวนิยายเรื่องแรกของเวทางค์ หรือ เรืออากาศโททองอิน บุณยเสนา ซึ่งเป็นนักเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นร่วมสมัย ในยุคเดียวกับดอกไม้สดและศรีบูรพา แต่น่าเสียดายที่นักเขียนซึ่งใช้นามปากกาว่า เวทางค์ กลับถูกลืมหายไปกับช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมอย่างน่าเสียดาย ดำรงประเทศ เวทางค์ได้เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์พานิชศุภผล จำหน่ายราคาเล่มละ ๑ บาท สำหรับท่วงทำนองการเขียนเป็นแบบจินตนิยายในแนวปรัชญาการเมือง โดยวางเนื้อเรื่องและบทบาทของตัวละครเน้นไปในทางให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงแก่นธรรมะ และระบอบ การปกครองของประเทศ ซึ่งขณะนั้นยังมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ผู้เขียนได้เน้นเสนอปรัชญาการเมืองในแบบ "ธรรมาธิปไตย" คือการปกครองโดยธรรมเพื่อความเป็นธรรมของราษฎร ซึ่งเป็นการปลุกให้นักอ่านได้ตื่นตัวแต่มิใช่เป็นการปลุกระดมดังเช่นปัจจุบัน ภายในเล่มของดำรงประเทศ แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น ๑๐ บท คือ บทที่ ๑ การสงคราม บทที่ ๒ กษัตราธิราช บทที่ ๓ การอบรม บทที่ ๔ ทาษของคนหรือชาติ บทที่ ๕ ความรัก บทที่ ๖ การปกครอง บทที่ ๗ เมืองบิตุราชและมาตุภูมิ บทที่ ๘ ความสวาท บทที่ ๙ รัฐประสาสโนบาย และบทที่ ๑๐ สาสนคุณ           ดำรงประเทศ ถูกคัดเลือกให้เป็น ๑ ในหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ประเภทบันเทิงคดี ด้านนิยาย โดยวิทยากร เชียงกูล และคณะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ปัจจุบันสำนักพิมพ์ต้นฉบับได้นำนวนิยายเรื่อง ดำรงประเทศ ซึ่งเป็นวรรณกรรมเก่าและหายากมาจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ เพื่อร่วมอนุรักษ์และเผยแพร่แก่สาธารณะอย่างกว้างขวางอีกครั้งในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖           ปัจจุบัน “ดำรงประเทศ” จัดเก็บและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๗๔ ให้บริการ ณ ห้องหนังสือหายาก อาคาร ๒ ชั้น ๓ และฉบับพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ต้นฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้บริการ ณ ห้องหนังสือประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ อาคาร ๑ ชั้น ๓ดำรงประเทศ โดย เวทางค์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๗๔ โรงพิมพ์พานิชศุภผลดำรงประเทศ โดย เวทางค์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๖ สำนักพิมพ์ต้นฉบับ---------------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ---------------------------------------------------------------------บรรณานุกรม ประกาศ วัชราภรณ์. ทำเนียบนักประพันธ์. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, ๒๕๓๒. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. วรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๗ : การตอบสนองรสนิยมของชนชั้นกลาง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ๖ (๑): ๗๗ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔. จาก: https://e-journal.sru.ac.th/ index.php/jhsc/article/view/111/pdf_107. ๒๕๕๗. วิทยากร เชียงกูล. สารานุกรมแนะนำหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๒. เวทางค์. ดำรงประเทศ. พระนคร: โรงพิมพ์พานิชศุภผล, ๒๔๗๔. เวทางค์. ดำรงประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ, ๒๕๕๖.



ชื่อเรื่อง                                ยาคุภตฺตทานานิสํสกถา (ฉลองข้าวยาคู) สพ.บ.                                  355/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  


ชื่อเรื่อง                     ประวัติวัดพนัญเชิงผู้แต่ง                       กรมธรรมการประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.3135 ธ923ปสถานที่พิมพ์               พระนคร  สำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์บุญครองพานิชปีที่พิมพ์                    2481ลักษณะวัสดุ               24 หน้าหัวเรื่อง                     วัดพนัญเชิงวรวิหารภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกประวัติวัดพนัญเชิง เป็นอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ตำบลคลองสวนพลู ริมลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในเขตอำเภอกรุงเก่า พระนครศรีอยุธยา มณฑลอยุธยาฯ วัดนี้เป็นวัดมีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างแต่ครั้งไร ในพระราชพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงสร้าง และได้พระทานนามไว้แต่เดิมว่า "วัดเจ้าพระนางเชิง" ดังตำนานพระราชพงศาวดารเหนือ  


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.48/1-7ฆ  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ก/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.248/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สุรินทชมพู--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


บทความจากนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๓ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๔๕ คอลัมน์ภาพเก่า-เล่าอดีต : นอร์เวย์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พุทธศักราช ๒๔๕๐ โดยนางสาวนัยนา แย้มสาขา นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ   ไฟล์แนบ                             ขนาด old_photo54-3.pdf              5.42 MB    


ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2474 หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ สุขุม) วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2474             ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 19 ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนัก ครั้งกรุงศรีอยุธยา นี้ ในตอนต้นกล่าวถึงตำรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีทั้งกระบวนเสด็จโดยทางชลมารคและกระบวนเสด็จทางสถลมารค สำหรับกระบวนเสด็จทางสถลมารคนั้นประกอบไปด้วยกระบวนราบ กระบวนช้าง และกระบวนม้า กล่าวถึงกระบวนเสด็จพระพุทธบาท และการรักษาพระนครเวลาเสด็จไม่อยู่ และในตอนปลายกล่าวถึงตำราหน้าที่มหาดเล็ก ตำราหน้าที่ชาวที่ ตำราหน้าที่ตำรวจ ตำราหน้าที่กรมวัง ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา ตำราอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต และพระตำราทรงเครื่องต้น


ชื่อเรื่อง : สารคดีการแพทย์ ชื่อผู้แต่ง : ดร.สยามสมัย ปีที่พิมพ์ : 2503 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ จำนวนหน้า : 434 หน้า สาระสังเขป : สารคดีการแพทย์ เล่มนี้ ดร. สยามสมัยได้รวบรวมความรู้ทางวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ผู้อ่านได้มีความรู้เบื้องต้นของอาการต่าง ๆ ว่าเป็นเพราะโรคหรือเพราะสาเหตุใด จะได้รู้เท่าทัน และถ้ามีผู้ที่เผชิญความเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ จะได้รู้ตัวรีบจัดการไปรับการรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนที่จะเสียชีวิตอันมีค่าโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้


#อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เดือนมีนาคม สำหรับชาวนครราชสีมา เป็นเดือนแห่งการระลึก วีรกรรมท่านท้าวสุรนารี หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ขณะท้าวสุรนารีเเละหญิงชาวเมืองนครราชสีมาถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เเต่ภายหลังเมื่อพักแรมที่บ้านสัมฤทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย) สามารถเข้าสู้เเละรอดพ้นภัยจากข้าศึกศัตรูได้สำเร็จ จนภายหลัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได่สถาปนาคุณหญิงโมขึ้นเป็นท้าวสุรนารี ในปี 2370 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สร้างขึ้นในปี 2476 โดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เเละพระเทวาภินิมมิต ซึ่งพื้นเพเป็นชาวนครราชสีมา ร่วมกันออกแบบ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 250 เซนติเมตร หน้าประตูชุมพล (ประตูเมืองนครราชสีมาด้านทิศตะวันตก) เเละทำพิธีเปิดในช่วงต้นปี 2477 เเละได้มีการซ่อมแซมส่วนฐานอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ในปี 2510 โดยมีสภาพดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้กำหนดให้ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เเละประตูชุมพล พร้อมด้วยแนวกำแพงเมืองนครราชสีมาใบเสมาข้างละ 10 ใบ ที่ยืดออกจากประตูชุมพล เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ในปี 2480 ในเขตพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา ยังมีโบราณสถานที่กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอีก 3 แห่ง ได้แก่ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร สถานพระนารายณ์ เเละศาลหลักเมือง "...เป็นแสงสว่างอยู่กลางเมือง รุ่งเรืองสตรีวีรชน ใครไหว้ใครบน ได้ดังอธิษฐาน..." ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ยังคงตั้งเด่นตระหง่านหน้าประตูชุมพล เป็นที่เคารพบูชา ขอพร ผ่านไปผ่านมาต้องเเวะไหว้ ของชาวนครราชสีมา เเละชาวไทย ทุกคน มายาวนานกว่า 87 ปี


ชื่อผู้แต่ง         - ชื่อเรื่อง            อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพร้อยเอกแม้น สังขวิจิตร ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารอากาศ ปีที่พิมพ์          2517 จำนวนหน้า     197 หน้า รายละเอียด                  หนังสือที่ระลึกงานพระราทานเพลิงศพร้อยเอกแม้น สังขวิจิตร เนื้อหาประกอบด้วยประวัติผู้เสียชีวิต คำไว้อาลัย พระธรรมจักรกัปปวัตนสูตรเทศนาโดยสมเด็จพระสังฆราชวัดเบญจมบพิตรธรรมอันเหตุแห่งความเจริญยศ โดยสมเด็จพระสังฆราชวัดมงกุฎกษัตริยาราม ทำอย่างไรจึงจะอายุวัฒโก การปฏิบัติครั้งแรกในไทย (ร.ศ.๑๓๐) เรื่องสิ้น “ปู่แม้น” โดยสังขวิจิตร และก้อยแกลงโดยนาวาอากาศเอกมานะ สังขวิจิตร บุตรชาย


          กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร และร่วมทำบุญ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๖๕ ในวันที่ ๑๗ – ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          การจัดกิจกรรมเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถือเป็นธรรมเนียม ปฏิบัติของกรมศิลปากรมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๖๔ โดยอาราธนาพระภิกษุและสามเณร เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานเป็นกรณีพิเศษ ปีละ ๒ วัน พร้อมทั้งจัดถวายภัตตาหารเพลและกัปปิยภัณฑ์ต่าง ๆ สำหรับปีนี้ ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ ๑๐๑ ปี กรมศิลปากรจึงจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ตรงกับแรม ๔ ค่ำ และแรม ๕ ค่ำ เดือนแปด เพื่อให้พระภิกษุสามเณร ผู้ดูแลรักษาทรัพย์สินในพระศาสนาอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่เก็บรักษาไว้ตามวัดต่าง ๆ ได้เข้าชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เนื่องในพระพุทธศาสนาที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยและถวายกัปปิยภัณฑ์ เพื่อร่วมทำบุญในกิจกรรมดังกล่าว ได้ที่ งานธุรการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐ เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. (วันพุธ – วันอาทิตย์)


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.6 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              25; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    เวชศาสตร์                        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 


Messenger