ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.29/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า  ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 15 (161-174) ผูก 9หัวเรื่อง : มหามูลกมฺมฏฐาน(มุลลกัมมัฏฐาน) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.52/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 4.4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 33 (337-343) ผูก 4หัวเรื่อง :  พลสงฺขยา --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     ชื่อเรื่อง : กาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕      ผู้เขียน : กรมศิลปากร      สำนักพิมพ์ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร      ปีพิมพ์ : ๒๕๖๒      เลขประจำตัวมาตรฐานสากล : ๙๗๘-๖๑๖-๒๘๓-๔๕๔-๗      เลขเรียกหนังสือ : ๖๑๖.๙๒๓๒ ศ๕๒๘ก      ประเภทหนังสือ : หนังสือกรมศิลปากร      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : โรคระบาดนับว่าเป็นสิ่งที่คร่าชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมากโดยไม่ได้จำกัดอายุ เพศ เชื้อชาติใดๆ ทั้งสิ้น ปัญหาโรคระบาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่เพียงแต่พรากชีวิตของคนตาย แต่หากยังพรากชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน บางครั้งต้องละทิ้งชุมชน  อพยพย้ายถิ่นฐานหนีโรคร้ายไปตั้งชุมชนใหม่ สำหรับประเทศไทยนั้นก็ประสบกับสถานการณ์โรคระบาดมามากมายหลายครั้ง โดยโรคระบาดที่สำคัญและสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยอย่างยิ่งโรคหนึ่งนั้นคือ กาฬโรค (Plague) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีหนูและหมัดเป็นพาหะโรค เป็นโรคระบาดที่รุนแรงและรวดเร็วทำให้มีการเสียชีวิตจำนวนมาก กาฬโรคเริ่มเข้ามาระบาดในเมืองไทยตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่เริ่มปรากฏชัดเจนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดย "กาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕" เป็นงานที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง ตรวจสอบชำระ และแปลเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการระบาดของกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ จากเอกสาร จำนวน ๔ รายการ คือ (๑) ตำราแพทย์แสดงด้วยกาฬโรค กล่าวถึงประวัติความเป็นมาและวิธีป้องกันกาฬโรค (๒) ประมวลจดหมายเหตุเกี่ยวกับกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวถึงการป้องกันกาฬโรค จากเอกสารแหล่งต่างๆ ทั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา และวารสารต่างประเทศ ต้นฉบับมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (๓) ประกาศป้องกันกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นการรวบรวมประกาศและกฏหมายป้องกันกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาและชุดหนังสือกฎหมาย และ (๔) ลำดับเหตุการณ์ สำคัญเกี่ยวกับกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ เช่น การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ (๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๐) กาฬโรคระบาดที่ภูเก็ต (พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๔๔๔) การตั้งโรงพยาบาลกาฬโรคที่คลองสาน (กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗) ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคในหัวเมือง กำหนดให้แจ้งความเมื่อมีผู้ป่วยเป็นกาฬโรค (๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙) นายแพทย์ยอร์ช แมกฟาร์แลนด์ พิมเผยแพร่ตำราแพทย์แสดงด้วยกาฬโรค (มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓) อีกทั้งยังมีเรื่องของกาฬโรคกับสังคมไทย และสมมุติฐานเรื่องกาฬโรคสมัยพระเจ้าอู่ทอง เพื่อศึกษาวิธีการของรัฐบาลในสมัยนั้นที่ดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของกาฬโรคตามหลักการแพทย์ตะวันตกเพื่อป้องกันและระงับการระบาดของกาฬโรคมิให้สูญเสียชีวิตผู้คนจำนวนมาก ด้วยมุ่งหวังเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขของไทยให้ปรากฏแก่ผู้สนใจและสาธารณชน อีกทั้งเป็นเอกสารประวัติศาสตรที่อำนวยประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงทางวิชาการสืบต่อไป     



1. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาการดำการแดง, แก้ร้อนแก้สลบ, ยามหาหิน, ยาประสะดำ, ยาแก้กระไส, แก้ไข้สะท้านหนาว, ลมสันนิบาต ฯลฯ 2. ยันต์ตรีนิสิงเหและเวทย์มนต์คาถา


          อุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ ตั้งอยู่ภายในวัดประทุมธรรมชาติ บ้านแกใหญ่ หมู่ที่ ๑ ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๐ แล้วเสร็จและมีการผูกพัทธสีมาเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๔๖๒ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง หน้า ๙ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๔ ไร่ ๐ งาน ๔๖ ตารางวา           ร่องรอยของโบราณสถานที่เหลืออยู่ เป็นอาคารอุโบสถ หรือที่เรียกว่า “สิม” สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ สร้างโดยการนำของพระครูธรรมธัชพิมล อดีตเจ้าอาวาส ช่างเป็นชาวเขมรที่มาอยู่ที่บ้านแกใหญ่อุโบสถ หรือ สิมหลังนี้ เป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน สร้างด้วยไม้ ขนาด ๕ ช่วงเสา กว้าง ๗.๒๕ เมตร ยาว ๑๐.๖๐ เมตร หลังคาทรงจั่วสองชั้น ชั้นบนลดมุขด้านหน้าและด้านหลังหน้าบันมีชานจั่วแกะสลักลวดลาย ส่วนบนหลังคาประดับด้วยโหง่ ลำยอง นาคสะดุ้งและหางหงส์ไม้ หลังคาชั้นลดแบบปั้นหยาคลุมตลอดทั้งสี่ด้าน หน้าต่างและประตูเป็นแบบลูกฟักเหมือนกับที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ตัวอาคารตั้งอยู่บนพื้นดิน มีเสาไม้สี่เหลี่ยม รวม ๒๔ ต้น ด้านหน้าด้านทิศตะวันออกมีประตูทางเข้า ๒ บาน และมีหน้าต่างอยู่ตรงกลาง ๑ บาน ด้านหลังด้านทิศตะวันตกมีประตูทางเข้า ๒ บาน และมีหน้าต่างอยู่ตรงกลาง ๑ บาน ด้านข้างด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้มีช่องหน้าต่างด้านข้างด้านละ ๕ บาน จุดเด่นของสิมหลังนี้อยู่ที่หน้าบันมีชานจั่วเป็นไม้แกะสลักลวดลายด้านทิศตะวันออกแกะสลักลวดลายรูปเทพพนม ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา ด้านทิศตะวันตกแกะสลักลวดลายราหู ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา นอกจากนี้ยังพบการสลักลวดลายที่ตำแหน่งเชิงชายคาของหลังคาทั้งสองชั้น           ปัจจุบัน โบราณสถานอุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ ไม่มีการใช้ประโยชน์ และไม่ได้รับความเอาใจใส่ดูแลรักษาจากทางวัดเท่าที่ควร เนื่องจากมีการสร้างอุโบสถหลังใหม่ไว้ที่ด้านทิศใต้ของอุโบสถหลังนี้ สภาพปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก ส่วนหลังคาที่เดิมเคยมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ปลายแหลม ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสังกะสีทั้งหมด ส่วนบนหลังคา ที่ประดับด้วยโหง่ ลำยอง นาคสะดุ้งและหางหงส์ไม้ ชำรุด ผุพังและหลุดหายไปจากตำแหน่งเดิม ประตู หน้าต่างและฝาผนังไม้ ชำรุด ผุพัง หลุดหายไปมาก ลวดลายหน้าบันที่สลักตกแต่งสวยงามก็ชำรุดหลุดหายไป ภายในอาคารก็มีน้ำท่วมขัง เนื่องจากมีการนำดินมาปรับถมพื้นที่ด้านนอกโดยรอบทำให้ภายในอยู่ในพื้นที่ต่ำ           สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของโบราณสถานอุโบสถ วัดประทุมธรรมชาติ จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการสำรวจเพื่อการออกแบบบูรณะโบราณสถานอุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลของโบราณสถาน ประวัติศาสตร์ความเป็นมาและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถาน มีเป้าหมายเพื่อที่จะอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของโบราณสถาน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม คงสภาพความเป็นของแท้ดั้งเดิมให้มากที่สุด ทรงคุณค่าในการเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำผังรูปแบบเพื่อการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว           ปัจจุบัน สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓ จากกรมศิลปากร เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งศิลปวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยว งบเงินอุดหนุนเพื่อบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์อุโบสถวัดประทุมธรรมชาติ โดยเบิกจ่ายจากเงินอุดหนุน จำนวน ๗๓๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนสามหมื่นบาทถ้วน) และเงินวัดสมทบ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานบูรณะและปรุบปรุงภูมิทัศน์ และสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จะรายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการเป็นระยะๆ ต่อไป รวบรวมข้อมูลโดย : นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา






ผู้แต่ง : พระยากัลยาณไมตรี, เรียบเรียง สำราญ กัลยาณมิตร, แปล ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2512 หมายเหตุ : -             เอกสารเกี่ยวกับการปรับปรุงข้อผูกมัดตามสัญญาล้าสมัยของประเทศไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวเหตุผลที่ไทยประกาศสงครามกับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 ความเสียเปรียบของสนธิสัญญาของไทยกับนานาประเทศ การยอมรับปรับปรุงสัญญาระหว่างประเทศมหาอำนาจกับไทย และตัวบทสัญญาต่างๆ ซึ่งแสดงถึงสภาพนอกอาณาเขตและข้อจำกัดในเรื่องอำนาจการเก็บภาษีถึงสภาพนอกอาณาเขตและข้อจำกัดในเรื่องอำนาจการเก็บภาษี


ขจร  สุขพานิช. พระเกียรติประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: โรงพิมพ์มหาดไทย, 2500.เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย 1. เรื่องประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ประจำองค์  พระศาสนโสภณ เป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ที่ได้บำเพ็ญสรรพกรณียกิจ เป็นที่ประจักษ์แก่มวลพุทธบริษัท และทางราชการ ตลอดถึงพสกนิกรทั่วราชอาณาจักร  2.เรื่องวิกฤตกาลเงียบเมื่อร้อยกว่าปีก่อนที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ วิกฤตกาลเมื่อครั้งญี่ปุ่นประกาศสงครามกับนานาชาติ ฝรั่งได้กรีฑาทัพขอผ่านประเทศไทย, วิกฤตกาลเมื่อครั้ง ร.ศ.112, สนธิสัญญาโบริ่ง ฯลฯ เป็นต้น 3. เรื่องหมอบรัดเล และมิชชันนารีอเมริกัน และ 4. เรื่องพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับท่านสังฆราชปาลกัว พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานบำเพ็ญกุศลสมโภชสุพรรณบัฎของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าอาวาสวัดมกุฎกษัตริยาราม 16 มกราคม 2500923.1593 จ196ข


ชื่อเรื่อง                     บาญชีตัดจุก รายพระนามแลนาม ผู้ซึ่งพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดจุกผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประเพณี ขนมธรรมเนียมเลขหมู่                      390.22 จ657บสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์                    2468ลักษณะวัสดุ               65 หน้า หัวเรื่อง                     ราชสกุล       ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา โปรดให้พิมพ์เปนมิตรพลีในงารฉลองพระชันสาครบ 3 รอบ เมื่อปีฉลู พ.ศ.2468 รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์และนามบุตรขุนนางซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดจุก ตั้งแต่ครั้ง ที่ 1 พ.ศ. 2425 จนถึงครั้งที่ 60 อันเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2452 รวมทั้งสิ้น 392 องค์  


ชื่อเรื่อง                           เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ.                                  191/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           30 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี  



Messenger