ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/2ชเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง สโมสรไลออนส์สากล
ชื่อเรื่อง เสียงสิงโต (พฤศจิกายน ๒๕๑๔)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ศรีการช่าง
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๗๒ หน้า
รายละเอียด
สโมสรไลออนส์สากล เป็นองค์กรการกุศลนานาชาติ มีนโยบายให้ความช่วยเหลือชุมชน สังคม เยาวชน ผู้ขาดโอกาส ด้วยจิตวิญญาณ และเป็นการพัฒนา ความรู้กับสมาชิกในหลักสูตรต่างอย่างเหมาะสม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและก้าวขึ้นเป็นผู้นำที่มีคุณภาพและมีคุณธรรม ภายในเล่มประกอบด้วยบทความ ให้ความรู้ เช่น ธงชาติไทย ศูนย์ชุมชนวัดคลองเตย ปัญหากฎหมายและครอบครัว เป็นต้น
เลขทะเบียน : นพ.บ.378/1ฆห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 5 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143 (26-39) ผูก 1ฆ (2566)หัวเรื่อง : จีรธารกถา --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.519/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 730 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 174 (259) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อภิธรรม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ. 241/7หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
ชื่อเรื่อง สพ.บ. 426/1 เมตฺเตยฺยสุตฺต (เมตฺเตยฺยสูตร)
สพ.บ. 426/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง: สมุดภาพโบราณวัตถุสถาน และทัศนียภาพ ผู้แต่ง: อุทัยและพูนทรัพย์ สนธิ ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๙๗สถานที่พิมพ์: เชียงใหม่สำนักพิมพ์: ลานนาการพิมพ์ จำนวนหน้า: ๒๘ หน้า เนื้อหา: สมุดภาพโบราณวัตถุสถานและทัศนียภาพ เชียงใหม่-ลำพูน อภินันทนาการจาก อุทัยและพูนทรัพย์ สนธิ เนื่องในวาระดิถีเริ่มรอบปีใหม่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยรวบรวมภาพอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พร้อมรายละเอียดคำอธิบายประกอบให้ผู้ที่ได้ศึกษาสามารถเข้าใจได้อย่างกระชับ อาทิ โพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) บุปผารามมหาวิหาร (วัดสวนดอก) โชติการามมหาวิหาร (วัดเจดีย์หลวง) พระบรมธาตุดอยสุเทพ น้ำตกแม่ยะ จอมทอง เวียงพิงค์ยามน้ำหลาก ถนนท่าแพเมื่อ ๕๐ ปีก่อน ล่องแก่งปิง เวฬุกัฏฐาราม (วัดอุโมงค์) ล่องแพจากแม่แจ่ม การแห่ครัวทานของคนเมืองเหนือ น้ำตกแม่กลาง จอมทอง หอคำของผู้ครองนครเชียงใหม่ ครอบครัวของชาวแม้ว เวฬุวันมหาวิหาร (วัดกู่เต้า) ออบหลวง ยางเปียงที่ห้วยหละ กังสดาลคู่เมืองลำพูน เป็นต้น เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๗๗๑ เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๑๔หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “จากอดีตสู่ปัจจุบัน ๑๑๘ ปีหอสมุดแห่งชาติ” วิทยากร นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ, นางสาวบุบผา ชูชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
“เมืองโบราณศรีเทพ” ในฐานะมรดกโลกทางวัฒนธรรม ไม่ได้มีแค่ “เขาคลังนอก” อันเป็นภาพจำของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ แต่ยังครอบคลุมพื้นที่ “โบราณสถานในสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง” ประกอบด้วย ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง ปรางค์ฤาษี เขาคลังใน และเขาถมอรัตน์
คำว่า "ถมอ" มาจากคำว่า "ทะมอ" ในภาษามอญโบราณ (ญัฮกุร) แปลว่า หิน กองหินขนาดใหญ่ ส่วนคำว่า รัตน์ อาจมาจาก "รัตนะ" แปลว่าแก้ว จากการเสด็จเมืองวิเชียรบุรีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แสดงให้เห็น ‘ร่องรอย’ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองโบราณศรีเทพกับวิเชียรบุรีที่มีตำแหน่งเจ้าเมืองเดิมคือ “พระศรีถมอรัตน์” อันเป็นชื่อภูเขาศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์สำคัญของเมือง
ทั้งนี้ยังปรากฏนามในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองสมัยสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ โดยภายหลังโปรดให้ยกขึ้นเป็นเมืองตรี และเปลี่ยนนามเมืองเป็นวิเชียรบุรี (ท่าโรง)
ความน่าสนใจของ “เขาถมอรัตน์” ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๕ กิโลเมตร คือ มีฐานะเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง และมีการแนวแกนทิศที่สัมพันธ์กับศาสนสถานของเมืองศรีเทพ โดยมีลักษณะเป็นภูเขาขนาดใหญ่กลางที่ราบ ภายในถ้ำมีชะง่อนหินธรรมชาติเป็นแกนหินขนาดใหญ่ สามารถเดินรอบได้ อีกทั้งยังถูกดัดแปลงให้เป็นศาสนสถานของพุทธศาสนา มีภาพสลักนูนต่ำสถูปเจดีย์ ธรรมจักร พระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนานิกายมหายานในรูปแบบศิลปะทวารวดี กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔
ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้กล่าวถึงภาพสลักที่เขาถมอรัตน์ว่าเป็นภาพสลักลงบนแกนหินที่แต่เดิมอาจมีรักหรือปูนปั้นประกอบ ภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นคติในศาสนาพุทธมหายาน ภาพสลักเหล่านี้คล้ายคลึงกับศิลปะทวารวดี เขตอำเภอประโคนชัยและอำเภอลำปลายมาศของจังหวัดบุรีรัมย์
ภายหลังจากการลักลอบสกัดภาพจำหลักบริเวณผนังถ้ำเขาถมอรัตน์ และได้ติดตามโบราณวัตถุกลับคืนมานั้น ส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปัจจุบันได้นำไปจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เมืองโบราณศรีเทพ สู่มรดกโลก” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร คือ
ชิ้นส่วนพระหัตถ์ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ เดิมจำหลักที่ผนังถ้ำเขาถมอรัตน์ ตำบลโคกสะอาด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายจิม ทอมสัน นำมามอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๐๕
มีลักษณะนิ้วพระหัตถ์แบบวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) คือ การใช้ปลายพระอังคุฐแตะปลายพระดัชนีหรือพระมัชฌิมา แล้วจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวง ส่วนนิ้วพระหัตถ์ที่เหลือชี้ขึ้น อันเป็นแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียใต้ ทว่าการแสดงวิตรรกมุทราในศิลปะทวารวดีมีอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การหักงอนิ้วพระหัตถ์ ทั้งพระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา และพระกนิษฐา ลงแตะฝ่าพระหัตถ์ มีแค่พระอังคุฐที่ชี้ขึ้น ซึ่งมาจากการปรับเปลี่ยนตามเทคนิคช่าง
อ้างอิง
กรมศิลปากร. “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ”. กรุงเทพฯ : สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี กรมศิลปากร, ๒๕๕๐
เชษฐ์ ติงสัญชลี. “การวิเคราะห์การแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ของพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๔
สถาพร เที่ยงธรรม. “ศรีเทพ : เมืองศูนย์กลางความเจริญลุ่มน้ำป่าสัก”. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔.
“ทำลายภาพสลักในถ้ำ เขาถมอรัตน์ เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ” เข้าถึงเมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_189295
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เที่ยวชมโบราณวัตถุ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกในภาคเหนือ” วิทยากร นายณัฐพงษ์ แมตสอง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ผู้ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
วันนี้ในอดีต : พระราชพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร
พระราชพิธีโสกันต์ เป็นพระราชพิธีสำคัญของประเทศไทยในอดีต เป็นพิธีหลวงที่สืบทอดแบบแผนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่ง “พระราชพิธีโสกันต์” หรือ “พิธีโกนจุก” ถือเป็นพิธีมงคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเด็ก ผู้เป็นบิดามารดาจึงมักจะจัดพิธีให้ดีที่สุดเท่าที่ฐานะของตนจะทำได้เพื่อเป็นการเริ่มต้นชีวิตความเป็นผู้ใหญ่ที่ดีให้แก่บุตรธิดาของตน พิธีการต่าง ๆ จึงทำกันอย่างใหญ่โตสมกับฐานะของแต่ละครอบครัว
ซึ่งพิธีโกนจุกนั้นหากเป็นพิธีโกนจุกโดยผู้นั้นเป็นพระราชโอรส พระราชธิดา ที่ประสูติแต่พระมเหสีและดำรงพระยศชั้นเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า จะเรียกพิธีนี้ว่า “พระราชพิธีโสกันต์” นั่นเอง ส่วนพิธีโกนจุกที่ใช้กับพระโอรส พระธิดา ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดา และดำรงพระยศต่ำกว่าพระองค์เจ้าลงมา จะเรียกว่า “เกศากันต์” ซึ่งต่างกันที่การแต่งองค์ทรงเครื่อง ตลอดจนพิธีแห่บางอย่างอาจเพิ่มลดตามลำดับพระยศของเจ้านายพระองค์นั้น ๆ
เนื่องในวันที่ ๑๓ มกราคม เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร ณ พระนครคีรี เมื่อครั้งอดีต พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จึงได้เรียบเรียงเหตุการณ์ในวันนั้น โดยสรุปไว้ ดังนี้
วันนี้ในอดีต : พระราชพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร
วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗ (วันศุกร์ เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๒๒๖) (นับแบบปัจจุบัน คือ พ.ศ. ๒๕๐๘) โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร พระชนม์ ๑๐ ชันษา ทั้งสองพระองค์ เวลาบ่ายพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ที่พระที่นั่งราชธรรมสภา ๓๐ รูป ตั้งขบวนแห่แต่หน้าตําหนักมาตามถนนราชวิถี ขึ้นไปฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ ๓ วัน ตามเอกสารการชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริว่า
“. . . ในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชาธิเบศรมหาราชปราสาททอง ได้มีการโสกันต์พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอิน ณ ที่ประทับเกาะบ้านเลนเป็นอย่างมา ก็ครั้งนี้พระราชวังที่ประทับเป็นที่ประพาสก็มีหลายตำบล จึงโปรดให้มีการแห่โสกันต์เป็นการใหญ่อย่างครั้งก่อน ที่พระนครคีรี ณ เมืองเพ๊ชรบุรี ตามอย่างซึ่งเคยมีในโบราณนั้นอีกครั้งหนึ่งในเดือนยี่ปีชวด ฉศก ศักราช ๑๒๒๖ ตรงกับปีมีคฤศตศักราช ๑๘๖๔ . . .”
ต่อมาในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗ (วันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๕ ค่ำ ชวดฉศก จ.ศ. ๑๒๒๖) (นับแบบปัจจุบัน คือ พ.ศ. ๒๕๐๘) เวลาเช้าโสกันต์ที่วิมานเทวราชศาสตราคมสถาน เวลาบ่ายแห่สมโภชอีก ๑ วัน กระบวนแห่และเครื่องเล่นรายทา มีทุกสิ่งเหมือนคราวโสกันต์พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ฯ ในกรุงเทพเว้นแต่ไม่มีเขาไกรลาส
ใน “พระราชพิธีโสกันต์” ครั้งนั้นมีการละเล่นมากมาย เช่น โขน หนัง ละคร เพลง ละครสํารับเล็ก และการแต่งตัวเข้ากระบวนแห่เป็นนางสระในวันโสกันต์ เวลาค่ำทรงจุดโคมลอยประทีปและโปรดให้มีละครเรื่องอิเหนาเป็นการสมโภช มีเจ้าจอมมารดาวาด พระสนมเอกแสดงเป็นอิเหนา
ปัจจุบัน “พระราชพิธีโสกันต์” จะเลือนหายไปตามสภาพสังคมและกาลเวลา แต่ด้วยแนวคิดของพระราชพิธีนี้ที่ต้องการใช้เป็นเครื่องเตือนใจเด็กและเยาวชนว่าเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานของตนเองและแผ่นดิน ให้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ของแต่ละคนที่พึงมีพึงปฏิบัติตามวัยและฐานะ เมื่อตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ได้แล้วย่อมจะช่วยให้สังคมและประเทศชาติพัฒนาขึ้นได้อย่างแน่นอน
เอกสารและหลักฐานการค้นคว้า
นัยนา แย้มสาขา. (๒๕๔๙). “ภาพเก่าเล่าอดีต : การแต่งกายในพระราชพิธีโสกันต์”, บทความทางวิชาการนิตยสารศิลปากร, ปีที่ ๕๐ ฉบับที่ ๒ .
กรมศิลปากร. “พระนครคีรี”. เพชรบุรี : กรมศิลปากร.
ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ ๒ หมวดราชประเพณีโบราณ. (๒๔๗๓). พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์.
ปริวารปาลิ (ปริวารปาลิ)อย.บ. 298/5หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.4 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา