ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
มกร อ่านว่า มะ-กะ-ระ หรือ มะ-กอน เป็นคำภาษาสันสกฤต ในพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ให้ความหมายว่า เป็นสัตว์ตามจินตนาการของช่างอินเดียโบราณ มีลักษณะต่าง ๆ กันไป เช่น ในสมัยแรกส่วนหัวคล้ายจระเข้ มีจะงอยปากงอไปทางด้านหลังคล้ายงวงช้างขนาดสั้น มีฟันแหลมคม มีขาคล้ายสิงโตหรือสุนัข ท่อนหางทำเป็นอย่างหางปลา ส่วนมกรในศิลปะขอมมีลักษณะคล้ายมกรในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓) คือมี ๒ ขา และมีหางม้วนเป็นลายก้านขด ในศิลปะขอมแบบกุเลน (ราว พ.ศ. ๑๓๗๐ – ๑๔๒๐) รูปมกรมีรูปใหม่คือมี ๔ ขา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ รูปมกรได้เข้ามาปะปนกับรูปนาค และหัวมกรเริ่มกลายเป็นหน้าสิงห์ไป มกรถือเป็นสัตว์ในจินตนาการ เชื่อกันว่าเป็นเทพแห่งท้องทะเล มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาผสมกัน ทั้งระหว่างสัตว์บกและสัตว์น้ำ อาทิ มีส่วนปากคล้ายจระเข้ มีงวงเหมือนกับช้าง มีลำตัวและหางเหมือนปลา และมีลักษณะของสัตว์อื่น ๆ เพิ่มเติมหลายชนิดมากยิ่งขึ้นตามจินตนาการของช่าง เช่น สิงโต แพะ กวาง นาค มังกร เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสัตว์ที่มีความหมายในทางมงคลทั้งสิ้น มกรสังคโลกพบหลักฐานการขุดค้นเป็นจำนวนมากในพื้นที่เมืองโบราณสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร ผลิตขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒ จากกลุ่มเตาเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย โดยเป็นเครื่องประกอบในงานสถาปัตยกรรมประเภทวิหาร ใช้ประดับบริเวณราวบันไดหรือชายคาอาคาร ในเมืองกำแพงเพชรได้พบมกรจากการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เช่น วัดอาวาสใหญ่ วัดฆ้องชัย โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เป็นมกรเขียนลายสีดำบนน้ำดินสีขาวแล้วเคลือบใสทับอีกครั้งหนึ่ง กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑---------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร---------------------------------------------------------บรรณานุกรม - กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๗. - ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐. *เผยแพร่ข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
เลขทะเบียน : นพ.บ.149/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 91 (392-403) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปปกรณาภิธมฺม (อภิธรรมสังคิณี-พระมหาปัฎฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ยันต์และเวทมนต์ ชบ.ส. ๕๔
เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สามัคคี ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.25/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ข. โกมลมิศร์. บทละครพูดเรื่องทนายเจ้าเล่ห์และแม่ครัวจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร :
องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๐๔. ๒๕๓ หน้า.
มีบทละคร ๒ เรื่อง ด้วยกัน ๑) ทนายเจ้าเล่ห์ เป็นเรื่องราวของสามีภรรยา คือ พยอมกับประดิษฐ์ ฝ่ายพยอมเป็นคนคอยจับผิดและมีนิสัยขี้หึง ส่วนประดิษฐ์ชอบหนีเที่ยวกับแต่เป็นคนเกรงใจภรรยา เมื่อจับได้พยอมจะโกรธและหิ้วกระเป๋ากลับบ้านแม่ โดยมีเพื่อนจำลองเข้ามาสมทบและรับรู้ถึงความเจ้าชู้ของประดิษฐ์ พยอมเอาสร้อยราคา ๑,๐๐๐ เส้นที่เฉลียวฝากไว้กับประดิษฐ์ติดตัวไปด้วย จึงหาวิธีหาเงินมาซื้อเส้นใหม่ด้วยการโกหกกับบริษัทรถยนต์ว่าเกิดอุบัติเหตุบาด บริษัท ฯ จึงส่งสำปั้นมาเจรจาพูดคุย และส่งหมอวิงมาตรวจอาการประดิษฐ์ที่บอกว่าบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์ ประดิษฐ์ให้จำลองปลอมตัวเป็นตนเองและปลอมเป็นแม่ผาด เป็นสามีของแม่เฉลียวตามที่แม่พยอมคิดเอาเอง ๒) แม่ครัวจำเป็น
วันพุธที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. นางนงคราญ สุขสม ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง เดินทางมาตรวจรับงานบูรณะเจดีย์ วัดเชียงงา ตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี งวดสุดท้าย ซึ่งการบูรณะเจดีย์วัดเชียงงาได้แล้วเสร็จเรียบร้อย ตามประวัติความเป็นมาของวัด ระบุว่า กลุ่มชาวพวน ซึ่งอพยพมาจากเมืองเชียงขวางในช่วงสมัยหลังรัชกาลเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-๒๓๗๑) มีจิตศรัทธาร่วมกันก่อตั้งวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ และเรียกชื่อ“วัดเชียงงา” ตามชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งตามชื่อเดิมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เจดีย์วัดเชียงงา ก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๕ เป็นอุทเทสิกเจดีย์สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยจำลองแบบมาจากธาตุฝุ่น พระธาตุสำคัญประจำเมืองคูนหรือเมืองเชียงขวางของชาวพวน เพื่อสักการะบูชา และความเป็นสิริมงคลของชุมชน ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆัง ศิลปะรัตนโกสินทร์ผสมผสานกับศิลปะลาวและศิลปะมอญ-พม่า มีขนาดความสูง ๒๙.๒๐ เมตร ส่วนฐานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๑๔.๒๘ x๑๔.๒๘ เมตร ชั้นล่างสุดเป็นฐานบัวลูกแก้วที่มีท้องไม้ยืดสูง มีการเจาะเป็นช่องโค้งด้านละ ๒ ช่อง เข้าไปยังห้องคูหาใต้ฐานเจดีย์ซึ่งเชื่อมต่อกันโดยรอบ ฐานเจดีย์ชั้นที่สองทำเป็นฐานสิงห์อยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบ ตรงกึ่งกลางด้านมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูป หลังคาซุ้มเป็นรูปเจดีย์ขนาดเล็กตกแต่งด้วยลายปูนปั้น มีราวบันไดนาครับ ทั้ง ๔ ทิศ ตรงมุมของฐานเจดีย์ชั้นที่สองประดับด้วยรูปสิงโตจีนปูนปั้น ถัดเหนือขึ้นไปเป็นชุดฐานบัวลูกแก้ว มีบัวคว่ำ บัวหงายเอนลาด และลูกแก้วขนาดใหญ่อยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบซ้อนลดหลั่นกัน ๒ ชั้น รองรับบัวกลุ่ม และองค์ระฆังขนาดเล็กประดับด้วยรัดอกตกแต่งลายเฟื่องอุบะ ลายดอกไม้ ๘ กลีบและลายใบโพธิ์ปูนปั้น เหนือรัดอกขึ้นไปมีรูปยักษ์ยืนถือดอกบัว และบัวคอเสื้อประดับที่ไหล่ระฆัง ไม่มีบัลลังก์ ส่วนยอดประกอบด้วย ปล้องไฉนจำนวน ๙ ชั้น ตกแต่งด้วยลายกลีบบัว และลายดอกเบญจมาศ มีปัทมบาทคั่นระหว่างปล้องไฉนกับปลียอดแบบปลียาว มีบัวลูกแก้วคั่น ส่วนยอดบนสุดประดับฉัตรโลหะผสมฉลุลาย
สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ตรวจสอบพบว่าเจดีย์วัดเชียงงาอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม วัสดุที่ในการก่อสร้าง และอายุของตัวโบราณสถานเอง จึงเสนอของบประมาณรายจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการบูรณปฎิสังขรณ์โบราณสถานในวัดหรือศาสนสถานจากกรมศิลปากร มาดำเนินการบูรณะซ่อมแซมองค์เจดีย์ บูรณะซ่อมแซมกำแพงแก้ว ปรับปรุงพื้นที่ด้านนอกกำแพงแก้ว และจัดทำป้ายข้อมูลประวัติความสำคัญ โดยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากพระอธิการบุญฤทธิ์ อนามโย เจ้าอาวาสวัดเชียงงา และนางสาวนพวรรณ ป้อมสูง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงงา เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทำให้เจดีย์วัดเชียงงามีความมั่นคงแข็งแรงและงดงาม เป็นปูชนียสถานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของท้องถิ่นและของจังหวัดลพบุรีต่อไป
เรียบเรียงโดย : นายเดชา สุดสวาท
นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ
ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมี สูงประมาณ ๙.๕ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปพระลักษมี เกล้าพระศก ทรงกุณฑลทรงกลม พระกรขวาโอบลำตัวสิงห์ที่หมอบอยู่ด้านข้าง สิงห์มีแผงคอม้วนคล้ายลายกระหนก ตาโปน จมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟันคล้ายประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ ที่พบในเมืองโบราณอู่ทอง ด้านหลังประติมากรรมรูปราชยลักษมี ตกแต่งด้วยลวดลายคล้ายเปลวไฟซ้อนกัน รองรับด้วยฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัว กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) มีผู้สันนิษฐานว่า อาจใช้เป็นฝาจุกภาชนะ หรือประดิษฐานเพื่อการเคารพบูชา หรือใช้เป็นเครื่องรางสำหรับติดตัวพ่อค้าหรือนักเดินทาง ราชยลักษมี เป็นรูปแบบหนึ่งของพระศรี - ลักษมี ซึ่งมักปรากฏคู่กับสิงห์ ในศิลปะอินเดียพบรูปราชยลักษมีปรากฏบนเหรียญตราในลักษณะของพระลักษมี คือ ทรงถือดอกบัว บ่วงบาศหรือตะกร้าแห่งพืชผล นั่งบนหลังสิงห์หรือย่างพระบาทข้ามตัวสิงห์ ส่วนเหรียญอีกด้านเป็นรูปของกษัตริย์ หมายถึงโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์และเป็นเครื่องยืนยันถึงสิทธิในการเป็นกษัตริย์ ไม่พบการสร้างรูปราชยลักษมีเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็ก ดังนั้นประติมากรรมราชยลักษมีที่เมืองโบราณอู่ทองนี้ จึงเป็นรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นในศิลปะทวารวดี โดยมีการคลี่คลายจากศิลปะอินเดียที่เป็นต้นแบบ โดยการลดทอนรายละเอียดบางประการออกไป ได้แก่ ไม่ทรงถือสิ่งของ และเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งบนหลังสิงห์หรือย่างพระบาทข้ามตัวสิงห์ มาเป็นการนั่งโอบสิงห์ อนึ่ง นอกจากประติมากรรมรูปราชยลักษมีชิ้นนี้แล้ว ในประเทศไทยยังมีการพบประติมากรรมรูปราชยลักษมีอีกอย่างน้อย ๒ ชิ้น ได้แก่ ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมีประกอบกับประติมากรรมรูปคชลักษมี พบที่เมืองโบราณอู่ทอง ๑ ชิ้น และใบเสมารูปราชยลักษมีจากเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑ ชิ้น ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานการค้นพบเหรียญตรารูปราชยลักษมีคู่กับกษัตริย์ตามอย่างอินเดีย ดังนั้นประติมากรรมรูปราชยลักษมีเหล่านี้ จึงไม่น่าจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ตามคติที่ปรากฏในอินเดีย แต่น่าจะสร้างขึ้นเป็นรูปเคารพ สัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกับคติการสร้างรูปคชลักษมี ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพระลักษมี และพบได้ทั่วไปตามเมืองโบราณในสมัยทวารวดี ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน----------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง----------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. รูปแบบและความเชื่อของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรี-ลักษมีที่พบใน ประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐.
เหรา หนึ่งสัตว์หิมพานต์ประดับงานศิลปกรรมไทย
เหรา (อ่านว่า เห-รา) เป็นสัตว์หิมพานต์ประเภทหนึ่ง มีประวัติว่า เหรา เป็นลูกของพญานาค และมีแม่คือมังกร ดังความที่ปรากฏในบทดอกสร้อย บทหนึ่ง กล่าวว่า
๏ เจ้าเอยเหรา รักแก้วข้าเหราเอ๋ย
บิดานั้นนาคา มารดานั้นเป็นมังกร
มีตีนทั้งสี่ หน้ามีครีบหลังมีหงอน
เป็นทั้งนาคทั้งมังกร เรียกชื่อว่าเหราเอย ฯ
กล่าวกันว่าเหรามีลักษณะคือ ส่วนหัวและตัวเป็นนาค มีเท้าและหนวดเป็นมังกร และมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เหราพต” อย่างไรก็ตามเอกสารบางฉบับกล่าวว่า ลักษณะของเหราในศิลปะไทยนั้นไม่ปรากฏ เขา หนวด และเครา อย่างมังกรจีน แต่กลับมีฟันหรือเขี้ยวคล้ายจระเข้ ดังนั้นเหราที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทยจึงน่าจะเป็นการผสมรูปแบบระหว่าง จระเข้ (ส่วนหัวและเท้า) กับนาค (ลำตัวและหาง) มากกว่า
ตัวเหรานั้นเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏชื่อเรือลำหนึ่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์ นามว่า เรือเหรา ปัจจุบันตัวเหรายังปรากฏในรูปแบบงานประติมากรรมประดับสถาปัตยกรรม เช่น ประติมากรรมเหราบริเวณราวบันได ประติมากรรมเหราประดับชั้นหลังคาส่วนปลายของสันตะเข้ ส่วนประกอบของซุ้มหน้าบัน บริเวณปลายของรวยระกา ที่เรียกว่า “รวยระกาเหรา” สำหรับที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีตัวอย่างงานศิลปกรรมที่ปรากฏรูปจำหลัก “เหรา” ได้แก่
แผงพระพิมพ์ไม้
แผงพระพิมพ์ไม้ จำหลักลาย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ จัดแสดงอยู่ที่ มุขเด็จในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นงานจำหลักไม้รูปเหราคายนาคที่ส่วนปลายรวยระกาของกรอบหน้าบัน
ตู้พระธรรมขาหมูลงรักประดับมุก
ตู้พระธรรมขาหมูลงรักประดับมุก ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓ จัดแสดงอยู่ที่ มุขหน้าพระที่นั่งพรหมเมศธาดา ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ฝาตู้ด้านซ้ายมีงานประดับมุกรูปเหรา
พระวอ
พระวอ ศิลปะธนบุรี-รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ จัดแสดงอยู่ที่ พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นงานไม้จำหลักรูปเหราคายนาค ส่วนปลายรวยระกาของชั้นหลังคาพระวอ
เขนง
เขนง (เครื่องเป่าบอกอาณัติสัญญาณในการศึก หรือภาชนะใส่ดินปืน) งาช้างจำหลักลายเหรา ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ จัดแสดงอยู่ที่ พระที่นั่งบูรพาพิมุข ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ลักษณะเป็นงาช้างจำหลักรูปเหราปรากฏส่วนหัว ลำตัวและเท้าของเหรา
อ้างอิง
กรมศิลปากร. สมุดภาพสัตว์หิมพานต์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๑.
สมคิด จิระทัศนกุล. อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม ๔ องค์ประกอบ “ส่วนหลังคา”. กรุงเทพฯ: คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๙.
สมใจ นิ่มเล็ก. สรรพสัตว์ ในงานสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗.
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปถมสมโพธิ์พุทธปูชา-ธาตุวิภชนปริวตฺต)
สพ.บ. 352/28ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า วรรณกรรมพุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี