ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



***บรรณานุกรม***หนังสือหายากจินต์ รักการดี ป.ม.,ธ.บ..  คู่มือนักรปกครอง ว่าด้วย การจัดและการกล่าวในงานพิธีต่าง ๆ.  พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น , ๒๕๐๖.  


ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๑ นี้ได้รวบรวมจากบรรดาจดหมายต่างๆ ที่เขียนขึ้นในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2231 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 ซึ่งส่งจากประเทศสยามและจากฝั่งคอร์มันเดล




เลขทะเบียน : นพ.บ.6/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า  ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 4 (33-46) ผูก 12หัวเรื่อง : อาทิกมฺมวณฺณนา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Pottery)   1. ภาชนะดินเผาทรงพาน (5,000-3,000 ปีมาแล้ว) พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน บ้านทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เมื่อพ.ศ. 2526 ดักลาส แอนเดอร์สัน จากมหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา มอบให้กองโบราณคดีเมื่อพ.ศ. 2529 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2532     1. Pedestaled pottery (5,000-3,000 B.P.) found from archaeological excavation at Lang Rongrien rock shelter archaeological site, Ban Tabprik, Mueang Krabi district, Krabi province in 1983. Douglas D. Anderson from Brown university, USA gave to Office of Archaeology in 1986. Thalang National Museum received on 5 February 1989.   2. ภาชนะดินเผาทรงชามก้นสอบ (6,500–3,000 ปีมาแล้ว) พบจากการสำรวจแหล่งโบราณคดีถ้ำเขาลังตัง หมู่ที่ 1 บ้านนาเหนือ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เมื่อพ.ศ.2526 โดยอมรา ขันติสิทธิ์ นักโบราณคดีจากกองโบราณคดี กรมศิลปากร และคณะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2532     2. Bowl pottery (6,500-3,000 B.P.) found from archaeological survey at Khao Lang Tang cave, Ban Na Nua, Na Nua sub-district, Ao Leuk district, Krabi province in 1983 by Amara Khantisit, archaeologist from Office of Archaeology and others. Thalang National Museum received on 5 February 1989.   3. ภาชนะดินเผาก้นกลม (6,500-3,000 ปีมาแล้ว) เป็นหม้อปากผาย มีลายขูดขีดทั้งใบ พบที่เขาถ้ำเขาปินะ ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง   3. Round bottom pottery (6,500-3,000 B.P.) with incising decoration found at Khao Pina cave, Na Wong sub-district, Huay Yot district, Trang province.         4. ภาชนะดินเผาทรงชามก้นแบน (6,500-3,000 ปีมาแล้ว) ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ พบที่เขาถ้ำเขาปินะ ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง     4. Flat bottom pottery (6,500-3,000 B.P.) with cord marked decoration found at Khao Pina cave, Na Wong sub-district, Huay Yot district, Trang province.   5. ภาชนะดินเผาก้นกลม (4,000-2,500 ปีมาแล้ว) ได้จากการสำรวจที่ถ้ำเกาะต้อ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เมื่อ พ.ศ. 2512 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมอบจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2542   5. Round bottom pottery (4,000-2,5000 B.P.) found from archaeological survey at Koh Toh cave, Ao Nang sub-district, Muang Krabi district, Krabi province in 1969. Thalang National Museum received from Nakhon Si Thammarat National Museum on 22 February 1999.         6. ภาชนะดินเผาทรงชามก้นแบน (6,500-3,000 ปีมาแล้ว) พบจากการสำรวจแหล่งโบราณคดีถ้ำเขาลังตัง หมู่ที่ 1 บ้านนาเหนือ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เมื่อพ.ศ.2526 โดยอมรา ขันติสิทธิ์ นักโบราณคดีจากกองโบราณคดี กรมศิลปากร และคณะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2532   6. Flat bottom pottery (6,500-3,000 B.P.) found from archaeological survey at Khao Lang Tang cave, Ban Na Nua, Na Nua sub-district, Ao Leuk district, Krabi province in 1983 by Amara Khantisit, archaeologist from Office of Archaeology and others. Thalang National Museum received on 5 February 1989.       7. ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา หม้อสามขา (6,500-3,000 ปีมาแล้ว) พบจากการสำรวจทางโบราณคดีที่ถ้ำต้นมะขาม เขาปินะ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ.2519 โดยหน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540     7. Tripod pottery sherd (6,500-3,000 B.P.) found from archaeological survey at Ton Makham cave, Khao Pina, Huay Yot district, Trang province in 1976 by 9th division of Fine Art Department Songkhla. Thalang National Museum received from Songkhla National Museum on 7 February 1997.


เลขทะเบียน : นพ.บ.52/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  64 หน้า ; 4.4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 33 (337-343) ผูก 6หัวเรื่อง :  พลสงฺขยา --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : ชินกาลมาลีปกรณ์ ผู้แต่ง : ท่านรตนปัญญาเถระ ปีที่พิมพ์ : 2501 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศิวพร



1. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาดมแก้พิษขึ้นคัน, ยาแก้ไกลินกะดางคางแข่ง, ยาเกลื่อน, ฝีฝกบวม, ยาแก้ริดสีดวงต่างๆ, ยาเข้าเย็น, สังคะเพด, ยามหาประทาด, ยาไฟประไลกัร, ยาพนาภีจำเภาะ, ยาแบงยะขันที, ยาปลูกไฟทาด, ยาแก้สเลด ฯลฯ 2. เวทย์มนต์คาถา อักษรขอม – ไทย ภาษาบาลี – ไทย เช่น คาถาฃรเพช พระพุทิเจา, เสกตระกุด, เสกบุหรี่, หัวใจพญาราชสีห์, คาถาเสน่ห์ยาแฝด ฯลฯ 3. ยันต์ อักษรขอม –ไทย ภาษาบาลี – ไทย เช่น ยันต์ราหู เป็นต้น


พระอมรโมลี. การปกครองคณะสงฆ์โดยย่อ และประวัติคณะธรรมยุตติกถาโดยย่อ และพุทธคุณบทว่า ภควา และพระพุทธศาสนธรรมบางประการ. พระนคร :               โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2478.               กล่าวถึงการปกครองคณะสงฆ์ในประเทศสยามในสมัยก่อน ตามประกาศในรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อในรัชกาลที่ 5 นั้น การปกครองคณะสงฆ์ในประเทศสยามแบ่งออกเป็น 4 คณะ คือ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุตติกา


ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาทและโคลงสุภาษิต ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2487 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จำนวนหน้า : 86 หน้า สาระสังเขป : พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ เมื่อจะเสด็จไปศึกษาที่ยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2428 สาระสำคัญของพระบรมราโชวาทเน้นให้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในการวางพระองค์ให้เหมาะสมเมื่อไปศึกษาต่างประเทศ เช่น ให้เป็นผู้อ่อนน้อม มิให้ถือพระองค์ว่าเป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินแล้วใช้อำนาจในทางที่ผิด ทรงเน้นเรื่องการประหยัด ให้ตระหนักอยู่เสมอว่าค่าใช้จ่ายที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ไปทรงศึกษานั้นแม้จะเป็นพระราชทรัพย์ในส่วนที่เป็นเงินพระคลังข้างที่ แต่ก็เป็นเงินส่วนแผ่นดินที่ราษฎรทูลเกล้าฯ และให้ตั้งใจศึกษาหาความรู้อย่างเต็มความสามารถ เนื้อหาส่วนต่อมาคือ โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกลอนคำสอนสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย ประกอบด้วย นานาภาษิต สุภาษิตโสฬสไตรยางค์ สุภาษิตนฤทุมนาการ และธรรมภาษิตว่าด้วยความสุข




          วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓) เวลา ๐๙.๒๙ น. ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ชั้น ๒ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร และนายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การคุ้มครอง อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของชาติ ระหว่างกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรมศิลปากร           นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรมีภารกิจในการปกป้องคุ้มครอง มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ สืบทอด ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สร้างสรรค์เผยแพร่งานที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เอกสารโบราณ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ศิลปกรรมแขนงต่างๆ ตลอดจนงานด้านนาฏศิลป์ และดนตรี โดยหนึ่งในภารกิจคือการดำเนินการสำรวจ จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษามรดก ภูมิปัญญาด้านทรัพยากรสารสนเทศในรูปของเอกสารโบราณ กรมศิลปากรจึงร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การคุ้มครอง อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของชาติ ในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยที่ปรากฏในเอกสารโบราณทุกประเภทรวมถึงเอกสารสำคัญอื่นๆ และเอกสารจดหมายเหตุของชาติ สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการสำรวจ รวบรวม ตรวจสอบ บันทึกและจัดเก็บตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทย เช่น คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทย พับสา ในส่วนภูมิภาคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระบบสุขภาพ เชื่อมโยง เผยแพร่ แลกเปลี่ยน และสนับสนุนข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสองหน่วยงานได้ทำการศึกษา วิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บรักษาคัมภีร์ใบลานในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ดูแลรักษา และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากคัมภีร์ใบลาน ทั้งนี้ กรมศิลปากรพร้อมสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ทั้งในกรมศิลปากรส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ           ด้าน นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีพันธกิจพัฒนาวิชาการและการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย การจัดระบบความรู้ พัฒนาแหล่งผลิตและผลิตภัณฑ์สมุนไพร คุ้มครอง อนุรักษ์ และส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านบริการการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของรัฐ           ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้มีการประกาศคุ้มครองตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทย ทั้งสิ้นจำนวน ๒๘ ฉบับ ๔๘๑ ตำรา ๕๓๖ แผ่นจารึก ๓๗,๖๙๗ ตำรับ แล้วนำเข้าสู่ขั้นตอนการ รวบรวม จัดลำดับความสำคัญของตำรายาและนำไปสู่ขั้นตอนของการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์องค์ประกอบของ ตำรับยาที่มีความถูกต้อง ชัดเจน ก่อนนำไปสู่การบันทึกลงในระบบ Thai Traditional Digital Knowledge Library (TTDKL) ซึ่งเป็นระบบคลังความรู้ มีลักษณะเป็นห้องสมุด Digital ที่รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาด้านสมุนไพร การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก และส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้ามารวมไว้ด้วยกัน เพื่อออกรหัสมาตรฐาน อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถใช้เฝ้าระวัง ป้องกัน ป้องปราม การละเมิด และคุ้มครองสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในระบบทรัพย์สินทางปัญญาไทย และสอดคล้องกับระบบสากลต่อไป ในอนาคต


Messenger