ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,382 รายการ
ยันต์อุบากองและเวทมนตร์คาถา ชบ.ส. ๕๑
เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สามัคคี ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.24/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ฉบับผลการสัมมนา พุทธศักราช 2523. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2527. รวบรวมเนื้อหาของทะเบียนประวัติจารึก คำจารึกและคำอ่านศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (วัดศรีชุม) มูลเหตุการสัมมนาศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ภูมิสถานที่ปรากฎในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 พระประวัติสมเด็จพระมหาศรีศรัทธา รูปอักษรในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปรากฎในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 และการพระพุทธศาสนาตามที่ปรากฎในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2
ศุภกิจ นิมมานนรเทพ. สารคดีวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : โรงพิมพ์เฟื้องอักษร,
๒๕๑๓. ๓๐๐ หน้า.
หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้เริ่มต้นด้วยบทความว่าด้วยพระราชวงศ์จักรี พระราชกรณียกิจรัชกาลที่ ๒ ที่เกี่ยวกับราชการบ้านเมืองและงานด้านวรรณศิลป์และนาฎศิลป์ จึงได้รับพระราชมัญญาว่า “พระมหารัตนกวีราช” ในยุคเดียวกันสุนทรก็ได้รับยกย่องในบทความ “จดหมายจากระยอง” และ “อนุสรณ์สุนทรภู่” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้กล่าวในบทความ “กำสรวลมหาราช” ถึงจุดอวสานของสมเด็จพระนารายร์มหาราช ได้กล่าวสรรเสริญพระรปรีชาญาณในรัชกาลที่ ๕ ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศมหาอำนาจในยุโรปกับการยอมสูญเสีย “กำ” มิให้เสีย “กอบ” ซึ่งเมื่ออ่านสารคดีเรื่องนี้แล้วได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในหลาย ๆ ด้านมากมาย
หอสมุดแห่งชาติ. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ : พระนิพนธ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2512. รวบรวมรายชื่อหนังสือพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่จัดพิมพ์เป็นเล่มแล้วไว้ทั้งหมดเท่าที่ค้นพบในหอสมุดดำรงและหอสมุดแห่งชาติ ประมาณ 1,050 เรื่อง โดยแบ่่งเป็นประเภทต่าง ๆ ต่าง เช่น ชุมนุมพระนิพนธ์ พระนิพนธ์ตำนวน พระนิพนธ์ประวัติศาสตร์ นิทานโบราณคดี สาส์นสมเด็จ พระกวีนิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งแต่ละประเภทได้มีคำอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและความมุ่งหมายของพระนิพนธ์ประเภทนั้น ๆ ไว้ด้วย
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรและจังหวัดสุพรรณบุรี เตรียม เปิดให้บริการอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงประติมากรรมสำริดที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ และประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี โดยกำหนดเปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นวันแรกในวันที่ ๑๙ สิงหาคมนี้ การจัดสร้างอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี จัดสร้างขึ้นตามดำริของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพสลักหินเล่าเรื่องประวัติศาสตร์จีน ณ China Millennium Monument เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ที่ได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถเป็นเลิศด้านการศึกสงคราม การเมืองการปกครอง การศาสนา และการค้ากับต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ของเมืองสุพรรณบุรีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวจังหวัดสุพรรณบุรี ผ่านงานประติมากรรมหล่อโลหะสำริดอันงดงามและมีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๕๓ โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบอาคารและภาพประติมากรรม มีผังการจัดแสดงเป็นรูปวงรี ภายในจัดแสดงประติมากรรมสำริดนูนสูงและนูนต่ำ มีความกว้าง ๔.๒๐ เมตร ความยาว ๘๘ เมตร แบ่งออกเป็น ๙ ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ ๑ สุพรรณบุรี : ชุมชนแรกเริ่ม แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ พิธีกรรม ความเชื่อ การตั้งถิ่น ฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สังคมเกษตรกรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อราว ๔,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว และภาพโบราณวัตถุสำคัญจากแหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เช่น ภาชนะมีนม ภาชนะมีเขา ภาชนะสามขา ตอนที่ ๒ สุพรรณบุรี : อู่ทอง...เครือข่ายการค้าข้ามภูมิภาค แสดงถึงการติดต่อค้าขายระหว่างผู้คน ในเมืองโบราณอู่ทองกับพ่อค้าจากชุมชนใกล้เคียงและพ่อค้าชาวต่างชาติ ได้แก่ ชาวอินเดีย ชาวอาหรับ และชาวจีน เมืองโบราณอู่ทองเป็นหนึ่งในชุมทางการค้าสำคัญของลุ่มแม่น้ำแม่กลองและลุ่มแม่น้ำท่าจีน และเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางน้ำที่สำคัญในดินแดนสุวรรณภูมิ ตอนที่ ๓ สุพรรณบุรีในวัฒนธรรมศาสนา : อู่ทองเมืองศูนย์กลางศาสนารุ่นแรก แสดงถึงการรับวัฒนธรรมศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจากประเทศอินเดีย ก่อให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เรียกว่า“วัฒนธรรมทวารวดี” ด้วยความเคารพและศรัทธาในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูของผู้คนในเมืองโบราณอู่ทองจึงได้มีการสร้างศาสนสถานและรูปเคารพทางศาสนา อันได้แก่ ธรรมจักรและศิวลึงค์ ตอนที่ ๔ สุพรรณบุรี : เนินทางพระ...ร่องรอยพุทธศาสนามหายาน แสดงให้เห็นถึงการเดินทาง มายังปราสาทเนินทางพระ ซึ่งเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธแบบมหายาน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมขอมสมัยบายน เพื่อทำการสักการบูชาพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญในศาสนาพุทธแบบมหายาน ตอนที่ ๕ สุพรรณบุรี : ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา แสดงเรื่องราวของขุนหลวงพะงั่วเจ้าเมือง สุพรรณภูมิทรงนำกองทัพออกสู้ศึกกับอาณาจักรขอมจนได้รับชัยชนะ และแสดงภาพเจดีย์วัดไก่เตี้ย ซึ่งเป็นเจดีย์ก่ออิฐทรงแปดเหลี่ยมอันเป็นรูปแบบเอกลักษณ์ของเจดีย์สมัยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และภาพแหล่งเตาบ้านบางปูน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี ตอนที่ ๖ สุพรรณบุรี : เมืองลูกหลวงของราชธานีศรีอยุธยา แสดงเหตุการณ์การเสด็จขึ้นครอง ราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ และการติดต่อค้าขายกับเมืองจีนที่รุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งในสมัยของสมเด็จพระนครินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) ตอนที่ ๗ สุพรรณบุรี : สมรภูมิยุทธหัตถี แสดงเหตุการณ์การกระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระ นเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี ณ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตอนที่ ๘ สุพรรณบุรี : หัวเมืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดแสดงพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเหตุการณ์เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสุพรรณบุรี และพระบรมรูปของสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเหตุการณ์เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินสักการะบวงสรวงเจดีย์ยุทธหัตถี พร้อมด้วยคณะเสือป่ารักษาพระองค์ ตอนที่ ๙ ปัจจุบัน...สุพรรณบุรี แสดงเหตุการณ์การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงวางพวงมาลาในรัฐพิธีถวายราชสักการะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ทรงนำพสกนิกรเกี่ยวข้าวที่แปลงนาสาธิต และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธียกพุ่มข้าวบิณฑ์ยอดพระมณฑปและสมโภชรอยพระพุทธบาท ณ วัดเขาดีสลัก อำเภออู่ทอง อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า นอกจากผู้เข้าชมจะได้รับชมความงดงามของประติมากรรมสำริดแล้ว ยังได้รับความรู้และความเพลิดเพลินผ่านระบบการบรรยายนำชมที่ทันสมัยทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และอุปกรณ์ Audio guide ที่มีให้เลือกถึง ๓ ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน โดยใช้เทคโนโลยีแสง เสียงประกอบการจัดแสดง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของจังหวัดสุพรรณบุรี สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โทรศัพท์ ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ ในวันและเวลาราชการ
องค์ความจากหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
เรื่อง "ศิลปกรรมแห่งสายน้ำ : เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์"
เรียบเรียงโดย นางสาวจิรัฐิติกาล จักรคำ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณรักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
กระบวนพยุหยาตราชลมารค [พะ-ยุ-หะ-ยาด-ตรา-ชน-ละ-มาก] หมายถึง ริ้วกระบวนเรือที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าอยู่หัวในสมัยโบราณเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นการพระราชพิธี ซึ่งได้ประกอบกันมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย กระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้ได้จัดสืบทอดต่อมาทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยากรุงธนบุรีและในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนถึงปัจจุบัน
การจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้กล่าวได้ว่าได้วิวัฒนาการมาจากการจัดกระบวนทัพเรือ ในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมกองทัพ โดยที่เรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในกระบวนเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานอีกด้วย (เรือพระราชพิธี, ๒๕๔๒)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเรือพระที่นั่งมาตั้งแต่รัชกาลพระมหาจักรพรรดิคือ เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘) มีเรือพระที่นั่งสุพรรษวิมานนาวา ซึ่งทรงใช้เพื่อเสด็จไปเมืองเพชรบุรีและสามร้อยยอด (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘) ปัจจุบัน เรือพระราชพิธีนับเป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจัดเก็บอยู่ในโรงเก็บเรือพระราชพิธี ปากคลองบางกอกน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ กรมศิลปากร ยกฐานะโรงเก็บเรือพระราชพิธีขึ้นเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ซึ่งเรือพระราชพิธีที่จัดเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑแห่งชาติฯ ขณะนี้มีด้วยกันรวม ๘ ลำ (เรือ วัฒนธรรมชาวน้ำลุ่มเจ้าพระยา, ๒๕๔๕) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ที่ถือว่ามีความงดงามในเชิงศิลปกรรม และเป็นเรือพระที่นั่งที่สำคัญที่สุดลำหนึ่งของชาติไทย
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปถมสมโพธิ์พุทธปูชา-ธาตุวิภชนปริวตฺต)
สพ.บ. 352/13ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า วรรณกรรมพุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยเรื่อง บ่อน้ำในเมืองศรีสัชนาลัย
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.48/1-6ค
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)