ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.520/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ-ชาดทึบ-รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 175 (260-266)) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : วิวาห์มงคล--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ. 241/8หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
ชื่อเรื่อง สพ.บ. 426/2 เมตฺเตยฺยสุตฺต (เมตฺเตยฺยสูตร)
สพ.บ. 426/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา กรมศิลปากร ประกาศพร้อมให้บริการสถานที่จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม อาทิ โขน ละคร ฟ้อนรำ ระบำ ดนตรี ลิเก ลำตัด ประกวดขับร้องเพลงไทย ลูกทุ่ง ลูกกรุง สากล ฯลฯ การถ่ายทำรายการทีวี การแสดงผลงาน ประชุม สัมมนา การแสดงระดับนานาชาติ หรืองานอื่นๆ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวก แสง สี เสียง ฉาก มีเวทีที่ได้มาตรฐานสากล เทคนิคแสงสีเสียงตระการตา และรองรับผู้ชมได้มากกว่า 500 กว่าที่นั่ง
ผู้สนใจใช้บริการสถานที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4446 6202, 0 4446 6203, 084-6959194
ชื่อเรื่อง: เรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาค ๒ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๕ แลพระนิพนธ์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงษ์ ผู้แต่ง: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงษ์
ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๖๑ สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า: ๑๕๔ หน้า เนื้อหา: เรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาค ๒ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) และพระนิพนธ์ กรมพระยาดำรงราชา นุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงษ์ พิมพ์แจกในงานปลงศพ นายพันตำรวจเอก พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (เชย ไชยคุปต์) พ.ศ. ๒๔๖๑ พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร โดยต้นฉบับเป็นหนังสือในหอพระสมุดสำหรับพระนคร เนื้อหาว่าด้วย การเดินทางเที่ยวไปยังที่ต่างๆ ซึ่งในเล่มภาคที่ ๒ นี้ จะเป็นเรื่องราวการเที่ยวในต่างประเทศ ประกอบด้วย ๑) โดยสานเรือเมล์ไปยุโรป แต่งเมื่อกลับจากยุโรปในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ซึ่งลักษณะการโดยสานเรื่อเมล์ในสมัยก่อนก็จะมีความแตกต่างกับทุกวันนี้ ควรอ่านเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะการโดยสานเมื่อครั้งนั้น ๒) เที่ยวเมืองพม่า สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติได้เสด็จประพาศเมืองพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ กลับมาแล้วแต่งหนังสือเรื่องนี้ลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณ ซึ่งในทางโวหารนับว่าเป็นหนังสือแต่งดีถึงชั้นสูง ๓) พระเขี้ยวแก้วที่ลังกา ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ครั้งเสด็จเมืองลังกา แล้วพระราชทานมาลงหนังสือพิมพ์วชิรญาณ ทรงแสดงเรื่องราวพระเขี้ยวแก้ว แลเรื่องพระสงฆ์เมืองลังกาที่ได้ไปทรงทราบในคราวนั้น และ ๔) ไปเมืองเตอร์กี แต่งเมื่อคราวกลับจากยุโรปในคราวเดียวกันกับเรื่องโดยสานเรือเมล์ไปยุโรป ซึ่งต่อมามีไทยได้ไปประเทศเตอร์กีอีก ๒ คราว คือ สมเด็จกรมเจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ และหม่อมเจ้าบวรเดช ซึ่งเป็นช่วงเวลาในยุคสมัยสุลต่านอับดุลฮามิด เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๗๘๔เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๑๕หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
วันจันทร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๕๒ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร. ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนหน่วยงานและประชาชนในจังหวัดปทุมธานี เฝ้าฯ รับเสด็จ
กรมศิลปากรได้น้อมนำแนวพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานไว้ในหลายโอกาสเกี่ยวกับการจัดสร้างคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้มีพื้นที่เพียงพอต่อปริมาณโบราณวัตถุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ปรับปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานพิพิธภัณฑ์วิทยา เพื่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุของชาติ และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นด้วยการเปิดให้บริการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พุทธศักราช ๒๕๔๕ กรมศิลปากรจึงได้ย้ายโบราณวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเดิมใช้พื้นที่อาคารจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาจัดเก็บ ณ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี โดยจัดวางตามหมวดหมู่ประเภทวัสดุตามหลักการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ออกแบบห้องคลังต่างๆ ให้เป็นคลังเปิดเพื่อการศึกษา หรือ Visible Storage ที่เปิดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมมองเห็นได้จากภายนอกผ่านผนังกระจก ต่อมาเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๕๙ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรก่อสร้างอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลังใหม่ในพื้นที่ว่างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ออกแบบให้เป็นอาคารคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุโดยเฉพาะ ตั้งแต่รูปแบบอาคารที่คำนึงถึงการควบคุมความร้อน ความชื้นจากภายนอกอาคาร ติดตั้งระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อปกป้องและรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ให้มีความยั่งยืนและปลอดภัยตามมาตรฐานคลังพิพิธภัณฑ์สากล ได้แก่ ระบบจัดเก็บตามประเภทวัสดุของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ระบบตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิความชื้น ระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย ป้องกันภัยธรรมชาติ และการโจรกรรม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้ถูกออกแบบและวางระบบการบริหารจัดการให้เป็นคลังเปิด (Visible Storage) เพื่อให้บริการในรูปแบบของคลังเพื่อการศึกษา (Study Collection) ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้บริการใน ๒ รูปแบบ คือการเข้าศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่บริการทั่วไป ได้แก่ ห้องสมุด ห้องสอบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ และใช้บริการสำเนาไฟล์ภาพถ่ายโบราณวัตถุ การบริการอีกรูปแบบหนึ่งคือ การศึกษาชิ้นงานโบราณวัตถุ ซึ่งต้องยื่นคำร้องขออนุญาต เมื่อได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกนำเข้าศึกษาโบราณวัตถุในพื้นที่ควบคุมชั้นใน โดยจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษา นักวิจัย และประชาชน เข้าศึกษาโบราณวัตถุในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ศกนี้ ซึ่งตรงกับวันพิพิธภัณฑ์ไทย
นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังมีบริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้สามารถชมบรรยากาศห้องคลังโบราณวัตถุ และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในมุมมอง ๓๖๐ องศา ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Virtual Smart Museum และ FA Discovery เพื่อให้โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยังประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนให้สามารถเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงคุณค่าต่อไป
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน เงินนอกงบประมาณ (กองทุนโบราณคดี) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การบูรณะประติมากรรมปูนปั้นยักษ์ วัดอุโมงค์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยนายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้รายงานว่า การบูรณะประติมากรรมปูนปั้นรูปยักษ์เฝ้ารักษาประตูทางเข้าสู่พระธาตุวัดอุโมงค์ บริเวณเชิงบันไดด้านทิศตะวันออกของทางเข้าพระธาตุวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยประติมากรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานวัดอุโมงค์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ยังมีการใช้ประโยชน์ในการประกอบศาสนกิจ มีพระภิกษุจำพรรษา มีผู้มาแสวงบุญและมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง
สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เสนอแนวคิดในการบูรณะเป็นสองแนวทาง ได้แก่ แนวคิดที่ 1 บูรณะโดยการอนุรักษ์และรักษาสภาพของยักษ์ทั้ง 2 ตนไว้ โดยการทำความสะอาด เสริมความมั่นคง และรักษาสภาพดั้งเดิมไว้ ไม่มีการต่อเติมประติมากรรมที่ชำรุดให้สมบูรณ์ แต่เมื่อประเมินสภาพประติมากรรมที่ชำรุดอย่างมากการอนุรักษ์ตามแนวทางนี้ อาจจะรักษาประติมากรรมดังกล่าวได้เพียงระยะหนึ่ง เนื่องจากเป็นประติมากรรมที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง หากในอนาคตที่มีปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น ฝนตกหนัก แผ่นดินไหว ขาดการดูแลรักษาปล่อยให้วัชพืชขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดการชำรุดและอาจพังทลายลง ส่วนแนวคิดที่ 2 บูรณะโดยการฟื้นคืนสภาพและรูปแบบดั้งเดิมของประติมากรรมรูปยักษ์ เมื่อพิจารณาสภาพก่อนการบูรณะ ซึ่งมีหลักฐานทางศิลปกรรมหลงเหลืออยู่มากกว่า 80% ประกอบกับการวิเคราะห์การเสื่อมสภาพของวัสดุเดิม สภาพแวดล้อมโดยรอบ ปัจจัยความเสี่ยงอื่นในอนาคตที่จะเร่งให้เกิดความเสียหาย การใช้ประโยชน์ของโบราณสถานในปัจจุบัน คติความเชื่อ อีกทั้งที่ผ่านมากรมศิลปากรมีการเลือกแนวทางการบูรณะแบบฟื้นคืนสภาพนี้มาแล้วหลายแห่ง เช่น องค์พระมงคลบพิตร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์พระอจนะ วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย จึงพิจารณาเลือกดำเนินการบูรณะในแนวคิดที่ 2
ทั้งนี้ วิธีการอนุรักษ์ประติมากรรมยักษ์ 2 ตน โดยการฟื้นคืนสภาพ ได้ดำเนินการตามหลักการอนุรักษ์โดยล้างทำความสะอาดคราบเชื้อรา ตะไคร่น้ำ และวัชพืชออก ผนึกปูนปั้นเดิมด้วยการไล้ผิวด้วยน้ำปูน หลังจากนั้นไล้ผิวด้วยปูนหมักเพื่อให้ผิวประติมากรรมที่มีรอยร้าวผสานเข้ากับปูนปั้นที่ใช้ในการบูรณะ โดยให้คงชั้นความหนาของปูนปั้นเดิมให้มากที่สุด เพื่อให้ขนาดของประติมากรรมหลังจากการบูรณะไม่เปลี่ยนแปลงไป และวิธีการนี้ยังช่วยป้องกันน้ำฝนที่จะซึมเข้าสู่ภายในองค์ยักษ์ อันเป็นปัจจัยที่ทำให้เสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วอีกด้วย ทั้งนี้ได้ปั้นปูนใหม่เสริมในส่วนที่ขาดหาย เสริมโครงสร้างใหม่ (แขน) เชื่อมต่อโครงสร้างเดิมและปั้นปูนตกแต่งตามล้อตามลวดลายเดิมที่ปรากฏอยู่ (บริเวณใบหน้า , หู , ปาก ฯลฯ) และตกแต่งผิวให้เรียบ ส่วนกระบอง ไม่พบหลักฐานที่แตกหักหรือตกหล่นอยู่บริเวณนี้ จึงออกแบบให้เป็นกระบองแบบผิวเรียบ (มีเกลียวเล็กน้อย) และขนาดตามสัดส่วนของรูปยักษ์
อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวอีกว่า สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้หารือแนวทางการบูรณะกับทางจังหวัดก่อนที่จะดำเนินการ โดยปฏิบัติตามตามมาตรฐานการบูรณะประติมากรรม มีการสำรวจตรวจสภาพโบราณสถาน ลักษณะความเสียหาย ภูมิประเทศสภาพแวดล้อม ปัจจัยองค์ประกอบที่เร่งในการชำรุดเสียหายของโบราณสถาน ศึกษาเปรียบเทียบวิเคราะห์ศิลปกรรมที่มีอยู่หรือสร้างอยู่ในยุคเดียวกัน อีกทั้งประเมินแนวคิด ความเสี่ยง ความคุ้มค่า การบริหารจัดการในอนาคต มีการศึกษารูปแบบศิลปกรรมเดิม และคัดเลือกช่างท้องถิ่นที่เป็นช่างฝีมือที่เหมาะสมเข้ามาดำเนินการบูรณะ ซึ่งการบูรณะในครั้งนี้ ได้ให้หอจดหมายเหตุเชียงใหม่เข้าบันทึกภาพและขั้นตอนต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐานสำหรับเป็นข้อมูลในการศึกษาและการบูรณะที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองมหกรรมวันพิพิธภัณฑ์ไทย ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน นี้ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ออกแบบตราสัญลักษณ์กิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ : A Passage to Wisdom” ที่ซ่อนความหมายและเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์ไทยที่เดินทางผ่านกาลเวลามาแล้วกว่า 150 ปี.“ช้าง” สัตว์มงคลจากมิวเซียมหลวงช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติไทยที่มักพบในตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานต่างๆ โดยช้างที่ปรากฏบนสัญลักษณ์นี้ ได้ถอดแบบมาจากช้างที่อยู่บนตรามิวเซียมหลวง ณ หอคองคอเดีย (The Royal Siamese Museum) เพื่อสื่อถึงความเป็นพิพิธภัณฑ์ไทย และเป็น Mascot หลักของกิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์ไทยของทุกปี.“คองคอเดีย” พิพิธภัณฑสถานที่เปิดให้ประชาชนเข้าชมแห่งแรกในสยามพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปิดมิวเซียมหลวง ณ หอคองเดีย ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการ และเป็นวิเทโศบายสำคัญในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสยามประเทศให้มีความทันสมัย (ซิวิไลซ์).“Passage” การเดินทางผ่านกาลเวลาของพิพิธภัณฑ์ไทยจากวันแรกของมิวเซียมหลวงจนถึงวันนี้ พิพิธภัณฑ์ไทยแสดงให้เห็นว่า ตลอดการเดินทางผ่านกาลเวลามาแล้วกว่า 150 ปี พิพิธภัณฑ์ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งสะสม แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย บอกเล่าเรื่องราวและความเป็นมาของตนเอง นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อันเป็นสะพานที่เชื่อมโยงภูมิปัญญากับสังคมเข้าด้วยกัน.“Wisdom” แหล่งสะสมความรู้ มุ่งหมายให้เกิดปัญญาปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ เปรียบดั่งแสงสว่างของดวงอาทิตย์เพื่อมุ่งหมายให้ผู้คนเกิดปัญญา เป็นสถาบันที่ให้บริการทางการศึกษา มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
กรมศิลปากร สำนักช่างสิบหมู่ ขอเชิญชวนทุกท่านชมการสาธิตงานช่างสิบหมู่ ในงานท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งกรุงเก่าฯ” ระหว่างวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. - 17.00 น. ณ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน 2567 มีงานช่างของสำนักช่างสิบหมู่ ร่วมสาธิตงาน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มงานช่างปั้น กลุ่มงานช่างประดับมุก และกลุ่มงานแม่พิมพ์ วันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2567 มีงานช่างของสำนักช่างสิบหมู่ ร่วมสาธิตงาน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มงานช่างลายรดน้ำ กลุ่มศิลปะประยุกต์และเครื่องปั้นดินเผา และกลุ่มงานช่างแกะ
ผู้สนใจสามารถชมการสาธิต และพูดคุยกับช่างจากสำนักช่างสิบหมู่ได้อย่างใกล้ชิด พร้อมชมชิ้นงานที่นำไปจัดแสดงภายในงานดังกล่าวด้วย
ชื่อเรื่อง : บูรพาทิตย์
หัวเรื่อง :1. เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ 2.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียน
คำค้น : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, บูรพาทิตย์, กองวิชาประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์ภาคตะวันออก, ความมั่นคง, การป้องกันประเทศ, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, ร.ศ.112, ฉะเชิงเทรา, พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง, เมืองแปดริ้ว, วัดโสธรวรารามวรวิหาร, ชลบุรี, นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง, ฐานทัพเรือสัตหีบ, ประวัติศาสตร์จันทบุรี, โบราณคดีใต้น้ำ, แหล่งเรือเสม็ดงาม, โบราณสถานฝรั่งเศส, อัญมณีเมืองจันท์, ตราด ,วัดบุปผาราม, เขตแดนไทย-กัมพูชา, ปราจีนบุรี, พื้นที่อพยพ8, เมืองโบราณที่ปราจีนบุรี, ลุ่มแม่น้ำบางปะกง
แหล่งที่มา : ต้นฉบับหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : โรงพิมพ์นายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ลิขสิทธิ์ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ภาษาไทย
ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี)
รายละเอียดเนื้อหา : เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลหลากหลายด้านในพื้นที่ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา เรื่องตามรอยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จฯทรงเปิดรถไฟสายตะวันออก และเสด็จประพาสเมืองแปดริ้ว (พ.ศ.2450) วัดโสธรวรารามวรวิหาร ป้อมกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา โครงการระบายน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก ศาลาว่าการมณฑลปราจีนบุรี ณ เมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ฐานทัพเรือสัตหีบ จันทบุรี ประวัติศาสตร์จันทบุรี โบราณคดีใต้น้ำ ในประเทศไทย แหล่งเรือเสม็ดงาม ภารกิจของ กปช.จต. โบราณสถานและสถานที่ทำการเดิมของฝรั่งเศส ณ จังหวัดจันทบุรี ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี อัญมณีศรีเมืองจันท์ ตราด วัดบุปผาราม เขตแดนไทย - กัมพูชา ปราจีนบุรี พื้นที่อพยพที่ 8 เมืองโบราณที่ปราจีนบุรี พัฒนาการเมืองโบราณชายฝั่งทะเลเดิมในลุ่มแม่น้ำบางปะกง
เลขทะเบียน : น 35 บ. 9075 จบ. (ร)
เลขหมู่ : ท 959.3 บ747
ค่ายเนินวง
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองโบราณที่มีกำแพงเมืองและ
คูเมืองล้อมรอบ สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๗๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เพื่อเป็นปราการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและที่ตั้งของค่ายเนินวงเป็นเนินดินสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ จึงเหมาะสมต่อการตั้งทัพป้องกันข้าศึกศัตรู
คูเมืองของค่ายเนินวงเกิดจากการขุดลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ และนำดินมาถมเป็นกำแพงเมือง โดยบริเวณช่องประตูทั้ง ๘ ช่อง ก่อด้วยอิฐเป็นกำแพงกันดินเพื่อรองรับอาคารด้านบนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหอรบหรือหอสังเกตการณ์ ปัจจุบันคงเหลือเพียงฐานอาคารที่ประตูต้นไทรทางด้านเหนือของเมืองเพียงแห่งเดียว ด้านข้างของอาคารมีแนวใบบังทำจากศิลาแลง และเชิงเทินยาวต่อเนื่องไปตามแนวกำแพงเมือง
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานค่ายเนินวง ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๓ วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๙๗ มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๖๒๒ ไร่ ๒ งาน ๖๘ ตารางวา
Noen Wong Fortress
Noen Wong Fortress is in Bang Kacha Subdistrict, Mueang Chanthaburi District, Chanthaburi Province. It was built in 1834, during the reign of King Rama III, to protect the eastern of Thailand. Noen Wong means a circle hill that the fortress is located on. Therefore, this hill is appropriate to build a fortress surrounded by a moat and a rampart to prevent an enemy.
The rampart or city wall was built with laterite soil that dug out from the moat. All 8 doors made of brick as a retaining wall to support the superstructure that is assumed of the observation tower or battle tower, only remain at the Banyan Tree Gate on the north side.
On each side of the building, there are laterite merlons and the walkway throughout the length of the city wall.
The Fine Arts Department announced the registration of Noen Wong Fortress as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 71, Part 3, dated 5th January 1954. The total area is around 996,272 square meters.