ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน เงินนอกงบประมาณ (กองทุนโบราณคดี) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖


โครงสร้างบุคลากรโรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


         วันนี้ในอดีต : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดงาน “พระนครคีรี-เพชรบุรี”          วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เวลา 14.05 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 หรือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระอิสริยยศเดิมก่อนที่พระองค์ทรงดำรงพระยศในปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาทรงเปิดงาน “พระนครคีรี-เพชรบุรี” ณ บริเวณเขาวัง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี          ย้อนรอยเรื่องราว : งานพระนครคีรี - เมืองเพชร          งาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2529 โดยมี นายเชาว์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ในขณะนั้นได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนชาวเพชรบุรี ริเริ่มให้มีการจัดงาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ขึ้นเป็นครั้งแรก           แรกเริ่มเดิมทีงาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ใช้ชื่องานว่า "งานพระนครคีรี เทิดทูนราชจักรีวงศ์"  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระนครคีรี” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง“พระรามราชนิเวศน์” (วังบ้านปืน) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” เพื่อเป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน ซึ่งปัจจุบันพระราชวังทั้ง 3 แห่งนี้ นับเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์ เป็นมรดกแห่งความภาคภูมิใจของประชาชนชาวจังหวัดเพชรบุรี และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญยิ่งของจังหวัดเพชรบุรี          โดยงาน “พระนครคีรี เมืองเพชร” หรือที่ชาวเพชรบุรีเรียกว่า “งานหน้าเขา” ได้กลายเป็นงานประเพณีของชาวเมืองเพชรบุรีที่จัดสมโภชพระนครคีรีในช่วงวันศุกร์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี รวม 10 วัน 10 คืน มาอย่างต่อเนื่องทุกปี ยกเว้นการจัดงานครั้งที่ 10 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2539 ได้งดเว้นไป 1 ปี          ทั้งนี้ในปี 2551 สมัยนายสยุมพร ลิ่มไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี การจัดงานพระนครคีรีได้เลื่อนกำหนดมาจัดในช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากเดือนกุมภาพันธุ์ยังเป็นช่วงที่คนไทยยังอยู่ในอาการเศร้าโศกจากการที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์สิ้นพระชนม์ ต่อมาในปี 2552 นายชาย พานิชพรพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีคนต่อมา ได้สานต่อการจัดงาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ครั้งที่ 23 โดยจัดในช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากต้องการให้เป็นเทศกาลต่อเนื่องกับสงกรานต์           งาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดเพชรบุรี โดยมีการจัดแสดงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น นิทรรศการประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองเพชรบุรี การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมสกุลช่างเมืองเพชร การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านวัวเทียมเกวียน สาธิตการปรุงอาหารคาว หวาน นอกจากนี้ยังมีการแสดงแสง เสียง ที่บริเวณพระนครคีรี มีการประดับประดาคบไฟ โคมไฟ และดวงไฟตามจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของงานที่มีมาตั้งแต่ครั้งแรกอย่างหนึ่ง          โดยงาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” เป็นที่ได้รับความสนใจของชาวเพชรบุรีและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้ยังคงมีการจัดงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รูปแบบและกิจกรรมมีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอตามกาลเวลา แต่ยังคงความดั้งเดิมเอาไว้ และในปีพุทธศักราช 2567 งาน “พระนครคีรี - เมืองเพชร” ซึ่งเป็นครั้งที่ 37 จะจัดขึ้นในวันที่ 14 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2567 (กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง) ขอเชิญชมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานประเพณีที่สำคัญของชาวเมืองเพชรบุรี ในงาน “พระนครคีรี – เมืองเพชร” ไปด้วยกัน      เอกสารและหลักฐานการค้นคว้า       1. ธีวรา วิโนทกะ, “พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี”,ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,  ( บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565)       2. ย้อนอดีตแรกเริ่ม งานพระนครคีรี –เมืองเพชร. เพชรภูมิ       3. petchnews magazine. “150 ปี พระนครคีรี เมืองเพชร”. ภาพ       โอภาส ชาญมงคล ช่างภาพอาวุโส จังหวัดเพชรบุรี


ปริวารปาลิ (ปริวารปาลิ)อย.บ.                                     298/4หมวดหมู่                               พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย              คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                         52 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.4 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                     วีสติวัสสสตกาล สมเด็จฯ ป๋า : สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย        หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่                   ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆเลขหมู่                      294.30922 ว859สถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 สหธรรมิก จำกัดปีที่พิมพ์                    2559ลักษณะวัสดุ               90 หน้า หัวเรื่อง                     สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 – ประวัติภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก       จัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึก 120 ปีชาตกาล


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ราโชวาทชาดก วรรณคดีคำสอนพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา” วิทยากร นายปารเมศ อภัยฤทธิรงค์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และนายพิรชัช สถิตยุทธการ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร           รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗







กรมวิชาการ.  หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจังหวัดหนองคาย.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว, 2528. 


ปราสาทเมืองไผ่           ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองไผ่ ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยตั้งอยู่ภายในเมืองไผ่ ซึ่งเป็นเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดีที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ หลักฐานที่พบแสดงถึงร่องรอยของวัฒนธรรมเขมรโบราณที่ได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในเมืองโบราณแห่งนี้ที่มีวัฒนธรรมทวารวดีเจริญอยู่ก่อน การขุดแต่งทางโบราณคดีในช่วงพ.ศ. ๒๕๖๓ -พ.ศ. ๒๕๖๔ พบว่าเป็นปราสาทแบบเขมรโบราณที่สร้างด้วยอิฐและหินทราย ตั้งบนฐานสูงที่มีบันไดอยู่ทั้ง ๔ ด้าน และสันนิษฐานว่าอาจจะล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว การกำหนดอายุอิฐบริเวณฐานรากของปราสาทด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ได้อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗ (ประมาณ ๙๐๐ - ๑,๑๐๐  ปีมาแล้ว)            กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานปราสาทเมืองไผ่ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๒ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๒ มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ  ๓ ไร่ ๒ งาน ๗๔ ตารางวา และ ๔ ไร่ ๓ งาน ๕๖ ตารางวา     Prasat Mueang Phai           Prasat Mueang Phai is in Ban Mueang Phai, Mueang Phai Subdistrict, Aranyaprathet District, Sa Kaeo Province. Archaeological projects from 2020 to 2021 uncovered a tower made of brick and sandstone. It is a high rectangular-shaped base with steps on each side and probably has an enclosed wall. The scientific dating of bricks from the basement is 900 - 1,100 years ago or the late 9th- middle 12th century. This Khmer temple is located within the Dvaravati ancient town of Mueang Phai, symbolizing the power of the ancient Khmer Kingdom over the original community. These correspond to scientific dating that indicates when the ancient Khmer Kingdom began to conquer eastern Thailand, formerly ruled by the Dvaravati culture.           The Fine Arts Department announced the registration of Prasat Mueang Phai as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 106, Part 112, dated 16 st July 1989. The total area is around 5,896 and 7,824 square meters.     


ผู้แต่ง : พระครูโสภณกวีวัฒน์ (ธนจรรย์ สุระมณี) ปีที่พิมพ์ : 2550 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง      ตำนานเมืองเชียงใหม่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรล้านนาและความสัมพันธ์กับอาณาจักรเพื่อนบ้าน เช่น สยาม จีนตอนใต้ พม่า มอญ ล้านช้าง และญวน ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องราวของเมืองเชียงใหม่เท่านั้นกล่าวได้ว่าเป็นตำนานอเนกประสงค์ มีทั้งตำนาน นิทาน พงศวดาร จดหมายเหตุ ประวัติศาสตร์และศาสนาประวัติในเล่มเดียวกัน เริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานชุมชน นครรัฐ แคว้นน้อยแคว้นใหญ่ แล้วพัฒนาไปสู่ความเป็นราชอาณาจักรอันไฟศาลเกรียงไกร ภายใต้บุญญาธิการรังสรรค์ การปกครอง การบริหารกษัตริย์ราชวงศ์มังรายที่ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ โดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางแห่งการบริหารปกครอง จนเป็นที่ยอมรับของอาณาจักรข้างเคียง คือ สยาม จีนตอนใต้ พม่า มอญ ล้านช้าง และญวน ก่อนจะเสื่อมสลายเพราะถูกพม่ายึดครอง แล้วรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับอาณาจักรสยามหรือประเทศไทยในปัจจุบัน





Messenger