ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

หนังสือดีน่าอ่าน    หนังสือ “พระพุทธรูปปางต่าง ๆ” จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร (พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๘) ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๗๐ ปาง เช่น ปางมหาภิเนษกรมณ์ ปางมารวิชัย ปางนาคปรก ปางปฐมเทศนา ปางห้ามสมุทร และปางประทานพร โดยการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป ซึ่งสร้างขึ้นตามเหตุการณ์ต่างๆ ในพระพุทธประวัติ รวมทั้งการคลี่คลายคติความเชื่อในการสร้างพระพุทธรูปจากอินเดียมาสู่ไทยและพุทธศิลป์ที่ปรากฏในไทยที่มีพัฒนาการมาถึงปัจจุบัน   สามารถดาวน์โหลดหนังสือในรูปแบบ PDF ได้ที่ : https://www.finearts.go.th/.../O5Ng4jpONBGmwqJQIHnqKZu4rB...



          เปียโน เป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments) มีลิ่มนิ้วหรือแป้นนิ้วสำหรับเคาะหรือดีดให้ค้อนไปตีสาย ทำให้เกิดเป็นเสียงขึ้นมา พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยก่อนหลายชนิดมาประกอบเข้าด้วยกัน เช่น พัฒนาระบบสายมาจากคลาวิคอร์ด รูปร่างและระบบแป้นนิ้วจากฮาร์ฟสิคอร์ด ความพิเศษของเปียโนนั้นสามารถทำให้เสียงดังขึ้นและเบาลงได้ในตัวเอง จึงเป็นที่มาของชื่อเดิมที่เรียกว่า Piano Forte เปียโนหลังแรกดัดแปลงและประดิษฐ์โดย บาโตลัมมิโอ คริสโตเฟอรี่ (Bartolommeo Cristofori, ๑๖๕๕ – ๑๗๓๐) ชาวอิตาลี ภายหลังได้พัฒนาไปเป็นเปียโนขนาดต่างๆ มีการสร้างขึ้นเพื่อความสวยงามตระการตา เพื่อใช้เป็นทั้งเครื่องดนตรีและเครื่องประดับตกแต่งบ้าน สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีการนำเปียโนเข้ามาเมื่อ ยุคสมัยใด แต่ก็พบหลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ มิชชันนารีได้มีการนำเปียโนเข้ามาใช้กันแล้ว สมัยนั้นคนไทยเรียกกันว่า “หีบเพลง”           หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ เก็บรักษาเครื่องดนตรีที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ “เปียโนจุฑาธุช” หรือเปียโนคู่ (Double Piano) ซึ่งเป็นเปียโนที่มีความเก่าแก่และหายาก มีอายุมากกว่าร้อยปี แม้พิพิธภัณฑ์ เครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุโรปหลายแห่ง เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ ก็ไม่พบว่าได้เก็บรักษาและจัดแสดงเปียโนลักษณะดังกล่าวนี้ไว้           เปียโนคู่หลังนี้ เดิมเป็นพระราชทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๖ จึงนิยมเรียกว่า “เปียโนจุฑาธุช” ทรงสั่งซื้อเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ ๒๔๕๙ เพื่อใช้เป็นการส่วนพระองค์เมื่อครั้งยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และได้นำขนส่งทางเรือมายังประเทศไทยเมื่อท่านได้สำเร็จการศึกษาแล้วภาพโฆษณา Piano-Double Pleyel จากนิตยสาร “L’illustration” ในปี ค.ศ. ๑๘๙๗ เป็นเปียโนคู่ที่ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรโดย Gustave Lyon ลักษณะรูปทรงของเปียโนคู่จากภาพโฆษณานี้ มีความใกล้เคียงกับเปียโนจุฑาธุชเป็นอย่างมาก          เปียโนจุฑาธุช เป็นหนึ่งในเปียโนที่ผลิตขึ้นเป็นคอลเลคชันพิเศษของเพลเยล (Pleyel) กล่าวกันว่าผลิตขึ้นเพียง ๘ หลังเท่านั้น โดยแต่ละหลังจะมีหมายเลขกำกับ ซึ่งหมายเลขของเปียโนคู่หลังนี้ คือหมายเลข ๑๕๒๙๑๙พัฒนาขึ้นโดย กุสตาฟว์ ลิญง (Gustave Lyon) นักประดิษฐ์เปียโนและผู้สืบทอดกิจการผลิตเปียโนของเพลเยล โดยมีแนวคิดในการออกแบบเปียโนเพื่อให้นักเปียโนสองคนสามารถบรรเลงเปียโนตัวเดียวกันพร้อมกันได้ เปียโนคู่หลังนี้คาดว่าผลิตในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๙ (ค.ศ. ๑๘๙๖) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยบริษัทเพลเยล (Pleyel Company) ผู้มีชื่อเสียงในการผลิตเปียโนให้นักดนตรีชั้นนำระดับโลกมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๕๐ (ค.ศ. ๑๘๐๗) อาทิ Chopin, Debussy, Grieg, Mendelssohn, Ravel เป็นต้น          ลักษณะพิเศษของเปียโนคู่หลังนี้คือเป็นเปียโนหลังเดียวแต่มีสองหน้า มีสายสองชุดที่ขึงแบบไขว้ โดยใช้ซาวน์บอร์ด (Soundboard) ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้กระจายเสียงของเปียโนร่วมอยู่ในโครงเปียโนเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอกคล้ายกับการนำเปียโนสองหลังมาหันหน้าชนกัน ผู้เล่นนั่งเล่นกันคนละฝั่ง โดยหันหน้าเข้าหากันลักษณะของสายสองชุดที่ขึงแบบไขว้ ภายในเปียโนคู่ ใช้ซาวน์บอร์ด (Soundboard) ร่วมในโครงเปียโนเดียวกัน          ภายหลังเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกฯ ทรงสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดฯ ให้นำเปียโนหลังนี้ไปเก็บไว้ที่วังพญาไท ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งแผนกเครื่องสายฝรั่งหลวงขึ้นในกรมมหรสพหลวง ที่สวนมิสกวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จึงพระราชทานเปียโนคู่นี้ให้แก่วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวงเพื่อใช้ในกิจการของวง โดยศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์เป็นผู้รับสนองพระราชดำริและใช้สอนถ่ายทอดวิชาดนตรีให้แก่ศิษย์ และได้ดูแลสืบเนื่องต่อกันมาตั้งแต่ครั้ง วงเครื่องสายฝรั่งหลวงขึ้นอยู่กับกรมมหรสพ จนมาเป็นวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร เปียโนหลังนี้จึงตกทอดเป็นสมบัติของกรมศิลปากร ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนวิชาดนตรีสากลในโรงเรียนนาฏศิลป์อยู่ระยะหนึ่ง และต่อมาถูกส่งมอบให้อยู่ในความดูแลของกองการสังคีต ภายหลังเปียโนมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากจนไม่สามารถ ใช้การได้ จึงนำไปเก็บรักษาไว้บริเวณห้องฉากภายในโรงละครแห่งชาติสภาพของโครงร่างเปียโนคู่ที่มีร่องรอยของมดปลวก และชำรุดตามกาลเวลา ซ้าย : ความงดงามของไม้ฉลุที่ใช้สำหรับตั้งโน้ตของเปียโน ขวา : สภาพของค้อนเปียโนที่ได้รับความเสียหายจากปลวก          ใน พ.ศ. ๒๕๓๓ กรมศิลปากรร่วมกับสมาคมกิจวัฒนธรรม ได้ดำเนินการบูรณะและซ่อมอนุรักษ์เปียโนคู่ โดยการบูรณะครั้งนี้ สมาคมกิจวัฒนธรรมได้มีการรณรงค์หาทุนจากการจัดกิจกรรมให้สาธารณชนได้มีโอกาสมี ส่วนร่วมในการช่วยทำนุบำรุงรักษาสมบัติของชาติด้วยการจัดรายการ “ช้างช่วยเปียโน” ขึ้น โดยฉายหนังเรื่อง “ช้าง” ซึ่งอาจารย์บรูซ แกสตัน แห่งวงดนตรีฟองน้ำ ได้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์และบรรเลงสดเหมือน การฉายหนังในอดีต เพื่อนำรายได้ไปสมทบทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณะและซ่อมอนุรักษ์เปียโน           การซ่อมอนุรักษ์เปียโนคู่ ได้ว่าจ้างบริษัท เอส.ยู. เปียโน ซัพพลาย์ จำกัด ซึ่งมีช่างซ่อมที่มีความชำนาญ ชาวฟิลิปปินส์ คือ นาย Carvates Reamillo เป็นผู้ซ่อม โดยสั่งอะไหล่เปียโนของ Renner นำเข้าจากประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยังมีการเดินทางไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมยังเมืองเลนินการ์ด ประเทศรัสเซีย และเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับการอนุรักษ์ด้วย ในการซ่อมอนุรักษ์เปียโนได้พยายามรักษาสภาพเดิมให้คงอยู่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้เวลาดำเนินการซ่อมนานถึง ๑๑ เดือน เมื่อแล้วเสร็จจึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่บริเวณชั้น ๒ ของโรงละครแห่งชาติ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๘ กรมศิลปากร ได้ส่งมอบเปียโนคู่ให้ไปเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า ด้านดนตรีต่อไปเปียโนจุฑาธุช ที่เก็บรักษาไว้ ณ อาคารห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร          ปัจจุบันสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้เก็บรักษาเปียโนจุฑาธุช ไว้ ณ ห้องท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ ชั้น ๑ อาคารห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.------------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ------------------------------------------------------------------แหล่งข้อมูลอ้างอิง กัลยรัตน์ เกษมศรี. “เปียโนคู่และโครมาติก ฮาร์พ เครื่องดนตรีในห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร”. วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ. ๒,๑ (ม.ค. – มิ.ย. ๕๗) ๔๔ – ๔๖. “พบเปียโนโบราณ หนึ่งเดียวในโลก”. ไทยรัฐ. ๔๑, ๑๑๘๙๕ (๑๖ ส.ค. ๓๓), ๑, ๑๗. “เผยโฉมเปียโนคู่ประวัติศาสตร์ คืนสภาพสมบูรณ์”. บ้านเมือง. ๒๐, ๑๐๓๗๘ (๑๕ มิ.ย. ๓๔), ๑๕. สมาคมกิจวัฒนธรรม. มหรสพดนตรี “ช้าง” โดยวงฟองน้ำ. กรุงเทพฯ: สมาคมกิจวัฒนธรรม, ๒๕๓๓. สุกรี เจริญสุข. “เปียโนคู่โบราณของกรมศิลปากร”. ศิลปวัฒนธรรม. ๑๒,๑ (พ.ย. ๓๓), ๙๐ – ๙๕. Corbin, Paul. Pianographie n°1 Le double-Pleyel pneumatique de Gustave Lyon. [Online]. Retrieved 17 March 2021 from https://www.pianosparisot.com/wp-content/uploads/ 2017/02/Pianographie-n%C2%B01.pdf. Facteurs de pianos en France. Ignace Pleyel Brevets. [Online]. Retrieved 18 March 2021 from http://www.lieveverbeeck.eu/Pleyel_Brevets.htm. The spirit of innovation. [Online]. Retrieved 18 March 2021 from https://www.pleyel.com/en/ the-beautiful-story/the-spirit-of-innovation.




ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิกถา (ปถมสมโพธิ์พุทธปูชา-ธาตุวิภชนปริวตฺต) สพ.บ.                                  352/30ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           58 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า                                           วรรณกรรมพุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  



          พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เกียรติประวัติอันดีงามของท่านจึงเป็นความภาคภูมิใจของชาวนครศรีธรรมราชด้วยส่วนหนึ่ง และตัวท่านเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งแต่วัยเยาว์ ดั่งเช่น ชื่อ“เปรม” นั้นก็ได้ ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ตั้งชื่อให้ ดังที่ปรากฏในคำไว้อาลัยของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากหนังสือรัตนธัชมุนีอนุสรณ์ ที่ได้จัดพิมพ์เนื่องในงาน พระราชทาน เพลิงศพพระรัตนธัชมุนี ณ เมรุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ความตอนหนึ่งว่า ....อนึ่ง ท่านเจ้าคุณและบิดาของกระผมเป็นศิษย์ร่วมอุปัชฌาย์อาจารย์เดียวกัน และบิดาของกระผมเป็นผู้กราบนมัสการขอให้ท่านเจ้าคุณตั้งชื่อให้กระผม จึงนับได้ว่า ท่านเจ้าคุณเป็นผู้มีพระคุณต่อกระผมเป็นส่วนตัวด้วย.....-------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์-------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช. เกิดถิ่นใต้. นครศรีธรรมราช : ศูนย์การพิมพ์พลชัย, พ.ศ. ๒๕๒๙. เทศบาลเมืองทุ่งสง. พระรัตนธัชมุนี (แบน คณ.ฐาภรโน). สืบค้นเมื่อ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก :ttps://www.tungsong.com/Nakorn/Person/praratภาพจาก- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ภาพส่วนบุคคล นายชวลิต อังวิทยาธร ภ นรม ๑ สบ ๑.๑/๑๒ ภาพพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ภาพส่วนบุคคล นายชวลิต อังวิทยาธร ภ นรม ๑ สบ ๑.๓.๑/๕๙(๑) ภาพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดไฟชนวน พระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๓- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ภาพส่วนบุคคล นายชวลิต อังวิทยาธร ภ นรม ๑ สบ ๑.๓.๑/๖๐ ภาพพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี และสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ลง จากเมรุพิเศษ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หลังจากทรง ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๓ - รวมประวัติสามพระรัตนธัชมุนี อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช(แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) วัดพระ มหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ๑๔ กันยายน ๒๕๒๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๓.เอกสารจดหมายเหตุหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. เอกสารสำนัก นายกรัฐมนตรี นรม.๑.๑.๕.๑/๕๒ เรื่องคำไว้อาลัยท่านเจ้าคุณ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช (๒๑ – ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๓)


โลกนย (โลกนยเผด็จ) ชบ.บ.94/1-1  เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.247/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สิงฺคาลสุตฺต(สิงคาลสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          รำตงนอกจากจะเป็นสื่อกลางเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้สังคมของชาวกะเหรี่ยงเติมเต็มทางด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ยังมีลักษณะเด่นและความน่าสนใจในด้านที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นไปที่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงทั้งหลายได้ซึมซับเอาคุณค่าความดีงามในคติธรรม ตลอดจนแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติธรรมเรื่องการสร้างความสามัคคี อันเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีให้กับกลุ่มชน อีกทั้งยังเป็นทางออกและทางต่อสู้สำหรับความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการกล่อมเกลาจิตใจและปลูกฝังความดีงามให้กับลูกหลาน          วันนี้แม้มีเพียงแค่คนกลุ่มน้อยที่จะได้ชมการแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยง แต่สำหรับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงเองแล้ว การแสดงรำตงถือเป็นภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงคนในชุมชนให้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เชื่อมโยงคนกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นวิถีการแสดงออกที่สอดคล้องกับความเป็นไปในสังคม          การแสดงรำตงที่นำไปแสดงในทุกครั้งจะต้องผ่านการสร้างสรรค์ด้วยความประณีตบรรจง รูปแบบของการแสดงต้องผ่านกระบวนการอันละเอียดอ่อน ทั้งนี้เพื่อให้คุณค่าของงานเป็นการตอบสนองผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการมอบสิ่งดีๆให้กับสังคมสมกับเจตนารมณ์ของผู้สร้างงานที่มิได้หวังผลทางด้านธุรกิจอื่นใด          สิ่งสำคัญอีกประการของความสำคัญในการแสดงรำตง คือ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นชุมชนนักอนุรักษ์ ทั้งในด้านเอกลักษณ์และจารีตประเพณี การแสดงรำตงยังคงปรากฏถึงจารีตปฏิบัติ อันถือเป็นธรรมเนียมสำคัญได้แก่ การบูชาในสิ่งที่ควรแก่การบูชา ในที่นี้คือ การบูชาแม่พระโพสพในพิธีกรรมทำบุญข้าวใหม่ ซึ่งชาวกะเหรี่ยงให้ความสำคัญในฐานะที่เป็น เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมโดยตรง ดังนั้นพวกเขาจึงทำการบูชาด้วยการมอบสิ่งที่ดีต่อผู้มีพระคุณ และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาในสังคม-----------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ-----------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง ณัฐกานต์ บุญศิริ. การแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง : กรณีศึกษารำตงบ้านใหม่พัฒนา อำเภอสังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. ปรียา ดวงเที่ยง (และคนอื่นๆ). การแสดงรำตงของชาวไทยเชื้อสายกระเหรียงโป บ้านห้วยดินดำ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. ศิลปนิพนธ์ ( ศศ.บ) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. 2551. สรุปผลการจัดกิจกรรม : การจัดพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงบ้านตะเพินคี่. สุพรรณบุรี : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอด่านช้าง. 2550. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) “รำตง วัฒนธรรมกะเหรี่ยง” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.prapayneethai.com (วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี. การแสดงรำตง.. สุพรรณบุรี : สำนักงานฯ , 2550.


ชื่อเรื่อง                    สุพรรณบุรีเมื่อวันวานผู้แต่ง                      กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN               974-417-521-4หมวดหมู่                  ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เลขหมู่                     959.373 ศ528สสถานที่พิมพ์              กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์                โรงพิมพ์รุ่งศิลป์การพิมพ์ปีที่พิมพ์                   2545ลักษณะวัสดุ              124 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                    สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           กรมศิลปากร โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดโครงการรวบรวมและอนุรักษ์ภาพถ่ายเก่าจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้น เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542





ปราสาทบ้านโนนงิ้ว บ้านโนนงิ้ว หมู่ 3 ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา #ปราสาทบ้านโนนงิ้ว เป็นร่องรอยของอาคารศาสนสถานที่สร้างขึ้นตามคติและรูปแบบการก่อสร้างเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ก่อสร้างด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 #ร่องรอยของปราสาทโนนงิ้ว ปรากฏให้เห็นเฉพาะส่วนฐานของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นส่วนฐานของสถาปัตยกรรมในรูปแบบปราสาท ก่อสร้างด้วยด้วยศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก แผนผังที่ปรากฏพบเป็นแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 8 x 8 เมตร ตั้งอยู่ที่ตำแหน่งกลางเนินดินเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวในแนวยาวตามแกนทิศตะวันออก – ทิศตะวันตก ขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว 45 เมตร สูงจากพื้นดินโดยรอบประมาณ 2-3 เมตร ส่วนฐานของปราสาทที่พบนี้ก่อวางเรียงด้วยศิลาแลงเป็นกรอบ 2-3 ชั้น สูงจากพื้นดินประมาณ 40-60 เซนติเมตร พื้นที่ภายในของส่วนฐานมีร่องรอยหลุมขนาดใหญ่ที่เกิดจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ เหนือจากส่วนฐานขึ้นไปซึ่งตามรูปแบบแล้วจะเป็นส่วนเรือนธาตุและชั้นยอดของปราสาท ซึ่งพังทลายลงหมดแล้วและไม่พบศิลาแลงหรือหินทรายที่เป็นส่วนประกอบของทางสถาปัตยกรรมของส่วนเรือนธาตุและชั้นยอดปราสาทหลงเหลืออยู่ในพื้นที่เลย บริเวณพื้นที่รอบเนินดินปรากฏร่องรอยของแนวคูน้ำที่ล้อมรอบปราสาท ปัจจุบันตื้นเขินหมดแล้ว แต่สังเกตเห็นร่องรอยคูน้ำได้ในด้านทิศใต้ #สภาพปัจจุบัน ปราสาทโนนงิ้ว เป็นเนินดินสูง มีต้นไม้ขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นปกคลุมทั่วบริเวณ พื้นที่โดยรอบเนินดินด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกมีการไถปรับพื้นที่เพื่อปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง ส่วนทางด้านทิศใต้และด้านทิศตะวันตกมีการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยใกล้กับส่วนฐานของปราสาท และทางด้านทิศตะวันตกนั้น มีการก่อสร้างศาลาขนาดเล็ก 1 หลัง เป็นอาคารโล่งหลังคามุงกระเบื้อง ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ ที่สร้างจากปูน รูปแบบศิลปะพื้นบ้าน และด้านนอกศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ ซึ่งสร้างจากปูน รูปแบบศิลปะพื้นบ้านเช่นกัน ปัจจุบัน ในบางโอกาส ชาวบ้านในพื้นที่มีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่ออยู่บ้าง แต่ไม่ได้ร่วมดูแลรักษาทำความสะอาดพื้นที่โบราณสถาน ทำให้สภาพของโบราณสถานดูแล้วค่อนข้างรก มีวัชพืชขึ้นปกคลุมค่อนข้างมาก บริเวณใกล้เคียงกัน ยังพบ ปราสาทบ้านโนนเหลื่อม (ปราสาทหนองหอย) ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ปราสาทบ้านโนนงิ้ว ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ



Messenger