ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ภาพถ่าย ถือเป็นหลักฐานทางโบราณคดีประเภทหนึ่ง ที่ทำให้นักโบราณคดีใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการอธิบายเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตได้ ก่อนจะเกิดภาพถ่ายแบบที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มนุษย์มีการบันทึกความทรงจำจากการวาดเขียนสิ่งที่จดจำมาจากเหตุการณ์ที่เคยได้เจอ ผสมผสานกับจินตนาการและความเชื่อ จนทำให้เกิดภาพที่เรียกได้ว่า เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ ภาพเขียนสีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ เกิดการบันทึกภาพจากการสร้างห้องมืด เรียกว่า คาเมรา ออบสคูรา และเกิดการจำลองภาพโครงทึบ ในช่วงศตวรรษที่ ๑๘ จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีการบันทึกภาพด้วยแสงเป็นภาพ ทำให้สามารถถ่ายรูปชนิดแบบติดถาวรได้รูปแรกของโลก โดย เนียพซ์ และในช่วงเวลาเดียวกันการถ่ายภาพถูกพัฒนาไปจนมีการประกาศวิธีการถ่ายรูปอย่างเป็นทางการสู่สาธารณะชน โดยเรียกระบบนี้ว่า “ดาแกร์โรไทพ์” หรือ “ทัลบอต” หลังจากที่ดาแกร์คิดค้นและประกาศวิธีการดังกล่าว การถ่ายภาพได้รับความนิยมอย่างมาก และกระจายไปยังดินแดนต่าง ๆ อย่างอินเดีย สิงคโปร์ และสยาม การนำเข้ามาในสยามนี้ เกิดจากการที่พระสังฆราชปาเลอกัว ได้ทดลองและเรียนรู้การถ่ายภาพร่วมกับ คุณพ่อยังบัปติส ปรังซัว หลุยส์ ลาร์โนดี ดังเอกสารจดหมายที่พระสังฆราชปาเลอกัวส์กับเพื่อน ๆ บาทหลวงที่ประจำอยู่ที่ศูนย์มิชชันนารีที่มาเก๊าและปารีส จดหมายฉบับนี้ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๘๘ ความว่า “...ข้าพเจ้าได้ทดลองถ่ายรูปโดยใช้กล้องดาแกร์ พร้อมกับคุณลาโนร์ดีแล้ว...ข้าพเจ้าใช้เกือบหมดแล้ว เพราะข้าพเจ้าได้ถ่ายรูปพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญอีกหลายคนที่มาหา...” ภายหลัง ลาร์โนดี จึงนำกล้องถ่ายรูปเข้ามายังสยาม และทำให้การถ่ายภาพเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชนชั้นสูง หลังจากนั้นประชาชนจึงเริ่มรู้จักเทคโนโลยีการถ่ายภาพและนิยมบันทึกความทรงจำให้รูปแบบการถ่ายภาพตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การถ่ายภาพมีเรื่อยมาและมีผลงานให้เห็นมาจนจึงทุกวันนี้ และภาพถ่ายเก่าบางภาพเป็นภาพที่ถ่ายในโอกาสต่าง ๆ ทำให้โบราณสถานสำคัญได้รับการบันทึกเอาไว้ด้วย เช่น ภาพที่เจ้านายทรงทำบุญในงานรื่นเริง ซึ่งถ่ายติดศาลาสี่สมเด็จและพระที่นั่งทรงผนวชของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (ภาพที่ ๑) บางภาพเป็นภาพถ่ายมุมสูงที่ถ่ายโดย วิลเลียมส์ ฮันท์ ซึ่งต้องการถ่ายให้เห็นสภาพสถานที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ ในมุมกว้าง เพื่อต้องการเปรียบเทียบสภาพพื้นที่หากเกิดระเบิดเสียหายจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๒ โอกาสนี้ทำให้บางวัดถูกบันทึกภาพไปด้วย เช่น ภาพมุมสูงวัดอินทรวิหาร (มองเห็นหลวงพ่อโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต) พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขนาดใหญ่) ภาพมุมสูงยังถ่ายติดวัดใหม่อมสรส (ภาพที่ ๒) หรือ ภาพวัดราชบูรณะราชวรวิหาร ในช่วงที่พระปรางค์เสียหายจากแรงระเบิด ดังนั้นภาพถ่ายต่าง ๆ ของวัดยังมีประโยชน์สำหรับการเปรียบเทียบสภาพเดิมของวัดในอดีตกับปัจจุบันด้วย เช่น ภาพพระปรางค์เดิมของวัดราชบูรณะราชวรวิหารดังที่กล่าวไป หรือ ภาพอุโบสถวัดเบญจมบพิตรขณะกำลังปฏิสังขรณ์ เป็นต้น (ภาพที่ ๓ และ ภาพที่ ๔) ภาพที่ ๑ ภาพที่เจ้านายทรงทำบุญในงานรื่นเริง ซึ่งถ่ายติดศาลาสี่สมเด็จและพระที่นั่งทรงผนวชของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ที่มา : ภาพจากหอจดหมายเหตุ ภาพที่ ๒ วัดอินทรวิหาร และวัดใหม่อมตรส ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภาพที่ ๓ วัดเบญจมบพิตรขณะกำลังปฏิสังขรณ์ ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภาพที่ ๔ วัดราชบูรณะ พระปรางค์ที่โดนแรงระเบิด ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ -----------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : สุวิมล เงินชัยโรจน์ กองโบราณคดี -----------------------------------------------------บรรณานุกรม เอกสารอ้างอิง ไกรฤกษ์ นานา. “ภาพมุมกว้าง: กรุงรัตนโกสินทร์เก่าที่สุดภาพแรกไม่ได้ถ่ายจากกล้องถ่ายรูป.” ศิลปวัฒนธรรม ๒๙, ๔ (กุมภาพันธ์๒๕๕๑): ๘๖ – ๑๐๔. โจคิม เค. เบ้าวท์ซ. ฉายาลักษณ์สยาม: ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ.๒๔๐๓ – ๒๔๕๓. แปลจาก Unseen Siam: Early Photography ๑๘๖๐ – ๑๙๑๐. แปลโดยจุฑามาส อรุณวรกุลและไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, ๒๕๕๙. นิตยา ชำนาญป่า. “ภาพถ่ายกับงานประวัติศาสตร์ศิลปะ” การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๓. ศักดา ศิริพันธุ์. กษัตริย์กับกล้อง. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๓๕. สุรชาติทินานนท์. ศิลปะภาพถ่าย 1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาอศ 231 ศิลปะภาพถ่าย1 คณะ ศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เอนก นาวิกมูล. ถ่ายรูปเมืองไทยสมัยแรก. กรุงเทพฯ: แสงแดด, ๒๕๓๐. ________. ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย. กรุงเทพฯ: สารคดี, ๒๕๕๘.
ชื่อเรื่อง พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นภาคที่ 5ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่ 915.936 จ657พสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์ 2492ลักษณะวัสดุ 116 หน้า หัวเรื่อง ไทย (ภาคเหนือ)—ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว ไทย (ภาคเหนือ)--ความเป็นอยู่และประเพณี ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก พระภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์ถวายในงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุครบ 60 พรรษา แห่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยานิภา
ชื่อเรื่อง เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ. 194/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 54.6 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.78/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 48 (59-70) ผูก 9 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ)ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา(ลำมโหสถ) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.125/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 72 (248-256) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : เอกนิปาต (นิไสเอกนิปาต)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.149/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 91 (392-403) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปปกรณาภิธมฺม (อภิธรรมสังคิณี-พระมหาปัฎฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เวทมนต์คาถา ชบ.ส. ๕๖
เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สามัคคี ต.พลูหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.25/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ประยุทธ สิทธิพันธ์. แผ่นดินพระมงกุฎเกล้าฯ. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : สำนักพิมพ์ธรรมเสวี, ๒๕๐๐. ๗๑๙ หน้า.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพัชรินทราบรมราชินี พระพันปีหลวง ประสูติ ๑ มกราคม ๒๔๒๓ และสวรรคตเมื่อ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ มีพระราชหฤทัยที่เที่ยงธรรมสุจริต สำเร็จการศึกษาวิชาพลเรือนจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และการทหารบกจากโรงเรียนแซนเฮิสต์ ประเทศอังกฤษ มีพระปรีชาสมารถทางอักษรศาสตร์และวรรณคดี ๒๐๐ กว่าเรื่อง จึงปรากฎพระนาม “ธีรราช” และมีนามปากกาอีกหลายชื่อ เช่น รามจิตติ อัศวพาหุ ศรีอยุธยา พันแหลม น้อยลา และนายแก้วนายขวัญ ทรงทำนุบำรุงด้านการทหาร การเมือง การเสือป่า และลูกเสือ และการศึกษา จัดตั้ง”จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” พระราชนิพนธ์ที่รู้จักกันทั่วไป เช่น เสือป่า ปลุกใจเสือป่า หัวใจนักรบ เมืองไทยจงตื่นเถิด มัทนพาธา เสด็จเยี่ยมราษฎรตามหัวเมืองทุกหัวเมือง และยังเสด็จมลายู สิงคโปร์ ทรงโปรดสุนัข “ย่าเหล” ซึ่งถูกยิงตาที่นอกประตูพระบรมมหาราชวังด้านวัดพระเชตุพน เกิดคณะปฏิวัติที่ต้องการเปลี่ยนการปกครอง ชื่อว่า “คณะปฏิวัติ ร.ศ.๑๓๐” และวางแผนปลงพระชนม์เมื่อคราวเสด็จกลับจาการซ้อมรบที่สนามจันทร์แต่ปฏิวัติไม่สำเร็จ เมื่อคราวสงครามโลกได้นำชาติไทยเข้าสงครามค่ายพันธมิตร และทรงต้อนรับจอมพลออฟเฟร็ด ผู้บัญชาการกองทัพทั่วไปคนแรกของสัมพันธมิตร สนพระทัยในเรื่องโขนและเป็นยุคที่โขนรุ่งโรจน์สุดขีด คนไทยอาศัยคนจีนทำงานเพราะเป้นคนขยันอดทน ทรงออกหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” ทรงตั้งดุสิตธานีขึ้นตามพระมโนคติ เพื่อให้คนไทยได้เห็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย