ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ


เลขทะเบียน : นพ.บ.52/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 4.4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 33 (337-343) ผูก 5หัวเรื่อง :  พลสงฺขยา --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : ชนเผ่าเล่าขาน (สืบสาน-ตำนาน นิทาน สายธารชีวิต คติชน) ผู้แต่ง : ธนจรรย์ สุระมณี (ส.กวีวัฒน์) ปีที่พิมพ์ : 2552 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : บุณยศิริงานพิมพ์




ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น แก้อ้าปากมิออก, แก้หอบ, แก้สะท้าน, แก้สะอึก, ยาตกมูกตกเลือด, ยาแก้นอนไม่หลับ, แก้ขัดหนักขัดเบา, แก้ไข้เนื้อ, ยาลอมลูกในท้อง ฯลฯ


นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.           สาส์นสมเด็จลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ        ภาคที่ 42.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2506.        หนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาคที่ 42 นี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพเมื่อทรงว่างจากภาระทางราชการการเมือง และทรงพักผ่อนอย่างเงียบ ๆ พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งสองพระองค์นี้ เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปในหมู่นักศึกษา โบราณคดี ศิลปและวรรณคดี และการปกครอง สาส์นสมเด็จนี้มีอยู่มากมายด้วยกัน ภาคนี้เป็นภาคที่ 42.


ชื่อเรื่อง : พรรณพฤกษาและสัตวาภิธาน และธารชีวิต ชื่อผู้แต่ง : ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร), พระยา และทวี วรคุณ ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรุงเทพการพิมพ์ จำนวนหน้า : 122 หน้า สาระสังเขป : หนังสือพรรณพฤกษาและสัตวาภิธานนี้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2424 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จุดประสงค์เพื่อให้กุลบุตร กุลธิดา ในสมัยนั้นได้ศึกษาหาความรู้ประดับสติปัญญา และใช้เป็นแบบเรียนสำหรับฝึกฝนการอ่าน เนื้อเรื่องพรรณนาถึงชื่อต้นไม้และชื่อสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมชื่อต้นไม้และชื่อสัตว์เท่าที่ปรากฏในเมืองไทยไว้เป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นหนังสือสำคัญที่มีคุณค่าทั้งในทางอักษรศาสตร์ พฤกษศาสตร์ และสัตวศาสตร์ เนื้อหาส่วนต่อมาคือเรื่อง ธารชีวิต โดยทวี วรคุณ เป็นเรื่องราวของคน 8 คน ที่มีความแตกต่างกันทั้งอุปนิสัย สังคม และการใช้ชีวิต ผู้เขียนมุ่งเน้นให้เห็นถึงสัจธรรมของชีวิต และกฏแห่งกรรม


การรบที่เกาะช้าง 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส พ.ศ.2483-84 (จากนาวิกศาสตร์). ธนบุรี : โรงพิมพ์กรมอุทกศาสตร์, 2484.          การรบที่เกาะช้าง เป็นเหตุการณ์รบทางเรือที่เกิดขึ้นในกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส  การรบครั้งนี้เกิดขึ้นที่บริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484  





ผู้แต่ง : แสง  มนวิทูร, แปล ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : -                หนังสือคัมภีร์ลลิตวิสตระ นี้ เป็นหนังสือทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ แต่งรูปเรื่องทำนองหนังสือปฐมสมโพธิ์ของไทยซึ่งจะเริ่มเรื่องด้วยการอภิเษกระหว่างพระเจ้าสุทโธทนกับพระนางสิริมหามายา แต่ลลิตวิสตรจะเริ่มเรื่องด้วยนิทานแสดงเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาลลิตวิสตร สุตตันตปริยาย ต่อจากนั้นจะกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ดำเนินความเหมือนกันตลอด แต่จะแตกต่างกันในส่วนของสำนวนพรรณนา กล่าวคือลลิตวิสตรนั้นพรรณนาเรื่องไปในทางปาฏิหาริย์และอลังการต่าง ๆ และนำเอาหมวดธรรมและสุภาษิตมาแทรกระหว่างเรื่อง  


เรื่องเล่าจากหอสมุดแห่งชาติ: บันทึกเรื่องลายรดน้ำ “KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM” ของ คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง (Professor Dr. Karl Siegfried Doehring)          KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM เป็นงานเขียนของ คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง (Professor Dr. Karl Siegfried Doehring) สถาปนิก นักประวัติศาสตร์ศิลปะ และนักโบราณคดีชาวเยอรมัน ซึ่งเข้ามารับราชการในสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยทำงานในตำแหน่งวิศวกรผู้ช่วยประจำกรมรถไฟ กระทรวงโยธาธิการ ภายหลังในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งสถาปนิกและวิศวกร กรมสุขาภิบาล กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ตรวจการสุขาภิบาลหัวเมือง รับผิดชอบงานออกแบบและแก้ไขน้ำโสโครก ทำถนน สร้างสะพาน และอื่นๆ           จนกระทั่งเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ จะจัดสร้างพระราชวังขึ้นที่เมืองเพชรบุรี โดยพระราชทานนามว่า “พระราชวังบ้านปืน” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง เป็นสถาปนิกเขียนแบบพระราชวังและโปรดเกล้าฯ ให้เป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างด้วยในคราวเดียวกัน ปัจจุบันคือ “พระรามราชนิเวศน์” โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามขึ้นใหม่ นอกจากนั้นได้ออกแบบและก่อสร้างตำหนักสมเด็จ ภายในวังบางขุนพรหม โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงมีพระดำริจัดสร้างตำหนักสมเด็จ เพื่อใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา และผลงานสุดท้ายก่อนที่ คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง จะเดินทางกลับประเทศเยอรมนี คือ ผลงานการออกแบบวังวรดิศ วังที่ประทับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และนอกเหนือจากงานออกแบบและวิศวกรแล้ว คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง ยังเป็นชาวต่างชาติที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมไทยเป็นอย่างดี โดยปรากฎเป็นงานเขียนหลากหลายเล่ม และหนึ่งในงานเขียนชิ้นสำคัญคือ KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM ภาพ : คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง (Professor Dr. Karl Siegfried Doehring) KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM           KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM จัดพิมพ์ขึ้นเป็นภาษาเยอรมัน โดยพิมพ์ขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อ ค.ศ. ๑๙๒๕ หรือ พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับความพิเศษของหนังสือเล่มนี้คือ เป็นหนังสือที่มีขนาดใหญ่ มีขนาด ๔๙x๖๒ ซ.ม. จำนวน ๒ เล่มจบ หน้าปกหุ้มด้วยผ้าลินินสีทอง พิมพ์ตัวอักษรคำว่า SIAM และรูปภาพจากเรื่องรามเกียรติ์อยู่ตรงกลางของหน้าปก โดยใช้ระบบการพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรสซึ่งเป็นระบบการพิมพ์แบบโบราณ คืองานพิมพ์จะมีผิว ไม่เรียบ เนื่องด้วยการพิมพ์จะมีแรงกดทำให้ได้ผิวต่างระดับเหมือนการปั๊มจม หมึกจะหนาตามบริเวณขอบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเลตเตอร์เพรส และที่สำคัญหนังสือเล่มนี้สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน พระนคร ได้มอบให้เป็นสมบัติของหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร            สำหรับเนื้อหาภายในเล่มของ KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM เล่มที่ ๑ นั้น คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง ได้เขียนเล่าเรื่องราว “ลายรดน้ำ” ซึ่งเป็นหนึ่งในศิลปะชิ้นเอกของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ที่ประดับตกแต่งอยู่บนบานประตู หน้าต่าง โบสถ์ วิหาร และตู้พระธรรมของวัดสำคัญๆ ในพระนคร ทั้งนี้ชื่อวัดต่างๆ ที่คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง บันทึกไว้นั้น เป็นชื่อวัดที่ปรากฏเรียกขาน ณ ช่วงเวลานั้น ผู้เขียนจึงได้แนบชื่อวัดต่างๆ ที่เรียกขานในปัจจุบันไว้ด้วย เพื่อสะดวกในการค้นคว้าข้อมูลต่อไป ซึ่งประกอบด้วย วัดสุทัศนเทพวราราม (วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร) วัดเบญจมบพิตร (วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร) วัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) วัดจักรวรรดิ (วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร) วัดพลับพลาชัย วัดน้อยทองอยู่ (ปัจจุบันเป็นวัดร้างซึ่งได้รับความเสียหายจากสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยตั้งอยู่ติดกับรั้วโรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี) วัดยานนาวา วัดอรุณ (วัดอรุณราช วรารามราชวรมหาวิหาร) วัดมงกุฎกษัตริย์ (วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร) วัดราชาธิวาส (วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร) วัดสำเพ็ง (วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร) วัดทอง และวัดตึก (วัดชัยชนะสงคราม) รวมทั้งลายรดน้ำบนตู้พระธรรมโบราณในหอพระสมุดวชิรญาณ ตลอดจนปรากฎบนสมบัติส่วนบุคคลซึ่งเป็นผลงานศิลปะลายไทยลงรักปิดทองของหลวงนิมิตเวสสุกรรม พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ และนายอยู่ นอกจากนี้ยังนับรวมถึงวัตถุของสยามที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Berlin, Dresden และMunich ด้วย ภาพหน้าปก หน้าปกใน และรายละเอียดแบบลายรดน้ำบางส่วน ซึ่งพิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน ใน KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM เล่ม ๑           สำหรับเนื้อหาภายในเล่มของ KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM เล่มที่ ๒ นั้น คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง ได้ประมวลภาพสำเนาที่คัดลอกแบบลายไทยลงรักปิดทองกว่า ๕๐๐ แบบ พร้อมคำอธิบายและเทคนิคการเขียนภาพศิลปะลายรดน้ำแบบไทย ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ให้ชาวต่างประเทศรู้จักและเห็นคุณค่า ปัจจุบันภาพวาดลายรดน้ำที่นำมาตีพิมพ์จำนวนหนึ่ง ได้สูญหายและถูกทำลายไปจากการรื้อถอนเพื่อสร้างบูรณะวัด ขึ้นใหม่ รวมทั้งจากการตกแต่งวาดซ่อมแซมซึ่งทำให้รูปลักษณ์ผิดไปจากเดิม //ผู้อ่านท่านใดที่สนใจงานเขียน เรื่อง KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM รวมทั้งผลงานเรื่องอื่นๆ ของ คาร์ล ซิกฟริด ดอห์ริ่ง สามารถหาอ่านได้ที่ห้องหนังสือประเทศไทย อาคาร ๑ ชั้น ๓ และ ห้องบริการหนังสือหายาก อาคาร ๒ ชั้น ๓ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ภาพหน้าปก สารบัญและสำเนาแบบลายรดน้ำบางส่วน ซึ่งพิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน ใน KUNST UND KUNSTGEWERBE IN SIAM เล่ม ๒ ……………………………………………………………..………….. นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ……………………………………………………………………….... บรรณานุกรมกรมศิลปากร. ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: กรม, ๒๕๓๙. สถาปนิกฝรั่งเมื่อ 100 ปีก่อนชี้ คนไทยคิดว่า “ตัวเองสำคัญสุดในโลก” และต้อง “สนุก” ไว้ก่อน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓, จาก: https://www.silpa-mag.com/ history/article_23288. ๒๐๒๐. Art and art-industry in Siam. Bangkok: Asia Publishing House, 1999. 2 V; Illus. Exploring Thai art: Karl Siegfried Dohring. [Online]. retrieved 23 August 2020, from: https://blogs.bl.uk/asian-and-african/2015/11/exploring-thai-art-karl-siegfried- d%C3%B6hring.html


          เหรียญอาหรับ พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง             ปัจจุบันมีหลักฐานการพบเหรียญอาหรับจากเมืองโบราณอู่ทอง จำนวนไม่น้อยกว่า ๙ เหรียญ สำหรับเหรียญอาหรับ จำนวน ๒ เหรียญ ซึ่งจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เป็นเหรียญทองแดง ขนาดเล็ก ผ่านศูนย์กลาง ๑.๙ เซนติเมตร ทั้ง ๒ ด้านมีจารึกตัวอักษรอาหรับ ภาษาอาหรับตรงกลางเหรียญและริมขอบเหรียญ จารึกบางส่วนค่อนข้างลบเลือนทำให้เกิดข้อจำกัดของการอ่านและแปลความ จากการอ่านและแปลความของนักวิชาการทำให้ทราบว่า เนื้อหาบนเหรียญทั้ง ๒ ด้าน มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในศาสนาอิสลาม ดังนี้            ด้านที่ ๑ จารึกข้อความว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ ไม่มีภาคีใดเสมอพระองค์             ด้านที่ ๒ จารึกข้อความว่า มุฮัมมัดศาสนทูตของอัลลอฮ์ อัดล์(ยุติธรรม?)          เหรียญของชาวอาหรับ ผลิตขึ้นหลังการปฏิรูปเหรียญตรา โดยเปลี่ยนจากต้นแบบเหรียญโรมัน-เปอร์เซียที่มีรูปบุคคล เป็นเหรียญแบบที่มีแต่ตัวอักษรอาหรับ ระบุข้อความที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในศาสนาอิสลาม เช่น ข้อความจากคัมภีร์อัล-กุรอ่าน  คำปฏิญาณ รวมถึงปีและสถานที่ผลิตเหรียญ เมื่อปี พ.ศ. ๑๒๓๙ ในสมัยคอลีฟะฮ์อับดุลมาลิค บิน มัรวาน (Caliph Abd al-Malik ibn Marwan) คอลีฟะฮ์หรือกาหลิบแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (Umayyad Dynasty, พ.ศ. ๑๒๐๔ – ๑๒๙๓) ซึ่งเป็นราชวงศ์ของชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลาม เหรียญอาหรับที่ผลิตขึ้นในสมัยดังกล่าว ใช้วัสดุแตกต่างกัน ๓ ชนิด ได้แก่ เหรียญทอง ดีนาร์ (Dinar) เหรียญเงิน ดิรฮัม (Dirham) และเหรียญทองแดง ฟิลส์ (Fils)  เหรียญอาหรับที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยสันนิษฐานว่าผลิตขึ้นในสมัยคอลีฟะฮ์อัล-มันซูร (Caliph al-Mansur) แห่งราชวงศ์อับบาสิยะห์ (Abbasid Dynasty, พ.ศ. ๑๒๙๓ – ๑๘๐๑) ทรงครองตำแหน่งในระหว่าง พ.ศ. ๑๒๙๗ – ๑๓๑๘ เป็นผู้ทรงริเริ่มก่อสร้างนครแบกแดด (ปัจจุบันกรุงแบกแดดเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐอิรัก) ซึ่งในเวลานั้นเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าสำคัญที่มีการติดต่อค้าขายทางทะเลกับประเทศจีน และดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้           การค้นพบเหรียญอาหรับจากเมืองโบราณอู่ทอง ถือเป็นหลักฐานหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ มีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนจากดินแดนตะวันออกกลาง มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากเหรียญที่พบมีจำนวนไม่มากนัก จึงสันนิษฐานว่า เหรียญดังกล่าว อาจไม่ได้ใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนหรือค้าขาย แต่อาจเป็นของที่ระลึก หรือของที่นำติดตัวมากับพ่อค้าชาวตะวันออกกลาง ซึ่งเดินทางเข้ามาในพื้นที่บริเวณเมืองโบราณอู่ทองในช่วงเวลาดังกล่าว อ้างอิง โครงการศิลป์เสวนา ฝ่ายวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑). สุนิติ  จุฑามาศ. โบราณคดีอิสลาม การค้าทางทะเลสู่อิสลามานุวัตรในยุคโบราณทวารวดี-ศรีวิชัย สู่รัฐสุลต่านมลายูปาตานี. ศิลป์เสวนาเรื่อง “โบราณคดีอิสลาม จากรัฐทวารวดี ศรีวิชัย ถึงอยุธยา”. [Video file]. สืบค้นจาก https: //www.youtube. com/watch?v=8INszwEqcuA วิภาดา อ่อนวิมล. “เหรียญตราในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๖”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๑. สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. ทวารวดี : ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๘.


Messenger