ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,380 รายการ
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดสร้างพระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และประดิษฐานพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ที่เป็นองค์ดั้งเดิมที่ค้นพบในสถูปโบราณ เมืองกบิลพัสดุ์ และเมืองสาญจี จากสาธารณรัฐอินเดีย อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนร่วมสักการบูชา ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ - ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
โดยมี นายณัฐพงค์ ปิยมาภรณ์ นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างสิบหมู่) สังกัดสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบพระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน ๑ องค์ มีขนาดความสูง ๕๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐาน ๒๕.๖ เซนติเมตร และพระเจดีย์ทรงกลมประดิษฐานพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จำนวน ๒ องค์ มีขนาดความสูง ๓๘ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐาน ๑๕.๕๐ เซนติเมตร และรับผิดชอบดำเนินการจัดสร้างโดย กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ เป็นความร่วมมือกันในกลุ่มงานต่าง ๆ จัดสร้างงานด้วยเทคนิคอันหลากหลาย ประกอบด้วย
กลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต : ดำเนินการขึ้นหุ่นส่วนยอดและส่วนฐานด้วยกระบวนการกลึงไม้ ไม้ที่ใช้สร้างพระเจดีย์เป็นไม้สัก แกะสลักลวดลายในส่วนยอดและส่วนฐานของพระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ กลุ่มงานช่างปิดทอง ประดับกระจกและช่างสนะไทย : ดำเนินการปิดทองคำเปลวส่วนยอดและส่วนฐาน กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์ : ดำเนินการกระแหนะลายติดประดับส่วนยอดและส่วนฐาน ฉลุแผ่นโลหะเติมปลายของส่วนยอดพระเจดีย์ บุดุนโลหะทำเฟื่องอุบะและระย้าประดับส่วนปลายห้อยลงมาที่องค์พระเจดีย์ ติดประกอบลวดลายบนกระจกที่องค์พระเจดีย์ ประดับพลอยเป็นไส้ลายทั้งส่วนยอดและส่วนฐาน
ขอขอบคุณข้อมูล จาก นายณัฐพงค์ ปิยมาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างสิบหมู่), นางอัจฉริยา บุญสุข ผู้อำนวยการกลุ่มประณีตศิลป์, นายสาโรจน์ แสงสี หัวหน้ากลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต และนางปาริด์ชาติ พัฒน์ทอง หัวหน้ากลุ่มงานช่างปิดทอง ประดับกระจกและช่างสนะไทย,นายเกียรติศักดิ์ หนูทองแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : เฟสบุ๊ก สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร https://www.facebook.com/officeoftraditionalarts
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ขอเชิญติดตามชมการถ่ายทอดสด Facebook live "ภาพถ่ายเก่าในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์" ในวันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2567 ต่ั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป โดยมีนายชนน วัฒนะกูล ภัณฑารักษ์ เป็นผู้ให้ข้อมูลความรู้ ผู้สนใจสามารถรับชมรับฟังผ่านทาง Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museum
ปริวารปาลิ (ปริวารปาลิ)อย.บ. 298/2หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.4 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง เรือในภาคกลางผู้แต่ง ภูธร ภูมะธนประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่ วิศวกรรมศาสตร์เลขหมู่ 623.8202 ภ654รสถานที่พิมพ์ ลพบุรีสำนักพิมพ์ หัตถโกศลการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2533ลักษณะวัสดุ 56 หน้า : ภาพประกอบ ; 26 ซม.หัวเรื่อง เรือภาษา ไทย
บทคัดย่อ/บันทึก
เรือเป็นพาหนะสำคัญในการคมนาคมสมัยก่อน แต่ในปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และความเจริญทางเทคโนโลยี ผู้เขียนตั้งใจรวบรวมเรือพื้นบ้านที่ใช้ในภาคกลางของประเทศไทย ไม่เกี่ยวข้องกับเรือเดินทะเลและเรือที่ใช้ในพระราชพิธีที่มีหลายชนิด
เทศบาลตำบลหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี (เวลา 13.00 น.) จำนวน 87 คน
วันเสาร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะโครงการอบรมและศึกษาดูงานพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานเทศบาล และลูกจ้างในสังกัด จากสำนักงานเทศบาลตำบลหนองใหญ่
ต.หนองใหญ่ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี จำนวน ๘๗ คน เข้าศึกษาดูงาน
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม
ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
ตอนนี้ ถนนจอมพล กำลังเป็นกระแสของชาวโคราชอีกครั้ง เพราะกำลังมีกิจกรรม “#GRAFFITTI X #ChompolFest.” โดย GRAFFITTI ทั้ง 4 จุดที่กระจายตัวอยู่บนถนนจอมพลนี้ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของถนนเส้นนี้ได้ดีมากขึ้น พี่นักโบจึงหยิบยก บทความ “สืบร่องรอย “ถนนจอมพล” ผ่านหลักฐานทางโบราณคดี” มาเล่าให้ทุกท่านได้ฟัง ก่อนจะไปชมงานศิลปะ ดื่มด่ำวิถีชีวิตด้วยวิธีเดินเมืองกันครับ
.
หากเรามอง “#ถนนจอมพล” ในมิติทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีแล้ว ถนนเส้นนี้คือกระดูกสันหลังของเมืองนครราชสีมา มาช้านาน เป็นเส้นแกงกลาง เมืองนครราชสีมา ตามแนวแกนทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก มีความยาวเท่ากับความกว้างของเมืองคือ 1,700 เมตร จุดสังเกตง่ายๆของถนนจอมพลคือตั้งอยู่ด้านหลังประตูชุมพล ซึ่งเป็นจุดหมายตาสำคัญ ทอดยาวไปทางด้านทิศตะวันออกจรดประตูพลล้าน ด้วยเป็นถนนแกนกลางของเมือง จึงมีโบราณสถานและศาสนสถานสำคัญตั้งอยู่ 2 ฝั่งถนน หลายแห่ง อาทิ ประตูชุมพลวัดบึง ศาลเจ้าบุญไพศาล ศาลหลักเมือง วัดกลางนคร (วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร) สถานพระนารายณ์ บ้านท่านท้าวสุรนารี และวัดบูรพ์
.
ในอดีตถนนเส้นนี้เป็นรู้จักกันในชื่อถนน “#เจริญพานิชย์” คงเพราะเป็นถนนที่มีการทำธุรกิจการค้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อ เป็นถนน “จอมพล” เพื่อเป็นเกียรติให้กับ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คราวเดินทางมาตรวจราชการจังหวัดนครราชสีมา และยังเป็นถนนเส้นแรกของเมืองที่ลาดยางเนื่องจากเป็นถนนสายเศรษฐกิจ มีธุรกิจ ห้าง ร้าน หลายแห่ง
.
“#ถนนจอมพลจากหลักฐานทางโบราณคดี"
ผลการขุดค้นทางโบราณคดีที่ผ่านมา ภายใต้โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่ พบโบราณวัตถุหลายประเภท ซึ่งแสดงถึงร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตบริเวณถนนจอมพล ดังนี้
.
1. เครื่องถ้วยจีน โดยภาชนะทั้งหมดสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วง ปลายพุทธศตวรรษที่ 24-25 จากการวิเคราะห์ลวดลายและเทคนิคที่พบ ได้จัดจำแนกเครื่องถ้วยจีน ที่พบจากแหล่งเตาชิงจี แหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น และแหล่งเตาเฉาอันและเหยาผิง รวมทั้งสิ้น 3 กลุ่ม
.
2. เครื่องถ้วยญี่ปุ่น พิมพ์ลายสีน้ำเงินลายดอกไม้ และก้านขด บนพื้นสีขาวด้านใน พิมพ์ลายเส้นบริเวณปากและก้น ผลิตจากแหล่งเตาในประเทศญี่ปุ่น โดยเทคนิคการพิมพ์ลายนี้ สามารถกำหนดอายุสมัยอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25
.
3. เครื่องถ้วยฝรั่งเศส เคลือบน้ำเคลือบสีขาว ผลิตจากแหล่งเตาในประเทศฝรั่งเศส บริเวณก้นมีข้อความ “OPAQUE DE SARREGUEMINES” พร้อมสัญลักษณ์ โดย รูปแบบสัญลักษณ์ดังกล่าว เป็นตราผลิตภัณฑ์เครื่องถ้วยเนื้อกระเบื้อง ที่ผลิตจากเมืองแซร์กูมีนส์ (Sarreguemines) ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าอย่างเป็นทางการ ระหว่าง พ.ศ. 2400-2457 ตรงกับรัชกาลที่ 5-6
.
4. ภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดา และเนื้อแกร่ง ผิวเรียบ ไม่ตกแต่ง สันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาพื้นถิ่น ไม่สามารถกำหนดอายุสมัยและแหล่งที่มาได้ชัดเจน
.
5. หอยเบี้ย จำนวน 2 สำหรับหอยเบี้ยมีการใช้เป็นเงินตราแลกเปลี่ยนมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี ถึง สมัยรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2405 มีประกาศยกเลิกใช้หอยเบี้ย แล้วประกาศใช้เงินตราประเภท อัฐ โสฬส ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำระบบแลกเปลี่ยนเงินตราขึ้นใหม่ ซึ่งใน พ.ศ. 2405 นั้นโรงกษาปณ์ได้ผลิตเหรียญดีบุกขึ้นเป็นครั้งแรก โดยหอยเบี้ยทั้ง 2 ชิ้น พบร่วมกับเครื่องถ้วยจีน จากแหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น ผู้เขียนจึงกำหนดอายุอยู่ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 25
.
6. แผ่นไม้ ซึ่งสันนิษฐานว่า แผ่นไม้ดังกล่าวเป็นแผ่นไม้ปูพื้นถนนจอมพล โดยอ้างอิงจากภาพถ่ายเก่าถนนโพธิ์กลาง ซึ่งต่อเนื่องจากถนนจอมพลไปทางด้านทิศตะวันตก นอกเมืองเก่านครราชสีมา ซึ่งสันนิษฐานว่าถ่ายขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 5-6 ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25 เนื่องจากพื้นถนนเป็นเนินสูงสลับกับที่ลาดต่ำ จึงมีการปรับพื้นที่ถนน โดยใช้ไม้หมอนวางเรียงกันเป็นแนว แล้วปูทับด้วยไม้กระดาน เรียงเป็นลูกระนาด ในอดีตชาวโคราชจึงเรียกถนนลักษณะนี้ว่า “ถนนกระดาน”
.
#สรุป
พุทธศตวรรษที่ 25 เป็นช่วงเวลาที่เมืองนครราชสีมา มีความเจริญเติบโตมากขึ้นกว่าสมัยก่อนหน้า ในฐานะศูนย์กลางการปกครองเทศาภิบาลมณฑลลาวกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 และศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เพราะถือกำเนิดรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2443 ด้วยทั้ง 2 ปัจจัย ส่งผลให้เมืองนครราชสีมาเติบโตขึ้น มีการปลูกสร้างอาคาร ห้างร้าน บ้านเรือน ต่าง ๆ ที่ขยายตัวมากขึ้นตามลำดับ
.
ถนนจอมพล ในฐานะถนนเส้นแกนกลางของเมือง ช่วงเวลานั้น ถูกยกให้เป็นถนนเส้นสำคัญ เพราะเป็นทั้งศูนย์กลางความเชื่อของคนนครราชสีมา ด้วยปรากฏ ศาสนสถานหลากหลายความเชื่อบนถนนเส้นเดียวกันนี้ และเป็นถนนสายเศรษฐกิจ จนมีชื่อว่า “เจริญพานิชย์” โดยเฉพาะชาวจีนจากมณฑลกว่างตงที่อพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2400 บริเวณนี้ จนกลายเป็นย่านธุรกิจการค้าสำคัญของเมืองนครราชสีมาจวบจนถึงปัจจุบัน
.
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบกำหนดอายุร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตบนถนนจอมพล มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เช่นเดียวกัน โดยอ้างอิงอายุสมัยจากรูปแบบเครื่องถ้วยต่างประเทศที่พบจากการขุดค้น เป็นหลัก โดยเครื่องถ้วยต่างประเทศและโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบแสดงให้เห็นการอยู่อาศัยและการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชาวนครราชสีมากับชุมชนต่างภูมิภาค ได้เป็นอย่างดี ด้วยเพราะนครราชสีมาในตอนนั้น เป็นทั้งศูนย์กลางการปกครองและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
.
พี่นักโบชวนอ่านบทความฉบับเต็ม เรื่อง สืบร่องรอย “ถนนจอมพล” ผ่านหลักฐานทางโบราณคดี” #นิตยสารศิลปากร ปีที่ 65 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2565) หน้า 38-53 ได้ที่ website : https://digitalcenter.finearts.go.th/ หรือ คลังข้อมูลดิจิทัล – กรมศิลปากร ได้เลยครับ
.
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
.
#ย่านจอมพล
#ถนนจอมพล
ปราสาทแซร์ออ
ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่พัฒนา ตำบลแซร์ออ อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ปัจจุบันพังทลายลงเหลือให้เห็นเพียงเนินดินเท่านั้น สันนิษฐานว่าเดิมเป็นปราสาทแบบเขมรโบราณที่สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเนินดินเป็นที่ตั้งของบารายที่มีคันดินล้อมรอบ ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางบาราย
มีสภาพเป็นเนินดินขนาดเล็ก ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นที่ตั้งของปราสาทกลางบารายตามคติความเชื่อเรื่องสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวเขมรโบราณ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗ (ประมาณ ๙๐๐ - ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว)
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานปราสาทแซร์ออ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๒ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๒ มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๗๖ ไร่ ๒ งาน - ตารางวา
Prasat Sae-O
Prasat Sae-O is in Ban Mai Phattana, Sae-O Subdistrict, Khok Sung District, Sa Kaeo Province. This Khmer temple was built by laterite and sandstone atop of hillock but it is completely ruined. The Baray is on the northwest of the sanctuary. There is a small hillock in the center of it which is assumed the temple in the center of Baray, a symbol of a sacred pond according to religious belief. Therefore, this temple should be dated to the late 9th - middle 12th century (900 - 1,100 years ago).
The Fine Arts Department announced the registration of Prasat Sae-O as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 106, Part 112, dated 16th July 1989. The total area is around 116,000 square meters.
ชื่อเรื่อง : กลองหลวงลำพูน ผู้แต่ง : สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ปีที่พิมพ์ : 2546 สถานที่พิมพ์ : ลำพูน สำนักพิมพ์ : สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน กลองหลวง เป็นภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงที่สำคัญหนึ่งของจังหวัดลำพูน มีลักษณะเป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของชาวล้านนา เดิมเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบจังหวัด ประเภทฟ้อนรำต่างๆ แต่ในปัจจุบันกลับถูกพัฒนานำมาปรับโครงสร้าง เละขนาดให้มีลักษณะเล็กลง เพื่อใช้สำหรับการแข่งขัน ซึ่งต่อมาได้เป็นที่นิยมแพร่หลายจนกลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญของชาวลำพูน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง และน้ำแม่ทา ผู้มีบทบาทสำคัญ คือชาวไทยยอง ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ในปัจจุบันจังหวัดลำพูนถือเป็นศูนย์กลางของกลองหลวงที่มีจำนวนอยู่ประเพณีแข่งขัน การผลิต การปรับแต่งและพัฒนากลองหลวง ซึ่งถือเป็นแหล่งภูมิปัญญาของชาวล้านนาไทย ดังนั้นสภาวัฒนธรรม จังหวัดลำพูน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ เละประเพณี ตลอดจนกระบวนการผลิต รวมถึงวิถีชีวิตระหว่างคนกับกลองหลวงในจังหวัดลำพูน
วันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ น. หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ : พระประทีปแห่งประวัติศาสตร์ไทย” ณ ห้องประชุมหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยมี นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้กล่าวรายงาน ทั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนาทั้งนักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร กว่า ๒๙๐ คน