ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
ประชา พิมพ์พันธ์. ปรีชาจักรยานข้ามสามทวีป. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ศิวพระ, ๒๕๐๘. ๒๕๗ หน้า.
ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวการเดินทางด้วยการขี่จักรยานข้ามประเทศเพื่อไปเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอะลาบามาในสหรัฐอเมริกา ในแนวการเล่าเรื่องด้วยการเขียนจดหมายถึงประวิทย์เพื่อนรักของเขาเอง เกี่ยวกับชีวิตการศึกษา การมีชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย ที่สนุกมากเรื่องการรับปริญญาในสนามฟุตบอล มีอาจารย์มาครบทั้งที่เป็นอาจารย์หนุ่มสาวไปถึงแก่หง่อม หน้าตาที่ไว้หนวดเคราประมาณคงแก่เรียนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง มีการเชิญแขกของตนเองมาร่วมเป็นเกียรติแสดงความยินดีกันด้วยไมตรี การรับปริญญามีตั้งแต่คนโสด ถึงคนที่เป็นสามีมารับภรรยามาแสดงความยินดี ภรรยารับสามีมาแสดงความยินดี เมื่ออ่านดูแล้วก็สนุกทำให้นึกถึงการรับปริญญาในบ้านเราเลยเชียว.
++เมืองการุ้ง ตำบลวังหิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี++
สิ่งสำคัญ ๑. คันดิน ๒. คูเมือง
ประวัติและความสำคัญ มีการสันนิษฐานว่า เมืองนี้มีลักษณะเป็นรูปวงกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๘๐๐ เมตร เมืองการุ้ง มีคูเมืองชั้นเดียว คูน้ำกว้าง ๒๐ เมตร ลึก ๓ เมตร บริเวณคูติดถนน มีการขุดลอกคูน้ำใหม่และมีน้ำขังตลอดปี คันดินกว้าง ๖ เมตร สูงจากระดับดินภายในเมืองประมาณ ๑ เมตร มีการค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากมาย ได้แก่ ระฆังหินพระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เศษภาชนะดินเผา หวานหิน เครื่องประดับ และซากเจดีย์อยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองไปประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นซากเจดีย์ก่อด้วยอิฐดินเผาขนาดใหญ่ ฐานเจดีย์กว้าง ๗ เมตร
+สภาพปัจจุบัน คันดินกำแพงเมือง และคูเมืองยังมีสภาพดีเห็นได้ชัดเจน
+ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม สมัยทวาราวดี
+ลักษณะการถือครองที่ดินหรือผู้ดูแล ที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์
+ลักษณะการใช้งานปัจจุบัน สวนสาธารณะ
การขึ้นทะเบียน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ – พิเศษ ๒๕ง วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๒
579
จำนวนคนที่เข้าถึง
56
จำนวนการมีส่วนร่วม
สูงกว่า +3.1x
คะแนนการเผยแพร่
ไม่สามารถโปรโมทได้
23คุณ และคนอื่นๆ อีก 22 คน
1 ความคิดเห็น
แชร์ 6 ครั้ง
ถูกใจ
แสดงความคิดเห็น
แชร์
เพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะชนิดหนึ่ง โดยเป็นเพลงที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กใช้ร้องขับกล่อมให้เด็กฟังเพื่อให้เด็กนอนหลับสบาย ไม่งอแง พัฒนามาจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอนในสมัยก่อน ต่อมาจึงมีการใส่ทำนองเพลงช้าๆ เพื่อความไพเราะ และสร้างบรรยากาศให้เด็กหลับง่ายขึ้น สานสัมพันธ์ความรัก ความห่วงใยจากพ่อแม่สู่ลูก ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม วิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนผ่านบทเพลง
ในภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน มีปรากฏเพลงกล่อมเด็กอยู่ในวัฒนธรรมพื้นบ้านมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันช่วงเวลาแน่ชัด โดยลักษณะของเพลงกล่อมเด็กล้านนา ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยการร้อง "อื่อ จา จา" หรือ "อื่อ อื่อ จา จา" จึงมักเรียกว่า เพลงอื่อ คำว่า “อื่อ” หมายถึง เพลงที่ขับร้องโดยมีการส่งเสียงหึ่งจากลำคอให้ดังออกมาทางจมูก และมักจะทอดเสียงท้ายว่า ชา หรือ ชาชา เป็นทำนองต่างๆ เพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวล ชวนให้เด็กหลับได้ง่าย โดยเนื้อหาจะพรรณนาถึงสิ่งต่างๆ ปัจจุบัน เพลงอื่อ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เนื่องจากเป็นเพลงที่ใช้การจดจำสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ที่มีปรากฏส่วนมากมาจากคนรุ่นเก่าๆ ที่ได้สืบทอดไว้นั่นเอง
เรียบเรียงโดยนางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
ความในพระไตรปิฎกระบุว่า กัปปัจจุบันนี้ เรียกว่า ภัทรกัป แปลว่า กัปเจริญ มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดถึง ๕ พระองค์ อุบัติแล้ว ๔ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม คงเหลือพระเมตเตยยะ เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือพระศรีอารยเมตไตรย จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า ตามความเชื่อกระแสหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่สืบมาจากลังกา กล่าวว่าขณะนี้พระศรีอาริย์เกิดเป็นเทพบุตร ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต รอเวลามาบังเกิดเมื่อสิ้นพุทธกาลของพระโคดม เมื่อล่วงเวลา ๕,๐๐๐ ปี ดังความในบทไหว้ลายลักษณ์รอยพระพุทธบาท ซึ่งชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ชาวใต้สวดเป็นประจำทุกค่ำคืนว่า “...พระพุทธเจ้า เสด็จเข้านิฤพาน ยังแต่พระศรีอาริย์ ในชั้นดุสิตา พระพุทธรูปัง ยังครองศาสนา ให้สงฆ์ทั้งหลาย กราบไหว้วันทา ต่างองค์พระศาสดา สรรเพชญมุนี รักษาศาสนา ถ้วนห้าพันปี คำพระชินศรี โปรดให้แก่เรา...” เรื่องเล่าในพระพุทธศาสนากล่าวว่า เมื่อพระศาสนาพระสมณโคดมเจ้าถ้วนถึง ๕,๐๐๐ ปี พระพุทธศาสนาอันตรธานไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายประกอบด้วยอกุศลกรรมหนาแน่น ทำให้มีอายุน้อยถอยลงโดยลำดับ กระทั่งมีอายุ ๑๐ ปี ชายหญิงอายุได้เพียง ๕ ปี ก็แต่งงานกัน กาลนั้นจึงเกิดสัตถันตรกัป สมัยแห่งความพินาศ ด้วยมนุษย์จับอาวุธขึ้นมาประหัตประหารกัน โดยเห็นกันและกันเป็นสัตว์ เรียกว่า มิคคสัญญี เป็นเวลา ๗ วัน จนผืนแผ่นดินเต็มด้วยซากศพ นองด้วยน้ำเลือด น้ำหนอง คนเหล่าหนึ่งหนีไปอยู่ตามลำพังในซอกเขา พุ่มไม้ เถื่อนถ้ำ ที่วิเวก เมื่อครบ ๗ วัน ออกมาพบกัน ชักชวนกันทำการกุศล ด้วยอำนาจการจำศีลภาวนา จึงเกิดฝนตกเป็นเวลา ๗ ราตรี พัดเอาซากศพสิ่งปฏิกูลลอยไป จากนั้นด้วยผลแห่งทาน ศีล ภาวนาของคนทั้งหลาย โลกจึงกลับเจริญขึ้น เกิดห่าฝนมธุรสตกตลอด ๗ วัน เป็นอาหารแก่มนุษย์ ห่าฝนแก้วแหวนเงินทอง ห่าฝนของหอม ห่าฝนชะมด กฤษณา จันทน์จุณ ชำระล้างพื้นแผ่นดิน ให้กลิ่นหอม ห่าฝนข้าวสาร ข้าวเปลือก เลี้ยงชีวิตคน ห่าฝนผ้าผ่อนแพรพรรณ ห่าฝนภาชนะ เครื่องใช้สอย และห่าฝนแก้วมณีทั้งเจ็ด ตกลงทั่วทั้งแผ่นดิน อายุมนุษย์ก็ทวีขึ้นตามลำดับด้วยผลแห่งกุศลกรรม จนอายุยืนถึงอสงไขยหนึ่ง มนุษย์ไม่รู้จักความเจ็บ ความตาย มีความประมาท อายุจึงลดลงเหลือ ๘๐,๐๐๐ ปี ถึงวาระที่พระศรีอารยเมตไตรยจะเสด็จลงมาโปรดคนทั้งหลาย เป็นช่วงเวลาที่โลกมนุษย์เป็นแดนบรมสุข ด้วยความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ พระศรีอาริย์ จึงมาบังเกิดภายหลังพุทธกาลของพระพุทธเจ้าศากยมุนีเนิ่นนาน นับด้วยอสงไขย เป็นเวลานับประมาณไม่ได้ อย่างไรก็ดี ผู้ปรารถนาจะได้พบ เกิดทันศาสนาของพระศรีอาริย์ มีอยู่เป็นอันมาก ตามพื้นบ้าน พื้นเมือง จึงเกิดการแต่งนิทาน ว่าด้วยพระศรีอาริย์ยุคกึ่งพุทธกาล แสดงเรื่องพระศรีอาริย์จุติลงมาในโลกมนุษย์ เพื่อเยี่ยมโลก ในยุคศาสนาใกล้จะถึง ๒,๕๐๐ ปี ปรากฏเป็นคติความเชื่อเฉพาะถิ่นในที่บางแห่ง อาทิ ตำนานพระศรีอาริย์วัดไลย์ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น--------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร --------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ๑. จรัล ทองวิไล. “ไหว้ลายลักษณ์: วรรณกรรมแหล่บูชารอยพระพุทธบาทแบบฉบับภาคใต้.” นิตยสารศิลปากร, ปีที่ ๖๓, ฉบับที่ ๖ (พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๖๓): ๑๕-๒๙. ๒. เทพ สุทรศารทูล. กาพย์พระมาลัย. กรุงเทพฯ : พระนารายณ์, ๒๕๓๖. ๓. นิยะดา เหล่าสุนทร. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวน ที่ ๑. กรุงเทพฯ : ลายคำ, ๒๕๕๕. ๔. พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า๕. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๓. จักกวัตติสูตร ๖. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. ๗. สมุดมาลัยและสุบินกลอนสวด. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๕. ๘. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล และ ดรณ์ แก้วนัย. “พระศรีอาริย์เมืองลพบุรี ฉบับหอสมุดแห่งชาติ.” สยามปกรณ์ปริวรรต เล่ม ๓ งานสำรวจ ศึกษา และปริวรรตวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง. ศูนย์สยามทัศน์ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เผยแพร่, ๒๕๕๗.
ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขอแนะนำหนังสือออกใหม่ เรื่อง ตู้ลายทอง ภาค ๑ (สมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี) ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ ตู้ลายทอง คือ ตู้ไทยโบราณที่ใช้เก็บหนังสือและพระคัมภีร์ต่างๆ ภายนอก ลงรักปิดทองประดับตกแต่งเป็นลวดลายอันวิจิตร ด้วยภูมิปัญญาของช่างศิลปะไทย ซึ่งเป็นหนังสือที่เป็นการกลับมาตีพิมพ์ใหม่ในรอบ ๔๐ ปี หนังสือตู้ลายทอง ภาค ๑ (สมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี) เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ ที่ออกมาใหม่ล่าสุด มีภาพประกอบสี่สีทั้งเล่ม มีเนื้อหาว่าด้วยตู้ลายทองที่เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี ที่อยู่ในความดูแลของสำนักหอสมุดแห่งชาติและสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร มีภาพประกอบ พร้อมทะเบียน ประวัติ รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับตู้ อาทิ รูปลักษณะ ขนาด สภาพ ฝีมือช่าง ประวัติ ตลอดถึงเรื่องราวประกอบลวดลายศิลปะไทย รวมถึงให้คำอธิบายส่วนต่าง ๆ สิ่งที่ใช้พิจารณาแบ่งสมัยของศิลปะลายไทยที่ใช้ตกแต่งตู้ลายทองก็คือความอ่อนช้อยของเส้นกนก ดังนี้ สมัยอยุธยา ทำตัวกนกใหญ่และนิยมทำช่อโต แต่เส้นกนกมีความคม ดูอ่อนช้อยและเคลื่อนไหวมาก เถากนกจะเริ่มตจากส่วนใดของตู้ก็ได้ ตัวกนกแตกเถาระยิบระยับและศิลปินมีอิสระในการออกแบบลาย ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับการวางลาย การเขียนลายจึงเป็นไปตามจิตนาการของช่าง จังหวะกนกจึงไม่ซ้ำกัน แต่จะมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก สมัยธนบุรี เป็นระยะคาบเกี่ยวยังได้รับอิทธิพลจากช่างฝีมือสมัยอยุธยา สันนิษฐานว่าช่างฝีมือที่เขียนลายรดน้ำในสมัยธนบุรี อาจจะเป็นช่างฝีมือในสมัยอยุธยาสืบมา เพราะฝีมือการเขียนลายไทยในสมัยธนบุรีละม้ายคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา เปลงกนกถึงแม้จะแตกเถาน้อยกว่าสมัยอยุธยา แต่มีความอ่อนช้อยอ่อนไหวมากกว่าเปลวกนกในสมัยรัตนโกสินทร์อย่างชัดเจน สมัยรัตนโกสินทร์ นิยมทำเถาของกนกยาวจากขอบล่างของตู้พุ่งเถากนกขึ้นไปจรดหรือเกือบจรดขอบบนของตู้ ตัวกนกอ้วนสั้นหรือป้อม มีความอ่อนไหวน้อยลง ช่องว่างระหว่างตัวกนกมีความถี่มาก ทำให้ดูราวกับว่าเส้นกนกอยู่ในกรอบหรือเป็นแผงกนก ซึ่งถูกบังคับให้อยู่ในกรอบ จึงทำให้ดูค่อนข้างขึงขังและกระด้าง แต่ก็เป็นความงามที่เป็นลักษณะเฉพาะของลายกนกในสมัยรัตนโกสินทร์ หนังสือตู้ลายทองนี้ นอกจากจะมีประโยชน์ในแง่ของการใช้งานและความสวยงามแล้ว ลวดลายที่ปรากฏบนตู้ ยังสามารถบ่งบอกได้ถึงพัฒนาการของงานศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ความเชื่อ หรือวรรณคดีต่างๆ ที่สอดแทรกอยู่บนลายของตู้ไทยโบราณ หนังสือเล่มนี้มีจำนวน ๓๒๐ หน้า ปกแข็ง จัดพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ราคา ๘๗๐ บาท ผู้สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติม facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปถมสมโพธิ์พุทธปูชา-ธาตุวิภชนปริวตฺต)
สพ.บ. 352/29ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า วรรณกรรมพุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ตราดินเผารูปสิงห์ พบจากเมืองโบราณอู่ทอง นายเรวัตร ธรรมจักร มอบให้เมื่อ ๙ มีนาคม ๒๕๐๔ จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตราดินเผารูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๒ เซนติเมตร หนา ๒.๒ เซนติเมตร ผิวหน้ามีรอยประทับเป็นนูนต่ำรูปสิงห์ มองเห็นด้านข้าง โดยสิงห์นั่งหันหน้าไปทางด้านขวา สิงห์มีตากลมโต จมูกกลม อ้าปาก มีแผงคอลักษณะเลียนแบบธรรมชาติ ขาหน้าเหยียดตรง ขาหลังพับงอนั่งลงกับพื้น หลังเอนลาดลง หางยกตั้งขึ้น รูปสิงห์บนตราประทับนี้แสดงลักษณะทางกายวิภาคและท่านั่งที่ค่อนข้างสมจริงตามธรรมชาติ ด้านหน้าของสิงห์มีรูปนูนต่ำ อาจเป็นสัญลักษณ์มงคลอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ลบเลือนมากไม่สามารถระบุได้แน่ชัด ด้านข้างของตราดินเผามีรอยประทับเป็นรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๖ เซนติเมตร ภายในเป็นรอยประทับนูนต่ำรูปสิงห์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสิงห์ที่อยู่ด้านหน้าตราดินเผา สิงห์เป็นสัตว์มงคลที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับศาสนา ตามคติในศาสนาพุทธ สิงห์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระพุทธเจ้า เนื่องจากพระองค์ได้รับการขนานนามว่าเป็นสิงห์แห่งศากยวงศ์ ทั้งยังเป็นสัตว์ที่มีอำนาจและพละกำลัง เป็นตัวแทนของผู้พิทักษ์และความดี พบมากในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี ทั้งในประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นประดับศาสนสถาน ประติมากรรมรูปสัตว์ที่สันนิษฐานว่าเป็นส่วนประดับฝาภาชนะ และตราดินเผา นอกจากนี้ที่เจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง ยังพบประติมากรรมสำริดรูปสิงห์ที่มีรูปแบบลักษณะและท่านั่งที่คล้ายคลึงกับรูปสิงห์บนตราประทับนี้ด้วย ตราดินเผารูปสิงห์ลักษณะคล้ายคลึงกันนี้พบมาแล้วในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๑ หรือประมาณ ๑,๕๐๐ – ๑,๖๐๐ ปีมาแล้ว) และหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ หรือประมาณ ๑,๓๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) จึงสันนิษฐานว่าตราดินเผารูปสิงห์นี้เป็นของที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นโดยคนพื้นเมืองทวารวดี โดยรับอิทธิพลทางด้านรูปแบบและคติความเชื่อมาจากอินเดีย อาจใช้สำหรับเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือเป็นชนชั้นสูง รวมถึงอาจใช้เป็นเครื่องรางเพื่อความเป็นสิริมงคล กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมือง โบราณ, ๒๕๖๒. อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ. “การศึกษาความหมายและรูปแบบตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสต รมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.48/1-7ข
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
นวโลกเตภูมิกถา (พฺรนวโลกไตรภูมิ)
ชบ.บ.93/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.246/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : นิพฺพานสุตฺต(มหามูลนิพพาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม