ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ

ผู้แต่ง : ขุนทรงวรวิทย์ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ไทยเขษม ปีที่พิมพ์ : 2478 หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นการกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพพระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช พ.ศ. 2478             หนังสือที่ระลึกแห่งจังหวัดนครศรีธรรมราชนี้ เป็นการรวบรวมภาพและความเป็นมาของสถานที่สำคัญต่างๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ขุนทรงวรวิทย์มีส่วนในการสร้างสรรค์จนสำเร็จเป็นถาวรสถานที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช  


          เนื่องในวโรกาสน้อมรำลึกแห่งการสิ้นพระชนม์ ครบรอบเป็นปีที่ ๑๐๐ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่จะมีขึ้นในพุทธศักราช ๒๕๖๔ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติ จึงขอเชิญพระประวัติและผลงานของพระองค์มาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบคุณูปการมากมายที่มีต่อพระพุทธศาสนาและประเทศไทย เพื่อความซาบซึ้งในพระเกียรติคุณ และภาคภูมิใจในความเป็นสังฆราชาของชาวไทย ดังนี้           พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓ เมื่อพระชันษาได้ ๘ ปี ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี จนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนผนวชเป็นสามเณร นอกจากนี้ยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษและโหราศาสตร์อีกด้วย ถึงปี พ.ศ.๒๔๑๖ ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ ๘ เดือน จึงทรงลาผนวช เมื่อพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาแล้ว ก็ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม จนทรงมีพระปรีชาแตกฉานในภาษาบาลี ทรงสอบเป็นเปรียญ ๕ ประโยค เสมอพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนกนาถ พระองค์เจริญงอกงามไพบูลย์ในพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง ได้ทรงรับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส           พ.ศ. ๒๔๒๔ เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) สิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงรับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตสืบต่อมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงเลื่อนพระยศเป็นกรมหลวง พ.ศ.๒๔๕๓ ได้ทรงรับมหาสมณุตตมาภิเษกและเลื่อนพระยศเป็น สมเด็จพระมหาสมณะ กรมพระยา เป็น สกลมหาสังฆปรินายก ประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารได้ ๒๙ ปี สิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๖๔ พระชนมายุ ๖๑ พรรษา           คุณูปการต่อพระพุทธศาสนาและการศึกษา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระอัจฉริยะในวิทยาการต่าง ๆ หลากหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพระพุทธศาสนา ภาษาต่างๆ เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสฤต ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาโบราณ นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจเรื่อง การศึกษา การปกครอง วิทยาการสมัยใหม่ต่างๆอีกมากมาย พระองค์เป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา ทั้งการศึกษาคณะสงฆ์และการศึกษาของชาติอาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญพระองค์หนึ่งของชาติไทยในด้านการวางรากฐานการศึกษาสมัยใหม่ ทรงรจนาหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก หลักสูตรบาลี และทรงรจนาไวยากรณ์ภาษาบาลีขึ้น สำหรับใช้เป็นหลักสูตรในการศึกษาบาลี ตำราและหลักสูตรทั้งหลายเหล่านี้ ใช้สำหรับการศึกษาของคณะสงฆ์ตลอดมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกในยุคของพระองค์จนถึงปัจจุบันนี้ พระนิพนธ์ต่างๆที่เป็นหลักสูตรในการศึกษาทางพระพุทธศาสนาหลายเรื่องได้แปลเป็นภาษาต่างประเทศ เช่น นวโกวาท วินัยมุข เล่ม ๑-๒ ธรรมวิภาค ธรรมวิจารณ์และอุปสมบทวิธี เป็นต้น พระเกียรติคุณของพระองค์ท่านจึงเป็นที่รู้จักกันในกลุ่มผู้รู้และนักศึกษาชาวต่างประเทศ           ด้านการสืบอายุพระพุทธศาสนา ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ได้ ๒๕ ปี ทรงปรารภจะบำเพ็ญพระมหากุศล ทรงเห็นว่าพระไตรปิฎกที่เขียนไว้ในใบลานเป็นตัวขอม มีจำนวนมากยากที่จะรักษา ผู้ไม่รู้อ่านไม่เข้าใจ และยังไม่มีพระไตรปิฎกอักษรไทยทั้งที่คนไทยมีอักษรใช้เป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว จึงมีพระราชศรัทธาให้พิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มแบบฝรั่งขึ้นใหม่ โปรดให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และพระเถรานุเถระทั้งหลายช่วยกันชำระ โดยคัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย แล้วชำระแก้ไขและพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ รวม ๓๙ เล่ม เริ่มชำระและพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๑ สำเร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทย นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่ทำในประเทศไทย            ด้านความมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาตามโบราณราชประเพณี มีการสร้างคัมภีร์ใบลานถวายวัดเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานในอนาคตกาลตามคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน พระองค์ทรงสร้างคัมภีร์ใบลานไว้จำนวนมาก ปรากฏจากการสำรวจ อนุรักษ์ จัดทำทะเบียน แหล่งเอกสารโบราณวัดบวรนิเวศวรวิหาร เมื่อปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ดำเนินการจัดระบบคัมภีร์ใบลานวัดบวรนิเวศ ตามหลักฐานบัญชีชื่อเรื่องที่รวบรวมได้ พระองค์ได้สร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกในหมวดพระวินัยปิฎกอย่างน้อย ๕ เรื่อง ได้แก่ ภิกขุนีวิภังค์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ จูฬวัคค์(ทองทึบ) จูฬวัคค์(รักทึบ) โดยใช้ชื่อผู้สร้างคัมภีร์เป็นอักษรขอม ภาษาบาลี ว่า “มนุสฺสนาคมานโว” อันเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า พระองค์เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงซึ่งเป็นจริยวัตรที่พระองค์ปฏิบัติอย่างงดงามเป็นแบบอย่างพุทธศาสนิกชนในภายหลังได้เป็นอย่างดี            พระองค์ทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ภายในพระราชอาณาจักรให้เป็นระเบียบตามพระธรรมวินัยอันเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ พระราชบัญญัตินี้ จัดแบ่งส่วนการปกครองเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีเถรสมาคม มีเจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะ จนถึงเจ้าอาวาสปกครองบังคับบัญชากันเป็นชั้นๆ ตามลำดับ เถรสมาคมอยู่ในฐานะเป็นที่ทรงปรึกษาในการพระศาสนาของพระมหากษัตริย์ พระองค์เป็นประธานในเถรสมาคม ทรงวางกฎระเบียบต่างๆ อันเป็นการส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยด้วยความเรียบร้อย            สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แม้ว่าจะทรงเป็นเจ้านายสุขุมาลชาติ แต่ในสมัยที่ทรงบริหารการคณะสงฆ์ และทรงจัดการศึกษาของชาติในส่วนหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร ก็ได้เสด็จออกไปตรวจการณ์คณะสงฆ์และการศึกษาในหัวเมืองมณฑลต่างๆทั่วพระราชอาณาจักรเท่าที่จะสามารถเสด็จไปถึงเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ บางแห่งที่เสด็จไป ต้องทรงลำบากพระวรกายเป็นอย่างมากบ่อยครั้งต้องเสด็จดำเนินไปด้วยพระบาทเปล่า จากตำบลหนึ่งไปสู่อีกตำบลหนึ่ง แต่พระองค์ก็ทรงมีพระขันติและวิริยะอุตสาหะ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนาและการศึกษาของชาติ โดยมิเคยทรงนึกถึงความทุกข์ยากส่วนพระองค์           พระกรณียกิจและจริยาวัตรต่าง ๆ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ดังกล่าวมาแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่า ได้ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงบำเพ็ญประโยชน์อันเป็นพระคุณูปการแก่พระศาสนาและประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่เพื่อความเจริญวัฒนาสถาพรของพระศาสนาและชาติโดยแท้ จึงสมเป็นปูชนียบุคคลที่ควรเคารพบูชาของชาติไทย เป็นผู้ที่อนุชนจะพึงเคารพบูชาและถือเป็นเนตติแบบอย่างในการบำเพ็ญประโยชน์แก่พระศาสนาและประเทศชาติสืบไป          เกียรติประวัติของพระองค์ เป็นที่รับทราบแก่ชาวโลก จนในที่สุด เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ที่ประชุมใหญ่สมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ ๔๐ มีมติรับรองการร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ในวาระปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ได้ยกย่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ ครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ (๒ สิงหาคม ๒๔๖๔) ในการนี้ พุทธศาสนิกชนชาวไทย ควรร่วมจิตน้อมใจจัดกิจกรรม เพื่อเชิดชูพระเกียรติคุณ และเผยแพร่ คุณงามความดีและจริยวัตรอันงดงามให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนคนรุ่นหลังซึ่งจะส่งผลให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ สืบไป ------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายวัฒนา พึ่งชื่น นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร------------------------------------------




           พบจากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี         จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง         พระเศียรพระพุทธรูป สูงประมาณ ๕ เซนติเมตร พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรปิด พระกรรณยาว พระโอษฐ์อมยิ้ม จากรูปแบบศิลปกรรมกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) และพระบาทพระพุทธรูป ยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร มีพระองคุลีบาท (นิ้วพระบาท) ยาวเสมอกัน พระปราษณี (ส้นพระบาท) ยาว และมีฝ่าพระบาทราบ พุทธลักษณะเหล่านี้ ช่างสมัยทวารวดีสร้างขึ้นตามตำรามหาปุริสลักขณะ (มหาบุรุษลักษณะ)         พระเศียรและพระบาทพระพุทธรูปทองคำนี้ พบจากการขุดแต่งด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖ ถึงแม้พระเศียรและพระบาทดังกล่าวจะไม่ได้ขุดพบร่วมกัน แต่บริเวณที่พบโบราณวัตถุทั้งสองชิ้นไม่ห่างกันนัก ประกอบกับขนาดและสัดส่วนของพระเศียร และพระบาทดังกล่าว มีความสอดคล้องกัน จึงสันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนของพระพุทธรูปองค์เดียวกัน และเป็นพระพุทธรูปยืน ซึ่งอาจแสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) อันเป็นที่นิยมในสมัยทวารวดี แบบเดียวกับกลุ่มพระพุทธรูปสำริด พบในเมืองโบราณอู่ทอง ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) แสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย ที่เริ่มมีการผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่น และพัฒนาเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีในที่สุด          พระพุทธรูปทองคำองค์นี้ จัดเป็นงานศิลปกรรมชิ้นเยี่ยมสมัยทวารวดี ทองคำถือเป็นโลหะมีค่า ที่ใช้สร้างรูปเคารพและเครื่องประดับสมัยทวารวดี แม้พระพุทธรูปองค์นี้จะมีขนาดเล็ก แต่มีลายละเอียดชัดเจน แสดงถึงความชำนาญ ฝีมือและภูมิปัญญาของช่างทองสมัยทวารวดี นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในอดีตของเมืองโบราณอู่ทองได้เป็นอย่างดี เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร จัดพิมพ์, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. เปิดประตูสู่ทวารวดี. นครปฐม : มิตรเจริญการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๖๑.


ชื่อเรื่อง                     กถากุสุมมัญชรี นิทานเทียบสุภาษิต ภาคที่ 6ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   คติชนวิทยา นิทานพื้นเมืองเลขหมู่                      398.2 ส735นบสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์                    2501ลักษณะวัสดุ               118 หน้าหัวเรื่อง                     นิทานคติธรรม                              หนังสืออนุสรณ์งานศพ        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางยุ มากกิตติ หนังสือนิทานเทียบสุภาษิตชุด “กถากุสุมมัญชรี” เป็นหนังสือนิทานประกอบสุภาษิต เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจข้อสุภาษิตง่ายขึ้น   


ชื่อเรื่อง                           เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ.                                  191/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 55.4 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี  



เลขทะเบียน : นพ.บ.78/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 48 (59-70) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ)ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา(ลำมโหสถ) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อวัตถุ ภาชนะทรงพาน ทะเบียน ๒๗/๑๘๒/๒๕๓๒ อายุสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ วัสดุ(ชนิด) ดินเผา ประวัติที่มา จากหลุมขุดค้นที่เพิงผาถ้ำหลังโรงเรียน บ้านทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๖ โดยดักลาศ แอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา ส่งมอบให้กองโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมาเมื่อ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง          “ภาชนะทรงพาน” ภาชนะทรงพาน ปากภาชนะผายออกลำตัวสั้นและโค้งเข้าเป็นฐาน จากส่วนฐานมีเชิงสูงต่อลงมาส่วนฐานของเชิงโค้งออก ไม่มีการตกแต่งลวดลายบนภาชนะ ภาชนะใบนี้เป็นภาชนะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์พบหลากหลายรูปทรง เช่น หม้อ ภาชนะทรงปากแตรภาชนะแบบสามขา และภาชนะทรงพาน เป็นต้น ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นภาชนะแบบเนื้อดิน (Earthenware)การผลิตภาชนะดินเผามีขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดินและนำดินที่ได้มาผสมเพื่อนำไปขึ้นรูปภาชนะเป็นทรงต่างๆ ซึ่งอาจขึ้นรูปด้วยมือ การตกแต่งผิว เช่น การใช้เชือกทาบ เปลือกหอย และการขูดขีด เป็นต้น จากนั้นจึงตกแต่งบนผิวภาชนะ อาทิ การขัดผิว การทาสี การทาผิวด้วยน้ำดินข้น และการรมควัน เป็นต้น แล้วจึงนำมาตากให้แห้งและเผา ซึ่งการเผาภาชนะในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของภาคใต้คงใช้เตาเผาแบบเปิดซึ่งเป็นการเผากลางแจ้ง ภาชนะทรงพานใบนี้ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เพิงผาถ้ำหลังโรงเรียน บ้านทับปริกอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาชนะดินเผาทรงพานเป็นภาชนะรูปแบบพิเศษซึ่งไม่ได้ใช้ในครัวเรื่อง ภาชนะรูปแบบนี้จึงอาจถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ อาทิ พิธีฝังศพซึ่งใช้เป็นของอุทิศให้กับผู้ตาย ภาชนะทรงพานจึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของการผลิตภาชนะดินเผาของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และเป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในอดีตอีกด้วย -----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง - พัชรี สาริกบุตร. เทคโนโลยีสมัยโบราณ (Primitive Technology)เครื่องมือโลหะ งานโลหะ เครื่องปั้นดินเผา และ แก้วและลูกปัด. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๓.


เลขทะเบียน : นพ.บ.148/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  38 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 91 (392-403) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          เริ่มด้วยที่มาของคำว่า “ฉลู” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ឆ្លូវ (ฉลูว) ในภาษาเขมรเก่า ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ระบุว่าคือชื่อปีที่ ๒ ของปีนักษัตร มีวัวเป็นเครื่องหมาย พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดับรูปวัวตรงชุดฐานสิงห์            สำหรับวัตถุชิ้นแรกเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายถือตาลปัตร ขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำบัวหงายเหนือชุดฐานสิงห์ ซึ่งชุดฐานนี้มีการประดับรูปวัวยื่นออกมา แสดงนัยยะว่าพระพุทธรูปองค์นี้ คือ “พระโคตโม” พระพุทธเจ้ากัปปัจจุบัน (ภัทรกัป) ตามเรื่องราวของพระเจ้าห้าพระองค์และตำนานแม่กาเผือกที่เล่าว่าทรงเป็นบุตรของพญากาเผือก (ที่มาของประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือกในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒) โดยมีวัวเป็นผู้เลี้ยงดู พระพุทธเจ้าองค์นี้จึงมีนามว่า “พระโคตมพุทธเจ้า” ตามนามของแม่เลี้ยง ประติมากรรมรูปโคนนทิ           วัตถุชิ้นต่อไป เป็นประติมากรรมรูปโคนนทิ องค์เทวพาหนะของพระศิวะ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู มีรูปลักษณ์เป็นโคเพศผู้ สีขาวปลอด (ขาวสะอาดไม่มีสีอื่นปน) บางตำราถือว่าทรงเป็นหัวหน้าของบรรดาสัตว์สี่ขา โดยรูปโคนนทิที่พบในประเทศไทย มักพบอยู่ตามศาสนสถานในวัฒนธรรมร่วมแบบเขมร เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ยังปรากฏรูปโคนนทิในตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง ผลงานที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (ดูเพิ่มเติมใน เพจสมเด็จครู) และ“แผ่นตรานนทิมุข” สำหรับรถยนต์หลวง มีอักษรระบุว่า “กระทรวงวังอนุญาตรถนี้เข้าออกในพระบรมมหาราชวังได้” หนังใหญ่รูปไพร่พลลิงขี่หลังวัว           ส่วนวัตถุชิ้นสุดท้าย เป็นแผ่นหนังฉลุลาย ประเภทหนังเขน (“เขน” คือหนังใหญ่รูปไพร่พลในกองทัพ จัดอยู่ในกลุ่มหนังเบ็ดเตล็ด) รูปลิงสองตัวขี่หลังวัว ตัวหนึ่งถืออาวุธ อีกตัวดึงสายเชือกสนตะพายบังคับวัว ระบุประวัติว่าได้รับมอบจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ซึ่ง “หนังใหญ่” โดยทั่วไปจะสร้างขึ้นจากหนังโค เพราะหนังโคมีความบางและโปร่งแสง หากเล่นในเวลากลางคืน เมื่อถูกไฟส่องจะเหมือนไฟลุกจับตัวหนัง หากเล่นในเวลากลางวัน ตัวหนังที่ถูกระบายสี ก็จะช่วยขับสีต่าง ๆ ให้เห็นเด่นขึ้นอย่างชัดเจน อนึ่ง ยังมีเกร็ดเล็กน้อยที่ว่า “หนังเจ้า” คือหนังรูปพระอิศวรและพระนารายณ์ จะต้องทำจากหนังที่เสือกินตาย ฟ้าผ่าตาย หรือออกลูกตาย อย่างที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียกว่า “โคตายพราย” อีกด้วย           นอกจากนี้ ยังมีเรื่องวัว ๆ ที่พบเห็นได้ตามภูมิภาคต่าง ๆ เช่น “โคขาวลำพูน” โคพื้นเมืองภาคเหนือ ที่ใช้เป็นพระโคในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ “พระธาตุลำปางหลวง” พระธาตุประจำปีนักษัตรฉลูของชาวล้านนา (ดูเพิ่มเติมใน เพจพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ลำพูน) “รูปโคเหนือหน้าบันหอคำ” (ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) และ “รูปโคเทินพระธาตุ” ตราประจำจังหวัดน่าน อีกทั้งคติหัวเมืองบริวาร ๑๒ นักษัตรของนครศรีธรรมราช ที่ถือว่า “เมืองปัตตานี” ถือตรานักษัตรปีฉลูเป็นตราประจำเมือง สุดท้ายนี้ ปีฉลู ๒๕๖๔              เผยแพร่โดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ / เทคนิคภาพโดย นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร  


ตำรายาแผนโบราณ ๓๒ หน้า. ชบ.ส. ๕๒ เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สามัคคี ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี .มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.25/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)




Messenger