ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,381 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.243/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 56.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 114 (194-202) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อาการวตฺตสุตฺต(อาการวัตตสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้เรื่อง : ที่มาของ "หลวงพ่อนาก"โดย : นายจตุรพร เทียมทินกฤต. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ ที่ห้องล้านนา ตึกประพาสพิพิธภัณฑ์ ขอเชิญท่านไปชมพระพุทธรูปองค์หนึ่ง “หลวงพ่อนาก” มีความงามพุทธศิลป์เป็นศิลปะสุโขทัย มีสังฆาฏิที่ยาวจรดพระนาภี ทรวดทรงเพรียวบางแต่ได้สัดส่วน แต่พระพักตร์และท่านั่งขัดสมาธิเพชรออกไปทางศิลปะล้านนา ในการหล่อพระพุทธรูปนิยมใช้สำริด มีส่วนผสมของ ทองแดง ดีบุก ทองคำ เงิน แต่จากการหล่อหลวงพ่อนากมีการใส่ส่วนผสมของทองแดงมากกว่า สีผิวของท่านออกสีแดงเรื่อๆ อาจจะโดยความตั้งใจทำให้เป็นโลหะผสมที่เรียกกันว่า “นาก”๑ หรือกะส่วนผสมผิด แต่ออกมาเป็นพระพุทธรูปที่งดงามเป็นเอกองค์หนึ่ง ก่อนที่จะมาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ท่านมีประวัติความเป็นมาว่ามาจาก พ.ท.ปัจจุบันเป็นจังหวัดพะเยา โดยถูกนำมาจากโบราณสถานวัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุญนาค(วัดป่าแดง(บุนนาค) ดังนี้. ก่อนอื่นต้องอธิบายสภาพโดยสังเขป “วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุญนาค” ตำบลท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา จากหลักฐานเดิมจากประวัติวัดป่าแดงของพระราชวิสุทธิโสภณ(พระอุบาลีคุณูปมาจารย์) วัดสองแห่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยแยกจากออกจากกัน คือวัดป่าแดงหลวงดอนไชย กับวัดบุนนาค กลายเป็นวัดร้าง จึงมีการรวมพื้นที่เข้าเป็นวัดเดียวกันและบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งภายในพื้นที่บริเวณวัดในปัจจุบันมีเนินโบราณสถานมากถึง ๒๕ เนินที่ยังไม่ได้ทำการขุดแต่งทางโบราณคดี ทางกรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๘ ตอนที่ ๑๗๗ ประกาศวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗ พื้นที่ ๗๒ ไร่ ๑ งาน ๕๒ ตารางวา. วัดป่าแดงหลวงดอนไชย ตั้งอยู่บนส่วนยอดของเนิน ปัจจุบันได้มีก่อสร้างวิหารและเจดีย์ใหม่ทับบนฐานรากเดิมโดยมีแนวแกนของวัดวางตัวตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เดิมเคยปรากฏแนวกำแพงล้อมรอบพื้นที่บริเวณวัด แต่ถูกรื้อทำลายจนเหลือแนวอิฐ ส่วน วัดบุนนาค ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ห่างออกไป ๒๐๐ เมตร ซึ่งแนวแกนของวัดกลับวางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยองค์ประกอบสำคัญของวัดบุญนาค ประกอบด้วยเจดีย์ประธานซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย คือมี ชั้นเขียง ๓ ชั้น (แต่ถูกซ่อมแซมไป) ที่องค์ระฆังมีมาลัยเถา ๓ ชั้น ซึ่งเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย องค์เจดีย์และอาคารทรงจัตุรมุข ได้มีการขุดแต่งทางโบราณคดีในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และบูรณะในปีพ.ศ. ๒๕๓๒. ทางด้านทิศใต้ขององค์เจดีย์ห่างออกมาประมาณ ๓๐ เมตร มีเนินดินขนาดใหญ่ซึ่งจากประวัติเป็นสถานที่ค้นพบ จารึกหลักที่ พย.๙ ซึ่งมีข้อความ กล่าวถึง พระมหาเถรติกประหญา อารามาธิบดี วัดพญาร่วง ได้ทำบุญในปี พ.ศ. ๒๐๔๒ และอุทิศสิ่งของถวายวัด ซึ่ง พญาร่วง หรือพระยาร่วง เป็นคำที่นิยมใช้เรียกขาน กษัตริย์ของแคว้นสุโขทัย ซึ่งพระยาร่วง ในที่นี้(พะเยา) กล่าวจะหมายถึงใครไม่ได้ นอกจากพระเจ้ายุธิษฐิระ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ที่ได้ผิดใจกับพระบรมไตรโลกนาถ ได้พาผู้คนมาเข้าด้วยพระเจ้าติโลกราช ในปี ๑๙๙๔(?) ศิลาจารึกหลักนี้ นายบุญรัตน์ ทิพย์มณี พบที่วัดบุนนาค จังหวัดพะเยา เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดบุนนาค สันนิษฐานว่า มีต้นบุนนาคขึ้นอยู่ก่อน แต่ตำนานซึ่งเขียนในสมัยพระครูศรีวิลาสวชิรปัญญา ว่าชื่อ วัดพญาร่วง ต่อมานายบุญรัตน์ ทิพย์มณี ได้นำมามอบแก่พระโสภณธรรมมุนี (คือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ หรือหลวงพ่อใหญ่ ของชาวพะเยา ส่วนเนินดินขนาดใหญ่ที่กล่าว ต่อมาใน ปี ๒๕๔๘ ทางสำนักงานศิลปากรที่ ๗ น่าน(เดิม) ได้ทำการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี และบูรณะ ปี ๒๕๕๑. ใน ปี ๒๔๖๐ ได้เกิดเหตุร้ายเจดีย์ประธานองค์นี้จากบันทึกของ พระครูศรีวิราชปัญญา๒ เจ้าคณะเมืองพะเยา ว่า “ใน วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ว่าพระเทพวงค์และธุเจ้าเทพ ได้ไปพบ หลักฐานจากซากหลงเหลือ จากผู้ร้ายมาลักขุดเจดีย์วัดบุนนาค มีหีบหินกว้าง ๓ ศอก ลึก ๓ ศอก พระเทพวงค์บอกได้ว่า มีการขุด วันเดือน ๑๒ ออก ๑๐ ค่ำ๓ ตรงกับวันที่เกิดเหตุ วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ (ในขณะนั้นวัดร้างไม่มีการดูแล) และ มีการตามจับได้ที่บ้านร้อง อำเภองาว (อยู่ห่างออกไปทางทิศใต้กว่า ๓๐ กิโลเมตร) ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เหลือรอดจากการถูกหลอม เป็นพระพุทธรูปโลหะผสม(สำริด แต่มีสัดส่วนทองแดงมากกว่าปรกติ)” ซึ่งต่อมาได้ยึดและจัดเก็บไว้ที่ ศาลจังหวัดเชียงราย๔. เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เชียงราย ในปี ๒๔๖๙ อำมาตย์ตรีหลวงอดุลยธารณ์ปรีชาไวท์ ผู้พิพากษาศาลเชียงรายทูลเกล้าถวาย ต่อมาได้พระราชทานให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คือพระพุทธรูปที่เรียกกันว่า หลวงพ่อนาก ปรากฏ ว่ามีจารึกที่บริเวณฐานขององค์พระ กล่าวถึงพระนามของ พระเจ้ายุธิษฐิราม เป็นผู้สร้างพระพทุธรูปองค์นี้ เมื่อ มศ. ๑๓๙๘ (พ.ศ. ๒๐๑๙) ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าติโลกราช ได้มีความนิยมทำจารึกปีที่สร้างไว้ที่ส่วนฐาน สรุปความได้ว่า “ศักราช ๑๓๙๘ [ม.ศ. ๑๓๙๘ ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๑๙ ] ในปีวอก เดือน ๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอาทิตย์ อุตรภัทรนักษัตร โสริยาม พระราชาผู้เป็นใหญ่ทรงพระนาม พระเจ้ายุษฐิรราม เป็นพระราชาผู้ครองเมืองอภิวทรงประสูติในวงค์ของนักรบผู้กล้าหาญเป็นเยี่ยม ทรงประกอบด้วย(ทศพิธราช) ธรรม แตกฉานพระไตรปิฏก ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปทอง (สำริด) องค์นี้มีน้ำหนักสิบสี่พัน(๑๔,๐๐๐) เพื่อดำรง(พระศาสนา) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เมื่อได้สอบทานช่วงเวลานั้น พระเจ้ายุธิษฐิระ ได้มาครองเมืองพะเยาแล้ว ได้ปรากฏในจารึก ลพ ๒๔ สรุปความได้ว่า “ในปี ๘๓๖( จศ.๘๓๖-พ.ศ. ๒๐๑๗) พระเจ้าติโลกราชให้พญาสองแควเก่า มากินเมืองพะเยา มาสร้างบ้านพองเต่าให้เป็นที่อยู่”. ถ้าท่านมีโอกาสไปเยี่ยมชม วัดบุนนาค ใต้ต้นไม้ใหญ่(มะม่วง?) อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐ เมตร ของเจดีย์ประธาน ที่โคนต้นพบแผ่นปูนซีเมนต์ มีการจารข้อความ ว่า “สถานที่ตรงนี้เหล่าคนร้ายได้พากันขุดองค์พระเจดีย์และนำพระทองคำหน้าตัก ๒๐ กว่านิ้ว ๔ องค์ ทำการหลอมเพื่อเอาทองคำเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ วันที่ ๒๑ สิงหาคม เวลาหลอมตอนแรกไม่ละลายจึงพากันตั้งศาลเพียงตา อธิษฐานขอเกิดเป็นคนชาติเดียว...(อักษรเลือน)” เมื่อไปตรวจสอบเอกสารพบว่า ตรงกันกับเหตุการณ์การลักลอบขุดที่วัดบุนนาค มีเพียงครั้งเดียว สิงหาคม ๒๔๖๐ ตามบันทึกว่า “วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๗๙ พุทธศักราช ๒๔๖๐ ตรงกับ รศ.๑๓๖ เวลาเช้า ๓ โมงเช้า(๐๙.๐๐ น.)” จึงอาจจะเป็นความสับสนวัน ปี ของผู้จาร แต่จากข้อความ ทำให้ว่าได้ทราบสูญเสียพระพุทธรูปที่มีขนาดใกล้เคียงกับหลวงพ่อนาค ไปให้กับความโลภของมนุษย์ ถึง ๔ องค์ สันนิษฐานว่าคงจะมีพุทธศิลป์ที่งามไม่ด้อยกว่าหลวงพ่อนาก ที่หลงเหลือให้อนุชนรุ่นหลังได้ชมเชิงอรรถ๑. นาก ในที่นี้เป็นคำนาม หมายถึง โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ เป็นวิเศษณ์ หมายถึง เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก เป็นต้น๒.พระครู วิลาสวชิรปัญญา (ปินตา ชอบจิต 2404-2487)”ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา (ในอดีตพะเยามีฐานะเป็นอำเภอหรือแขวงหนึ่งของจังหวัดเชียงราย) ระหว่าง พ.ศ. 2404-2487 นอกจากนี้ ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวข่วงแก้ว วัดราชคฤห์ และเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (วัดพระเจ้าตนหลวง) มีรวบรวมเก็บไว้ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ มีจำนวน 11 เล่ม เป็นการบันทึกประจำวัน เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพิธีกรรมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น รวมถึงการปกครองคณะสงฆ์ ด้วยอักษรธรรมล้านนาในกระดาษฟุลสแก็ปที่เย็บเป็นเล่ม ได้มีคุณประโยชน์แก่ชนรุ่นหลังเหลือคณานับ๓.นับตามปฏิทินจันทรคติล้านนา จะแตกต่างกับทางภาคกลาง(จุลศักราชไทย) นับเร็วกว่าประมาณ ๒ เดือน๔. อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา แยกจาก จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520-อ้างอิง-คณะกรรมจัดทำหนังสือวัดป่าแดงบุนนาค(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). ตำนานพระธาตุป่าแดงหลวงดอนไชยและพระรัตนบุนนาคไชยปราการ.พะเยา,กอบคำการพิมพ์.พระธรรมวิมลโมลี.เมืองพะเยาจากตำนานและประวัติศาสตร์.พะเยา:๒๕๔๖.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ “ หลวงพ่อนาก พระพุทธรูปพระเจ้ายุธิษฐิระ” ศิลปากร ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์) ๒๕๔๖.๑๐๕-๑๑๔.สุจิตต์ วงษ์ เทศ บรรณาธิการ.(๒๕๓๘). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
สุจิตต์ วงษ์ เทศ บรรณาธิการ.ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม เมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
ชื่อผู้แต่ง :
ชื่อเรื่อง : กลมรำพึง และ ดนตรีไทย
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๗
จำนวนหน้า : ๘๒ หน้า
หมายเหตุ : อนุสรณ์ในการฌาปนกิจศพ จ่าเอกกลม มาลัยมาลย์ ณ เมรุวัดพระพิเรนทร์ วรจักร วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗
ครูเจียนเป็นคนตำบลบ้านปรก จังหวัดสมุทรสงคราม มีเชื้อสายทางดนตรีสืบมาแต่บรรพบุรุษ จึงมีความรักและไผ่ใจมาแต่เด็ก ชีวิตครูได้ปรับปรุงการดนตรีไทยให้เจริญขึ้นตลอดเวลา ได้เปลี่ยนแปลงเพลงเก่าให้มีความไพเราะยิ่งขึ้น
สิมวัดบ้านซิน สิมลาว การขยายตัวของกลุ่มวัฒนธรรมล้านช้างเข้าสู่พื้นที่วัฒนธรรมอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ในโคราช
โบสถ์หรือสิมวัดบ้านซิน ตำบลค้างพลู อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งทางด้านทิศตะวันตกของโบสถ์หลังใหม่ เป็นวัดในชุมชนบ้านซิน หมู่ ๒ ลักษณะเป็นโบสถ์หรือสิมที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมล้านช้าง วัดตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของหมู่บ้าน ติดกับลำเชียงไกร วัดบ้านซิน เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตามประวัติการก่อสร้างของวัดระบุว่าสร้างวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๒๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๕ ภายในวัดยังเหลืออาคารที่เป็นโบราณสถานคือพระอุโบสถหรือสิมที่ข้อมูลของวัดกล่าวว่าสร้างขึ้นในราว ๓๐๐ ปีมาแล้ว ชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะซ่อมแซมกันเองในราว พ.ศ. ๒๕๑๔
สิมวัดบ้านซิน ลักษณะเป็นสิมโปร่ง (สิมโปร่งเป็นอาคารโปร่งโล่งขนาดกะทัดรัดประกอบด้วยเสาไม้ตั้งอยู่บนฐานยกพื้นรองรับหลังคาไม่มีผนัง ถ้าจะทำผนังก็มักจะทำแต่ด้านที่มีพระประธานและมักสร้างเล็กๆเพื่อให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมเพียงสี่ห้าองค์) เป็นสิมขนาด ๒ ห้อง (สามเสา) หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีขนาดประมาณ ๓ X ๖ เมตร มีชายคาต่อเป็นเพิงอยู่ทางด้านหน้า หลังคาชั้นเดียว สีหน้าหรือหน้าบันตีเป็นแผ่นไม้กระดานทั้งสองด้านไม่มีการตกแต่ง
อาคารมีลักษณะเป็นฐานก่ออิฐ สูงจากพื้นประมาณ ๑.๕๐ เมตร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีผนังเตี้ยๆสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตรทั้งสามด้าน ด้านตะวันออกเว้นเป็นช่องทางเข้าตรงกลางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ด้านข้างทางด้านท้ายอาคาร ทำผนังลาดค่อยๆสูงขึ้นไปจนถึงหัวเสา ผนังอาคารทางด้านหลังพระประธานก่อผนังสูงเต็มจนถึงหัวเสา ด้านท้ายอาคารก่อเป็นฐานพระเป็นแนวยาวตลอดผนังกว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ตรงกลางก่อเป็นแท่นพระขนาดประมาณ ๑X๑ เมตร แทรกอยู่ ใช้สำหรับตั้งพระประธาน ก่อด้วยอิฐฉาบปูนทาสีตกแต่ง ฐานพระก่อเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายแบบฐานเอวขันแบบเดียวกับฐานอาคาร มีเสาไม้หกต้นอยู่ที่ผนังด้านเหนือและใต้ ด้านละ ๓ ต้นฝังลงไปจนถึงฐานสิม อิฐที่ก่อปิดเสาที่ส่วนฐานหลุดออก หลังคาเป็นหลังคาเครื่องไม้ ชั้นเดียวมุงด้วยแผ่นสังกะสี ไม่มีเครื่องตกแต่งชั้นหลังคา
พื้นที่ดินโดยรอบสิมได้รับการถมปรับขึ้นมาอีกประมาณ ๐.๕๐ เมตร จากระดับพื้นดินเดิม จนฐานเขียงหายไป จึงเริ่มปรากฎชั้นฐานที่ชั้นบัวคว่ำ บริเวณรอบโบสถ์พบแท่นก่ออิฐพังเป็นกองอิฐตั้งอยู่โดยรอบ จำนวน ๘ จุด มีจุดที่ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนอยู่ทางด้านหลังอาคารทำเป็นฐานใบเสมา ตัวใบเสมา ก่อด้ายอิฐฉาบปูนเป็นรูปดอกบัวทรงพุ่ม มีร่องรอยใบเสมาทำจากหินทรายสีแดงปักจมอยู่ที่พื้นด้านหน้าสิม
การสำรวจพบว่าสิมมีสภาพชำรุดมาก ฐานสิมที่ก่ออิฐชำรุดจากการแยกบริเวณส่วนเสาทั้ง ๖ ต้น จนถึงบริเวณโคนเสา ส่วนฐานที่อยู่ด้านล่างปูนที่ฉาบไว้หลุดออกเกือบหมด และมีอิฐหลุดออกมา ปรากฏร่องรอยการซ่อมแซมโดยใช้ดินเหนียวผสมกับฟางละเอียดคลุกเคล้ากันมาพอกปิดไว้ และฉาบด้วย ปูนขาว สันนิษฐานว่าน่าจะซ่อมในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งการซ่อมในส่วนนี้บางส่วนก็พังแล้วเช่นกัน ผนังทางด้านทิศตะวันตกที่ก่อขึ้นมาสูงเสมอเสา ค่อนข้างชำรุดเสียหายมาก มีรอยแตกร้าวเป็นแนวยาว จากฐานจนถึงด้านบนของผนัง โครงสร้างหลังคาค่อนข้างดีอยู่ แต่ชำรุดจากปลวกและการเสื่อมสภาพของไม้ ส่วนประดับหลังคา หักหายไปหมดแล้ว
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ อาคารสถาปัตยกรรมประเภทสิมโปร่ง เป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะของวัฒนธรรมแบบล้านช้าง มักพบในพื้นที่ที่เป็นเขตวัฒนธรรมของกลุ่มคนในวัฒนธรรมล้านช้าง เช่นพื้นที่ในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น เช่น สิมวัดราษี อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สิมวัดไตรภูมิ บ้านผือฮี ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตร์พิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนที่ใช้วัฒนธรรมล้านช้างเข้าสู่ดินแดนจังหวัดนครราชสีมาซึ่งใช้รูปแบบวัฒนธรรมอยุธยา – รัตนโกสินทร์ จากภาคกลาง อย่างน้อยก็ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เป็นต้นมา จากสภาพของตัวโบราณสถานน่าจะมีอายุประมาณ ๑๕๐ – ๒๐๐ ปีมาแล้ว จากข้อมูลหมู่บ้านแต่เดิมบ้านซินเป็นหมู่บ้านที่มีชาวมอญและชาวลาวอพยพเข้ามาอยู่อาศัย ต่อมามีคนจากภายนอกเข้ามาจึงทำให้รูปแบบวัฒนธรรมดั่งเดิมหายไป ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ
ข้อมูลโดย : นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
วันพฤหัสบดีที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานร่วมกับกองทุนโบราณสถานโลก (WMF) ประเทศสหรัฐอเมริกา โครงการฟื้นฟูบูรณะวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายสุรัฐกิจ พีรพงศ์ศิลป ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ นางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ข้าราชการกองโบราณคดี สำนักสถาปัตยกรรม สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ณ ห้องประชุมชั้น ๘ กรมศิลปากร อาคารเทเวศร์
ข้าวเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในตระกูลเดียวกับพืชประเภทหญ้า ลักษณะลำต้นเป็นปล้องกลวง ออกดอกเป็นช่อหรือรวง ดอกข้าวนี้จะเจริญเติบโตเป็นเมล็ดข้าวที่กลายเป็นอาหารของมนุษย์เรา ข้าวมีหลายสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ลักษณะภูมิประเทศและสภาพอากาศ โดยสายพันธุ์ข้าวที่ปลูกในทวีปเอเชีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oryza Sativa (อ่านว่า โอไรซ่า ซาติว่า) แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิดใหญ่ตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก ดังนี้ - Oryza Sativa Indica (โอไรซ่า ซาติว่า อินดิก้า) ปลูกได้ดีในพื้นที่เขตร้อนชื้น บริเวณเส้นศูนย์สูตร เป็นพันธุ์ข้าวที่มาจากอินเดีย พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Mainland of Southeast Asia) ได้แก่ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น ลักษณะเมล็ดข้าวยาวเรียว - Oryza Sativa Japonica (โอไรซ่า ซาติว่า จาโปนิก้า) ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็นถึงอบอุ่น) พบในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี เมล็ดข้าวสั้นป้อม เมื่อหุงสุกแล้วมีลักษณะค่อนข้างเหนียว - Oryza Sativa Javanica (โอไรซ่า ซาติว่า ชาวานิก้า) ปลูกได้ดีในพื้นที่เขตร้อนชื้น เป็นพันธุ์ข้าวที่พบในประเทศอินโดนีเซีย ในดินแดนไทยพบร่องรอยของเมล็ดข้าวตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายพันปีมาแล้วที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะเป็นข้าวเมล็ดสั้นซึ่งอาจเป็นข้าวป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติภาพ: เมล็ดข้าวพบภายในถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินกลาง อายุประมาณ ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่มา: “Hoabinhian Horticulture : The Evidence and the Question From Northwest THAILAND”. ต่อมาเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีหลักฐานของข้าวปลูกที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยพบร่องรอยข้าวติดอยู่บนเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทโลหะ ได้แก่ ขวานสำริด และเครื่องมือเหล็ก รวมทั้งยังพบอีกว่าคนโบราณสมัยนั้นได้ใช้แกลบข้าวเป็นส่วนผสมอยู่ในเนื้อภาชนะดินเผา นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีหลักฐานที่แสดงร่องรอยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ (วัวควาย) จากภาพเขียนสีบนผนังเพิงผาที่ผาหมอนน้อย ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีภาพเขียนสีบนผนังเพิงผา แสดงร่องรอยการเพาะปลูกข้าว (นาข้าว) และเลี้ยงปศุสัตว์ (วัวควาย) ที่ผาหมอนน้อย อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี--------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย https://www.facebook.com/page/1088662974512680/search/?q=%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2
ชื่อเรื่อง สพ.ส.3 หลวิชัย คาวีประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ วรรณคดีลักษณะวัสดุ 60; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง วรรณคดี ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: ตำแหน่งไม้เลือก (ตอนที่ 2) -- ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้จังหวัดน่าน ทำให้หลายสิบปีก่อนเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีตำแหน่งไม้เลือก หลายฝ่ายมีความประสงค์ไม้เนื้อแข็งสำหรับแปรรูปเป็นปัจจัยสี่ การส่งออก และการสาธารณูปโภคของประเทศ หนึ่งในนั้นคือกิจการรถไฟ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ไม้ไว้บำรุงระบบรางหรือเดินรถ พื้นที่ตำบลยาบหัวนา ปงสนุก และน้ำปั้ว อำเภอเมืองน่าน จึงถูกกำหนดให้เป็นตำแหน่งไม้เลือกไว้ทำไม้หมอนรางรถไฟ เพราะการใช้คอนกรีตยังมีต้นทุนและไม่คุ้มกับการขนส่งเข้าไปในพื้นที่ภูเขาหรือป่าลึก จากแผนที่ที่นำมาแสดง จะเห็นว่าบริเวณตำแหน่งไม้เลือกอยู่ชานเมือง สะท้อนความรุ่มรวยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งระบบนิเวศพร้อมมูลสามารถฟื้นฟูแนวทาง " รักษ์น้ำรักษ์ป่า " ต่อมาได้ อย่างไรก็ตาม แผนที่มิได้ระบุว่า ตำแหน่งไม้เลือกข้างต้นเป็นเพียงแผนการหรือดำเนินการแล้ว เพราะถ้าเป็นแผนการเท่านั้น การอนุรักษ์ป่าไม้จะทำได้สืบเนื่องเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน ผจ นน 1.6/2 แผนที่แสดงบริเวณป่าที่การรถไฟขอทำไม้หมอน [ม.ท.] #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๕ วันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๔๗ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี
ทรงได้รับการเฉลิมพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงอิศรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร” ทรงผนวชอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา ๒๗ ปี จึงเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๔ เฉลิมพระปรมาภิไธย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
รัชสมัยของพระองค์ ทรงครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจล้วนเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และบวรพระพุทธศาสนา ด้วยพระปรีชาอันสุขุมคัมภีรภาพ ทรงทราบในสรรพวิทยาอย่างแตกฉาน มีด้านอักษรศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นอาทิ ทรงดำเนินวิเทโศบายอย่างแยบคาย กับนานาอารยประเทศทั้งหลาย ด้วยการเจริญทางพระราชไมตรี ให้เสรีในด้านพาณิชย์ ก่อเกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในทางรัฐประศาสโนบาย ทรงออกกฎหมาย และประกาศนับร้อยฉบับ เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสังคมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น พระราชทานเสรีภาพแก่ประชาราษฎร ยังประโยชน์สุขและความเจริญเป็นอเนกประการ
ครั้นวันพฤหัสบดีขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ปีมะโรง สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ ได้ ๑๗ พรรษา ๕ เดือน ๒๙ วัน
ภาพ : พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 46/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง แห่ผ้าขึ้นเขากุฎ
ชื่อผู้แต่ง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท
สำนักพิมพ์ มป.พ.
ปีที่พิมพ์ 25๖๑
จำนวนหน้า 2๑ หน้า
รายละเอียด
“แห่ผ้าขึ้นเขากุฎ” เป็นประเพณีของชาวเกาะยอ จังหวัดสงขลา เกิดจากความศรัทธาต่อองค์ สมเด็จเจ้าเกาะยอ โดยจัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เพื่อเฉลิมฉลองประเพณีการทำบุญใน วันวิสาขบูชา และร่วมระลึกถึงบุญคุณสมเด็จเจ้าเกาะยอ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 143/7 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)