เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
รำตง...วัฒนธรรมกะเหรี่ยง
รำตงนอกจากจะเป็นสื่อกลางเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้สังคมของชาวกะเหรี่ยงเติมเต็มทางด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ยังมีลักษณะเด่นและความน่าสนใจในด้านที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นไปที่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงทั้งหลายได้ซึมซับเอาคุณค่าความดีงามในคติธรรม ตลอดจนแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติธรรมเรื่องการสร้างความสามัคคี อันเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีให้กับกลุ่มชน อีกทั้งยังเป็นทางออกและทางต่อสู้สำหรับความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการกล่อมเกลาจิตใจและปลูกฝังความดีงามให้กับลูกหลาน
วันนี้แม้มีเพียงแค่คนกลุ่มน้อยที่จะได้ชมการแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยง แต่สำหรับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงเองแล้ว การแสดงรำตงถือเป็นภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงคนในชุมชนให้ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เชื่อมโยงคนกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นวิถีการแสดงออกที่สอดคล้องกับความเป็นไปในสังคม
การแสดงรำตงที่นำไปแสดงในทุกครั้งจะต้องผ่านการสร้างสรรค์ด้วยความประณีตบรรจง รูปแบบของการแสดงต้องผ่านกระบวนการอันละเอียดอ่อน ทั้งนี้เพื่อให้คุณค่าของงานเป็นการตอบสนองผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการมอบสิ่งดีๆให้กับสังคมสมกับเจตนารมณ์ของผู้สร้างงานที่มิได้หวังผลทางด้านธุรกิจอื่นใด
สิ่งสำคัญอีกประการของความสำคัญในการแสดงรำตง คือ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นชุมชนนักอนุรักษ์ ทั้งในด้านเอกลักษณ์และจารีตประเพณี การแสดงรำตงยังคงปรากฏถึงจารีตปฏิบัติ อันถือเป็นธรรมเนียมสำคัญได้แก่ การบูชาในสิ่งที่ควรแก่การบูชา ในที่นี้คือ การบูชาแม่พระโพสพในพิธีกรรมทำบุญข้าวใหม่ ซึ่งชาวกะเหรี่ยงให้ความสำคัญในฐานะที่เป็น เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมโดยตรง ดังนั้นพวกเขาจึงทำการบูชาด้วยการมอบสิ่งที่ดีต่อผู้มีพระคุณ และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาในสังคม
-----------------------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง : นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
-----------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
ณัฐกานต์ บุญศิริ. การแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง : กรณีศึกษารำตงบ้านใหม่พัฒนา อำเภอสังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. ปรียา ดวงเที่ยง (และคนอื่นๆ). การแสดงรำตงของชาวไทยเชื้อสายกระเหรียงโป บ้านห้วยดินดำ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. ศิลปนิพนธ์ ( ศศ.บ) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. 2551. สรุปผลการจัดกิจกรรม : การจัดพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงบ้านตะเพินคี่. สุพรรณบุรี : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอด่านช้าง. 2550. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) “รำตง วัฒนธรรมกะเหรี่ยง” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.prapayneethai.com (วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี. การแสดงรำตง.. สุพรรณบุรี : สำนักงานฯ , 2550.
(จำนวนผู้เข้าชม 5553 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน