ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ผู้แต่ง : พระครูโสภณกวีวัฒน์ (ธนจรรย์ สุระมณี) ปีที่พิมพ์ : 2550 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง ตำนานเมืองเชียงใหม่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรล้านนาและความสัมพันธ์กับอาณาจักรเพื่อนบ้าน เช่น สยาม จีนตอนใต้ พม่า มอญ ล้านช้าง และญวน ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องราวของเมืองเชียงใหม่เท่านั้นกล่าวได้ว่าเป็นตำนานอเนกประสงค์ มีทั้งตำนาน นิทาน พงศวดาร จดหมายเหตุ ประวัติศาสตร์และศาสนาประวัติในเล่มเดียวกัน เริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานชุมชน นครรัฐ แคว้นน้อยแคว้นใหญ่ แล้วพัฒนาไปสู่ความเป็นราชอาณาจักรอันไฟศาลเกรียงไกร ภายใต้บุญญาธิการรังสรรค์ การปกครอง การบริหารกษัตริย์ราชวงศ์มังรายที่ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ โดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางแห่งการบริหารปกครอง จนเป็นที่ยอมรับของอาณาจักรข้างเคียง คือ สยาม จีนตอนใต้ พม่า มอญ ล้านช้าง และญวน ก่อนจะเสื่อมสลายเพราะถูกพม่ายึดครอง แล้วรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับอาณาจักรสยามหรือประเทศไทยในปัจจุบัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดกิจกรรมเสวนาประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ (ครั้งที่ ๒) โดยนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ให้เกียรติเข้าร่วมชมนิทรรศการและรับฟังบรรยายการเสวนา ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย การนำชมนิทรรศการ เรื่อง "คนแรกเริ่มบนแผ่นดินเรา" การฉายมรดกภาพยนตร์ของชาติ เรื่อง "หลุมศพที่ลือไซต์" และการเสวนา เรื่อง ย้อนอดีตบ้านเก่า ผ่านมรดกภาพยนตร์ของชาติ “หลุมศพที่ลือไซต์” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา กาญจนาคม นางประพิศ พงศ์มาศ นักโบราณคดีเชี่ยวชาญ และนางสาวสุภมาศ ดวงสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ ดำเนินรายการโดย นายสมชาย ณ นครพนม นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ ซึ่งโครงการนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.
วัดพระพายหลวง ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณด้านเหนือ เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สุโขทัยอีกแห่งหนึ่ง เพราะมีสิ่งก่อสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของเมืองสุโขทัย และก่อสร้างเพิ่มเติมสืบต่อกันมาจนถึงสมัยสุโขทัยตอนปลาย กลุ่มโบราณสถานวัดพระพายหลวงตั้งอยู่ตรงกลางในพื้นที่ที่มีคูน้ำล้อมรอบ คูน้ำแต่ละด้านมีความยาวประมาณ ๖๐๐ เมตรสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในวัดเป็นปรางค์ ๓ องค์ ปัจจุบันพังทลายลงเหลือเพียงฐาน ๒ องค์ และสมบูรณ์เพียงองค์ด้านทิศเหนือนั้นมีลักษณะของปราสาท ลวดลายปูนปั้นประดับเล่าเรื่องตามพุทธประวัติเหมือนกับที่ปรางค์ที่วัดมหาธาตุลพบุรี และที่ปราสาทปาลิไลย์ในเมืองพระนครหลวงของเขมร เป็นหลักฐานยืนยันว่า ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ชุมชนที่สุโขทัยมีวัฒนธรรมร่วมกับเขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีความเกี่ยวข้องกับเมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองใหญ่ที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมขอมในที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง ถัดจากปรางค์ไปทางตะวันออก มีวิหาร มีเจดีย์ทรงเหลี่ยม ประดับทุกด้านด้วยซุ้มพระพุทธรูปลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปคล้ายกับเจดีย์ กู่กุดจังหวัดลำพูน ที่เจดีย์นี้มีหลักฐานการก่อสร้างทับซ้อนกันหลายสมัย เช่นมีส่วนเศียรและองค์ตอนบนของพระพุทธรูปปูนปั้นแบบหมวดวัดตระกวนที่ชำรุดแล้วนำมาบรรจุไว้ในส่วนพระอุระของพระพุทธรูปปูนปั้นแบบสุโขทัยรุ่นหลัง (พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่) ซึ่งอยู่ในซุ้มเป็นต้น ปัจจุบันพระพุทธรูปปูนปั้นแบบหมวดวัดตระกวน จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงสุโขทัย ทางด้านตะวันออกสุดของกลุ่มโบราณสถาน เป็นมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ ได้แก่ นั่ง นอน ยืน และเดิน ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะสร้างในสมัยหลังที่สุดในบรรดาโบราณสถานที่กล่าวมาแล้ว คือ ในสมัยสุโขทัยตอนปลายวัดศรีชุม อยู่นอกเมืองโบราณสุโขทัยตรงมุมตะวันตกเฉียงเหนือพอดี สิ่งสำคัญคือมณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ภายในอาคาร มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑.๓๐ เมตร สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่ปรากฏเรียกตามที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ว่าพระอจนะ (ซึ่งอาจมาจากคำว่า อจละ แปลว่า ไม่หวั่นไหว) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์ที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้บูรณปฏิสังขรณ์จากเค้าโครงแกนอิฐเดิมขึ้นใหม่ราวปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ - ๒๔๙๙ หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่เขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย เรียกสถานที่นี้ว่า “ฤาษีชุม” ว่าเป็นสถานที่ที่พระนเรศวรมาประชุมทัพกันอยู่ที่นั้นก่อนที่จะยกทัพไปปราบปรามเมืองสวรรคโลก วัดศรีชุมยังมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สุโขทัย คือได้ค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๒ ที่เรียกกันว่า ศิลาจารึกวัดศรีชุม เล่าเรื่องราวของการก่อตั้งราชวงศ์สุโขทัยของคนไทยกลุ่มหนึ่ง และที่เพดานของช่องผนังดังกล่าวมีภาพลายเส้นเป็นภาพเล่าเรื่องราวพระพุทธเจ้าในชาติต่างๆ ที่เรียกว่า ชาดก บางภาพมีลักษณะทางศิลปกรรมคล้ายกับศิลปะลังกา โดยมีอักษรสมัยสุโขทัยกำกับบอกเรื่องชาดกไว้ที่ภาพแต่ละภาพด้วย
เตาทุเรียงสุโขทัย : เตาเผาสังคโลก สังคโลก เป็นชื่อที่มีความหมายถึง เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในสมัยสุโขทัย ทั้งในเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย เป็นการทำเครื่องถ้วยชาม ประติมากรรมหรือส่วนของสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งเคลือบและไม่เคลือบ ที่เคลือบสีต่าง ๆ ได้แก่ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาลสีใสเคลือบทับลายเขียนเป็นรูปต่าง ๆ สังคโลกที่เป็นเครื่องถ้วยชาม ยังเป็นสินค้าออกสำคัญของราชอาณาจักรสุโขทัยส่งไปขายยังราชอาณาจักรล้านนา ราชอาณาจักรศรีอยุธยา และเมืองหรือรัฐของภาคใต้ และที่ส่งไปขายไกลๆ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ริวกิว (ปัจจุบันคือเกาะโอกินาวา) แหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยชามสังคโลกที่เมืองสุโขทัย พบอยู่บริเวณคันดินรอบวัดพระพายหลวงด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกลักษณะของเตาเผาโบราณมีอยู่ ๒ แบบ แบบแรกเป็นเตากลม มีพื้นเจาะรูเพื่อระบายความร้อนจากช่องใส่ไฟที่อยู่ด้านล่างขึ้นมาเรียกว่าเตาตะกรับ แบบที่ ๒ มีลักษณะเป็นรูปหลังเต่า มีปล่องระบายความร้อนและช่องไฟอยู่คนละแนวกันเพื่อระบายความร้อนในแนวเฉียงนอน เรียกว่าเตาประทุน เตาเผาที่สุโขทัยส่วนใหญ่เป็นเตาที่ก่อขึ้นจากอิฐเผาไฟ ไม่ใช่เตาขุดที่ขุดเข้าไปในเนินดินธรรมชาติแบบเตาเผาที่ศรีสัชนาลัยเพราะในการขุดค้นของกรมศิลปากรพบเตาอิฐนี้ก่ออยู่บนชั้นดินดาน ซึ่งเป็นชั้นดินล่างสุดของสุโขทัย
วัดเตาทุเรียง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณเตาเผาเครื่องสังคโลก เข้าใจว่าคงสร้างขึ้นภายหลังการเลิกผลิตเครื่องสังคโลกในบริเวณนี้แล้ว สิ่งก่อสร้างสำคัญ ประกอบด้วย วิหาร และเจดีย์ราย เดิมมีลวดลายปูนปั้นรูปพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย และเหล่าเทพเทวดาล้อมรอบองค์พระพุทธรูป แต่ปัจจุบันได้หักพังสูญหายแล้ว
วัดสังฆาวาส อยู่ใกล้กับแนวถนนพระร่วง นอกเมืองโบราณสุโขทัยด้านเหนือ โดยตั้งอยู่ทางตะวันออกของถนน ประวัติของวัดไม่ปรากฏวัดนี้มีวิหารซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ แต่พระเศียรหักหายไปแล้ว นอกจากนี้ ก็มีพระอุโบสถและเจดีย์วัดแม่โจน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวง ริมถนนสายเมืองเก่า - ดอนโก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานมีบ่อน้ำซึ่งใช้หินชนวนกรุเป็นผนังมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว ๑ เมตร โบราณสถานแห่งนี้ ประกอบด้วย วิหารขนาด ๕ ห้อง ฐานกว้าง ๗.๕๐ x ๑๑.๔๕ เมตร ตอนท้ายของวิหารมีเจดีย์ประกอบอยู่๓ องค์
แผ่นหินสลักรูปเทวดานพเคราะห์
เลขทะเบียน ๐๙/๒๙๖/๒๔๙๗ศิลปะลพบุรี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗
หินทราย ขนาด กว้าง ๒๕ เซนติเมตร ยาว ๑๑๓ เซนติเมตร หนา ๒๙ เซนติเมตร
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ประทานให้กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐
แผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สลักภาพเทวดานพเคราะห์จำนวน ๙ องค์อยู่ในซุ้ม แต่ละองค์ประทับอยู่บนสัตว์พาหนะ ยกเว้นพระราหู โดยบริเวณส่วนหัวของสัตว์พาหนะเทวดาองค์ที่ ๓ ๕ และ ๙ มีสภาพชำรุด
แผ่นหินสลักนี้มีลักษณะคล้ายกับทับหลังที่ใช้ประดับอยู่บนกรอบประตูของปราสาทแบบเขมร แต่แผ่นหินนี้มีขนาดเล็กกว่ามาก วัตถุประสงค์ของการทำประติมากรรมลักษณะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
เทวดานพเคราะห์ที่ปรากฏอยู่บนแผ่นหินชิ้นนี้ประกอบด้วยเทพ ๙ องค์ (จากซ้ายไปขวา) คือ
๑. พระอาทิตย์ทรงม้า
๒. พระจันทร์ประทับนั่งบนแท่นลายดอกบัว
๓. พระวายุหรือพระพายทรงกวาง
๔. พระขันธกุมารทรงนกยูง
๕. พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
๖. พระกุเวรทรงม้า
๗. พระอัคนีทรงแกะ
๘. พระราหูมีร่างกายท่อนล่างเป็นงู
๙. พระเกตุทรงสิงห์
จากลักษณะการแต่งกายของเทวดานพเคราะห์ โดยเฉพาะการชักชายผ้านุ่งด้านหน้า แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะเขมรแบบบาปวน (พ.ศ.๑๕๕๓ – พ.ศ.๑๖๒๓)
Carved Stone Representing Nine Deities
Registration No. 09/296/2497
Lopburi Art, ca. 11th-12th century
Sandstone, Height 29 cm. Width25 cm. Length 113 cm.
Donated by Somdet Phra Maha Viravong to the Fine Arts Department in 1927.
This is a square stone carving of nine deities representing the nine planets; parts of the animal figures of Vayu, Kubera and Ketu, however, have been damaged. The costume designs of the deities are characteristic of the Khmer Baphuon art style (1010 – 1080).
The stone carving is not a lintel although it may appear as such. The real purpose of this scene is unknown. From left to right, the nine planets consist of:
1. Surya, god of the sun, riding on his horse.
2. Chandra, god of the moon sitting on his lotus-decorated seat.
3. Vayu, god of the wind, riding on his deer.
4. Skanda, god of war, riding on his peacock.
5. Indra, god of rain and thunder, riding on his elephant (Erawan).
6. Kubera, god of wealth, riding on his horse
7. Agni, god of fire, riding on his ram.
8. Rahu, god of eclipse, is depicted as a serpent with no body.
9. Ketu, god of comets, riding on a lion
เอกสารประกอบการบรรยายกิจกรรมโครงการห้องปฏิบัติการ นวัตกรรมภาครัฐ
(Government Innovation Lab) หัวข้อเรื่อง Driving Thailand 4.0 withGovernment Innovation โดย นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 ณ ห้อง MayFair Grand Ballroom ชั้น 11
ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
สมเด็จพระวันรัตน วัดพระเชตุพน ในรัชกาลที่ ๑. จุลยุทธการวงศ์ ผูก ๒ เรื่องพงษวดารไทย
ของสมเด็จพระวันรัตน วัดพระเชตุพน ในรัชกาลที่ ๑ ทั้งอรรถแลแปล พิมพ์ครั้งแรก ในงานพระราชทานเพลิงศพ
นายพลโท พระยาพหลโยธิน รามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) ปี วอก พ.ศ. ๒๔๖๓.
พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๓.
soy'lnvประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๕ ว่าด้วยเรื่องอังกฤษเข้ามาทำสัญญากับไทย ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อังกฤษได้ทำไมตรีกับไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งหนังสือให้ความรู้เกี่ยวกับการติดต่อค้าขาย
เลขทะเบียน : นพ.บ.6/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 4 (33-46) ผูก 11หัวเรื่อง : บาลีสมันต--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม