ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฺธกถา ขุทฺทกนิกายฏฺธกกา (ธมฺมฺปทขั้นปลาย)อย.บ. 241/5หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
ชื่อเรื่อง สพ.บ.424/10 พระเจ้าห้าสิบชาติ (ห้าสิบชาติ)
สพ.บ. 424-10
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
เทศน์มหาชาติ
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
โคมแขวนจากลาลูแบร์ (จดหมายเหตุลาลูแบร์ Simon de La Loubere)
โคมแขวนในสมัยกรุงศรีอยุธยา….จากบันทึกจดหมายเหตุลาลูแบร์ (Simon de La Loubere) ราชทูตชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ๖ วัน ลา ลูแบร์ ได้จดบันทึกเรื่องราวมากมายในกรุงศรีอยุธยา รวมถึงโคม ซึ่ง ลา ลูแบร์ ได้บันทึกการชักโคมและลอยประทีปของชาวสยามไว้ว่า ...
“อนึ่ง ชาวสยามมีมหรสพ เนื่องในการพระศาสนาด้วย ลุฤดูน้ำเริ่มลด ประชาชนพลเมืองจะแสดงความขอบคุณแม่คงคา ด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ) อยู่หลายคืน มิชั่วแต่แม่พระคงคาจะลดราถอยไปเท่านั้น ยังอำนวยให้พื้นดินที่จะทำการเพาะปลูกอุดมดีอีกด้วย เราจะได้เห็นทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ (กระทง) ไปตามกระแสธาร มีขนาดใหญ่ย่อมต่างกันตามศรัทธา ประสาทของแต่ละคนและมีกระดาษสีต่างๆ ซึ่งประดิษฐ์คิดทำกันขึ้นประดับประดาเครื่องลอยประทีปนั้น เพิ่มให้แสงสีงดงามขึ้นอีก โดยนัยเดียวกัน เพื่อแสดงความขอบคุณต่อแม่พระธรณีที่อนุเคราะห์ให้เก็บเกี่ยวพืชพรรณธัญญาหารได้อย่างอุดมสมบูรณ์ ในวันต้นๆ ของปีใหม่ชาวสยามก็จะตามประทีปโคมไฟขึ้นอย่างมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง”
“ครั้งแรกที่เราไปถึงเมืองละโว้นั้นเป็นเวลากลางคืน พอดีกับคราวตามประทีปนั้น และเราได้เห็นกำแพงเมืองตามประทีปโดมไฟสว่างไสวรายเรียงอยู่เป็นระยะๆ แต่ภายในพระบรมมหาราชวังนั้น ยังงดงามยิ่งขึ้นไปอีก ในกำแพงแก้วที่ล้อมพระราชฐานนั้น มีซุ้มช่องกุฏิ ๓ แถว โดยรอบ แต่ละช่องมีประทีปดวงหนึ่งตามไฟไว้ บัญชรและทวารทั้งนั้น ก็ประดับดวงประทีปด้วยเหมือนกัน มีโคมประทีปใหญ่และย่อมตกแต่งเป็นรูปแปลกๆ กัน ปิดกระดาษหรือหุ้มผ้าแก้วโปร่งระบายสีต่างๆ แขวนไว้อย่างเป็นระเบียบตามกิ่งไม้หรือตามเสาโคม”
Credit: ขอบคุณภาพและผลงาน อาจารย์วาสนา สายมา
บทความนี้เป็นของเพจ Love Thailand Culture
โฉมเอย...โฉมงามอร่ามเเท้เเลตลึง... การประกวดนางงามจันทบุรี ในงานเหมันต์หรรษา 2511
งานประจำปีจังหวัดจันทบุรีนิยมจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปี เดิมใช้ชื่อ งานเหมันต์หรรษา ภายในงานจะมีกิจกรรมมากมาย อาทิ กีฬาพื้นเมือง งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ดนตรี มวย ลิเก รำวงรีลาศ ภาพยนต์ โขนสด เเละที่สำคัญจะมีการประกวดนางงามจันทบุรี โดยหน่วยงาน ห้างร้าน ในจังหวัดจันทบุรี จะส่งสาวงามเข้าร่วมชิงชัย ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ ในชุดจังหวัดจันทบุรี มีเอกสารสำคัญในการจัดงาน อาทิ ใบสมัคร ภาพถ่ายผู้เข้าประกวด(ภาพขาวดำ) คำสั่งจังหวัดต่างๆในการเเบ่งหน้าที่การจัดงาน เป็นต้น
ภาพถ่ายผู้เข้าประกวดชุดนี้ ตามรายชื่อ หากคุณเเม่หรือคนในครอบครัว สนใจขอคัดสำเนาเป็นที่ระลึก สามารถขอทำสำเนาได้ที่หอจดหมายเหตุเเห่งชาติ จันทบุรี
ชื่อเรื่อง: ว่าด้วยแม่น้ำที่มีในประเทศสยาม ผู้แต่ง: มหาเสวกโท พระยามหาอำมาตยาธิบดี ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๖๘สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า: ๕๐ หน้า เนื้อหา: หนังสือ "ว่าด้วยแม่น้ำที่มีในประเทศสยาม" มหาเสวกโท พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เสง วีรยศิริ) เมื่อครั้งเป็นหลวงเทศาจิตรวิจารณ์ได้แต่งและส่งลงพิมพ์ไว้ในหนังสือวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๓ ต่อมาได้เรียบเรียงเพื่อแจกในการกฐินพระราชทาน มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ณ วัดอินทาราม พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร เนื้อหากล่าวถึง แม่น้ำที่มีอยู่ในสยาม ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและ แม่น้ำของ นับว่าเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญและทรงคุณค่าควรแก่การศึกษาค้นคว้า และอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไปเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๗๐๙ เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๑๒หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือเสนาสนะที่คุ้ฒแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่ง ไม่ไปค้างแรมในที่อื่นตลอด 3 เดือนในฤดูฝน ปกติวันเข้าพรรษาจะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม
ในปี พ.ศ. 2566 เป็นปีอธิกมาส มีเดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือมี 13 เดือน มีเดือน 8 สองหน จึงเรียกว่า 8 สอง 8 เมื่อหมดเดือน 8 แล้ว แทนที่จะนับเดือนต่อไปเป็นเดือน 9 ก็ให้นับเดือน 8 ซ้ำอีกครั้ง และเรียกเดือน 8 ทั้งสองนี้ว่าเดือน 8 แรก และเดือน 8 หลัง วันเข้าพรรษาปีนี้ใช้เดือน 8 หลัง จึงเลื่อนไปในเดือนสิงหาคม ตรงกับวันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยสำหรับพระสงฆ์ไว้ว่า ในฤดูฝนให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ 3 เดือน เรียกว่า จำพรรษา ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยพุทธกาลตอนต้น พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดให้พระสาวกจำพรรษา ภิกษุทั้งหลายจึงเดินทางเที่ยวจาริกไปทุกฤดู แม้ในฤดูฝนที่ชาวบ้านทำไร่ทำนากัน จึงเหยียบย่ำข้าวกล้าและสัตว์เล็กๆนานาชนิด เช่น มด ปลวก ชาวบ้านจึงพากันตำหนิติเตียน ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสในที่ประชุมสงฆ์ บัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์จำพรรษาตลอด 3 เดือนในฤดูฝน
การเข้าพรรษา แบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ เข้าพรรษาแรกเรียกว่า “ปุริมพรรษา” เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงกลางเดือน 11 ถ้าเข้าพรรษาแรกไม่ทันก็เข้าพรรษาหลัง เรียกว่า “ปัจฉิมพรรษา” เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงกลางเดือน 12 แต่เข้าพรรษาหลังจะรับกฐินไม่ทันเพราะหมดเวลาทอดกฐิน ปีใดมีเดือน 8 สองหน ปีนั้นให้ถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง เป็นวันเข้าพรรษาแรก
ช่วงเวลาพรรษา พุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น ก่อนวันเข้าพรรษาพุทธศาสนิกชนจะนำเทียนเข้าพรรษษและหลอดไฟฟ้าไปถวายพระ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้แสงสว่างตลอดเข้าพรรษา ในวันเข้าพรรษานิยมไปทำบุญที่วัด ถวายผ้าอาบน้ำฝนและช้าวของเครื่องใช้ตามแต่จะมีจิตศรัทธาถวาย เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน น้ำตาล ไม้ขีด ร่ม พุ่มเทียน ในตอนเช้าของวันเข้าพรรษาก็จะมีการทำบุญตักบาตรทั่วไป
ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผา สมัยทวารวดี
ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผา จัดแสดง ณ อาคารจัดแสดง ๒ ชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผา มีขนาดกว้าง ๑๐ เซนติเมตร สูง ๘.๒ เซนติเมตร พบเฉพาะส่วนเศียร ส่วนองค์พระชำรุดหักหายไป ชิ้นส่วนที่ปรากฏเป็นภาพพระเศียรของพระพุทธเจ้า ด้านหลังมีกรอบประภามณฑลรอบล้อมพระเศียร โดยพระพักตร์แสดงเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ได้แก่ อุษณีษะนูน พระเกศาขมวดเป็นเม็ดกลม พระพักตร์กลม พระนลาฏแคบ พระขนงทั้ง ๒ เชื่อมต่อกันเป็นเส้นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำและเปลือกพระเนตรโปลน พระนาสิกค่อนข้างใหญ่ ริมพระโอษฐ์หนา มุมพระโอษฐ์ทั้งสองข้างยกขึ้นแย้มพระสรวล ปลายพระกรรณทั้งสองยาว
รอบพระเศียรมีกรอบประภามณฑลรูปครึ่งวงกลม ภายในกรอบประภามณฑลมีการลงสีแดงอมส้ม ซึ่งพบพระพิมพ์ที่มีการลงสีลักษณะดังกล่าวที่เมืองฟ้าแดงสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ กรอบประภามณฑลมีลวดลายกนกสามเหลี่ยม น่าจะหมายถึงเปลวไฟ การทำกรอบประภามณฑลมีลวดลายเปลวไฟรอบพระเศียรของพระพุทธเจ้าในสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยปาละ ด้วยพระพักตร์ที่มีรูปแบบเฉพาะของศิลปะทวารวดี ประกอบกับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียที่ปรากฏ จึงกำหนดอายุในสมัยทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว
นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่เมืองคันธารวิสัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และบริเวณเมืองลพบุรี เป็นต้น พระพิมพ์ดังกล่าวหากมีสภาพสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นภาพพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิราบแบบหลวมๆ มีกลีบบัวมารองรับ และรอบพระเศียรมีประภามณฑลเปลวไฟ เป็นลักษณะพิมพ์ที่พบมากในเมืองโบราณแถบลุ่มแม่น้ำชี การพบพระพิมพ์รูปแบบคล้ายกันกระจายในเมืองโบราณที่ร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดี น่าจะเกิดจากการเดินทางติดต่อระหว่างชุมชนในช่วงเวลาดังกล่าว
เอกสารอ้างอิง
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. “พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทย บัณฑิตวิทยาลัย ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
วิริยา อุทธิเสน. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา”. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ บันฑิตวิทยาลัย ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว เงินนอกงบประมาณ (กองทุนโบราณคดี)
กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรมสุดพิเศษ “Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม” ยลโฉมความงามของโบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลาค่ำคืน พร้อมด้วยกิจกรรมอีกมากมาย เริ่ม 2 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
กรมศิลปากรได้เปิดให้เข้าชมพระราชวังจันทรเกษม โบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาช่วงค่ำคืน ทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 16.30 - 21.00 น. (ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 20.30 น.) โดยภายในงานมีกิจกรรมพิเศษ ประกอบด้วย
- กิจกรรมนำชมพระราชวังสุดพิเศษ "นำชม รอบเปิดวัง" จากภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และอาสาสมัครพิพิธภัณฑ์
- กิจกรรม “ชวน ชม ชิม” เปิดพื้นที่ภายในพระราชวังจันทรเกษม ให้หน่วยงาน องค์กร ภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมแสดงกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม การสาธิต การประดิษฐ์งานศิลปะ
- กิจกรรม “ชาววัง ชวนขึ้นหอ” ชมทิวทัศน์อยุธยา บนหอสังเกตการณ์ยุคแรกของสยาม
- กิจกรรม “สายมู ยูต้องมา” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัง (หลวงพ่อลพบุรี พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 700 ปี / พระนเรศวร พระมหาอุปราชผู้ครองพระราชวังองค์แรก / เจ้าพ่อหอส่องกล้อง อารักษ์ประจำวัง /พระคเณศ เทพแห่งความสำเร็จ)
พระราชวังจันทรเกษม เป็นพระราชวังเดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2120 เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร และในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็น “ที่ว่าการมณฑลเทศาภิบาล” ซึ่งพระราชวังจันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนภูมิภาคแห่งแรก ก่อตั้งโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ เรียกชื่อว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตามลำดับ
ขอเชิญชวนแต่งชุดไทย เที่ยวชมโบราณสถานยามค่ำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ เวลา 16.30 - 21.00 น. ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท (ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0 3525 1586 E-mail : wangchantra@gmail.com
พุทธประวัติ : จิตรกรรมบนแผ่นไม้ ประดับคอสอง
ศาลาพระปาลิไลย์ วัดเขายี่สาร ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดเขายี่สาร ตั้งอยู่บนเนินเขายี่สารในหมู่บ้านยี่สาร หมู่ที่ 1 อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นวัดเก่าโบราณ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างตั้งแต่เมื่อใด ตามการสันนิษฐานของกรมศิลปากรจากสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ให้ความเห็นว่า วัดเขายี่สารน่าจะสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยพระเจ้าเสือ ( สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ ที่ 8 ) วัดเขายี่สารได้จดทะเบียนเป็นวัด เมื่อ พ.ศ. 2246 นอกจากนั้นภายในวัดก็ได้จัดเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมที่สำคัญ นั่นคือ “พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร”
“พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร” เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เดิมตั้งอยู่ที่ศาลาพระปาลิไลย์ ศาลาการเปรียญหลังเก่าของวัดเขายี่สารเป็นพิพิธภัณฑ์ ด้วยความร่วมมือร่วมใจและความสำนึกรักในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาวบ้านเขายี่สาร จึงได้ช่วยกันเก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุจากวัดเขายี่สารและบริจาคสิ่งของต่าง ๆ เพื่อจัดแสดงให้ผู้ที่สนใจได้ชม
โดยการจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร ก็เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนบ้านเขายี่สาร และจากหลักฐานทางโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ทางพิพิธภัณฑ์ทำการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมมานั้น ทำให้พบว่าชุมชนบ้านเขายี่สารเป็นชุมชนโบราณร่วมสมัยกับการเกิดกรุงศรีอยุธยาและมีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และปรากฏหลักฐานเอกสารมากมายที่กล่าวถึง “บ้านเขายี่สาร” ในฐานะชุมชนเก่าแก่ที่เป็นทางผ่านเมื่อจะต้องเดินทางสู่เขตเพชรบุรีลงไป นอกจากนี้ภายในอาคารได้มีการจัดแสดงเรื่องต่าง ๆ เช่น ภูมิปัญญาบ้านเขายี่สาร วิถีชีวิตวัฒนธรรมของผู้คน เครื่องมือผลิตยา และเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวบ้านในชุมชน เป็นต้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ได้มีโอกาสเข้าไปสำรวจพบว่า “พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร” มีการรวบรวมภาพจิตรกรรมบนแผ่นไม้ ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมที่แสดงเรื่องราวพุทธประวัติ ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ดังนั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จึงได้เรียบเรียงบทความนี้ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา ค้นคว้า อีกทั้งยังเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป
โดยภาพจิตรกรรมที่แสดงเรื่องราวพุทธประวัติที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมไว้นั้น มีจำนวนทั้งหมด 8 ภาพ เป็นภาพที่เขียนบนแผ่นไม้กระดานยาวสองแผ่น (บน – ล่าง) ประกอบกัน ในแต่ละภาพประกอบด้วยเรื่องราวพุทธประวัติหลายตอนประกอบกัน ดังต่อไปนี้
ภาพแผ่นที่ 1 : ประกอบด้วยเรื่องราวพุทธประวัติ 3 ตอน
ตอนที่ 1 แสดงเหตุการณ์ตอนพระเจ้าตติยโอกการาชมีรับสั่งให้เสนาบดีติดตามพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ออกไปสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่
ตอนที่ 2 แสดงเหตุการณ์ตอนพระราชโอรสและพระราชธิดาออกเดินทางไปพบกบิลพราหมณ์และสร้างเมืองซีนัมนที ในบริเวณที่เป็นอาศรมของพราหมณ์ดังกล่าว ตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “เมืองกบิลพัสดุ์” ซึ่งเจริญรุ่งเรืองต่อมา
ตอนที่ 3 อยู่ส่วนด้านขวามือ แสดงเหตุการณ์ตอนพิธีอภิเษกสมรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริ มหามายาผู้ที่จะได้เป็นพุทธบิดาและพุทธมารดา ในกาลต่อมา
มีจารึกอักษรไทย ภาษาไทยที่ด้านซ้าย ความว่า “จีนเพี้ยนซุน แม่จุ้ย สร้างไว้ในพระศาสนา”
ภาพแผ่นที่ 2 : ประกอบด้วยเรื่องราวพุทธประวัติ 3 ตอน
ตอนที่ 1 แสดงเหตุการณ์ตอนพระนางสิริมหามายาประทับราชรถเพื่อกลับไปยังนครของพระองค์
ตอนที่ 2 แสดงเหตุการณ์ตอนพระนางสิริมหามายามีพระประสูติการเจ้าชายสิทธัตถะ ณ สวนลุมพินีวัน เป็นภาพสตรียืนเหนี่ยวกิ่งไม้ซึ่งน่าจะเป็นต้นสาละแวดล้อมไปด้วยนางพระกํานัลและมีผ้ากางกั้นไว้
ตอนที่ 3 แสดงเหตุการณ์ตอนกาฬเทวิลดาบส มาชื่นชมเจ้าชายสิทธัตถะ และประสงค์ให้เจ้าชายมาคารวะตน ทว่าด้วยบุญบารมีเจ้าชายก็ลอยขึ้นไปอยู่เหนือชฎาของดาบส ดาบสจึงเพ่งพิจารณาเจ้าชายน้อยใหม่ ทําให้ทราบว่าในกาลข้างหน้านั้น เจ้าชายน้อยนี้จักตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดาบสจึงร่ำไห้ด้วยความเสียดายที่จักมิได้อยู่จนถึงเหตุการณ์ในอนาคตนั้น
ด้านซ้ายมีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า “พ่อโต้ แม่เมือง บ้านยี่สาร มีใจสัทธาสร้างไว้ในพระศาสนา” ตอนขวามีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า “จีนซุนแม่ . . . (ลบเลือน) . . . แม่ปุย มีใจสัทธาสร้างไว้ในพระศาสนา" บริเวณกึ่งกลางภาพ ปรากฏรูปประตูเมืองระบุคําว่า “ทรศก 129”
ภาพแผ่นที่ 3 : ประกอบด้วยเรื่องราวพุทธประวัติ 4 ตอน
ตอนที่ 1 แสดงเหตุการณ์เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสอุทยานและได้พบกับเทวทูตทั้งสี่ และได้นิมิตเห็นการเกิดแก่เจ็บตาย
ตอนที่ 2 แสดงเหตุการณ์ตอนเข้าไปทอดพระเนตรพระนางพิมพาและพระราหุลที่กำลังบรรทมอยู่ก่อนจะเสด็จหนีออกนอกพระราชวัง โดยมีนายฉันนะรอเฝ้าอยู่ด้านนอกปราสาท และมีภาพสตรีบางคนออกไปพลอดรักกับบุรุษอยู่ด้านนอกปราสาทด้วย
ตอนที่ 3 แสดงเหตุการณ์ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้าออกจากพระราชวัง มีนายฉันนะเกาะหางม้าติดตามไปด้วย โดยระหว่างทางนั้นได้พบกับท้าววสวัตตีมารที่มาห้ามมิให้ออกผนวช ด้วยอีกเพียง 7 วันข้างหน้า เจ้าชายก็จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิราชแล้ว แต่เจ้าชายมิได้เปลี่ยนพระทัย ยังเสด็จพระราชดำเนินต่อไป
ตอนที่ 4 เป็นเหตุการณ์ตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะตัดพระเกศาด้วยพระองค์เอง แล้วขว้างพระเกศาไปในอากาศ พระอินทร์จึงได้เสด็จลงมารับพระเกศานั้นไปประดิษฐานยังเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตอนซ้ายของแผ่นไม้มีข้อความอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า “แม่ริง แม่อ่วม แม่แว้ด แม่วา แม่สี สร้างไว้ในพระศาสนา” ตอนขวา มีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า “พ่อพัน แม่โมด สร้างไว้ในพระศาสนา”
ภาพแผ่นที่ 4 : เป็นภาพแสดงเหตุการณ์หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชแล้ว ด้วยมีพระวรกายงดงามเปล่งปลั่ง พระจริยาวัตรงดงามเป็นที่ร่ำลือ พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จออกไปทอดพระเนตร และเมื่อทรงทราบว่านักบวชรูปงามนั้นเดิมคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ก็เข้าพระทัยว่าเจ้าชายอาจมีปัญหาภายในบ้านเมืองเดิม จึงยินดีที่จะแบ่งพระนครของตนให้เจ้าชายปกครอง บริเวณหน้าบันปราสาทที่อยู่ด้านขวาของภาพ มีข้อความว่า “พะอยาพิมสัน” น่าจะหมายถึง พระยาพิมพิสาร หรือ พระเจ้าพิมพิสาร โดยช่างเขียนได้เขียนภาพข้าราชการ หรือขุนนางของพระเจ้าพิมพิสารสวมเสื้อราชปะแตนและนุ่งผ้าโจงกระเบน
ตอนซ้ายของแผ่นไม้ด้านบนอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า “คุณยกพวง พ่อสวง จีนเซ็ก สร้างไว้ในพระสาสนา”
ภาพแผ่นที่ 5 : ภาพนี้มีเรื่องราวพุทธประวัติหลายตอนประกอบกัน
ตอนที่ 1 จะเริ่มจากบริเวณกึ่งกลางด้านซ้าย แสดงเหตุการณ์ในช่วงที่พระพุทธเจ้ายังแสวงหาหนทางตรัสรู้เพื่อพ้นทุกข์ มีเหตุการณ์แสดงตอนที่อดพระกระยาหาร มีพระวรกายซูบผอม พระอินทร์จึงลงมาดีดพิณสามสาย แสดงความหมายถึงวัตรปฏิบัติที่หากตึงเกินไปสายพิณก็จะขาด หย่อนเกินไปก็ไม่มีความไพเราะ ต้องมีความพอดีไม่ตึงหรือหย่อนเกินไปจึงจะบรรเลงได้ดี พระโพธิสัตว์พิจารณาแล้วจึงพบว่า ทางสายกลางนั้นแล้วคือ “หนทางแห่งการตรัสรู้”
ตอนที่ 2 ด้านซ้ายสุดของภาพ แสดงเหตุการณ์ตอนที่นางสุชาดา บุตรีเศรษฐีกวนข้าวมธุปายาสหรือข้าวทิพย์ เพื่อนําไปบวงสรวงเทพยดาขอพรให้ได้พบสามีที่ดีและมีบุตรที่ดี เทวดาก็ลงมาช่วยนางกวนข้าวนั้นด้วย และในภาพส่วนนี้ช่างเขียนได้เขียนภาพบ้านของนางสุชาดาเป็นอาคารแบบตะวันตกก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตามอย่างบ้านเจ้านายและคหบดีที่มีฐานะในสมัยนั้น โดยที่หน้าบันของบ้านเขียนข้อความว่า “สก 129” ตรงกับพุทธศักราช 2454 ปีแรกในแผ่นดินรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ตอนที่ 3 ภาพถัดมาแสดงเหตุการณ์ตอนที่นางสุชาดานำข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองไปถวายพระพุทธเจ้า ด้วยเข้าใจว่าเป็นรุกขเทวดา
ตอนที่ 4 ภาพลําดับถัดมา แสดงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าฉันข้าวมธุปายาสนั้นแล้วจึงนําถาดทองไปลอยน้ำ และอธิษฐานว่าหากจะได้ตรัสรู้พบหนทางพ้นทุกข์แล้วไซร้ ขอให้ถาดทองนั้นไหลทวนกระแสน้ำ ถาดนั้นจึงลอยทวนน้ำและจมลงบริเวณที่เป็นวิมานของพญานาค รวมกับถาดทองที่พระพุทธเจ้า 3 พระองค์ ได้ลอยมาก่อนหน้านี้
ตอนที่ 5 ภาพเหตุการณ์ตอนถัดไปเริ่มที่บริเวณด้านขวาของแผ่นไม้ ภาพด้านขวาสุดเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ตอนที่พราหมณ์โสตถิยะถวายหญ้าคามารองประทับนั่ง และพระพุทธองค์ก็ได้ตรัสรู้เหนือบัลลังก์ที่มีหญ้าคาปูรองนี้ ทั้งนี้ตามพุทธประวัตินั้น เหตุการณ์ในพุทธประวัตินี้ กล่าวถึงฉัพพรรณรังสีหรือรัศมีที่จะเปล่งประกายออกมารอบพระวรกายหรือพระเศียรของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะปรากฏขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ทว่าในภาพเขียนนี้ช่างเขียนได้เขียนให้พระพุทธองค์นั้นมีฉัพพรรณรังสีตั้งแต่ในภาพที่รับหญ้าคาจากพราหมณ์โสตถิยะแล้ว
ตอนที่ 6 ภาพถัดเข้าไปตรงกลางด้านขวา แสดงเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธเจ้าโปรดปัญจวัคคีย์
ตอนที่ 7 ถัดไปกลางภาพส่วนขวา เป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่เสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงค์
ตอนบนของแผ่นไม้ เขียนข้อความว่า “พ่อสุกแม่เทแม่ฟอน พิแม่สาย . . . พ่อลัยสุดทองอยู่คลองยี่สาร แม่แฉ้งแม่พัวแม่พัน สร้างไว้ในพระศาสนา”
ภาพแผ่นที่ 6 : ประกอบด้วยเรื่องราวพุทธประวัติ 3 ตอน
ตอนที่ 1 แสดงเหตุการณ์ก่อนการตรัสรู้ โดยท้าววสวัตตีมารมาทวงบัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่พระพุทธเจ้าจึงแสดงสิทธิเหนือบัลลังก์นี้โดยให้พระแม่ธรณีมาเป็นพยาน พระนางจึงบีบน้ำออกจากมวยผมเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าพระพุทธเจ้านี้สั่งสมบุญบารมีมามากมายเพียงใด น้ำที่ออกมาจากมวยผมนั้นจึงท่วมกองทัพเหล่ามาร
ตอนที่ 2 แสดงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าเข้าสมาธิและตรัสรู้เหนือบัลลังก์นั้น
ตอนที่ 3 แสดงเหตุการณ์ภายหลังการตรัสรู้ โดยท้าววสวัตตีมารยังไม่ยอมพ่ายแพ้ ให้ธิดามาร 3 องค์ ออกไปร่ายรำยั่วยวนพระพุทธเจ้า โดยธิดามารได้จำแลงเป็นหญิงในวัยต่าง ๆ แต่พระพุทธเจ้ามิได้สนพระทัย ในที่สุดแล้วธิดามารก็ถูกขับไล่ออกไปในสภาพของหญิงชรา
ภาพจิตรกรรมนี้มีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า “โนทองแม่เชยสร้างไว้ในพระศาสนา
ภาพแผ่นที่ 7 : เป็นภาพพุทธประวัติช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพ หลังจากที่ท้าววสวัตตีมารมาทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระองค์จึงทรงรับว่าอีกสามเดือนจะทรงละสังขารจากโลกนี้ โดยภาพจิตรกรรมแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มภาพ คือ
กลุ่มที่ 1 เป็นภาพเล่าเรื่องตอนจุนทกัมมารบุตรจัดเตรียมอาหารเพื่อถวายพระพุทธเจ้า
กลุ่มที่ 2 ภาพพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสาวกฉันภัตตาหารที่บ้านจุนทกัมมารบุตร
กลุ่มที่ 3 ภาพพระพุทธเจ้าประชวรเพราะวิบากกรรมในอดีตชาติ แต่ยังทรงเดินทางไปดับขันธ์ปรินิพานใต้ต้นรังคู่ที่เมืองกุสินารา แสดงเป็นภาพพระพุทธเจ้าบรรทมอยู่ท่ามกลางพระสาวก และมีภาพคนบดยาเพื่อถวายการรักษาอยู่ด้านข้าง
กลุ่มที่ 4 ภาพพระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพาน ในเหตุการณ์มีดอกมณฑาร่วงหล่นลงมาจากสวรรค์ เมื่อพระมหากัสสปะ พระอัครสาวกที่ขณะนั้นอยู่ต่างเมืองเห็นดอกมณฑาร่วงลงมาจึงทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จปรินิพานแล้ว
ด้านขวาของภาพมีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า “แม่ถึกสร้างไว้ในพระศาสนา”
ภาพแผ่นที่ 8 : ประกอบด้วยเรื่องราวพุทธประวัติ 2 ตอน เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา
ตอนที่ 1 แสดงเหตุการณ์ตอนประชุมเพลิงพระพุทธเจ้า โดยมีพระมหากัสสปะที่อยู่ต่างเมืองและทราบข่าวจึงรีบเดินทางมา เป็นภิกษุรูปสุดท้ายที่กราบพระบาทพระพุทธเจ้าก่อนถวายพระเพลิง โดยในภาพตอนนี้ช่างเขียนวาดกลุ่มสตรีที่สวมเสื้อแบบตะวันตกแต่นุ่งโจงกระเบน
ตอนที่ 2 แสดงเหตุการณ์การแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีโทณพราหมณ์ อาสาเป็นผู้ตักพระบรมสารีริกธาตุแจกจ่ายออกไป แต่แอบซ่อนพระเขี้ยวแก้วไว้ในมวยผม เมื่อพระอินทร์ทอดพระเนตรเห็นการกระทำดังนั้น จึงมาหยิบพระเขี้ยวแก้วนั้นไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เอกสารสำหรับการค้นคว้า
1. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสมุทรสงคราม, “วัดเขายี่สาร” , [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://skm.onab.go.th/.../category/detail/id/110/iid/13904 [15 ก.พ. 2567].
2. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, “พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร” , [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://m-culture.in.th/album/view/17627/ [15 ก.พ. 2567].
ภาพ
1. จิตรกรรมบนแผ่นไม้ ประดับคอสอง เรื่อง พุทธประวัติ , พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร วัดเขายี่สาร ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ปริวารปาลิ (ปริวารปาลิ)อย.บ. 298/3หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.4 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง ประวัติวัดเขมาภิรตาราม นนทบุรีผู้แต่ง กรมศิลปากร กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 974-417-106-5หมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.3135 ศ528ปสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ.เอ็น.ทีปีที่พิมพ์ 2533ลักษณะวัสดุ 102 หน้า หัวเรื่อง วัด – ประวัติ วัดเขมาภิรตารามภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก วัดเขมาภิรตาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ประวัติวัด ประวัติจังหวัดนนทบุรี ชื่อและการสร้างวัด การบูรณะปฏิสังขรณ์ การบำรุงวัดในรัชกาลที่ ๔ ลำดับและประวัติเจ้าอาวาส รวมถึงวัดเขมาภิรตารามในสายตาของข้าพเจ้าของพลเรือตรี บุรินทร์ พงศ์สุพัฒน์ พร้อมทั้งมีภาคผนวกสถานที่น่าเที่ยวของจังหวัดนนทบุรี ขนบธรรมเนียมประเพณีที่น่าสนใจและงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่กรมศิลปากรรับผิดชอบ