ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี เรื่อง ตราอาร์มเมืองสิงห์บุรี


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.48/1-7ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


กมฺมฏฺฐาน (พฺรกมฺมฎฺฐานเผด็จ)  ชบ.บ.92/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ประวัติศาสตร์แห่งการแรกนาขวัญ            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องการแรกนา ไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือนตอนพระราชพิธีเดือนหก ความตอนหนึ่งว่า "...การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณ เช่นในเมืองจีน สี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ไม่มีเวลาเว้นว่าง ด้วยการซึ่งผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทําเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทํานา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตัวตามปรกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือน้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกําลัง จึงได้ต้องแส่หาทางที่จะแก้ไข และทางที่จะอุดหนุน และที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้าจะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจ ก็การที่จะแก้ไขเยียวยาน้ำฝนน้ำท่าซึ่งเป็นของเป็นไปโดยฤดูปรกติเป็นเอง โดยอุบายลงแรงลงทุนอย่างไรไม่ได้ จึงต้องอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคล ตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สุด..." แรกนาขวัญในหัวเมืองภาคใต้           นอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีหัวเมืองซึ่งประกอบพิธีแรกนาด้วยเช่นกัน เมืองเหล่านี้ล้วนเป็นเมืองเก่าแก่ และมีธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องมาแต่โบราณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องการแรกนาในหัวเมืองไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน(พระราชพิธีเดือนหก)ตอนหนึ่งว่า “...หัวเมืองซึ่งมีการแรกนา มีของหลวงพระราชทานเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ คือกรุงเก่าเมือง ๑ เพชรบุรีเมือง ๑ แต่เมืองซึ่งเขาทําแรกนามาแต่เดิม ไม่มีของหลวงพระราชทาน คือเมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา ๒ เมืองนี้เป็นเมืองมีพราหมณ์ๆ เป็นธุระในการพิธี แต่ผู้ว่าราชการเมืองไม่ได้ลงแรกนาเอง มอบให้หลวงนาขุนนาเป็นผู้แรกนาแทนตัว เมืองสุพรรณบุรีอีกเมืองหนึ่งก็ว่ามีแรกนา ไม่ได้เกี่ยวข้องในการหลวงเหมือนกัน แต่ในปีนี้ได้จัดให้มีการแรกนาขึ้นเป็นการหลวงอีกเมืองหนึ่ง...” แรกนาขวัญในจิตรกรรมฝาผนัง           สำหรับงานจิตรกรรมฝาผนัง ภาพของพิธีแรกนาขวัญจะปรากฏอยู่ในส่วนของภาพพุทธประวัติ ตอน “วัปปมงคล” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา ประกอบพิธีแรกนาขวัญ ส่วนเจ้าชาย สิทธัตถะราชกุมารนั้นโปรดให้ลาดพระแท่นบรรทมที่ใต้ต้นหว้าใหญ่ แต่พระราชกุมารกลับนั่งทำสมาธิจนได้ ปฐมฌาน และเกิดเหตุมหัศจรรย์เงาต้นหว้าซึ่งพระราชกุมารประทับอยู่นั้นไม่เคลื่อนที่แม้เวลาจะล่วงเลยไป เพียงใดก็ตาม จนเป็นเหตุให้พระเจ้าสุทโธทนะถวายอภิวันทนา(ไหว้) พระราชกุมาร เป็นครั้งที่ ๒ ดังปรากฏความในพรปฐมสมโพธิกถา กปิลวัตถุคมนปริวัตต์ ปริเฉทที่ ๑๗ ความว่า “...ในสมัยนั้นสมเด็จกรุงสุทโธทนมหาราชพระพุทธบิดา ได้ทรงทัศนาพระปาฏิหารเปนมหัศจรรย์ จึงถวายอภิวันทนาการแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้ทรงพระภาค กาลในวันพระองค์ประสูติ์นั้นนำพระองค์มา เพื่อจะให้วันทนาพระกาลเทวิลดาบส ก็กระทำพระปาฏิหารขึ้นยืนเหยียบพระบาทอยู่ณเบื้องบนชฎาแห่ง พระมหาชฎิล ครั้งนั้นข้าพระองค์ก็ถวายอภิวันทนา พระบาทยุคลเปนปฐมวันทนา แลกาลเมื่อวันกระทำวัปปมงคลแรกนาขวัญก็นำพระองค์ไปบันทมในร่มไม้หว้า ได้ทัศนาฉายาไม้นั้นมิได้ชายไปตามตวัน ข้าพระองค์ก็ถวายบังคมเปนทุติยวันทนาวารคำรบ ๒ แลกาลบัดนี้ได้เห็นประปาฏิหารอันมิได้เคยทัศนากาลมาแต่ก่อน ข้าพระองค์ก็ถวายอัญชลีกรพระบวรบาทเปนตติยวันทนาวารคำรบ ๓ ในครั้งนี้...”แรกนาขวัญในจิตรกรรมฝาผนังภาคใต้          ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พุทธประวัติตอนวัปปมงคล ในพื้นที่ภาคใต้พบไม่มากนัก โดยวัดที่พบการเขียนภาพจิตรกรรมตอนนี้ได้แก่ วัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เขียนภาพโดยหลวงเทพบัณฑิต(สุ่น) กรมการเมืองพัทลุง โดยเขียนภาพขึ้นราวปลายรัชกาลที่ ๓ – ต้นรัชกาลที่ ๔ วัดท้าวโคตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และวัดพัฒนาราม ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ แรกนาขวัญในผ้าพระบฏในภาคใต้          ผ้าพระบฏ พบที่วัดหัวเตย ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นผ้าพระบฏที่เขียนภาพพุทธประวัติ เป็นช่องที่เรียงต่อกันไปนั้น พบว่ามี ๑ ช่อง ซึ่งมีการเขียนภาพเกี่ยวกับพิธีแรกนาขวัญ โดยภาพในช่องดังกล่าวเป็นการเล่าเรื่องพระเจ้าสุทโธทนะถวายอภิวันทนา(ไหว้) เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร กระทำปาฎิหาริย์เสด็จประทับเหนือเศียรอสิตดาบส และครั้งที่ ๒ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารประทับใต้ต้นหว้า ขณะที่พระเจ้าสุทโธทนะประกอบพิธี แรกนาขวัญ ผ้าพระบฏผืนนี้มีข้อความกำกับระบุว่าเขียนขึ้นในพ.ศ.๒๓๔๕ (ช่วงปลายรัชกาลที่ ๑)คนไถนาวิถีชีวิตท้องถิ่นชาวใต้          นอกจากภาพจิตรกรรมเรื่องแรกนาขวัญอันเนื่องมาจากพุทธประวัติแล้ว ยังภาพกฎภาพ “คนไถนา” ซึ่งสะท้อนภาพวิถีชิวิตของชาวใต้ ดังเช่นภาพคนไถนาที่เพดานอุโบสถวัดฉัททันต์สนาน ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และภาพคนไถนาบนเพดานศาลา ภายในวัดชลธาราสิงเห ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งภาพจิตรกรรมทั้งสองภาพนี้สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราวกลางสมัยรัชกาลที่ ๘ ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ ๙--------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา


ชื่อผู้แต่ง         : มหาดไทย,กระทรวง ชื่อเรื่อง           : บันทึกการเดินทางตรวจราชการภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ของ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ครั้งที่พิมพ์       : พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์    : พระนคร สำนักพิมพ์       : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ปีที่พิมพ์          : ๒๕๐๗           จำนวนหน้า      : ๒๑๐ หน้า หมายเหตุ         พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์          ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยหรือจะเรียกว่า ของโลกก็ได้ที่ออกตรวจราชการทั่วประเทศ และได้จัดการบำรุงความสุขแก่ประชาชนและให้ความเจริญในเบื้องต้นแก่ทุกท้องที่ที่ ฯพณฯ และคณะได้ไปตรวจ บันทึกนี้เป็นประโยชน์แก่นักปกครองโดยทั่วไป


ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                   จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีจุลศักราช ๑๒๔๑ ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์             กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์               แสงทองการพิมพ์ ปีที่พิมพ์                  2513 จำนวนหน้า              181 หน้า รายละเอียด              หนังสือเล่มนี้ ขอพระบรมราชานุญาตพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระปฏิเวทย์วิศิษฏ์ (สาบ  เลขยานนท์)เป็นจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับที่ปีเถาะ เอกศก ๒๔๒๒


ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ #ปราสาทตำหนักไทร ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในวัดตำหนักไทร อยู่ห่างจากลำห้วยทา ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของตำบลบักดอง มาทางด้านทิศตะวันออก เพียง 300 เมตร โดยปรากฏร่องรอยการก่อสร้างและใช้ประโยชน์โบราณสถานในฐานะศาสนสถานต่อเนื่อง ถึง 3 ระยะ ด้วยกัน ดังนี้ #ระยะที่1 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 12 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 14 พบร่องรอยของส่วนฐานของปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ 13.70 เมตร ขนาดกว้างตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก 11.70 เมตร พบร่องรอยการก่ออิฐเป็นช่องบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ด้านทิศตะวันออก เเละพบหลักฐานแผ่นหินทรายเป็นอัฒจันทร์วางอยู่ที่ด้านล่าง หลักฐานสำคัญของระยะที่ 1 คือ ฐานทางขึ้นก่อด้วยอิฐ, ฐานรูปเคารพในปราสาทประธาน, บัดยอดปราสาท, และอัฒจันทร์ #ระยะที่2 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 15 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 16 มีการสร้างฐานของปราสาทขึ้นใหม่ โดยใช้ศิลาแลงก่อวางเรียงปิดทับ ล้อมรอบฐานอิฐของปราสาทในระยะที่ 1 ฐานเขียงมีรูปแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดด้านละ 10 เมตร ก่อศิลาแลงสูง 3 ชั้น ถัดขึ้นมาเป็นฐานอีกชั้นหนึ่ง ก่อด้วยหินทราย 3 ชั้น แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม ขนาดด้านละ 10 เมตร มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน และก่อวางเรียงหินทรายเป็นช่องบันได ตัวเรือนธาตุก่ออิฐ อยู่ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม เช่นเดียวกับส่วนฐาน มีขนาดด้านละ 4.2 เมตร มีประตูทางเข้าหลักเฉพาะด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นเป็นประตูหลอก ถัดขึ้นไปเป็นเรือนชั้นซ้อน ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชั้น จากการขุดศึกษาโบราณสถานปราสาทตำหนักไทร ในปี 2554 เราพบบัวยอดปราสาทด้วย หลักฐานสำคัญของระยะที่ 2 คือ ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ และบัวยอดปราสาท #ระยะที่3 พบหลักฐานการใช้ประโยชน์โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของปราสาท โดยมีการนำหินทรายและหินธรรมชาติมาเวียงเป็นแนวทางเดินบนผิวดิน มีความกว้าง 5 เมตร ต่อเนื่องจากด้านหน้าปราสาทไปทางทิศตะวันออก กำหนดอายุ อยู่ในช่วง พุทธศตรวรรษที่ 23 ไฮไลต์สำคัญ ของงปราสาทตำหนักไทร คือ #ภาพสลักคานกรอบประตูเป็นรูปวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือ นารายณ์บรรทมสินธุ์ แวดล้อมด้วยท่อนพวงมาลัยและพรรณพฤกษา กำหนดอายุให้อยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยกับปราสาทประธาน ซึ่งของจริงนำไปเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา แต่ได้มีการจำลองและติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม เพื่อให้ทุกๆคนได้รับชม เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ เอกสารอ้างอิง                   กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2539. สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. รายงานข้อมูลโบราณสถาน ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. นครราชสีมา: สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. อัดสำเนา. 2561.


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.4 เวสสันดรชาดกประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ             130; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    วรรณคดี                          ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 


          สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร และ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ขอเชิญชวนผู้ชอบเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดภาพถ่ายเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2565 (Thai Museum Day 2022) กับกิจกรรม Museum Photo Contest ภายใต้แนวคิด The Power of Thai Museums "พลังพิพิธภัณฑ์ไทยที่มีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคม ผ่านมุมมองทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างความยั่งยืน การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล และการสร้างชุมชนผ่านการศึกษา" ลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท กติกาการประกวด - ต้องเป็นภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานพิพิธภัณฑ์ไทย - สามารถใช้กล้องดิจิทัล กล้องฟิล์ม หรือสมาร์ทโฟน - ศึกษากติกาการประกวดผ่านทาง Scan QR Code บนโปสเตอร์   *โปรดอ่านกติกาการประกวดภาพถ่ายอย่างละเอียด   รางวัลการประกวด หัวข้อ 1. The Power of Achieving Sustainability : พลังพิพิธภัณฑ์ในการบรรลุความยั่งยืน - ชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 5,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 3,000 บาท 1 รางวัล   หัวข้อ 2. The Power of Innovating on Digitalisation and Accessibility : พลังพิพิธภัณฑ์แห่งการสร้างสรรค์ด้านดิจิทัล - ชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 5,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 3,000 บาท 1 รางวัล   หัวข้อ 3. The Power of Community Building Through Education : พลังพิพิธภัณฑ์ของการสร้างชุมชนผ่านการศึกษา - ชนะเลิศ เงินรางวัล 10,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 5,000 บาท 1 รางวัล - รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 3,000 บาท 1 รางวัล   กำหนดการกิจกรรม - เปิดรับผลงานภาพถ่าย วันที่ 1 – 10 กันยายน 2565  - ส่งผลงานผ่านทางอีเมล nationalmuseumthailand@gmail.com - หมดเขตส่งภาพถ่ายในวันที่ 10 กันยายน 2565 เวลา 18.00 น.‼️ - ประกาศและมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลต่างๆ ในงาน Museum Talk ในวันที่ 19 กันยายน 2565   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2164 2511 หรือทางเพจ Facebook : Thai Museum Day 2022


-- องค์ความรู้ เรื่อง พระบรมราชินีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ -- เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ นี้  และในโอกาสมหามงคลนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยาจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของพระราชินีไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพื่อเผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจ และสามารถนำเป็นข้อมูลไปใช้ในการสืบค้นต่อไปได้………………………ผู้รวบรวมข้อมูลและจัดทำ: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)………………………แหล่งข้อมูลอ้างอิง: ๑. สมุดภาพ “สมเด็จพระบรมราชินี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์” คณะอนุกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร  จัดพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๔๗๒. หนังสือสมเด็จพระบรมราชินี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๔๗#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


          พะหมี หรือผะหมี เป็นการเล่นปริศนาคำทาย พระเจนจีนอักษรอธิบายว่าคำนี้เป็นคำมาจากภาษาจีน คำว่า ผะ หมายถึง การตี ทำให้แตก หมี หมายถึง คำอำพราง รวมความแล้วผะหมีก็คือการตีปัญหาให้แตก หรือการเล่นทายปริศนานั่นเอง           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงวังจัดงานฤดูหนาวขึ้น ในปี 2462 ณ พระราชวังอุทยานวังสราญรมย์ มีการจัดออกร้าน ค้าขาย การแสดงต่าง ๆ และหนึ่งในนั้นคือร้านพะหมี โดยมีพระสมัคร์ราชกิจ (หม่อมหลวงสายัณห์ อิศรเสนา) เป็นเจ้าหน้าที่ ลักษณะภายในร้านเป็นห้องโถง ตรงกลางห้องจัดเป็นห้องรับแขกสวยงาม มีฝาห้อง 3 ด้าน สำหรับแขวนกระดานชนวนที่เป็นคำถาม และด้านที่ติดถนนมีผ้าม่านรูดปิดเปิด โดยด้านในตรงกลางทำช่องเหมือนช่องขายตั๋วรถไฟ มีทางเข้าออกของเจ้าหน้าที่ ผู้ใดที่จะเล่นสามารถเดินดูข้อความบนกระดานชนวน เมื่อคิดคำตอบและแน่ใจว่าจะทายก็นำกระดานชนวนแผ่นนั้นยื่นให้กับเจ้าหน้าที่พร้อมกับเสียค่าธรรมเนียม 1 บาท เจ้าหน้าที่จะทวนคำทาย เลขลำดับคำทายและให้ผู้เล่นตอบ เมื่อถึงเวลาเปิดซองคำเฉลยระหว่างนั้นจะมีเสียงตีกลองรัว ถ้าตอบถูกหลังเสียงรัวกลองจะมีเสียงดัง ตุ้ง พร้อมแสงไฟสว่างและของรางวัลยื่นออกมา แต่ถ้าทายผิดหลังเสียงรัวกลองจะมีเสียงดัง แก๊ก ของไม้กลองที่ตีโดนข้างกลอง และไฟจะมืดลง สำหรับคำทายนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงให้พระบรมวงศานุวงศ์หลายท่านช่วยตั้งปัญหามาสำรองไว้มากมาย มีทั้งคำโคลง และร้อยแก้ว ยกตัวอย่างเช่น คำทาย : เป็นชื่อ 2 พยางค์ พยางค์ที่ 1 หมายถึง สิ่งที่คนบูชากราบไหว้ พยางค์ที่ 2 หมายถึง รุ่งเรืองพรายแสง คำตอบ : พระร่วง เป็นต้น ในส่วนของรางวัลนั้นเป็นประเภทของชำร่วยมีราคา นอกจากนี้พระองค์ทรงตั้งคำทายพิเศษไว้ว่า “ใครเก่งที่สุดในโลก” มีของรางวัลเป็นนาฬิกาข้อมือเรือนทองคำ ซึ่งคำถามนี้ได้รับความสนใจมากมายและได้ค่าธรรมเนียมสูงสุด จนกระทั่งก่อนงานจบ นายสนิทหุ้มแพร (บุญมา หิรัณยะมาน) ได้ตอบคำทายนี้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกโกรธที่โดนถามซ้ำจากเจ้าหน้าที่ จึงตอบว่า “บอกว่าไม่รู้ ไม่รู้ ยังถามอยู่ได้” และนั่นก็คือคำตอบที่ถูกต้อง          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเกี่ยวกับคำทายนี้ว่า “การที่ฉันตั้งกระทู้พะหมี ถามว่า “ใครเก่งที่สุดในโลก” ครั้งนี้ก็เพราะจะลองดีพวกถืออวดดี อวดว่า อะไรๆ ฉันก็รู้ทั้งนั้น บางท่านก็ตอบว่าพระพุทธเจ้าก็มี ฉันและใครๆ ก็คงไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า พระพุทธเจ้าจะเคยสู้รบกับพระเยซูหรือพระมะหะหมัดมาบ้างแล้วหรือไม่ ฉะนั้นจะมีทางรู้ได้อย่างไร? ...บรรดาคนที่ถูกยกย่องว่าเป็นผู้รู้ หรือนักปราชญ์ นั้นดูจะพูดคำว่า ไม่รู้ ไม่ได้เอาเสียเลย... นับเป็นเรื่องที่ฉันมีความรำคาญใจมานานแล้ว” ภาพ : การเล่นพะหมี   ภาพ : การอธิบายกติกาการเล่นพะหมี --------------------------------------------------------- รายการอ้างอิง พระราชนิพนธ์ ปริศนาคำโคลงและความเรียง.  พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2481. สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.  กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์,  2524.   วัฒนะ บุญจับ.  “พะหมี : ปริศนาแบบสหวิทยาบูรณาการ,” วชิราวุธานุสรณ์สาร 30, 2 (6 เมษายน 2554): 29-42. --------------------------------------------------------- เรียบเรียงโดย : นางสาวพีรญา ทองโสภณ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ-------------------------------------------------------- *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร


       ภาชนะดินเผามีพวยจากแหล่งโบราณคดีคอกช้างดิน เมืองโบราณอู่ทอง        ภาชนะดินเผามีพวยพบจากการขุดศึกษาทางโบราณคดีบริเวณพื้นที่อยู่อาศัย แหล่งโบราณคดีคอกช้างดิน เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องโบราณคดีเมืองอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง        ภาชนะดินเผามีพวย ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เนื้อดินละเอียดสีส้ม อยู่ในสภาพชำรุด ขอบปากแตกหักหายไป เหลือเพียงส่วนคอทรงกระบอกสูงคอดเว้าตรงกลาง ส่วนบนและล่างผายออก มีพวยสั้น ทรงโค้งติดอยู่ ส่วนลำตัวและก้นภาชนะแตกหักหายไป เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบของภาชนะดินเผาแบบมีพวย ซึ่งมีสภาพสมบูรณ์ในยุคสมัยเดียวกัน จึงสันนิษฐานได้ว่า หากภาชนะใบนี้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ น่าจะมีลำตัวเป็นทรงกลม มีฐานทรงกลมเตี้ยรองรับ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว        ภาชนะดินเผามีพวย หรือที่นิยมเรียกว่า “กุณฑี” เป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำหรือของเหลว โดยใส่ของเหลวเข้าไปทางปากภาชนะ และเทของเหลวออกทางพวย พบทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าภาชนะดินเผามีพวยขนาดใหญ่ทำขึ้นสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนขนาดเล็กใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรม นักวิชาการสันนิษฐานว่า ภาชนะดินเผามีพวยที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี น่าจะมีต้นแบบมาจากภาชนะดินเผามีพวยของอินเดีย โดยอินเดียอาจได้รับรูปแบบมาจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียอีกทอดหนึ่ง โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นของตนเอง         ภาชนะดินเผามีพวย นอกจากจะพบที่เมืองโบราณอู่ทองแล้ว ยังพบได้ทั่วไปตามแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี ทั้งบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแหล่งโบราณคดีบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย รวมทั้งแหล่งโบราณคดีบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอายุสมัยใกล้เคียงกันด้วย ภาชนะดินเผามีพวยใบนี้แม้จะอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นหลักฐานที่แสดงถึงสิ่งของเครื่องใช้ของผู้คนในพื้นที่บริเวณนี้ และยังแสดงถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนของผู้คนท้องถิ่นบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง กับผู้คนจากภายนอก ในช่วงเวลาดังกล่าว   เอกสารอ้างอิง เกญพริษฐ์ พัฒฑิธนโชติภาคิน. “รูปแบบและบทบาทหน้าที่ของกุณฑีในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙”.  วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔. ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ  ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี  วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ  เมือง โบราณ, ๒๕๖๒.  สายันต์ ไพรชาญจิตร์ และสุภมาศ ดวงสกุล. โบราณสถานคอกช้างดินเมืองเก่าอู่ทอง รายงานการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี พุทธศักราช ๒๕๔๐. สุพรรณบุรี  ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๒ สุพรรณบุรี, ๒๕๔๐. อ้างถึงใน กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ  ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           43/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               46 หน้า : กว้าง 5.1 ซม. ยาว 57.3 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง           คณะกรรมการวัดฉลอง ชื่อเรื่อง           วัดไชยาราราม (วัดฉลอง) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      ภูเก็ต สำนักพิมพ์        ภูเก็ตการพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๓๒ จำนวนหน้า      ๖๔ หน้า รายละเอียด      ประวัติความเป็นมาของวัดไชยธาราราม หรือวัดฉลอง ได้มีการเผยแพร่สู่ประชาชนหลายครั้งแต่ก็ยังไม่เพียงพอ ในโอกาสนี้ได้มีผู้ศรัทธา บริจาคทุนทรัพย์ในการจัดพิมพ์ขึ้น เพื่อเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาของผู้ที่สนใจ รายได้จากการจำหน่ายเพื่อให้เป็นปัจจัยในการบูรณปฎิสังขรของวัด ในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย ประวัติความเป็นมาของวัดฉลอง ประวัติพ่อท่านนอกวัด  ประวัติหลวงพ่อแช่ม ประวัติหลวงพ่อช่วง  พระศรีปริยัติสุธี เป็นต้นชื่อผู้แต่ง   คณะกรรมการวัดฉลอง  


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 144/1กเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger