ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

องค์ความรู้ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เรื่อง ภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพชรเม็ดงามแห่งกู่พระโกนา จังหวัดร้อยเอ็ด “กู่พระโกนา” โบราณสถานสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ภายในวัดกู่พระโกนา ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นปราสาทในวัฒนธรรมขอมโบราณประกอบด้วยปราสาท ๓ องค์ เรียงกันในแนวเหนือ – ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เฉพาะปราสาทประธานองค์กลางที่ปรากฏร่องรอยของมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า มีบรรณาลัยหรือที่เก็บคัมภีร์สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน ๑ หลัง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วสร้างด้วยศิลาแลง มีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก กู่พระโกนามีภาพสลักประดับตามส่วนต่าง ๆ ของปราสาทงดงามน่าชม เช่น ลายบัวแปดกลีบที่อกเลาประตูหลอก ลายก้านขด / ลายก้านต่อดอกที่เสาซุ้มประตูปราสาท เป็นต้น ถึงแม้โบราณสถานแห่งนี้จะพังทลายตามกาลเวลาและมีการซ่อมแซมในสมัยหลัง แต่ยังมีภาพสลักเล่าเรื่องที่งดงามปรากฏอยู่ ได้แก่ “ภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์” หรือวิษณุอนัตศายินปัทมนาภะ ซึ่งเป็นเรื่องราวการบรรทมของพระวิษณุเหนือพญาอนันตนาคราชเพื่อสร้างโลก ณ เกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนมอันเป็นที่ประทับของพระองค์ โดยตามความเชื่อของฮินดูกล่าวว่า เมื่อโลกถึงกลียุคพระศิวะจะทำลายล้างโลก จากนั้นพระวิษณุ (พระนารายณ์) จะสร้างโลกใหม่โดยกระทำโยคะนิทราจนบังเกิดเป็นดอกบัวทองผุดจากพระนาภี (สะดือ) ภายในดอกบัวมีพระพรหมประทับอยู่และจะทำหน้าที่สร้างโลกต่อไป ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่กู่พระโกนาพบบนทับหลังด้านทิศตะวันออกของปราสาทองค์เหนือ ซึ่งปัจจุบันปราสาทดังกล่าวมีการสร้างอาคารครอบไว้ ทับหลังของปราสาทองค์นี้มีความพิเศษพบได้น้อยมากในดินแดนไทย กล่าวคือ เป็นทับหลังซ้อนกัน ๒ ชิ้น สลักแยกกัน ชิ้นที่ ๑ อยู่ด้านล่างมีขนาดใหญ่ สลักภาพบุคคลที่กึ่งกลางทับหลังซึ่งลบเลือนไปแล้วแต่ยังปรากฏท่อนพวงมาลัย / พวงอุบะ และลายพรรณพฤกษา ชิ้นที่ ๒ อยู่ด้านบนมีขนาดเล็กกว่าสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ โดยลักษณะทับหลังที่มี ๒ ชิ้น ซ้อนกันแบบนี้นิยมในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ แต่พบว่าทับหลังปราสาทบางองค์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ก็ยังคงปรากฏอยู่ ดังเช่นปราสาทองค์เหนือที่กู่พระโกณาแห่งนี้ ทับหลังชิ้นที่ ๒ ปราสาทองค์เหนือดังกล่าว สลักภาพพระวิษณุ (พระนารายณ์) ๒ กร พระกรซ้ายถือดอกบัว พระกรขวาหนุนพระเศียรขณะบรรทมตะแคงขวาเหนือพญาอนันตนาคราช ๕ เศียร (ช่างสลักให้เห็นเพียง ๓ เศียร อีก ๒ เศียรถูกบังไว้) ที่พระนาภี (สะดือ) มีก้านดอกบัวผุดออกมาและมีพระพรหมประทับอยู่บนนั้น แต่น่าเสียดายที่ภาพสลักส่วนนี้ชำรุด บริเวณปลายพระบาทของพระวิษณุมีพระลักษมีชายาของพระองค์ประทับอยู่ นอกจากนี้ที่ด้านปลายทั้ง ๒ ข้าง สลักรูปหงส์ข้างละ ๒ ตัวอีกด้วย จากลักษณะของนาคเศียรโล้นและรูปแบบการแต่งกายของพระวิษณุ รวมถึงรูปแบบของทับหลังชิ้นที่ ๑ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ศิลปะแบบบาปวน ร่วมสมัยกับปราสาทสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ ปราสาทสด๊กก็อกธม จ.สระแก้ว ปราสาทบ้านพลวง จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ณ ปราสาทกู่พระโกนานี้ นับเป็นทับหลังและภาพสลักที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย อีกทั้งพบเพียงแห่งเดียวในจังหวัดร้อยเอ็ด มีความสมบูรณ์งดงามด้วยรูปแบบศิลปะ และยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อครั้งแรกสร้าง มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างยิ่ง ทั้งนี้กรมศิลปากรเล็งเห็นถึงความสำคัญ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกู่พระโกนาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ เนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ ๒ งาน ๑๖ ตารางวา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติสืบไป ผู้เรียบเรียง: นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เอกสารอ้างอิง: กษมา เกาไศยานนท์. “รูปเคารพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในประเทศไทย.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๘. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่โบราณสถานวัดกู่พระโกนา. อุบลราชธานี: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี, ๒๕๔๕. (เอกสารอัดสำเนา) อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมนำชมรอบพิเศษ เรื่อง "งานประณีตศิลป์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง" ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม "เข้าวัง ฟังธรรม" ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ โครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมภาครัฐ : ความดีที่ (เรา) อยากทำ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง           ผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่ง หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ (ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร) ทั้งนี้ เชิญชวนอุบาสกอุบาสิกาแต่งกายนุ่งห่มขาวหรือชุดสุภาพเข้าร่วมกิจกรรม


-- องค์ความรู้ เรื่อง รวมเรื่องราวที่เผยแพร่ ของ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา --1) บทความเฉลิมพระเกียรติฯ 1. "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ จังหวัดพะเยา" https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/30015265634606602. พระบรมราชินีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/3236935009919813………………………………………………..2) องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ1. วันหยุดเมื่อร้อยกว่าปีก่อน https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/29546353548164482. ครั่งที่เมืองน่าน (ตอนที่ 1)https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/30737516329048193. ครั่งที่เมืองน่าน (ตอนจบ)https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/30774611292005364. องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนนามสกุลhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/30820433787423115.องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: การกู้เงินหลังสงครามโลกครั้งที่ 2https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/30842321385234356. ความสำคัญของบ้านนางละมูล ชัชวาลย์https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/30879188514880977. การให้เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เมื่อ 73 ปีก่อน รัฐบาลส่งเสริมให้ข้าราชการกับประชาชนเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม แต่มีปัญหาว่า จะทำอย่างไรให้ได้ผลทั้งประเทศ ?https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/30931363742996788. การช่วยเหลือฐานะข้าราชการ --ในปัจจุบัน ข้าราชการสามารถใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลหรือค่าเล่าเรียนของบุตร-ธิดาได้ หาก 71 ปีก่อนนั้น ข้าราชการได้รับการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ?https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/30982653904534439. แหล่งพลอยเมืองลองhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/312819786412686210. ย้ายเมืองพะเยาไปแม่ต๋ำhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/313318716029459911. สะพานแห่งความร่วมใจของคนเมืองพะเยาhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/313820828979248612. ก่อนสงครามโลก... ร้านสหกรณ์ขายอะไร ?https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/314800470881284413. ทำไมต้องขอเลิก ?https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/315293421498656014. จำนวนโรงสีสหกรณ์https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/316316935396304615. เปลี่ยนนามอำเภอhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/319929688035029316. วีรกรรม “หมอเมืองกรุง” กับการปลูกฝีที่เมืองน่านhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/320460637315267717. แรกมีสุขาภิบาลในภาคเหนือhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/320973035597361218. ตำแหน่งไม้เลือก (ตอนที่ 1)https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/321513806209950819. ตำแหน่งไม้เลือก (ตอนที่ 2)https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/322071290154202420. สถานีประมงจังหวัดแพร่https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/322604823100849121. ทำนบปลาดงเจนhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/3231447363801911………………………………………………………..3) เรื่องเล่าจากเอกสารรับมอบ1. การบูรณะปิดทององค์พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา 2542-2544 (ตอนที่ 1)https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31132437256222762. การบูรณะปิดทององค์พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา 2542-2544 (ตอนที่ 2)https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31181825751283913. การบูรณะปิดทององค์พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา 2542-2544 (ตอนที่ 3)https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31231196746346814. บวงสรวงพ่อขุนงำเมืองhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31684631167670035. ศาลากลางจังหวัดพะเยาhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31736117762521376. เอกสารป่าไม้ได้เห็นโรงภาพยนตร์https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31792843256848827. หอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/3242037399409574…………………………………………………………….4) งานจดหมายเหตุ1. ใช้บริการเอกสารจดหมายเหตุใดได้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยาhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31031538666312622. ปีนี้...ทำลายเอกสารแล้วหรือยัง?https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31081532327979923. กว่าจะเป็นเอกสารจดหมายเหตุhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31836815719118244. รวมคำถาม – มีคำตอบ “การทำลายเอกสาร”https://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/31887760747357075. สงวน-ส่งมอบ-รับมอบ ที่มาของเอกสารจดหมายเหตุhttps://www.facebook.com/PhayaoNationalArchives/posts/3252823101664337…………………………………………………………….ผู้รวบรวม: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ ( นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา )#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ



        Halloween กับผีไทยในตำนาน         ผู้เรียบเรียง  นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์         วันฮาโลวีน Halloween ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมของประเทศทางตะวันตก ซึ่งต่างชาติจะมีการแต่งตัวเป็นภูตผีปีศาจในงานฉลองต่าง ๆ การแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ หรือการเล่น "Trick or Treat" ที่เด็ก ๆ จะเดินไปเคาะประตูบ้านเพื่อขอขนมหรือลูกอม ส่วนในประเทศไทยก็ได้รับค่านิยมนี้มา และเรียกวันฮาโลวีนว่า "วันปล่อยผี" อีกด้วย บางที่ประดับประดาสถานที่ให้เข้าบรรยากาศ แต่ก็ยังคงความ



ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           43/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               48 หน้า : กว้าง 5.1 ซม. ยาว 57.3 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 144/3 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/2ญเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง           ธรรมประทีป ชื่อผู้แต่ง         ไชยทรง  จันทรอารีย์ พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       หจก.การพิมพ์พระนคร ปีที่พิมพ์          2521 จำนวนหน้า      110  หน้า รายละเอียด เป็นหนังสือที่บรรยายธรรมด้วยเหตุผล  สามารถช่วยให้ผู้อ่านเกิดสติปัญญา  มีความคิดเป็นของตัวเอง  ทำให้ผู้อ่านรู้จักวิธีปฏิบัติสมาธิตามหลักศิล สมาธิ ปัญญา  ซึ่งเป็นการช่วยจรรโลงสัจจะธรรมในพระพุทธศาสนา


เลขทะเบียน : นพ.บ.378/1จห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5 x 59.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143  (26-39) ผูก 1จ (2566)หัวเรื่อง : จีรธารกถา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ.                            241/9หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  58 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


ชื่อเรื่อง                  สพ.บ. 426/3 เมตฺเตยฺยสุตฺต (เมตฺเตยฺยสูตร) สพ.บ.                    426/3ประเภทวัสดุมีเดีย      คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                 พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ             34 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                   พุทธศาสนา                            ชาดก                     บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอแนะนำหนังสือ สรรสาระศิลปากร พ.ศ.๒๕๖๓ เล่ม ๓ โบราณคดีและโบราณสถาน และหนังสือ สรรสาระศิลปากร พ.ศ.๒๕๖๓ เล่ม ๔ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จำหน่ายในราคาเล่มละ ๔๕๐ บาท            ผู้ที่สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) โทรศัพท์ ๐-๒๑๖๔-๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ (ในวันและเวลาราชการ) หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th และสามารถติดตามข่าวสารหนังสือต่าง ๆ ของกรมศิลปากรได้ที่ Facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร



Messenger