ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,382 รายการ


พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย เป็นพระราชยานประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ กรมศิลปากร โดยมอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่จัดสร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เพื่อใช้ในการอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่กรมศิลปากรได้รับใช้สนองใต้เบื้องพระยุคลบาท



ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1  สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2478 หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงเผาศพ หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478             จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 11 นี้ เป็นหนังสือที่รวมเรื่องราวพระราชกิจรายวันในแต่ละวัน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหากล่าวถึงการออกพระราชบัญญัติ กฎหมายหรือราชการแผ่นดินอื่นๆ เรื่องเกี่ยวกับการเมือง รัฐประสาสโนบายทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับต่างประเทศและการภายในประเทศของไทย


          ลายขนมปังขิง เป็นชื่อของลายไม้ฉลุชนิดหนึ่ง ที่เจาะปรุโปร่ง มีลักษณะโค้งงอ ขดขมวด เกาะเกี่ยวเชื่อมประสานสัมพันธ์ พลิ้วไหวไปตามจินตนาการของนายช่างผู้รังสรรค์ลวดลายด้วยความงดงามวิจิตรบรรจง เป็นลวดลายที่ใช้ประกอบอาคารสถาปัตยกรรมในยุครุ่งเรืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖           หนังสือ”ลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สุนทรียภาพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณสถาน กองโบราณคดี โดยได้รวบรวมลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิงทั้งภาพถ่ายและลายเส้นที่ปรากฏในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จากการสำรวจโบราณสถานในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ – ๒๕๕๙ และอีกส่วนหนึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลการศึกษาและเปรียบเทียบในเบื้องต้น หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในงานด้านสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ศิลป์ มัณฑนศิลป์ และศิลปกรรม เพื่อจะได้เล็งเห็นความสำคัญของโบราณสถานและมีส่วนช่วยทำนุบำรุง ดูแล สงวนรักษาให้คงอยู่ต่อไป           ผู้สนใจสามารถซื้อหนังสือ ”ลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สุนทรียภาพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ใน ราคาพิเศษ เพียง ๒๑๐ บาท จากราคาเดิม ๒๖๐ บาท ได้ที่งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ ๒๕ ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน - ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี หรือสั่งซื้อราคาปกติ ผ่านระบบขายหนังสือกรมศิลปากรออนไลน์ ทางเว็บไซต์ http://bookshop.finearts.go.th จำหน่ายเล่มละ ๒๖๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง)




        พระพิมพ์ดินเผาจากโบราณสถานหมายเลข ๕ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          พระพิมพ์ดินเผา ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพระรัศมีเป็นลูกแก้ว อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระพักตร์รูปวงรี พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่ง ทรงแย้มพระโอษฐ์ สีพระพักตร์แสดงถึงอารมณ์ของความสงบในสมาธิ ถือเป็นฝีมือการปั้นชั้นยอดของศิลปิน พระศอเป็นปล้อง ทรงครองจีวรห่มเฉียง จีวรบาง ชายสังฆาฏิสั้น ซ้อนบนพระอังสาซ้าย ชายจีวรยาวจากข้อพระหัตถ์ซ้ายพาดคลุมพระเพลา แลเห็นขอบสบงโค้งเป็นเส้นบริเวณบั้นพระองค์ และปรากฏชายผ้าพับซ้อนบนข้อพระบาทด้านหน้า จีวรทาน้ำดินสีแดง ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ซ้ายวางทับอยู่บนพระชงฆ์ขวา ด้านหลังของพระพิมพ์แบนเรียบมีร่องรอยปูนติดอยู่ จากรูปแบบศิลปกรรมแบบทวารวดี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)           จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๕ เมืองโบราณอู่ทอง ยังมีการค้นพบส่วนเศียรของพระพิมพ์ดินเผารูปแบบเดียวกัน แต่มีสภาพแตกหักอีกจำนวนหนึ่ง สันนิษฐานว่าทำจากแม่พิมพ์เดียวกัน นอกจากนั้นพระพิมพ์รูปแบบดังกล่าวนี้ ยังพบอีกเป็นจำนวนมากจากโบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ และ โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒  พระพิมพ์ดินเผาจากโบราณสถานหมายเลข ๕ รวมถึงพระพิมพ์ดินเผารูปแบบเดียวกัน ซึ่งพบเป็นจำนวนมากจากโบราณสถานในเมืองโบราณอู่ทอง ถือเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมทวารวดี ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบรูปแบบดังกล่าวจากเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดีแห่งอื่น ๆ  การสร้างเป็นประติมากรรมนูนสูง ด้านหลังแบนเรียบ และใช้เทคนิคการขึ้นรูปจากแม่พิมพ์เพื่อให้ได้ประติมากรรมที่มีลักษณะเดียวกันเป็นจำนวนมาก และบางองค์มีร่องรอยของเศษปูนติดอยู่ที่ด้านหลังนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานบนผนังของศาสนถาน ตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างพระพิมพ์จำนวนมากเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ก็เป็นได้ เอกสารอ้างอิง เด่นดาว  ศิลปานนท์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ปริศนาวิหารถ้ำเมืองอู่ทอง. กรุงเทพ : อรุณการ พิมพ์, ๒๕๕๙. ปรัชญา  รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง” ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขาศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑. ห้างหุ้นส่วนจำกัดโบราณนุรักษ์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. ๒๕๕๘.


ชื่อเรื่อง                     ธรรมาธรรมะสงคราม บทละคอนเรื่องพระเกียรติรถ บทละคอนร้องเรื่องพระเกียรติรถ และ บทละครเรื่องขุนช้างขุนแผน (ชุดแต่งงานพระไวย)ผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณกรรมเลขหมู่                      895.9112081 ม113ธผสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์แพร่การช่างปีที่พิมพ์                    2510ลักษณะวัสดุ               158 หน้า หัวเรื่อง                     หนังสืออนุสรณ์งานศพ                              บทละครไทย -- รวมเรื่อง        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกโท พระไผทราชสถาปิต จ.ช.,จ.ม. (ประชิต สถาปิตานนท์) และฌาปนกิจศพนางไผทราชสถาปิต (สารี่ สถาปิตานนท์) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2510  เรื่องธรรมาธรรมะสงครามนี้เป็นบทพากย์ ซึ่งพระราชนิพนธ์ตามเค้าเรื่องในธรรมะชาดกเอกาทสนิบาต บทละคอนเรื่องพระเกียรติรถ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นไว้ 3 สำนวน คือ ชั้นแรกเป็นบทละคอนรำตามด้วยเนื้อเรื่องเป็นความเรียงแล้วแปลงบทละคอนรำเป็นบทละคอนร้องอีกสำนวนหนึ่ง ส่วนบทละคอน เรื่อง ขุนข้าง ขุนแผน ชุดแต่งงานพระไวย นั้น ทรงพระราชนิพนธ์โดยใช้บทเสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของเดิมเป็นหลัก  


ชื่อเรื่อง                           เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ.                                  191/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           24 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 55.4 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี



อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เผยแพร่องค์ความรู้ประจำเดือนธันวาคม เรื่อง “วัดเจ้าจันทร์ วัฒนธรรมเขมรเหนือสุดในดินแดนไทย”  


เลขทะเบียน : นพ.บ.78/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 48 (59-70) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ)ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา(ลำมโหสถ) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.125/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 72 (248-256) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : เอกนิปาต (นิไสเอกนิปาต)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.148/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 91 (392-403) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ขวานสำริดแบบมีบ้องและแม่พิมพ์หินทราย           แม่พิมพ์ : วิทยาการงานเบ้าหลอมยุคก่อนประวัติศาสตร์สู่งานศาสนศิลป์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีการใช้แม่พิมพ์มาตั้งแต่มนุษย์รู้จักสินแร่และการถลุงโลหะเพื่อนำมาใช้งาน ยุคนี้จึงถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิวัฒนาการของมนุษยชาติ หากอนุโลมตามหลักฐานการใช้เครื่องมือแต่ละยุคสมัย ยุคสำริดในประเทศไทยจะมีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว  แม่พิมพ์หิน           พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายของแม่พิมพ์ว่า “สิ่งที่เป็นต้นแบบ” โดยแม่พิมพ์ที่นิยมใช้ในการหล่อสำริดมี ๔ ชนิด คือ แม่พิมพ์แบบเปิด แม่พิมพ์หลายชิ้น (สำหรับหล่อโลหะตัน) แม่พิมพ์ชนิดแกนลอย (สำหรับโลหะที่มีรูหรือบ้องกลวง) และแม่พิมพ์สำหรับการหล่อแบบแทนที่ขี้ผึ้ง ส่วนวัตถุชิ้นแรกคือ “แม่พิมพ์หินทรายรูปขวาน” เป็นแม่พิมพ์แบบประกบ ตั้งอยู่คู่กับ “ขวานสำริดแบบมีบ้อง” มีเศษเครื่องจักสานติดอยู่ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาเรื่องเครื่องใช้ของคนในอดีต โดยวัตถุทั้งสองชิ้นมีอายุอยู่ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์แบบวัฒนธรรมบ้านเชียง ประมาณ ๔,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว แม่พิมพ์ดินเผา           การใช้ “แม่พิมพ์” ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ “แม่พิมพ์” นอกจากจะนำมาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้แล้ว ยังได้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์เรื่องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ เหรียญมีค่า ดังปรากฏหลักฐาน “แม่พิมพ์เหรียญสมัยทวารวดี” ระบุประวัติว่าพบที่เมืองจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ลักษณะเป็นแม่พิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สลักลายกลมสองวง ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา ดังปรากฏว่ามีการสร้างพระพิมพ์ในไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี มีหลักฐานชิ้นสำคัญคือ “แม่พิมพ์ดินเผา” กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับในกรอบซุ้มอาคารทรงศิขระ ด้านข้างประดับสถูปเต็มพื้นที่ มีรูปแบบคล้ายพระพิมพ์ซุ้มพุทธคยาที่สืบมาจากประเทศอินเดีย พบได้ทั่วไปในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย โดยวัตถุชิ้นนี้ มีประวัติระบุว่าขุดได้จากในพระเจดีย์วัดไชยชุมพลชนะสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าการสร้างแม่พิมพ์ในศาสนากลับไม่พบในพราหมณ์-ฮินดู สอดรับกับที่ศาสตราจารย์เซเดส์ อธิบายไว้ในหนังสือ “ตำนานพระพิมพ์” ว่า ...ประเพณีการสร้างพระพุทธรูป โดยวิธีใช้กดด้วยแม่พิมพ์และประทับด้วยตรานี้ ปรากฏแต่ในฝ่ายพระพุทธศาสนาเท่านั้น...           อย่างไรก็ดี แม้ “แม่พิมพ์” จะสามารถแสดงหลักฐานที่มา สืบต่อศาสนา หรือส่งต่อความเป็นต้นแบบได้ก็ตาม ทว่า ความเป็น “ครู” ยังอาจก้าวข้ามคำว่า “แม่พิมพ์” สู่ “ผู้เป็นแนวทางแก่ศิษย์ เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแสงให้อนาคตของชาติ” ได้อีกด้วย ดังนั้น ในวาระวันครูแห่งชาติที่กำลังจะมาถึง เพจคลังกลางฯ ขอเป็นกำลังใจให้ “ครู” ผู้ทำหน้าที่พายเรือส่งลูกศิษย์ถึงฝั่งทุกท่านนะครับ                   เผยแพร่โดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ / เทคนิคภาพ นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ


Messenger