ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
รวมบทความเรื่องภาษาและอักษรไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2527. เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับภาษาและอักษรไทย ได้แก่ เรื่องงานฉลอง 700 ปี ลายสือไทย พุทธศักราช 2526 ภาษาไทยที่เป็นอักษรโบราณ (ลายสือ) ความรู้เรื่องภาษาไทยและปัญหาการใช้ภาษา และการใช้ถ้อยคำราชาศัพท์
คลัง (หน) , เจ้าพระยาพระ. พงศาวดารจีน เรื่อง ไซจิ้น เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพ ฯ :
องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๗. ๒๙๔ หน้า
พงศาวดารจีนเรื่อง ไซจิ้น เล่ม ๑ นี้ เป็นตอนที่ต่อจากสามก๊ก เป็นเรื่องราวอิงประศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคอาณาจักรที่ถูกแบ่งออกเป็นสามก๊ก โดยสุมาเอี๋ยมบตุรชายของสุม้าเจียวหลานของสุม้าอี้ได้ราชสมบติเป็นพระเจ้าแผ่นดินงุ่ย แล้วตั้งพระนามว่าพระเจ้าซีโจบู๊ฮ่องเต้ เปลี่ยนนามแผนดินงุ่ยเรียกว่า แผ่นดินไซจิ้น
.. วัดธรรมิการาม (ค้างคาว) ตำบลบางขาม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี..
สิ่งสำคัญ ๑. โบสถ์ ๒. วิหาร ๓. เจดีย์
...วัดธรรมิการาม สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๖ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เดิมเป็นวัดป่า มีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก จึงเรียกว่าวัดค้างคาว ปัจจุบันไม่มีแล้ว และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าวัดธรรมมิการาม ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๔๖
... สภาพปัจจุบัน โบราณสถานได้รับการบูรณะแล้ว
ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม จิตรกรรมฝาผนังวัดธรรมิการามปรากฏอยู่ที่ฝาผนังภายในอาคารของวัดสองแห่งคือ ๑. จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เป็นภาพวาดอยู่เหนือระดับกรอบบนของประตูและหน้าต่างภายในพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน เป็นเรื่องพุทธประวัติ ไม่ปรากฏชื่อศิลปินผู้วาด ๒. จิตกรรมฝาผนังภายในวิหาร เป็นภาพวาดอยู่เหนือระดับกรอบบนของประตูและหน้าต่างภายในพระวิหารทั้งสี่ด้าน เป็นภาพวาดเรื่องทศชาติ รูปแบบของการวาดเป็นแบบท้องถิ่น จิตรกรรมทั้งสองแห่งอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จากการพิจารณาน่าจะเป็นภาพที่วาดอยู่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๕๓) รูปแบบจิตรกรรมเป็นแบบ “หลวง” สมัยรัตนโกสินทร์
การขึ้นทะเบียน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ พิเศษ ๒๕ง วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๒
(ที่มา : ทะเบียนโบราณในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี)
จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย จะขอแนะนำหาดทรายที่สวยงามที่น่าสนใจให้ทราบกันหลายแห่ง ได้แก่ หาดคุ้งวิมาน แหลมเสด็จ หาดจ้าวหลาว อ่าวคุ้งกระเบน หาดแหลมสิงห์ อ่าวกระทิง อ่าวยาง จะขอเริ่มที่หาดคุ้งวิมานก่อน หาดคุ้งวิมาน เป็นหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี อยู่ในท้องที่ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม ถ้ามาจากระยองจะแยกเข้าทางขวามือของเส้นทางถนนสุขุมวิท ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 301-302 ก่อนถึงตัวเมืองจันทบุรี ประมาณ 28 กิโลเมตร เข้าไป 27 กิโลเมตรก็จะถึงชายหาดคุ้งวิมาน ก่อนถึงชายหาดคุ้งวิมานประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือขึ้นไปบนภูเขาเตี้ยๆ มีจุดชมวิวทิวทัศน์ มีมุมสวยๆ บนเขาและทางลาดที่มองออกไปทะเล มีถนนเลียบทะเลที่สวยที่สุดในภาคตะวันออก สมกับชื่อที่เป็นวิมานของคุ้งแห่งนี้ หาดคุ้งวิมานเป็นหาดทรายสีทอง มีโขดหินผุดโผล่เป็นแห่งๆแต่งแต้มชายหาดให้สวยงามยิ่งขึ้นยามที่คลื่นถาโถมซัดเข้าหาโขดหินตามกำลังแรงของลม ทำให้น้ำแตกกระเซ็นเป็ฟองนฝอยขาวพร่างตาตัดกับสีฟ้าสดใสของน้ำทะเล ไกลออกไปเห็นเรือประมงอยู่ลิบๆ ฝูงนกนางนวลและนกทะเลบางชนิดบินฉวัดเฉวียนอย่างร่าเริงน่ามอง จึงอยากเชิญชวนให้มาท่องเที่ยวกันที่หาดคุ้งวิมาน---------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี---------------------------------------------------------------อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวทะเลจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 44-65.
ชื่อเรื่อง บทโขน กรมศิลปากรปรับปรุงแสดง ผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.9112 ศ528บสสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพรปีที่พิมพ์ 2507ลักษณะวัสดุ 318 หน้า หัวเรื่อง บทละครไทย – รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมบทโขนซึ่งกรมศิลปากรเคยจัดให้นักเรียนนาฏศิลปินของกรมศิลปากรนำออกมาแสดงในประชนชม ณ โรงละคอนศิลปากร
ชื่อเรื่อง พระเจ้าจันทปัชโชต (กกจันทปัชโชต)
สพ.บ. 354/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง โบราณศึกษาและวิธีสอนหนังสือไทยผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ การศึกษาเลขหมู่ 370.9593 ศ528บพสถานที่พิมพ์ ธนบุรี สำนักพิมพ์ การช่างุฑฒิศึกษา แผนกการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2502ลักษณะวัสดุ 87 หน้าหัวเรื่อง การศึกษา วิธีสอนภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกวิธีการสอนและการศึกษาในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 8 ข้อ เรียกว่ามาติกา มาติกาต่างๆ เหล่านี้ว่าด้วยเรื่อง ตำบลที่เล่าเรียน สถานโรงเรียน จำนวนนักเรียนและครู เวลาเรียนและหยุด เครื่องเล่าเรียน วิชาหนังสือ วิชาเลข และข้อบังคับการเรียน
ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)
ชบ.บ.95ก/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.247/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 8 (2565)หัวเรื่อง : สิงฺคาลสุตฺต(สิงคาลสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วัดธาตุประสิทธิ์ อยู่ที่ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ภายในวัดมีพระธาตุสำคัญ คือ พระธาตประสิทธิ์ ตามประวัติกล่าวว่า เป็นเจดีย์เก่าแก่ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด ก่อนการปฏิสังขรณ์เคยชำรุดทรุดโทรมมีเถาวัลย์ปกคลุม ภายในพระธาตุมีอุโมงค์ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ ผู้ค้นพบได้แก่ชนเผ่าญ้อซึ่งหนีภัยสงครามการรบพุ่งระหว่างอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์กับพม่าและอาณาจักรเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ ซึ่งพระองค์ได้ทรงบูรณะพระธาตุองค์นี้ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ ๒๒๘๓ เจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร พระนามว่าพระเจ้าขัติยวงศาราชบุตรี มหาฤาไชยไตรทศฤาดิเดช เชษฐบุรีศรีโคตรบูรณ์หลวง ได้บูรณะเสริมยอดสูงประมาณ ๓๐ เมตร พ.ศ ๒๔๓๖ พระเจดีย์ชำรุดทรุดโทรมมาก จนยอดเจดีย์หักลงมาต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๔ พระครูประสิทธิ์ศึกษากร เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้ทำการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเลียนแบบพระธาตุพนมบางส่วน สวดสายต่าง ๆ จะเป็นลวดลายใหม่ ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๗.๒๐ เมตร วัดโดยรอบฐาน ๒๔.๕๐ เมตร สูง ๒๔.๕๒ เมตร มีประตูเปิด-ปิด สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และได้ตั้งชื่อพระธาตุองค์นี้ใหม่ว่า “พระธาตุประสิทธิ์” ตามนามของพระครูประสิทธิ์ศึกษากร เจ้าอาวาสผู้ก่อสร้าง นอกจากนี้ ภายในวัดมีศาลาการเปรียญหลังเก่าซึ่งอยู่ด้านข้างองค์พระธาตุประสิทธิ์มีรูปทรงสวยงาม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ด้านในศาลาปรากฏภาพเขียนเป็นภาพพุทธประวัติ ตั้งแต่ประสูติตรัสรู้และปรินิพพานโดยแบ่งเป็น ๑๒ ตอน ได้แก่ ตอนประสูติ ตอนลองศร ตอนอภิเษก ตอนออกชมสวน ตอนเสด็จออกบรรพชา ตอนตัดพระโมฬี ตอนบำเพ็ญทุกรกิริยา ตอนถวายข้าวมธุปายาต ตอนมารผจญ-ตรัสรู้ ตอนโปรดปัญจวัคคีย์ ตอนเสด็จเยี่ยมพระนางพิมพา และตอนเสด็จปรินิพพาน ภาพพุทธประวัติทั้ง ๑๒ ภาพ โครงสีส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง น้ำตาล ดำ ซึ่งเป็นสีฝุ่น ที่ภาพแรกปรากฏชื่อว่าเป็นฝีมือของหม่อมหลวงมรกต บรรจงราชฯ มีนายสิงห์ วะชุม เป็นผู้ช่วย ภาพเขียนคงจะวาดขึ้นหลังจากปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ส่วนเสาของศาลาการเปรียญเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ แต่ละด้านของเสามีภาพสาวกของพระพุทธเจ้าอยู่ทุกเสา องค์สาวกห่มจีวรสีเหลืองสดใส มีพื้นหลังเป็นสีฟ้าครามทุกภาพ ด้านบนถึงด้านล่างองค์สาวกประดิษฐ์ลวดลายไทยด้วยสีน้ำตาล เหลือง พื้นสีฟ้าคราม แต่ละภาพไม่ปรากฏนามผู้วาด แต่จากลักษณะภาพเปรียบเทียบกับภาพที่ผนัง ซึ่งเป็นภาพพุทธประวัติแล้วคนวาดน่าจะเป็นคนละคนกันและต่างสมัยกันด้วย เพราะลักษณะของลายเส้นและการใช้สีต่างกัน ศาลาการเปรียญแห่งนี้เคยใช้เป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ (พระกฐินต้น) ณ วัดธาตุประสิทธิ์ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕ อีกด้วย----------------------------------------------------ข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี----------------------------------------------------อ้างอิง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.