ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน   ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet   ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ


1. ที่ตั้ง     อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ 1,810 ไร่ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา เขตเทศบาลเมือง พระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือ ตามถนนสายเอเซีย ระยะทางประมาณ75 กิโลเมตร      กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ 3,000 ไร่2. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์     ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.1893 นั้น นักวิชาการเชื่อกันว่า บริเวณดังกล่าวได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อน แล้วเรียกว่า เมืองอโยธยา หรืออโยธยาศรีรามเทพนคร มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกนอกเกาะเมืองอยุธยา ปรากฏหลักฐานโบราณสถาน ที่เป็นวัดสำคัญ เช่น วัดมเหยงค์ และวัดอโยธยา เป็นต้น รวมทั้งจากพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ กล่าวถึงการก่อสร้าง พระพุทธรูปที่เรียกว่า พระเจ้าพนัญเชิง พระประธานของวัดพนัญเชิง ที่ระบุว่า สร้างขึ้นก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี     ด้วยทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาที่มีลักษณะเป็นเกาะเมืองมีแม่น้ำที่สำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน รวมทั้งเป็นชุมทางคมนาคม และเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึกศัตรู กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นราชธานีใหญ่สามารถกุมอำนาจเหนือเมืองใกล้เคียงเป็นเวลานาน     กรุงศรีอยุธยาเติบโตเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเซีย ในพุทธศตวรรษที่ 20-23 มีชาวต่างชาติทั้งจากเอเซีย และยุโรป เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เดินเรือเข้ามาค้าขาย ซึ่งส่วนมาก มีสัมพันธ์ทางการทูตด้วย บ้างก็ได้รับพระราชทานที่ดินตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ตั้งสถานีการค้า และศาสนสถานหมู่บ้านส่วนใหญ่ ของชาวต่างประเทศจะอยู่นอกตัวเมืองมีเฉพาะชาวจีน แขกฮินดู และมุสลิมเพียงบางกลุ่ม ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชสำนักเท่านั้น ที่ได้รับพระราชานุญาตให้สร้างบ้านเรือนอยู่ภายในเมือง     นอกจากนี้ กรุงศรีอยุธยายังมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านการปกครอง กฎหมายการศาล ระบบสังคม การศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์ ภาษาวรรณกรรม และนาฏดุริยางค์ศิลป์ศิลปะ วิทยาการทุกแขนงที่คนไทยในอาณาจักรอยุธยาสั่งสมไว้นั้น เป็นอารยธรรมที่ กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ยึดถือเป็นแบบแผน สืบทอดและพัฒนาเป็นอารยธรรมตามยุคสมัย หลายอย่างยังคงใช้สืบต่อมาตราบจนทุกวันนี้3. โบราณสถานสำคัญ     ด้วยเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทั้งเกาะเมืองมีพื้นที่ประมาณ 4,800 ไร่ ลักษณะของเกาะเมืองเป็นไปตามสภาพของแม่น้ำที่กัดเซาะแผ่นดินมีรูปร่างไม่แน่นอน บางครั้งมีผู้สันนิษฐานว่า มีลักษณะคล้ายน้ำเต้า     แต่เดิมกำแพงเมืองเป็นคันดินและมีเสาไม้ระเนียด ต่อมามีการเปลี่ยนเป็นกำแพงอิฐในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ. 2091-2111) และถูกทำลายในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 รวมทั้งมีการรื้อถอนกำแพงเมืองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อนำอิฐมาใช้ในการก่อสร้างที่กรุงเทพฯ และป้องกันไม่ให้มีการใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่ซ่องสุมผู้คนอีกต่อไป      กรุงศรีอยุธยาเป็นลักษณะของเมืองน้ำ มีการออกแบบแนวคูคลองที่ทั้งใช้ประโยชน์ในการคมนาคม และเป็นการระบายน้ำในหน้าน้ำหลากด้วย ทำให้ผังเมืองอยุธยามีแม่น้ำลำคลองจำนวนมากเป็นเครือข่ายโยงใยกันทั้งนอกเมืองและในเมืองขนานไปกับแนวคูคลองคือ ถนนที่เป็นทั้งถนนดินและถนน ปูอิฐ โดยมีสะพานสร้างข้ามคลองทั้งสะพานไม้และสะพานก่ออิฐมากกว่า 30 แห่ง โบราณสถานเท่าที่สำรวจพบแล้วทั้งภายในเมืองและนอกกำแพงเมืองมีมากกว่า 425 แห่ง แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะโบราณสถานที่สำคัญและอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาพื้นที่ 1,810 ไร่ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ใจกลางเกาะเมืองและพื้นที่ด้านทิศเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ ของเกาะเมือง มีโบราณสถานที่สำรวจพบแล้วทั้งสิ้น 95 แห่ง ดังนี้3.1 พระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวง      พระราชวังโบราณ เป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์และเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมืองและการปกครองในเวลาเดียวกัน เมื่อแรกสร้างกรุงศรีอยุธยานั้นพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. 1893-1912) ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์3.2 วัดพระศรีสรรเพชญ์     เป็นวัดสมัยอยุธยา เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 โปรดให้ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านริมแม่น้ำลพบุรี และอุทิศพระราชวังให้เป็นวัดสำหรับประกอบ พิธีต่าง ๆ3.3 วัดราชบูรณะ     เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1967 ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ลงเนื่องจากการรบแย่งชิงราชสมบัติ3.4 วิหารพระมงคลบพิตร     พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อพ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้บูรณะวิหาร พระมงคลบพิตรใหม่ทั้งหมดดังที่ปรากฏในปัจจุบัน     นอกจากนี้ ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังมีโบราณสถานที่ สำคัญแห่งอื่นอีก เช่น วัดพระราม วัดญาณเสนวัดธรรมิกราช วัดวรโพธิ์ วัดวรเชษฐาราม เป็นต้น     อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดดเด่น จนได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีมรดกโลก จากการประชุม ณ กรุงคาร์เรจ ประเทศตูนิเซีย ในปี พ.ศ.2536 ด้วยหลักเกณฑ์ที่ว่า เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยาน หลักฐานแสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว4. การบริการและการท่องเที่ยว     จากกรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขาวเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรี ไปจังหวัดปทุมธานี จากนั้นใช้เส้นทางปทุมธานี - สามโคก - เสนา ทางหลวงหมายเลข 311 เลี้ยวขวาที่อำเภอ เสนา ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้เส้นทาง กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานีเลี้ยวเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางรถไฟ ใช้ขบวนที่เดินทางสู่ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอ พระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางเรือ ปัจจุบันการเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยทางน้ำ เป็นที่นิยมของ นักท่องเที่ยว เพราะนอกจากจะได้ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นถึงประวัติศาตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติโดยทางเรือบนแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ บริษัทเรือนำเที่ยวไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา - บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด- เรือโอเรียนเต็ลควีน- เรือริเวอร์ซันครุ้ยส์- เรือฮอไรซันครุ้ยส์- บริษัท เรือเบญจรงค์ จำกัด โทร. 02 222-5330, 02 225-3002-3โทร. 02 236-0400-9โทร. 02 266-9125-6โทร. 02 236-7777 ต่อ 1204-5โทร. 0235 211036 การเที่ยวชม     เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 18.00 น.   อัตราค่าเข้าชม ผู้มีสัญชาติไทย 10 บาทผู้มีสัญชาติอื่น 40 บาท การท่องเที่ยว สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 035 245123-4สำนักงาน ททท. 035 246076-7 หรือ 1672 โรงแรมที่พัก อยุธยาแกรนด์โฮเต็ล 035 335483กรุงศรีริเวอร์ 035 244333อโยธยา 035 252249อู่ทองอินน์ 035 242236บ้านไทยเกสท์เฮ้าส์ 035 242394 ร้านอาหารแนะนำ ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยาหลังวัดจีน ส้มตำบึงพระราม ร้านอาจารย์สุกัญญาตำรวจท่องเที่ยว 035 242352 หรือ 1155ตำรวจทางหลวง 035 361059 หรือ 1193สินค้าพื้นเมือง เครื่องหวาย เครื่องจักสาน มีดอรัญญิก ปลาตะเพียนสาน โรตีสายไหม



                  วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๐๐น. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๓ จังหวัดยโสธร เข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี โดยมีคณะครู ๑๐ คน นักเรียน ๓๐ คน


**บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว น้อย อินทเสน ของ พระขรรค์เพชร มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปภัมภ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศลซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารวันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2518 ครบ 50 ปี กรุงเทพฯ  โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย 2518



พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา เลขทะเบียน   ๐๙/๓๑๗/๒๔๙๗ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘ หินทราย ขนาด สูง ๔๖ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๒๖ เซนติเมตร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ประทานให้กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐             พระไภษัชยคุรุประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวหงาย พระพักตร์รูปสี่เหลี่ยม พระขนงเป็นเส้นตรง พระเนตรเปิด พระนาสิกค่อนข้างโด่ง พระโอษฐ์แสดงอาการยิ้ม  พระกรรณยาวสวมกุณฑลหรือตุ้มหู และสวมศิราภรณ์คล้ายมงกุฎ มุ่นมวยพระเกศาทรงกรวยแหลมรูปกลีบบัวซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ พระหัตถ์ทรงถือวัตถุคล้ายหม้อน้ำมนต์ยกขึ้นอยู่ระดับพระอุระ             พระไภษัชยคุรุหรือพระพุทธเจ้าแพทย์ เป็นหนึ่งในพระพุทธเจ้าของศาสนาพุทธนิกายมหายาน เป็นพระพุทธเจ้าที่มีผู้นิยมนับถือมากที่สุดพระองค์หนึ่งในประเทศจีน ธิเบต  มีประวัติความเป็นมาว่า เมื่อครั้งพระไภษัชยคุรุเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ตั้งปณิธานไว้ที่จะช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ที่เกิดจากโรคทางกายและทางใจ และให้สรรพสัตว์มีชีวิตยืนยาว             สำหรับประติมากรรมรูปพระไภษัชยคุรุมักพบอยู่ในอโรคยศาลหรือโรงพยาบาล    ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยเป็นที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ป่วยเจ็บปวดส่วนใดของร่างกาย เช่น ปวดตา ก็ให้ลูบบริเวณพระเนตรของพระไภษัชยคุรุ ก็จะหายจากอาการเจ็บปวด                      จากลักษณะของกรอบกระบังหน้าของศิราภรณ์และฐานบัว แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะเขมรแบบบายน (พ.ศ.๑๗๒๐ – พ.ศ.๑๗๗๓)   Phra Bhaisajyaguru Vaitoonprapha (Medicine Buddha) Registration No. 09/317/2497 Lopburi Art, ca. 13th century Sandstone, Height 46 cm. Width26 cm. Donated by Somdet Phra Maha Viravong to the Fine Arts Department in 1927.             This statue, Phra Bhaisajyaguru Vaitoonprapha or Medicine Buddha, is shown sitting with his hand raised to chest level while holding a holy water container. His face is square with connected eye brows and downcast eyes, he has a pointed nose, smiling lips, long ears with earrings and wears a crown. He is sitting on a lotus base. The design of the crown and lotus base shows the influence of the Khmer Bayon art style (1177 – 1230).               The sculpture was usually found in Khmer temples said to have been used as hospitals during Khmer King Jayavarman VII’s time. It is believed that bodily pain such as an eye ache, for example, can be cured by touching the eye of Phra Bhaisajyaguru Vaitoonprapha.




***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก พระมหาฟื้น ชุตินชโร วัดสามพระยา.  คารวะ 7 ประการ และวิธีบำเพ็ญกุศลวัตต์ ได้จัดการพิมพ์ขึ้นไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นที่ระลึกในการยกฉ้อฟ้าและฉลองศาลาการเปรียญ กับฉลองพระประธานและถนน ณ. วัดสามพระยา ณ วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2477.  พระนคร : โรงพิมพ์ศรีหงส์, ๒๔๗๗.


พระนิพนธ์เบ็ดเตล็ดของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้ตีพิมพ์ไปแล้วนัน้ ส่วนมากรวบรวมจากสำเนาลายพระหัตถ์ที่ทรงโต้ตอบกับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดดิวงศ์บ้าง กับพระยาอนุมานราชธนบ้าง กับบุคคลอื่นๆที่สนใจในวิชาโบราณคดี


สาระสังเขป  :  รวมเรื่องเกี่ยวกับสุโขทัย ทั้งต้นเดิมของราชวงศ์สุโขทัย วัดศรีชุม และข้อควรคิดเกี่ยวกับกรุงสุโขทับผู้แต่ง  :  -โรงพิมพ์  :  รุ่งเรื่องธรรมปีที่พิมพ์  :  2498 ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :  PDFเลขทะเบียน  :  น.32บ.14474จบเลขหมู่  :  959.302              ช625ส


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    วรรณกรรม พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534



เลขทะเบียน : นพ.บ.29/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 15 (161-174) ผูก 11หัวเรื่อง : มหามูลกมฺมฏฐาน(มุลลกัมมัฏฐาน) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger