ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ
วันพฤหัสบดีที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ น. ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการแสดงละคร เรื่อง “พระมหาชนก” เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ โดยมีนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวรายงาน ณ โรงละครแห่งชาติ
วัดสะพานหิน วัดตั้งอยู่บนเนินเขาที่มีความสูงกว่าร้อยเมตร ชื่อวัดเรียกตามลักษณะทางที่ปูลาดด้วยหินจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทางเกือบ๓๐๐ เมตร สิ่งสำคัญในวัดมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ น่าจะตรงกับที่ศิลาจารึกหลักที่ ๑ กล่าวถึงเมืองสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงว่า “....ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณึ่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฎฐารศอันณึ่งลุกยืน…” และน่าจะเป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงทรงช้างเผือกชื่อรูจาครี เพื่อไปนบพระในวันวัดนี้ทุกวันข้างขึ้นและแรม ๑๕ ค่ำ วัดอรัญญิก ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณสุโขทัยด้านทิศตะวันตก อยู่ลาดเชิงเขาในป่ากลางอรัญญิก สิ่งก่อสร้างสำคัญประกอบด้วย กลุ่มฐานกุฏิสงฆ์ใช้สำหรับพระสงฆ์นั่งวิปัสสนาธรรม กุฏิมีขนาดเล็กสำหรับพระสงฆ์เพียงองค์เดียวนั่งวิปัสสนาธรรม ทางเดินปูด้วยหินเชื่อมกันระหว่างพระอุโบสถและวิหารบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมขุดลงไปในศิลาแลงมีน้ำขังตลอดทั้งปีวัดตระพังช้างเผือก ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก ลักษณะเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ไม่เห็นรูปแบบชัดเจน แต่พบร่องรอยการก่ออิฐและศิลาแลง สันนิษฐานว่าเป็นวิหารขนาดใหญ่ ด้านทิศใต้มีสระน้ำขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ ๓๐ x ๔๐ เมตร ด้านทิศตะวันตกของเนินโบราณสถาน มีสระน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่าตระพังช้างเผือก ในหนังสือพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ของรัชกาลที่ ๖ พระองค์ก็ทรงกล่าวถึงวัดตระพังช้างเผือกด้วยหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญที่ทรงกล่าวถึงศิลาจารึกวัดตระพังช้างเผือก ศิลาจารึกหลักนี้ภายหลังต่อมาศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐณ นคร ได้เปรียบเทียบข้อความที่อ่านไว้บ้างเล็กน้อยในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง กับศิลาจารึกที่ไม่ทราบว่าผู้ใดนำมาแต่เมื่อใดอยู่ที่เขาไกรลาศ สวนซ้าย ภายในพระบรมมหาราชวัง (หลักที่ ๑๐๒) ปรากฏข้อความแสดงว่าเป็นศิลาจารึกหลักเดียวกัน ปัจจุบันเรียกว่า จารึกป้านางคำเยียวัดช้างรอบ ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณสุโขทัยด้านทิศตะวันตก สิ่งก่อสร้างสำคัญประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว มีจำนวน ๒๔ เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธานและมีเจดีย์ราย ๕ องค์ล้อมรอบเจดีย์ประธานและโบสถ์วัดเขาพระบาทน้อย อยู่นอกเมืองโบราณสุโขทัยไปด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ สิ่งก่อสร้างสำคัญ ประกอบด้วย เจดีย์ทรงจอมแห มีคูหาพระพุทธรูป ๔ ทิศ องค์ระฆังมีรอยเป็นริ้วๆ ลักษณะเหมือนการตากแห ซึ่งพบเพียงองค์เดียวในเมืองสุโขทัย ด้านหน้าเจดีย์ทรงจอมแห มีวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ๔ รอย (ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง)นอกจากนี้ยังมีกุฏิสงฆ์สำหรับวิปัสสนา และฐานเจดีย์ศิลาแลงขนาดใหญ่วัดป่ามะม่วง ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลายหลักกล่าวถึงป่ามะม่วง ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองสุโขทัย มีศิลาจารึกหลักที่ ๖ ค้นพบในวัดป่ามะม่วง พูดถึงความสำคัญของวัดนี้ว่า พระมหาธรรมราชาลิไททรงนิมนต์สมเด็จพระสังฆราชจากเมืองพัน (บริเวณเมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองของมอญ) มาที่สุโขทัย มีพิธีการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ แล้วต่อมาพระองค์เองทรงออกผนวชเมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๐๕ และเสด็จมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ กลุ่มโบราณสถานประกอบด้วยอุโบสถและเจดีย์ต่างๆ สิ่งโดดเด่นของวัดนี้คือ เสาสูง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเสาหงส์ตามแบบมอญวัดศรีโทล วัดนี้มีมณฑปก่อขึ้นจากอิฐเป็นห้องสี่เหลี่ยมมีผนังหนา เพื่อรองรับส่วนบนที่เป็นหลังคาก่ออิฐมีน้ำหนักมาก ตัววิหารเดิมมีส่วนบนเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เป็นสถานที่สำหรับสาธุชนเข้าไปใช้เพื่อนมัสการพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในมณฑป องค์ประกอบทั้งหมดน่าจะเป็นการจำลองภาพสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ในพระคันธกุฎี หรือกุฎีส่วนพระองค์ในพระอารามแห่งใดแห่งหนึ่งโดยมีวิหารสำหรับเป็นสถานที่ให้สาธุชนใช้เป็นที่สักการะพระพุทธองค์ เป็นอาคารที่แยกสัดส่วนต่างหากจากพระคันธกุฎี วัดศรีโทลเป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถรผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฏกจากลังกา พระมหาเถรผู้นี้คือผู้ประพันธ์ข้อความสรรเสริญพระมหาธรรมราชาลิไท ที่ทรงผนวชเมื่อ พุทธศักราช ๑๙๐๕ ไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๔วัดตึก วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารกล่าวถึงเลย คงมีแต่เฉพาะมณฑปปูนปั้นซึ่งเมื่อราว ๙๐กว่าปีที่แล้วยังสภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถหาดูได้จากภาพถ่ายเก่าในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ลวดลายปูนปั้นประดับอยู่บนผนังของมณฑป เล่าเรื่องพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวาลัยมหาเกษตร ชื่อ “เทวาลัยมหาเกษตร” พบอยู่ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ของพระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งจารึกขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๐๕ กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไททรงประดิษฐานรูปพระอิศวรและรูปพระนารายณ์ไว้ที่เทวาลัยมหาเกษตรในป่ามะม่วงนี้ เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพวกดาบสและพราหมณ์ทั้งหลาย ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๑๘๙๒ รูปพระอิศวรและพระนารายณ์ตามที่กล่าวนี้ เชื่อกันว่าตรงกับกลุ่มประติมากรรมลอยตัวเทวรูปสำริด นุ่งผ้าและสวมเครื่องประดับอย่างที่เรียกว่าทรงเครื่อง คือมีเครื่องประดับรัดต้นแขนและรัดเกล้า ปัจจุบันนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย ตัวโบราณสถานที่ประดิษฐานเทวรูปเหล่านี้ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสผนังก่อด้วยอิฐ ทั้งผนังและเสามณฑปมีขนาดใหญ่หันหน้าสู่ทิศตะวันออกวัดเจดีย์งาม ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณสุโขทัยด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ทางขึ้นวัดปูด้วยหินชนวน จากเชิงเขาด้านทิศตะวันออกไปจนถึงลานวัดบนภูเขา กลุ่มโบราณสถานสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ฐานชั้นล่างมีซุ้มพระพุทธรูปทั้ง ๔ ด้านฐานพระวิหารก่อด้วยศิลาแลงปูด้วยหิน กุฏิสงฆ์สำหรับวิปัสสนาธรรมมีทั้งก่อด้วยอิฐและหิน สระน้ำขุดลงไปในศิลาแลงวัดถ้ำหีบบน ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ กลุ่มโบราณสถานสำคัญประกอบด้วย พระวิหารก่อด้วยศิลาแลง เจดีย์ทรงระฆัง กุฏิสงฆ์สำหรับวิปัสสนาธรรม ๒ แห่ง ก่อด้วยอิฐวัดถ้ำหีบล่าง ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ใกล้กับวัดถ้ำหีบบน โบราณสถานมีลักษณะเด่นคือ ส่วนใหญ่สร้างด้วยหินและศิลาแลง เช่นเจดีย์ประธานทรงระฆังก่อด้วยหิน พระวิหารก่อด้วยหิน ทางเดินปูด้วยหินจากเชิงเขาจนถึงลานวัดวัดเขาพระบาทใหญ่ อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่บนเขาพระบาทใหญ่ติดกับสรีดภงส์ โบราณสถานประกอบด้วยซากวิหารก่อด้วยอิฐและหิน วัดเขาพระบาทใหญ่เคยเป็นที่ประดิษฐานรอบพระพุทธบาทจำลองเมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๐๒ ปัจจุบันนำมาประดิษฐานที่วัดตระพังทอง (ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย)สรีดภงส์ ทิศตะวันตกของเมืองโบราณสุโขทัย มีเทือกเขาประทักษ์ทอดตัวยาวเป็นฉากหลัง และเป็นพื้นที่รับน้ำที่สามารถรองรับน้ำฝนได้อีกด้วย จากความชาญฉลาดของคนสุโขทัยในอดีต จึงรู้จักสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ในระหว่างหุบเขากิ่วอ้ายมาถึงเขาพระบาทใหญ่ อันเป็นที่รวมของน้ำจากโซกต่างๆ ตามบริเวณหุบเขาถึง ๑๗ โซก เป็นคันดินสำหรับกักเก็บน้ำ ที่เชื่อกันมาแต่เดิมว่าคือสรีดภงส ที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ดังข้อความต่อไปนี้ “….เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฏิ พิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ …” น้ำจากสรีดภงส์ถูกระบายไปตามคลองเสาหอเพื่อเข้าไปใช้อุปโภคบริโภคในเมือง โดยระบายเข้าสู่เมืองตรงมุมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อใช้สอยในเมืองแล้วก็ไหลออกไปลงน้ำแม่รำพัน ไหลรวมลงแม่น้ำยมต่อไป
วัสดุ ว่าน แผ่นเงิน
แบบศิลปะ ศิลปะแบบล้านช้าง
อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25
สถานที่พบ พบจากการขุดแต่งพระธาตุพันขัน บ้านหนองมะเหียะ ตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยสำนักงานศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด เมื่อ 15 พฤษภาคม 2548
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกเล็ก แย้มพระโอษฐ์ใหญ่ เม็ดพระศกเป็นตารางสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน อุษณีษะเป็นต่อมคล้ายลูกแก้วซ้อนกันสองชั้น พระรัศมีทรงกรวยแหลมหกเหลี่ยม ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา สังฆาฏิเป็นแผ่นแบนใหญ่ยาวจรดพระนาภี พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ฐานสูง ฐานบัวหงายขนาดเล็กเรียบไม่มีลวดลาย ฐานบัวคว่ำสลักลวดลายกลีบบัวคว่ำ ลายเรขาคณิต ลายแถวเม็ดประคำ ฐานล่างสุดมีจารึกโดยรอบฐาน
การทำพระบุเงิน คือการนำเนื้อเงินมาตีแผ่ให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำไปบุหุ้มกับหุ่นซึ่งทำด้วยดิน ขี้เลื่อย ว่านและดอกไม้แห้ง โดยกดให้เนื้องานติดแนบกับหุ่นสนิท จากนั้นจึงใช้ค้อนตอกเป็นลวดลายต่างๆ
ขอเชิญชมการแสดงโขนชุด ขับพิเภก-สวามิภักดิ์-ยกรบ ในงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ณ วัดมหาธาตุ ยโสธร
พระพุทธรูปนาคปรก
เลขทะเบียน ๐๙/๓๐๒/๒๔๙๗
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๓
สำริด ขนาด สูง ๙๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๕๖ เซนติเมตร
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ประทานให้กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐
พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่องปางสมาธิประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปสี่เหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นวงโค้ง พระเนตรเปิด เหลือบมองต่ำ พระโอษฐ์ค่อนข้างหนา พระนาสิกสั้น พระกรรณยาวสวมกุณฑลหรือตุ้มหู ทรงสวมมงกุฎทรงกรวยหรือชฎามกุฎ สวมกรองศอ พาหุรัด กำไลข้อพระกร หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางบนพระเพลา ขอบสบงเว้าต่ำ ประทับนั่งบนขนดนาคสามชั้น มีเศียรนาคเจ็ดเศียร แผ่พังพานอยู่ด้านบน
พระพุทธรูปปางนี้เป็นเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่ ๖ หลังจากการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับบำเพ็ญสมาธิ ณ ใต้ต้นมุจลินทพฤกษ์หรือต้นจิก ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของต้นมหาโพธิ์ คราวนั้นเกิดอากาศวิปริตฝนตกพรำตลอดเจ็ดวัน พญานาคชื่อว่า มุจลินทนาคราช อาศัยอยู่ในสระโบกขรณี ได้ขึ้นมาวงขนดรอบพระวรกายของพระพุทธเจ้าเจ็ดรอบและแผ่พังพานปกพระเศียร ด้วยหวังจะมิให้ความหนาว ความร้อน ฝน ตกต้องพระวรการยของพระพุทธเจ้าเลย เมื่อผ่านไปเจ็ดวันฝนจึงหยุดตก พญานาคจึงได้ปรากฏกายเป็นมนุษย์มายืนเฝ้าถวายบังคมต่อพระพุทธเจ้า
Buddha Sheltered by Naga Hood
Registration No. 09/302/2497
Ayutthaya Art, ca. 14th – 18th century
Sandstone, Height 95 cm. Width56 cm.
Donated by Somdet Phra Maha Viravong to the Fine Arts Department in 1927.
The Buddha is sitting in the meditation mudra on the intertwined coil of a naga used as a throne; Its seven-headed hood is spread over the Buddha to protect him from the rains. His face is square with connected curving eyebrows above the short nose, he has wide eyes and thick lips. He is wearing a crown, earrings, a necklace and a bracelet.
During the sixth week of his enlightenment, the Buddha meditated under the tree near the lake where Muchalinda, king of naga, lived. A sudden thunderstorm threatened to flood the area where the Buddha was seated for an entire week. To protect the Buddha, Muchalinda coiled his body under the meditating Buddha. He covered the Buddha with his seven-headed hood sheltering him from the heavy rain. After the rainstorm, He changes into a human form and showed respect to the Buddha.
ขอบคุณภาพ : โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี
เช้านี้ที่หมอชิต : สำนักช่างสิบหมู่ สำนักศิลป์คู่แผ่นดินสยาม
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์. พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม ๑๒ พ.ศ. ๒๔๕๘. ม.ป.พ., ๒๔๕๘.