ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.247/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : สิงฺคาลสุตฺต(สิงคาลสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณในจังหวัดปราจีนบุรีที่มีพัฒนาการตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรือกว่า ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมฟูนัน ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ศรีมโหสถจึงเป็นทั้งเมืองท่าการค้าที่ติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเล ศูนย์กลางการคมนาคมของบ้านเมืองตอนใน และเมืองชายฝั่งทะเลใกล้เคียง เมืองโบราณแห่งนี้จึงมีความหลากหลายในด้านศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ที่เดินทางมาพร้อมกับผู้คนจากต่างแดน ทั้งนี้ พบหลักฐานในการประดิษฐานพระพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดเป็นลำดับต้นของประเทศไทย ดังนี้ รอยพระพุทธบาทคู่ที่เก่าที่สุด รอยพระพุทธบาทคู่ โบราณสถานสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ (๑,๓๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) รอยพระพุทธบาทคู่สลักลึกลงในพื้นศิลาแลง ลักษณะฝ่าพระบาทเสมือนรอยเท้ามนุษย์จริงตามธรรมชาติ ทั้งรูปร่างและความยาวของนิ้วพระบาทที่ไม่เสมอกัน กึ่งกลางรอยพระพุทธบาทสลักเป็นรูปธรรมจักรมีกากบาทไขว้ ตรงจุดตัดกากบาทเป็นหลุมสันนิษฐานว่าเป็นหลุมสำหรับปักฉัตร กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทคู่ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง และเป็นร่องรอยหลักฐานการนับถือพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งทั้งในเมืองศรีมโหสถ และดินแดนประเทศไทย พระพุทธรูปที่เก่าที่สุด พระพุทธรูปปางสมาธิ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑- ๑๒ (๑,๔๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) พระพุทธรูปปางสมาธิแกะสลักจากหินทราย พบในบ่อน้ำหน้าอาคารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท โบราณสถานสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะของพระพักตร์ และองค์พระพุทธรูปมีรูปแบบที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมฟูนันและศิลปะอินเดียแบบอมราวดี พระคเณศที่เก่าที่สุด พระคเณศหินทราย ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) พระคเณศ เทพเจ้าสำคัญองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ และฮินดู เป็นโอรสของพระศิวะ กับนางปารวตี (พระอุมา) มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากเทพเจ้าองค์อื่น คือ มีเศียรเป็นช้างขณะที่ร่างกายเป็นมนุษย์ พระคเณศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าผู้รอบรู้ และได้รับการยอมรับนับถือในฐานะ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา และเทพเจ้าแห่งอุปสรรค ผู้สร้างและขจัดอุปสรรคทั้งปวง พระคเณศศิลาองค์นี้ พบเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๕ จากโบราณสถานหมายเลข ๒๒ หรือโบราณสถานกลางเมืองศรีมโหสถ เมืองโบราณสมัยทวารวดี พระคเณศลักษณะเหมือนช้างธรรมชาติและไม่ทรงเครื่องประดับ เทียบรูปแบบได้กับพระคเณศสมัยก่อนเมืองพระนครในศิลปะเขมร อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถือได้ว่าพระคเณศองค์นี้ เป็นพระคเณศที่เก่าแก่องค์หนึ่งในบรรดาพระคเณศที่พบในประเทศไทย และมีขนาดสูงที่สุด คือ ราว ๑.๗๐ เมตร-----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาววัชรี ชมภู ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี-----------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 1 ชื่อผู้แต่ง : พระยาทิพากรวงศ์, เจ้า ปีที่พิมพ์ : 2504 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาจำนวนหน้า : 230 หน้า สาระสังเขป : พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 1 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เล่มนี้ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 3 และพระราชประวัติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2367-2381
“…ส่วนตัวเมืองนครราชสีมานั้น ก็มีความเชื่อใจว่า #ถ้าไม่ตายเสียก่อนคงจะได้ไปเห็น เป็นการแน่ใจมากกว่าประเทศยุโรป ซึ่งไม่เชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บจะปล่อยให้ไปได้..”
.
พระราชหัตถเลขาที่กล่าวถึงข้อความดังกล่าว ระบุปี รัตนโกสินทรศก ที่ ๑๑๐ หรือตรงกับ ปี ๒๔๓๔ ซึ่งทุกท่านๆ ทราบหรือไม่ ? ครับ ว่าจริงๆแล้ว หลังจากนั้น ๖ ปี ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปทวีปยุโรปเป็นครั้งเเรก ในปี ๒๔๔๐ ก่อนจะได้เสด็จมา #เมืองนครราชสีมา ของเราเสียอีก
.
หลังจากเสด็จกลับจากยุโรปได้ ๓ ปี พระองค์พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์จึงได้เสด็จพระราชดำเนิน เมืองนครราชสีมา ในคราวเปิด เปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีระยะทางทั้งสิ้น ๒๖๕ กิโลเมตร งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๑๗,๕๘๕,๐๐๐ บาท ในวันที่ ๒๑ธันวาคม ปี ๒๔๔๓ โดยเดินทางถึงเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นศูนย์กลางมณฑลลาวกลาง ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน และประทับพักแรมเพื่อตรวจราชการ เยี่ยมเยี่ยนราษฎร ตลอดจนทอดพระเนตรโบราณสถาน จนถึงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ปี ๒๔๔๓ จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับพระนคร โดยรถไฟ รวมเวลากว่า ๔ วัน ๓ คืน ซึ่งการเสด็จพระราชดำเนินมาเมืองนครราชสีมาในครั้งนี้ นับเป็น #ครั้งแรกและครั้งเดียวตลอดรัชสมัย จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ๒๔๕๓
.
การเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมาในครั้งนี้ นอกเหนือจากพระราชภารกิจตรวจราชการส่วนราชการต่างๆ และเยี่ยมเยียนพสกนิกร แล้ว พระองค์ยังเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่ง อาทิ ศาลหลักเมือง วัดกลางนคร (วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร) สถานพระนายณ์ รวมไปถึง กำแพงเมือง ประตูเมือง ซึ่งอยู่ในเขตเมืองนครราชสีมาแล้ว ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ปี ๒๔๔๓ พระองค์ เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารได้เสด็จพระราชดำเนินไปยัง โบราณสถานปราสาทพนมวัน ซึ่งตั้งอยู่นอกเมืองนครราชสีมาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นระยะทางกว่า ๑๕ กิโลเมตร
.
โดยรายละเอียดการเดินทางดังกล่าวถูกบันทึกไว้ ความว่า “… #แล้วเสด็จทรงม้าพระที่นั่งไปประพาสวัดพนมวัน ทอดพระเนตรอันเป็นของโบราณ ทำด้วยศิลาแลงแท่งใหญ่ๆ ประดับซ้อนขึ้นไป แล้วทรงจารึกพระบรมนามาภิไธยเป็ยอักษรย่อ จ.ป.ร. ในแผ่นศิลาฝาผนังวิหาร และมีอักษรว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาส เมื่อ รัตนโกสินทรศก ๑๑๙” แลลงวันตามจันทรคติ วัน ๒ เดือน ๒ ขึ้น ๔ ค่ำ พุทธศักราช ๒๔๔๓
.
ซึ่งแม้ในขณะนี้ เราจะยังไม่พบภาพถ่ายเก่าเพื่อยืนยันเหตุการณ์ให้ชัดเจนในคราวล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินในช่วงเวลานั้น แต่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ พร้อมด้วยข้อความดังกล่าว เป็นประจักษ์พยานถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ชัดเจนเป็นอย่างดี เพราะการจารึกในลักษณะปรากฏในอีกหลายสถานที่ที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปถึง
.
ด้วยเพราะกิจการรถไฟ จึงทำให้ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5
ได้เสด็จพระราชดำเนิน เมืองนครราชสีมา ได้ตามพระราชประสงค์ และยังได้เสด็จทอดพระเนตรปราสาทพนมวัน ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยอีกด้วย ดังที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าการเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมาของพระองค์ในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวตลอดรัชสมัย
นับตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ปี ๒๕๖๔ เป็นต้นมา กรมศิลปากร ได้เริ่ม เปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมโบราณสถานปราสาทพนมวันเป็นครั้งแรก ในราคา ๑๐ บาท สำหรับชาวไทย และราคา ๕๐ บาท สำหรับชาวต่างชาติ หากมีโอกาสแวะเวียนมายังเมืองนครราชสีมา ก็อยากให้เข้ามาเยี่ยมชมกับนะครับ เพราะในปัจจุบันได้ดำเนินการบูรณะด้วยวิธีอนัสติโลซิส เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
แหล่งอ้างอิง
พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่เมืองนครราชสีมา ร.ศ.110 หรือ พ.ศ.2434
กรมศิลปากร, รวมเรื่องเมืองนครราชสีมา เรื่อง การเสด็จพระราชดำเนินเปิดทางรถไฟ (กรุงเทพฯ: พระนคร, 2511), น. 104-116.
++++แหล่งโบราณคดีโนนนาใน++++
การสำรวจแหล่งโบราณคดีโนนนาใน สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี โดย นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ, นางสาวสิริภา เจริญเขต ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ, นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ และนางสาวณิชกุล วัฒนกุล ผู้ปฏิบัติงานด้านบันทึกข้อมูลทางโบราณคดี ดำเนินการสำรวจ/ตรวจสอบแหล่งโบราณคดีโนนนาใน ผลการตรวจสอบพบว่าเป็นแหล่งประเภทที่อยู่อาศัยและแหล่งฝังศพ สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สมัยเหล็ก – ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นสมัยก่อนเมืองพระนคร ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว พบหลักฐานโบราณคดีอยู่โดยทั่วไป โดย แหล่งโบราณคดีที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ โบราณสถานดอนขุมเงิน ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนบ้านสะพือใต้ ตำบลโพธิ์ศรี และวัดสระแก้ว ตำบลสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
สัปดาห์สุดท้ายแล้วสำหรับนิทรรศการ "อาโรคยปณิธาน : ความปรารถนาที่จะให้ปวงมนุษยชาติพ้นจากโรค" ซึ่งจัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนท่านที่ยังไม่ได้ไปชมหรืออยากมาชมอีก ยังมีเวลาถึงวันอาทิตย์ที่ ๗ สิงหาคมนี้ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ เรื่อง “อาโรคยปณิธาน : ความปรารถนาที่จะให้ปวงมนุษยชาติพ้นจากโรค” อันหมายถึงความปรารถนาที่จะให้ปวงมนุษยชาติพ้นจากโรค ประกอบด้วยหัวข้อ มนุษย์กับโรคภัย นำเสนอเรื่องความเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษย์ โรคภัยของมนุษย์จากหลักฐานทางโบราณคดี นำเสนอโรคต่าง ๆ ที่พบบนผืนแผ่นดินไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยอ้างอิงจากหลักฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านโบราณคดี ภาพจิตรกรรมฝาผนัง จารึก และบันทึกต่าง ๆ ศาสตร์แห่งการรักษา นำเสนอแนวทางการรักษาโรคที่มีวิธีอธิบายสมุฏฐานและวิธีบำบัดโรคมากกว่าหนึ่งวิธีได้แก่ ศาสตร์ด้านความเชื่อ ศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทย และศาสตร์ด้านการแพทย์แผนตะวันตก และสังคมระดมปัญญา สู่ชีวิตวิถีใหม่ นำเสนอการจัดการวิกฤติโรคระบาดในสังคมไทยให้ผ่านพ้นจากโรคร้ายด้วยพลังของทุกภาคส่วนในสังคม
เอกสารโบราณ หมายถึง เอกสารที่มีอายุหนึ่งร้อยปีขึ้นไป ใช้บันทึกตัวอักษรและภาษาของคนสมัยโบราณสำหรับเผยแพร่ความรู้ ติดต่อสื่อสาร หรือบันทึกความทรงจำ เนื่องจากประเทศไทยในสมัยก่อนยังไม่มีกระดาษและเทคโนโลยีการพิมพ์ คนไทยจึงประยุกต์วัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ในธรรมชาติ เช่น หิน เปลือกไม้ ใบไม้ มาผ่านกระบวนการดัดแปลงให้เป็นวัตถุที่สามารถรองรับการบันทึกได้ ดังนั้นเอกสารโบราณจึงมีคุณค่าต่อการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอารยธรรมของคนสมัยโบราณ เช่น จดหมายเหตุ พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ กฎหมาย คณิตศาสตร์ วรรณคดี ธรรมคดี ฯลฯ ซึ่งกรมศิลปากรตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารโบราณเป็นอย่างดี จึงได้จัดให้มีโครงการสำรวจและอนุรักษ์เอกสารโบราณขึ้นตามแหล่งเอกสารโบราณต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เอกสารโบราณเหล่านี้คงอยู่ในสภาพที่ดี เป็นระเบียบ และเก็บรักษาต่อไปได้อีกหลายร้อยปี
วัดไก่เตี้ยเป็นแหล่งเอกสารโบราณที่สำคัญ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการศึกษาของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หรือ อาจจะสืบประวัติไปได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ทำให้มีตำราที่ใช้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ เป็นจำนวนมากซึ่งผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน ตำราเหล่านี้จึงอยู่ในฐานะเป็นเอกสารโบราณที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ดังนั้นกรมศิลปากรร่วมกับวัดไก่เตี้ย จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณขึ้น เพื่อดำเนินการสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน และจัดเก็บเอกสารโบราณของวัดให้เป็นระบบ อันจะต่อยอดไปสู่การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเอกสาร อักษร ภาษาโบราณ และเผยแพร่ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบไป
กรมศิลปากรและวัดไก่เตี้ย ได้ร่วมกันทำงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยมีเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร พระสงฆ์วัดไก่เตี้ยและวัดใกล้เคียง รวมถึงประชาชนในบริเวณชุมชนวัดไก่เตี้ยผู้มีจิตศรัทธา ร่วมมือร่วมใจกันทำงานจนแล้วเสร็จในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ รวมระยะเวลาทำงานทั้งสิ้น ๙ วัน อนุรักษ์เอกสารโบราณของวัดได้เป็นคัมภีร์ใบลาน จำนวนทั้งสิ้น ๔๑ มัด ๑๒๖ เลขที่ ๖๕๓ ผูก
กรมศิลปากร โดยกลุ่มตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้สำรวจพบคัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ที่ระบุปีที่สร้างอย่างน้อย ๓ คัมภีร์ ดังนี้
- คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วกต.๒๗/ค/๑ เรื่อง วิธูรชาดก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๖๓ สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม อักษรขอม ภาษาบาลี ฉบับล่องชาดข้างลาย ปัจจุบันอายุ ๔๐๒ ปี
- คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วกต.๔๗/๑ เรื่อง กุสลวินิจฺฉยกถา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๓๒ สมัยสมเด็จพระเพทราชา อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย ฉบับทองทึบ ปัจจุบันอายุ ๓๓๓ ปี
- คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วกต.๙๗/๑ เรื่อง ภิกฺขุปาติโมกฺข สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๔๓ สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อักษรขอม ภาษาบาลี ฉบับล่องชาด ปัจจุบันอายุ ๒๒๒ ปี
-- องค์ความรู้ เรื่อง สงวน-ส่งมอบ-รับมอบ ที่มาของเอกสารจดหมายเหตุ --.................................................................................................ผู้เขียน: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ ( นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา )#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เรียบเรียงโดย นางสาวทิพย์สุดา อาจดี
กัญชาเป็นพืชสมุนไพรที่กำลังได้รับการกล่าวถึงจากทั่วโลก สำหรับประเทศไทยกัญชาเป็นพืชท้องถิ่น เป็นภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย มีการใช้รักษาโรคมาเนิ่นนาน ประเทศไทยได้ปลดล็อกพืชกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติด และยกเลิกความผิดฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออก มีไว้ในครอบครองจำหน่าย มีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ หรือเสพพืชกัญชา มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนสามารถปลูกพืชนี้ได้ในครัวเรือนและเชิงพาณิชย์ ส่วนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่าย ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง และยาสมุนไพร ยังคงต้องขออนุญาต ทั้งนี้ควรศึกษาหาความรู้ และมีความเข้าใจในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะทางการแพทย์หรือสุขภาพอย่างเหมาะสม