ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เรื่อง รูปบุคคลทรงครุฑ จากอโรคยาศาล สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ตอนที่ ๑ : ข้อมูลทั่วไป) โดย นางสาวพรพิณ โพธิวัฒน์ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น




ปราสาทบ้านโคกปราสาท ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร มีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก มีต้นไม้ขึ้นคลุมค่อนข้างหนาแน่น จากร่องรอยที่ปรากฏ สันนิษฐานองค์ประกอบได้ดังนี้ 1. #ปราสาท บริเวณปราสาท ปัจจุบันมีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก กว้างประมาณ 60 เมตร ยาวประมาณ 70 เมตร บนเนินปรากฏแท่งหินทรายและศิลาแลงกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งเนิน จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า โบราณสถานหลังนี้ถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุและรื้อย้ายชิ้นส่วนต่าง ๆ หลายครั้ง ทำให้ปราสาทพังทลาย และชิ้นส่วนประกอบอาคารอยู่ในลักษณะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป การดำเนินงานขุดลอกบารายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาท มีการนำดินมาถมบริเวณโดยรอบปราสาท ซึ่งทำให้ไม่ปรากฏคูน้ำโดยรอบปราสาทที่ชัดเจน แต่จากร่องรอยของพื้นที่ที่เป็นร่องน้ำที่เหลืออยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมมีคูน้ำล้อมรอบปราสาทอยู่ด้วย คูน้ำมีความกว้างประมาณ 10-15 เมตร บริเวณเนินดินปรากฏแท่งหินทราย ศิลาแลง และอิฐ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร ได้แก่ หน้าบัน ที่ส่วนกรอบหน้าบันสลักลายก้านต่อดอกชี้ลงด้านล่าง ชิ้นส่วนกรอบประตู กรอบหน้าต่าง บัวเชิงผนัง บัวเชิงชายหลังคา ส่วนผนังอาคาร เสาประดับกรอบประตูแบบเสาแปดเหลี่ยม โบราณวัตถุส่วนหนึ่งถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ที่โรงเรียนบ้านจรเข้มาก ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย เป็นชิ้นส่วนปลายกรอบหน้าบันสลักลายนาคห้าเศียร นาคหัวโล้นไม่มีกระบังหน้า ซึ่งเป็นลักษณะนาคในศิลปะเขมรแบบบาปวน เสาประดับผนัง บัวเชิงผนังสลักลายกลีบบัว บัวยอดปราสาท 2. #บาราย ถัดจากตัวปราสาทไปทางตะวันออกประมาณ 200 เมตร มีบารายตั้งอยู่ บารายมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้างประมาณ 270 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร คันดินขอบบารายมีขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร สูงจากพื้นนาโดยรอบ 2-3 เมตร บารายแห่งนี้ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า หนองบ้านเก่า หรืออ่างเก็บน้ำโคกปราสาท ซึ่งได้รับการขุดลอกแล้ว ปัจจุบันมีน้ำอยู่ในพื้นที่บางส่วน บารายนี้สร้างคร่อมห้วยบ้านเก่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิธีการกักเก็บน้ำไว้ในบาราย โดยการสร้างคร่อมลำน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันได้มีการขุดลอกบารายไปแล้วเมื่อปี 2543 โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จากหลักฐานที่พบ สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ในศิลปะเขมรแบบบาปวน เป็นศาสนสถานของชุมชนในวัฒนธรรมเขมรบริเวณนี้ในอดีต ก่อสร้างโดยใช้ใช้หินทราย แท่งศิลาแลง และอิฐเป็นวัสดุ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ และมีบารายตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ


ไข้มาลาเรีย ตอนที่ ๓ ไข้มาลาเรียในพื้นที่ภาคใต้ ไข้มาลาเรีย ไข้ป่า ไข้จับสั่น ในพื้นที่ภาคใต้ มีชื่อเรียกตามความเข้าใจของประชาชน ในแต่ละพื้นที่ เช่น ไข้ป้าง ไข้ร้อน ไข้เย็น ไข้ท้าน (ท้าน คือ อาการหนาวสั่น) ประชาชนในพื้นที่เข้าใจว่า สาเหตุการเกิดและแพร่ระบาดของไข้มาลาเรีย เกิดจากการดื่มน้ำในแหล่งน้ำตามป่า และในบางพื้นที่ยังเข้าใจว่าเกิดจากการกระทำของผีบรรพบุรุษ   การแพร่ระบาดของไข้มาลาเรียในพื้นที่ภาคใต้ ภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ประกอบกับการทำอาชีพกรีดยางพารา ในตอนกลางคืน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ยุงก้นปล่องออกหากิน ทำให้ในพื้นที่สวนยางพาราในชนบท เกิดการระบาดของไข้มาลามากกว่าพื้นที่ในเขตเมือง จากรายงานภาวะไข้มาลาเรียของศูนย์มาลาเรียเขต 4 สงขลา เมื่อ พ.ศ. 2520 ในอำเภอหาดใหญ่ การระบาดของไข้มาลาเรียไม่รุนแรงมากนัก ส่วนอำเภอสะเดา มีปัญหาการระบาดของไข้มาลาเรียอย่างหนัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าเขา และมีประชาชนจากหลายพื้นที่เข้าไปบุกเบิกทำสวนยางพารา แต่เมื่อมีการปิดพื้นที่อำเภอสะเดา เนื่องจากปัญหาความไม่สงบ ประชาชนที่เดินทางไปบุกเบิกพื้นที่ทำสวนยางพาราเหล่านี้ จึงเดินทางกลับภูมิลำเนาในอำเภอหาดใหญ่ เป็นเหตุให้การแพร่ระบาดของไข้มาลาเรียในอำเภอหาดใหญ่รุนแรงมากขึ้น   การควบคุม การควบคุมและการรักษาไข้มาลาเรีย ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การควบคุมและรักษาไข้มาลาเรียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี พ.ศ. 2512 ฝ่ายสุขศึกษา – อบรม ศูนย์มาลาเรีย เขต 4 สงขลา ดำเนินการสำรวจทางสุขศึกษา เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อไข้มาลาเรีย ในพื้นที่ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง พบว่ามีประชาชนเพียง 23% ที่ทราบว่าไข้มาลาเรียมีสาเหตุมาจากยุงก้นปล่องเป็นพาหะ แต่ยังมีประชาชนอีก 53% ที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดไข้มาลาเรีย ในการควบคุมและรักษาไข้มาลาเรีย เจ้าหน้าที่จะดำเนินการพ่นยา ตรวจโลหิต และรักษาผู้ป่วยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน คือ 1. ให้เจ้าที่มาลาเรีย พ่น ดี.ดี.ที. ในบ้านและที่อยู่อาศัยของท่านอย่างทั่วถึง 2. หากท่านและญาติพี่น้องไม่สบาย หรือสงสัยว่าจะเป็นไข้มาลาเรียให้ไปตรวจรักษาได้ที่ หน่วยมาลาเรีย สถานีอนามัย และโรงพยาบาลได้ตลอดเวลาราชการ 3. ให้ท่านกินยาตามที่เจ้าหน้าที่สั่งจนหมด อย่าเก็บทิ้งไว้ 4. เมื่อท่านจะไปในป่าหรือกลับจากป่าให้ท่านไปตรวจโลหิตหาเชื้อมาลาเรีย 5. ให้ท่านนอนกางมุ้งทุกคืน 6. ก่อนเข้าไปในป่าควรกินยาป้องกันไข้มาลาเรียทุกครั้ง   รายละเอียดสามารถมาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา ถนนกาญจนวนิช ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ โทร. ๐ ๗๔๒๑ ๒๕๖๒, ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙ โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒ E-mail : national.archives.songkhla@gmail.com Website : http://www.finearts.go.th/songkhlaarchives/ 


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.5 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              63; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    เวชศาสตร์                        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 


-- องค์ความรู้ เรื่อง เรื่องเล่าจากเอกสารรับมอบ ตอน หอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้าย -- จากข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารรับมอบ ได้มีการระบุไว้ว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2519 นายกอบกุล ทองลงยา นายอำเภอทุ่งช้าง ในขณะนั้น ได้จัดทำหนังสือ (ที่ 281/2519 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2519) เพื่อขออนุมัติสร้างหอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายในจังหวัดน่าน ณ บริเวณอนุสาวรีย์วีรกรรม พตท. (อนุสาวรีย์วีรกรรมพลเรือน ตำรวจ ทหาร อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน) ด้วยเห็นว่า เมื่อมีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีและสรรเสริญของบุคคลที่ได้อุทิศตนเพื่อปกป้องชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ควรจะได้รับการจัดสร้างอาคารถาวรขึ้นอีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บหลักฐาน วัสดุ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ จัดแสดง เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ นับแต่ ผกค. ได้เริ่มปลุกระดมมวลชน ใช้กำลังอาวุธต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้ศึกษาเหตุการณ์ก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดน่านได้อย่างถูกต้อง ตามข้อเท็จจริง และเป็นสถานที่รวบรวมวัสดุอาวุธ สิ่งพิมพ์ทั้งสองฝั่ง และเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงความเสียสละอย่างกล้าหาญของวีรชนผู้เสียสละ  การดำเนินการก่อสร้างได้มีราษฎรและกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ ได้บริจาคที่ดินและเงินสมทบทุนสร้าง โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบอาคาร ได้เริ่มก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2523 โดยใช้ชื่อว่า “หอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายจังหวัดน่าน” ในปีพุทธศักราช 2533 ได้มีการปรับปรุงอาคารหอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายจังหวัดน่าน โดยกองทัพภาคที่ 3 และได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น “พิพิธภัณฑ์ทหาร” จากข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารรับมอบชุดนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามของผู้ที่ทำงานที่สื่อสารและขอความช่วยเหลือยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งการโต้ตอบเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อหาเงินสมทบทุนก่อสร้างให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วง การดำเนินงาน แบบแปลนก่อสร้างอาคารของกรมศิลปากร การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน และเอกสารรายงานการประชุมต่างๆ รายงานการปรับปรุง ฯลฯ เอกสารรับมอบชุดนี้ถือเป็นเอกสารที่ค่อนข้างชัดเจน และเกือบสมบูรณ์ของการริเริ่มดำเนินโครงการ หากเอกสารชุดนี้ผ่านการประเมินคุณค่า และจัดหมวดหมู่ให้บริการแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างที่สุด ถือว่าเป็นการหยิบเรื่องราวจากเอกสารรับมอบมาเล่าสู่กันฟัง  “เอกสารใหม่ในวันนี้ อาจจะเป็นเอกสารเก่าที่มีคุณค่าในวันข้างหน้า” จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่ประสงค์ส่งมอบเอกสารส่วนบุคล หรือเอกสารสำคัญ ทั้งเอกสาร ภาพถ่าย แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้เพื่อประโยชน์แก่การค้นคว้า ศึกษา ต่อไปผู้เขียน: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ ( นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา )เอกสารและข้อมูลอ้างอิง:1. เอกสารรับมอบของที่ว่าการอำเภอทุ่งช้าง ชุดเอกสารพิพิธภัณฑ์ทหาร, 67/25542. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ



       ภาชนะดินเผามีสันสมัยทวารวดี จากเมืองโบราณอู่ทอง        ภาชนะดินเผามีสัน พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง        ภาชนะดินเผามีสันหรือหม้อมีสัน ปากกว้าง ๑๓.๕ เซนติเมตร สูง ๘.๕ เซนติเมตร เนื้อดินหยาบสีเทาดำ มีทรายปนอยู่ ปากกลมกว้าง ไหล่ลาด ตกแต่งเส้นนูนแหลมเป็นสันในแนวนอนขนานกับปากภาชนะ ๔ สัน ตั้งแต่บ่าลงมาจนถึงก้นภาชนะตกแต่งลายขูดขีด มี      ก้นกลม กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในพื้นที่เมืองโบราณสมัยทวารวดี พบภาชนะดินเผาแบบมีสันจำนวนมาก และมีความแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับภาชนะดินเผารูปแบบอื่น เช่น เมืองซับจำปา จังหวัดลพบุรี เมืองขีดขิน จังหวัดสระบุรี เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม และเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น โดยพบทั้งแบบที่มีสันมน สันแหลม มีสันเดียวและมีหลายสัน บางครั้งสันของภาชนะจะยื่นออกมาเป็นจะงอย ตั้งแต่ใต้สันลงมาตลอดใบมีทั้งแบบที่ตกแต่งลวดลายเชือกทาบ ลายขูดขีด ลายเครื่องจักรสาน และไม่ตกแต่งลวดลาย สันนิษฐานว่าเป็นภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการประกอบอาหาร เนื่องจากมีเนื้อหยาบและแกร่งซึ่งทนความร้อนได้ดี  โดยภาชนะดินเผาแบบมีสันในวัฒนธรรมทวารวดี อาจมีพัฒนาการต่อเนื่องมาจากรูปแบบภาชนะดินเผามีสันในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบเป็นจำนวนมากในประเทศไทย เนื่องจากมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันมาก เช่น ภาชนะดินเผามีสันที่พบจากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า และถ้ำเขาสาม       เหลี่ยม จังหวัดกาญจนบุรี กำหนดอายุสมัยหินใหม่ ราว ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นต้น    ภาชนะดินเผามีสันใบนี้แม้จะอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นหลักฐานที่แสดงถึงสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของผู้คนในพื้นที่บริเวณนี้ เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว นอกจากภาชนะดินเผาใบนี้แล้ว บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ยังพบภาชนะดินเผามีสัน จากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดิน ในพื้นที่ที่สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยอีกด้วย   เอกสารอ้างอิง ดวงกมล อัศวมาศ. “ศิลาวรรณากับการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๓. ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘. สายันต์ ไพรชาญจิตร์ และสุภมาศ ดวงสกุล. โบราณสถานคอกช้างดินเมืองเก่าอู่ทอง รายงานการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี พุทธศักราช ๒๕๔๐. สุพรรณบุรี : ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๒ สุพรรณบุรี, ๒๕๔๐. อ้างถึงใน กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           43/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               54 หน้า : กว้าง 5.1 ซม. ยาว 57.3 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง           มหามกุฎราชวิทยาลัย ชื่อเรื่อง           ประวัติการปกครองคณะสงฆ์ไทย และลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ไทยโดยสังเขป ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        มหามกุฎราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๑ จำนวนหน้า      ๗๒ หน้า รายละเอียด      หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสครบ ๗ รอบ ของมกุฎราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งจะบอกถึง ประวัติของมกุฎราชวิทยาลัย การปกครองของคณะสงฆ์ไทยตั้งแต่สมัย สุโขทัย อยุธยาธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ การปฎิบัติงานของมหาเถรสมาคม และลักษณะการปกครองของคณะสงฆ์ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชมพูทวีป ลังกาทวีป เป็นต้น


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 144/2 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/2ฌเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง           ที่ระลึกตึก  84 ปี  โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ชื่อผู้แต่ง         - พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์อักษรไทย ปีที่พิมพ์          2520 จำนวนหน้า      85  หน้า รายละเอียด เป็นหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมาร  เสด็จพระราชดำเนิน  ทรงเปิดตึก  84  ปี  โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา  ในวันที่ 31  ธันวาคม 2520  โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่  เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ตึกผู้ป่วยอนุสรณ์ 84 ปี  และเปิดงานนิทรรศการความรู้ทางสุขภาพจิต  ณ  โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา  วันพฤหัสบดีที่ 1  พฤศจิกายน 2561


เลขทะเบียน : นพ.บ.378/1งห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143  (26-39) ผูก 1ง (2566)หัวเรื่อง : จีรธารกถา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger