ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

          ใน พ.ศ.๒๔๙๔ กรมมหาดไทยได้แจ้งถึงคณะกรมการจังหวัดว่า ได้จัดซื้อเครื่องรับวิทยุเพื่อติดตั้งเป็นวิทยุสาธารณะในส่วนภูมิภาค จำนวน ๕๐ เครื่อง หากอำเภอใดยังไม่มีเครื่องรับวิทยุติดตั้ง ณ ที่ว่าการ ให้แจ้งเพื่อขอรับไปติดตั้ง           ขุนคำณวนวิจิตร คณะกรมการจังหวัดจันทบุรี ได้แจ้งว่าที่ว่าการอำเภอขลุงยังไม่มีเครื่องรับวิทยุสาธารณะติดตั้ง จึงขอรับมาใช้ ด้วยเหตุนี้ทางกรมมหาดไทยจึงได้มอบเครื่องรับวิทยุ “เมอร์ฟี่” ขนาด ๔ หลอด แบบ ที.บี.๑๕๑ ชนิดใช้กับแบตเตอรี่แห้ง พร้อมด้วยแบตเตอรี่จำนวน ๑ แท่ง รวม ๑ เครื่อง ให้ไว้เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๕ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นวิทยุสาธารณะหมายเลขทะเบียนที่ ร/๔๗๒๔           เครื่องรับวิทยุดังกล่าว ถูกนำไปติดตั้ง ณ ที่ว่าการอำเภอขลุง เพื่อใช้รับฟังข่าวที่ทางราชการสั่งปฏิบัติเป็นการด่วนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับฟังโดยทั่วกัน             สำหรับเครื่องรับวิทยุรุ่นเมอร์ฟี่ ขนาด ๔ หลอด แบบ ที.บี.๑๕๑ ชนิดใช้กับแบตเตอรี่แห้งนั้น พบว่าผลิตโดยบริษัท Murphy Radio ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๗๒ โดย Frank Murphy และ EJ Power ซึ่งผลิตเครื่องวิทยุที่ใช้ในบ้านเรือน มีโรงงานอยู่ที่เมือง Welwyn Garden City ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ภายหลังบริษัทได้มีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเป็นผู้ออกแบบและผลิตชุดวิทยุสำหรับกองทัพอังกฤษ            ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th/   --------------------------------------------------- ผู้เขียน: นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี เผยแพร่ข้อมูล : https://www.facebook.com/ChanthaburiArchives/posts/pfbid0XsBTknnLo6Satdu6UwKgtPgMzMuqFxcwfzFgm5TfAMViQRq7TSFswpJAhSYgEXdVl   --------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๒.๓/๒๖๐ เรื่องวิทยุสาธารณะอำเภอขลุง (๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๕ – ๒๒ เมษายน ๒๔๙๘). Radiomuseum. TB๑๕๑. สืบค้นเมื่อ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ จาก https://www.radiomuseum.org/r/murphy_tb151tb_15.html   --------------------------------------------------- บรรยายภาพ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๒.๓/๒๖๐ เรื่องวิทยุสาธารณะอำเภอขลุง (๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๕ – ๒๒ เมษายน ๒๔๙๘).--------------------------------------------------- *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร


          วันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๖.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนางสาววัชราวดี วิเชียรศรี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้านมัสการพระครูสิทธิวรารัตน์ เลขาธิการเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา ในโอกาสนี้ได้เยี่ยมชมและติดตามโครงการอนุรักษ์พระพุทธรูปหลวงพ่อโสธร และพระพุทธรูป ๑๗ องค์ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการดำเนินการโครงการดังกล่าว ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม


       แผ่นดินเผามีจารึกคาถาทางพระพุทธศาสนา จากเมืองโบราณอู่ทอง        แผ่นดินเผามีจารึกคาถาทางพระพุทธศาสนา พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง         แผ่นดินเผาทรงสี่เหลี่ยม กว้าง ๕ เซนติเมตร ยาว ๖ เซนติเมตร ชำรุดหักหายไปครึ่งหนึ่ง มีจารึกทั้ง ๒ ด้าน เป็นตัวอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ หรือประมาณ ๑,๔๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว อ่านและแปลโดยนายประสาร บุญประคอง ด้านที่ ๑ มีจารึก ๔ บรรทัด ดังนี้  บรรทัดที่ ๑  เย ธมฺมา เห  บรรทัดที่ ๒ เตสํ เหตุํ   บรรทัดที่ ๓ เตสญฺจ โย  บรรทัดที่ ๔ เอวํ วาที ม        ข้อความจารึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของคาถาเย ธมฺมา ความว่า “เย ธมฺมา เหตุปปฺภวา เยสํ เหตุํ ตถาคโต อาห เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณติ” แปลว่า “ธรรมะคือสิ่งทั้งหลาย เกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมะคือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น และความดับของธรรมะคือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้าตรัสอย่างนี้” ด้านที่ ๒ มีจารึก ๓ บรรทัด ดังนี้  บรรทัดที่ ๑ ทุกฺขํ ทุกฺขสมุ  บรรทัดที่ ๒ กกฺมํ อริย  บรรทัดที่ ๓ ทุกฺขูปสม        ข้อความจารึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของคาถาในพระพุทธศาสนาความว่า “ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ” แปลว่า “ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางดับทุกข์” แผ่นดินเผามีจารึกนี้ สันนิษฐานว่าทำขึ้นเพื่อเผยแผ่หลักธรรมในพระพุทธศาสนา พบจารึกคาถาทางพระพุทธศาสนาบทต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนโบราณวัตถุ ตามเมืองโบราณสมัยทวารวดีจำนวนมาก ในจำนวนนี้คาถาที่พบมากคือ คาถาเย ธมฺมา พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม และเมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี เป็นต้น โดยพบทั้งบนสถูปจำลองดินเผา ยอดสถูปศิลา พระพิมพ์ดินเผา และแผ่นอิฐ         แผ่นดินเผานี้ แม้จะอยู่ในสภาพชำรุด ทำให้ข้อความจารึกไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาให้กับผู้คนบริเวณเมืองโบราณอู่ทองเมื่อกว่าพันปีมาแล้ว   เอกสารอ้างอิง  กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔).  กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๕๙. ประสาร บุญประคอง “จารึกบนแผ่นดินเผา และที่ฐานพระพุทธรูป ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี” ศิลปากร ๑๐, ๑ (พฤษภาคม ๒๕๑๙) : ๘๑ – ๘๓. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก ๑,๐๐๐ ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           43/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               82 หน้า : กว้าง 5.1 ซม. ยาว 57.3 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 144/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/2ฉ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล) ท.ช., ท.ม., เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2503 ชื่อผู้แต่ง : พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล) ปีที่พิมพ์ : 2503 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ข่าวทหารอากาศ จำนวนหน้า : 124 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล) เนื้อหาเป็นเรื่อง ความดำเนินของการต่อเรือ การกลฝ่ายเรือ อู่ หลวง และนายเรือที่สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ได้พิมพ์ในหนังสือข่าวช่าง ฉบับพิเศษเป็นอนุสรณ์ในพรราชพิธีเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า พ.ศ. 2475 อายุกรุงเทพฯพระมหานคร ครบ 160 ปี บริบูรณ์ อาศัยเหตุที่ผู้วายชนม์เมื่อยังมีชีวิตอยุ่ได้คลุกเคล้าอยู่กับกิจการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด


ชื่อผู้แต่ง          สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์. ชื่อเรื่อง           เรียงความเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       อมรินทร์การพิมพ์. ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๓ จำนวนหน้า      ๑๒๔ หน้า รายละเอียด                     เรียงความเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ นี้ จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในอภิลักขิตมหามงคลสมัยที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๔๘ พรรษา โดยจัดพิมพ์เรียงความที่ชนะการประกวดเรียงความเฉลิมพระเกียรติฯ สำนวนของเด็กหญิงสุวรรณี ปัตตนาภรณ์ และ สำนวนของ นายชัยนันทน์ นันทพันธ์  


    ชื่อผู้แต่ง          วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อเรื่อง           วิศวกรรมสาร ( ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๔  สิงหาคม ตุลาคม ธันวาคม  ๒๕๒๑) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๑ จำนวนหน้า      ๖๔  หน้า รายละเอียด                    จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็น และเผยแพร่ข่าวสารทางวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย บทความภาษาอังกฤษ ๔ บทความ ได้แก่ A Beam – Rotational Spring Model for Inelastic Analysis of Steel Frames. Optimization of Refrigerant Evaporator เป็นต้น พร้อมภาพประกอบ กราฟและตาราง


เลขทะเบียน : นพ.บ.378/1คห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 5 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143  (26-39) ผูก 1ค (2566)หัวเรื่อง : จีรธารกถา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.518/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.5 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 173  (254-258) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ.                            241/6หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  60 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


ชื่อเรื่อง                  สพ.บ. 425/1ก มาเลยฺยสุตฺต (พระมาลัย) สพ.บ.                    425/1กประเภทวัสดุมีเดีย      คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                 พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ             36 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                   พุทธศาสนา                            พระมาลัย                     บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “น้ำตกกระทิง” จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย เข้าหน้าฝนแล้ว น้ำตกจะมีน้ำมากเหมาะแก่การเล่นน้ำพักผ่อน นอกจากน้ำตกพลิ้ว จะเป็นน้ำตกที่สวยงามของจังหวัดจันทบุรีแล้ว ยังมีน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งที่น่าท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ นั่นคือ น้ำตกกระทิง น้ำตกกระทิง เป็นน้ำตกอยู่ในเทือกเขาสอยดาวใต้ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อำเภอเขาคิชฌกูฏ ห่างจากตัวเมืองจันท์ 30 กิโลเมตร จากถนนหลักจะมีทางแยกเข้าไปน้ำตก ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลใด จะเห็นกระแสน้ำตกกระทิงทิ้งตัว ลงมาจากหน้าผาสูง เป็นสายน้ำสีขาว รอบๆสายน้ำปกคลุมด้วยหมู่ไม้น้อยใหญ่ที่ร่มรื่น น้ำตกกระทิง มีน้ำตกรวมกันถึง 13 ชั้น สวยทุกชั้น มีแอ่งน้ำที่ใสสะอาด เล่นน้ำได้ด้วย อยู่ห่างที่ทำการเพียง 100 เมตรเท่านั้น ชั้นที่คนนิยมแวะเล่นน้ำมากที่สุดคือชั้นที่ 3 เพราะอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการ ไม่ต้องปีนป่าย ไม่เหนื่อยมาก น้ำไม่แรง และมีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำ เหมาะกับการมาพักผ่อน ตรงบริเวณชั้น 3 ยังมีสะพานไม้ให้เราได้แวะถ่ายรูปเล่นด้วย จากชั้นที่ 5 ขึ้นไป จะเป็นชั้นน้ำตกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มความสวยงามของ ธรรมชาติ ตั้งแต่ชั้นที่ 11 – 13 จะเป็น น้ำตกชั้นเตี้ยๆ แต่น้ำแรง ระหว่างทางไปน้ำตกแต่ละชั้นจะได้รับความเพลิดเพลินกับสภาพธรรมชาติของป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นไม้ดอก ไม้ใบ ไม้ใหญ่ยืนต้นหรือละเมาะไม้ มวลหมู่ผีเสื้อหลายหลากสีบินโฉบดอกไม้ เป็นที่เจริญตาเจริญใจ เมื่อมาถึงน้ำตกชั้นที่ 13 จงภูมิใจว่าได้มาถึงชั้นสูงสุดของน้ำตกกระทิงแล้ว ชั้นที่ 13 เป็นชั้นเล็กๆ ท่ามกลาง ป่าร่มรื่น มีแอ่งน้ำตื้นๆให้เล่นน้ำ ป่าในชั้นนี้ชื้นมากจนมีมอส เฟิร์น ขึ้นเต็มไปหมด จากนี้ขึ้นไปจะเป็นลำธารเล็กๆที่ไหลออกมาจากป่าลึก อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวป่าจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 81 - 83. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


Messenger