ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ

สาวกนิพฺพาน (อานนฺท,ควมฺปติ,พิมฺพา,มหากสฺสป,โมคฺคลฺลาน,สารีปุตฺตเถรนิพฺพาน)  ชบ.บ.90/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.242/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 114 (194-202) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ทุกฺขกฺขนฺธสุตฺต(ทุกขักขันธสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้เรื่อง : โยนกนาคพันธ์และสิงหนติโดย : นายสายกลาง  จินดาสุ  นักโบราณคดีชำนาญการ  กลุ่มโบราณคดี  สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่.     โยนกนาคพันธ์ คือ เมืองในตำนานที่ปรากฏร่องรอยการอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาของผู้คนและปรากฏร่องรอยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในแอ่งที่ราบเชียงราย - เชียงแสน เมืองแห่งนี้มีอายุตามตำนานในช่วง 148 ปีก่อนพุทธศักราช ถึง พ.ศ.1088.     ตำนานกล่าวถึงเจ้าชายสิงหนวติ พาผู้คนอพยพจากเมืองไทเทศ มุ่งลงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำสรภู มาตั้งบ้านเมืองอยู่ในแอ่งที่ราบแห่งหนึ่ง ไกลจากแม่น้ำขรนทีราว 7,000 วา (ไม่ไกลจากเมืองเก่าที่ล่มสลายไปก่อนหน้า คือ เมืองสุวรรณโคมคำ) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายท่านให้ความเห็นในทิศทางที่สอดคล้องกันว่า โยนกนาคพันธ์ คือบริเวณที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่คาบเกี่ยวระหว่างตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน และตำบลจันจว้า ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ที่รู้จักในชื่อ “เวียงหนองหล่ม”.     อาจารย์คงเดช ประพัฒน์ทอง  เชื่อว่าเมืองโยนนาคพันธ์ คือบริเวณที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่คาบเกี่ยวระหว่างตำบลโยนก – จันจว้า ห่างจากตัวเมืองเชียงแสนลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 14 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะห่างที่สอดคล้องกับระยะที่กล่าวไว้ในตำนานว่าเมืองโยนคนาคพันธ์ห่างจากแม่น้ำโขง 7,000 วา ศาสตราจารย์เจียง อิ้ง เหลียง มีความเห็นว่ากลุ่มคนไทได้ตั้งเมืองโยนกนาคพันธ์ขึ้นบนที่ราบเชียงแสนตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 15  โดยอพยพเคลื่อนย้ายมาจากจีนตอนใต้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รณิดา ปิงเมือง (ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย) สำรวจและศึกษาความเป็นมาท้องถิ่น โบราณวัตถุสถานในพื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองหล่มในปี 2552 พบโบราณสถานกว่า 34 แหล่งประกอบด้วยโบราณสถานประเภทวัด ที่กระจายตัวอยู่บริเวณขอบและกลางพื้นที่เวียงหนองหล่ม (รอบหนองน้ำกลางพื้นที่ คือ หนองยาว และหนองมน) รวมถึงโบราณสถานประเภทคู - คันดิน ที่ตั้งอยู่บนยอดดอยด้านทิศตะวันตกของพื้นที่.     ทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2552 สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดำเนินการสำรวจพื้นที่บริเวณเวียงหนองหล่ม พบว่า ในพื้นที่บริเวณเวียงหนองหล่มพบแหล่งโบราณคดีเพิ่มขึ้น 24 แหล่ง พื้นที่ที่พบแหล่งโบราณคดีหนาแน่นที่สุดคือพื้นที่ตำบลท่าข้าวเปลือก โดยกระจายตัวอยู่รอบหนองหลวง, หนองกากอก, หนองขวาง, หนองมน และลำน้ำลัว ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานบางส่วนที่กระจายตัวอยู่บริเวณขอบพื้นที่ โดยเฉพาะขอบพื้นที่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่เริ่มลาดสูงขึ้นเป็นพื้นที่เนินเขา ซึ่งต่อเนื่องไปจากแนวพื้นที่นี้ปรากฏพบโบราณสถานประเภทคู - คันดินตามพื้นที่ยอดดอย จากการสำรวจพบว่าโบราณสถานสถานที่อยู่กลางพื้นที่เวียงหนองล่มและตามขอบพื้นที่ส่วนมากเป็นศาสนสถานประเภทเจดีย์และวิหารที่วางตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยมีเนินวิหารที่มีผังค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดเฉลี่ย กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และมีเนินเจดีย์ผังเนินค่อนข้างเป็นวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่เนินโบราณสถาน ซึ่งเป็นลักษณะตามแบบแผนการวางตัวของโบราณสถานในล้านนา จากการขุดตรวจในพื้นที่พบว่าโบราณสถานอยู่ลึกกว่าผิวดินปัจจุบัน 0.3 - 0.5 เมตร.     สิ่งแรกที่เป็นข้อสังเกตที่น่าหยิบยกมาพิจารณาเกี่ยวกับโยนกนาคพันธ์ คือ ช่วงระยะเวลาการเกิดเมืองตามตำนาน หากพิจารณาตามช่วงเวลาที่ตำนานสิงหนวัติกล่าวถึง การเข้ามาตั้งบ้านเมืองของเจ้าชายสิงหนวติ ในแอ่งที่ราบเชียงแสน เกิดขึ้น 148 ปี ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน (148 ปี ก่อนพุทธศักราช) หากเชื่อว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้อาจมีเค้าความจริง การอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาของสิงหนวัติอาจเป็นร่องรอยการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือก็เป็นได้ คือเกิดขึ้นราว 2,700 ปีมาแล้ว ซึ่งตรงกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงรอยต่อยุคสำริดกับยุคเหล็ก เวลาดังกล่าวเป็นช่วงสำคัญที่พัฒนาการทางสังคมเริ่มยกระดับจากชุมชน หมู่บ้าน สู่ความเป็นเมือง (สังคมเริ่มก้าวสู่ความเป็นเมืองเมื่อผู้คนเริ่มรู้จักการผลิตและใช้เหล็ก) ตำนานสิงหนวัติจึงอาจสะท้อนถึงการเคลื่อนย้ายผู้คนจากจีนตอนใต้มาสู่แอ่งที่ราบเชียงแสน ซึ่งเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่และเพียงพอแก่การรองรับการขยายตัวของประชากรและสังคมในช่วงปลายยุคสำริดที่ต่อเนื่องยังยุคเหล็ก  หลักฐานทางโบราณคดีชิ้นหนึ่งที่อาจเชื่อมโยงความสัมพันธ์ดังกล่าว คือ การพบกลองมโหระทึกสำริด ที่เป็นโบราณวัตถุที่พบตั้งแต่จีนตอนใต้กระจายมาตามลำน้ำโขงจนถึงประเทศเวียดนาม กลองมโหระทึกที่เวียงหนองหล่มนี้มีที่มาว่าถูกพบจากการขุดลอกหนองเขียว ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเวียงหนองล่ม ใกล้กับโรงเรียนจันจว้าวิทยาคม แต่ทั้งนี้ประเด็นเรื่องช่วงเวลายังเป็นประเด็นที่ต้องมีการศึกษาถึงหลักฐานทางโบราณคดีประกอบอีกมาก มิสามารถนำช่วงเวลาตาม.     ในพื้นที่ประเทศไทย เรามักจะพบหลักฐานการก่อเกิดรัฐหรือบ้านเมือง ในช่วง 1,300 – 1,500 ปีก่อน (ราว พ.ศ.1000 – 1300) ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างปลายยุคเหล็กกับยุคประวัติศาสตร์ เช่นเมืองของอาณาจักรทวารวดีในแอ่งที่ราบภาคกลาง หรือเมืองหริภุญชัย ในพื้นที่ภาคเหนือ  ซึ่งทุกแห่งมีเงื่อนไขการก่อเกิดบ้านเมืองที่คล้ายคลึงกัน คือมีศาสนาเป็นองค์ประกอบ ดังนั้นปัจจัยที่ควรถูกหยิบยกมาเป็นข้อสังเกตและพิจารณาช่วงเวลาแห่งการเกิดหรือพัฒนาขึ้นสู่ความเป็นเมืองของโยนกนาคพันธ์อีกข้อ คือ การประดิษฐานของพระพุทธศาสนาในพื้นที่.     หลักฐานที่ปรากฏในตำนาน เกิดขึ้นหลังจากรัชกาลของสิงหนวัติ โดยเกิดในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ลำดับที่ 3 แห่งโยนกนาคพันธ์ ในราว พ.ศ.100 หรือประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ตำนานกล่าวถึงการที่พระเจ้าอชุตราชได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพระกัสสปเถระ แล้วนำพระบรมสารีริกธาตุนั้นประดิษฐานบนดอยลูกหนึ่งที่เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนพื้นเมืองเดิม (พระธาตุดอยตุง) ถ้าพิจารณาตามลำดับเวลาในตำนาน ช่วงเวลาแห่งการสถาปนาพระธาตุอันเป็นสัญลักษณ์และตัวแทนของการสถาปนาพระพุทธศาสนาในแอ่งที่ราบเชียงแสน เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่สัมพันธ์กับบริบทระลอกการแผ่ขยายพระพุทธศาสนาจากอินเดียสู่พื้นที่ต่างๆ ซึ่งการแผ่ขยายของพุทธศาสนาเกิดขึ้นในห้วงเวลาหลังจากนั้น ๒ ระลอกคือพุทธศตวรรษที่ 3 – 5 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งเป็นสมัยหลังคุปตะที่ศาสนาเข้ามาพร้อมการขยายตัวทางการค้าจากมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้นระยะเวลาในการพัฒนาขึ้นมาเป็นสังคมระดับเมืองของโยนกนาคพันธ์และการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแอ่งที่ราบเชียงแสน จึงควรเป็นเวลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 - 12 ซึ่งความเป็นไปได้อาจอยู่ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 12 ไปไม่มาก จากช่วงเวลาที่เทียบเคียงกับการประดิษฐานพระพุทธศาสนาและเกิดบ้านเมืองในพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย ทั้งนี้มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า การเข้ามาของพุทธศาสนาในแอ่งที่ราบเชียงแสนอาจมีมาก่อน.     การประดิษฐานพระพุทธศาสนาบนดอยตุงเล็กน้อย โดยนัยยะที่ปรากฏในตำนานที่ว่า พระมเหสีของพระเจ้า อชุตราช คือ ธิดาที่เกิดจากนางกวางที่ไปกินปัสสาวะของฤาษี เนื้อหาตอนนี้อาจตีความถึงการผสมกลมกลืนทางความเชื่อของกลุ่มคนพื้นเมืองเดิมที่มีสัตว์เป็นตัวแทน (นางกวาง)  กับความเชื่อใหม่ที่อาจจะเป็นศาสนาพุทธที่ได้เริ่มแผ่ขยายมาตามปฏิสัมพันธ์ที่แอ่งที่ราบเชียงแสนมีต่อดินแดนภายนอก โดยตำนานให้ภาพแทนเป็นฤาษี (ช่วงเวลาดังกล่าวคนในพื้นที่อาจยังไม่คุ้นเคยกับนักบวชในศาสนา ฤาษีจึงอาจเป็นคำเรียกของนักบวชในยุคแรก / ในแอ่งที่ราบลำพูน-เชียงใหม่ พบหลักฐานการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในตำนานพระธาตุดอยคำที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดยักษ์ในพื้นที่ ซึ่งอาจหมายถึงกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตในแบบก่อนประวัติศาสตร์ ล้าหลัง ที่ตำนานให้ภาพแทนเป็นยักษ์ และนำไปสู่การก่อเกิดเมืองบริเวณเชิงดอยสุเทพโดยฤาษี ต่อมาจึงเกิดเมืองหริภุญชัยโดยมีฤาษีอีกตนเป็นผู้สร้าง พร้อมกับการเข้ามาของพระพุทธศาสนาจากที่ราบภาคกลาง ซึ่งช่วงเวลาตามตำนานอยู่ในราว พ.ศ. 1100 – 1204).     ในความเห็นของผู้เขียนเอง (ตามข้อมูลหลักฐานที่ปรากฏ) ผู้เขียนขอตั้งเป็นข้อสันนิษฐานว่า การอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนเข้ามาของสิงหนวัติอาจเกิดขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงใดช่วงหนึ่งของยุคเหล็ก (2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว) โดยเป็นการอพยพเคลื่อนย้านจากจีนตอนใต้ลงมาเพื่อแสวงหาพื้นที่ทำกินและแหล่งทรัพยากรใหม่ รองรับการขยายตัวของสังคม ซึ่งในเวลานั้นอาจยังมิได้เป็นสังคมระดับเมือง (แต่เป็นชุมชนขนาดใหญ่) จนมีพัฒนาการก้าวสู่ความเป็นเมืองหลังจากที่มีการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในพื้นที่ ซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงเวลา 1,300 – 1,500 ปีมาแล้ว (พุทธศตวรรษที่ 11 – 13)  อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าลงไปถึงช่วงเวลาก่อน พ.ศ.1088 ที่เมืองถล่มล่มจมลงเป็นหนองน้ำ โดยโบราณสถานที่สำรวจพบกำหนดอายุได้ในช่วงล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ 19 - 22 (จากการกำหนดอายุเชิงเทียบกับโบราณวัตถุที่พบร่วมในแหล่ง).     นอกจากนี้เมื่อเราพิจารณาสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่ของแอ่งที่ราบเชียงราย – เชียงแสน เราอาจเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้ได้กระจ่างชัดขึ้น เหนือจากแอ่งที่ราบเชียงแสนขึ้นไปทางทิศเหนือซึ่งปัจจุบันเป็นเขตพื้นที่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพเมียนมาร์ เป็นพื้นที่ภูเขากินบริเวณกว้าง ขวางผืนแผ่นดินเป็นแนวยาวก่อนที่จะพบพื้นที่ราบทางทิศเหนืออีกครั้งบริเวณตอนกลางของแอ่งที่ราบมณฑลยูนนาน แอ่งที่ราบเชียงแสนจึงถือเป็นแอ่งที่ราบผืนใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแอ่งที่ราบจีนตอนใต้ ดังนั้นเวียงหนองหล่ม ที่ตั้งอยู่บนแอ่งที่ราบเชียงแสน จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการรองรับการผลิตภาคเกษตรที่หล่อเลี้ยงประชากรและการขยายตัวของสังคมที่ผู้คนและสิงหนวติต้องการ                         ------------------------------------- อ้างอิง -ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โบราณวัตถุและโบราณสถานในพื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองล่ม. พิมพ์ครั้งที่๑. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์ จำกัด. เชียงใหม่, ๒๕๕๒.ศิลปากร,กรม. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑, ๒๕๕๐.ศิลปากร,กรม. พงศาวดารโยนก. พิมพ์ครั้งที่๗. สำนักพิมพ์คลังวิทยา. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๐. ศิลปากร,กรม. โครงการจัดทำแผนแม่บท การพัฒนาเมืองโบราณเชียงแสนให้เป็นมรดกโลก, ๒๕๕๐.


          กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ขอเชิญชมการแสดง “เหมันต์บันเทิง รื่นเริงสังคีต” โครงการ ดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๕ พบกับการบรรเลงดนตรีและการแสดงอันหลากหลาย โดยศิลปินของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และภาคเอกชน ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา ๑๗.๓๐ น. - ๑๙.๓๐ น. ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ณ สังคีตศาลา เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร บัตรเข้าชมการแสดงคนละ ๒๐ บาท          กรมศิลปากรจัดโครงการดนตรีสำหรับประชาชนเพื่อนำเสนอความบันเทิงและความรู้สู่ประชาชน มาเป็นเวลาถึง ๖๕ ปี โดยมีรายการแสดงที่หลากหลายทั้งแบบมาตรฐาน แบบพื้นเมือง และแบบสากล สลับสับ เปลี่ยนกันไป ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ทั้งการแสดงโขน ละคร การบรรเลงดนตรีไทย ดนตรีสากล ศิลปะการแสดงประเภทต่างๆ ซึ่งล้วนแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและของชาติ อันควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ โดยวันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ชมการแสดงโขนสด โดยคณะประยุทธ ดาวใต้ และวันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ชมการบรรเลงขับร้องดนตรีสากล ชุดชมวังฟังเพลงบรรเลงร้อง บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนเข้าชมการแสดง ๑ ชั่วโมง) ทั้งนี้ การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด          ผู้สนใจสามารถเข้าชมการแสดงได้ ณ สังคีตศาลา เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา ๑๗.๓๐ น. - ๑๙.๓๐ น. ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ติดตามรายละเอียดได้ทาง เฟสบุ๊ก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักการสังคีต (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


ชื่อผู้แต่ง        ศิริปัญญามุนี (อ่อน), พระ ชื่อเรื่อง          มงคลสูตรแปลโดยพิสดาร สำนวนเทศนา ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๑ จำนวนหน้า      ๕๕๔ หน้า หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานรับพระราชทานเพลิงศพ พระยศสุนทร (น้อม ยศสุนทร) ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง พระนคร วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๑                         หนังสือเล่มนี้ เป็นสูตรหนึ่งในคัมภีร์ขุททกปาฐะ เป็นพุทธภาษิตพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงเป็นคาถาบาลี จำนวน ๑๑ คาถา ยาว ๒๒ บรรทัด กล่าวถึงพุทธพจน์ว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ โดยอธิบายหลักธรรม ยกอุทาหรณ์มาอธิบาย มีคุณค่าทางด้านวรรณคดี และการศึกษาศีลธรรม


ไซเดนฟาเดน.  เรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ 6 เที่ยวเมืองพิมายในจังหวัดนครราชสีมา.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2497.                      พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนประมวญรถกรรม (โฮม  วงศ์กำแหง) ว่าด้วยเรื่องเที่ยวเมืองพิมาย ประวัติเมืองพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา  การก่อสร้างสถานีรถไฟ สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา การเดินทางจากนครราชสีมาไปพิมาย ปี พ.ศ.2461  โดยใช้ม้าเป็นพาหนะ ท่าเรือเมืองนครราชสีมาที่เรียกว่าท่าช้าง ฯลฯ


โบราณสถานปราสาทวัดโคกปราสาทประชานุรักษ์ ตั้งอยู่ในที่พักสงฆ์วัดโคกปราสาทประชานุรักษ์หรือวัดโคกปราสาทใต้ ตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 สภาพปัจจุบันมีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก มีต้นไม้ขึ้นคลุมค่อนข้างหนาแน่น มีขนาดกว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 35 เมตร และ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบโดยเว้นเป็นทางเข้าด้านทิศตะวันออก คูน้ำมีขนาดกว้างประมาณ 15 – 20 เมตร บนเนินโบราณสถานปรากฏแนวอาคารที่ก่อด้วยหินทราย ศิลาแลง และอิฐ #จากร่องรอยหลักฐานที่ปรากฏ สามารถสันนิษฐานองค์ประกอบของปราสาทได้ดังนี้ 1. #ปราสาท ประกอบด้วย 1.1 #ปราสาทประธาน : อาจเป็นปราสาทสามหลังตั้งเรียงกันในแนวทิศเหนือใต้ โดยยังปรากฏประตูทางเข้าของปราสาทอย่างน้อย 2 หลัง หลังแรกยังปรากฏกรอบประตูตัวตั้งทั้งสองข้างทำด้วยหินทราย และหลังที่สองถัดไปทางทิศเหนือ ปรากฏกรอบประตูหินทรายทั้งส่วนบนและตัวตั้งทั้งสองข้าง ปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และคงก่อสร้างด้วยอิฐด้วย เนื่องจากพบเศษอิฐเป็นจำนวนมาก 1.2 #แนวกำแพงล้อมรอบ : อาจมีแนวกำแพงล้อมรอบปราสาท โดยทางด้านหน้าปรากฏฐานอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง โดยมีหินบางส่วนที่ถูกนำมาเรียงใหม่ ปรากฏหินส่วนที่เป็นหน้าบันและกรอบประตู กรอบหน้าต่าง เสาประดับกรอบประตูแบบเสาแปดเหลี่ยม อาคารส่วนนี้น่าจะเป็นโคปุระหรือประตูซุ้มทางเข้า ทางด้านทิศตะวันตกปรากฏอาคารที่ฐานก่อด้วยศิลาแลง ส่วนผนังก่อด้วยอิฐ กรอบประตูใช้หินทราย อาคารส่วนนี้อาจเป็นโคปุระด้านทิศตะวันตก หรืออาคารขนาดเล็กประดิษฐานเทพชั้นรอง 1.3 #คูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบปราสาท : คูน้ำรูปตัวยู (U) ยังมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ปัจจุบันมีการสร้างถนนชิดแนวคูน้ำด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก คูน้ำมีแนวล้อมรอบปราสาทโดยเว้นเป็นทางเข้าด้านทิศตะวันออก คูน้ำมีขนาดกว้างประมาณ 15 – 20 เมตร 2. #บาราย ถัดจากตัวปราสาทไปทางทิศตะวันออกประมาณ 450 เมตร มีบารายหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ บารายมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้างประมาณ 250 เมตร ยาวประมาณ 260 เมตร คันดินขอบบารายมีขนาดกว้างประมาณ 20 เมตร สูงจากพื้นนาโดยรอบ 3 เมตร บารายแห่งนี้ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า หนองบัวราย #จากหลักฐานที่พบ สันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานปราสาทวัดโคกปราสาทประชานุรักษ์ เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 เป็นศาสนสถานของชุมชนในวัฒนธรรมเขมรบริเวณนี้ในอดีต ตัวปราสาทน่าจะประกอบด้วยปราสาทสามหลังตั้งเรียงกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก อาจมีกำแพงล้อมรอบโดยมีโคปุระทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก และมีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ใช้หินทราย แท่งศิลาแลง และอิฐเป็นวัสดุในการก่อสร้าง ทางด้านทิศตะวันออกมีบารายตั้งอยู่ ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ


          นิทรรศการ เรื่อง “รามายณะ จากวรรณกรรมสู่เรื่องราวบนทับหลัง” เป็นนิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวรามายณะตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการกำเนิดรามายณะ จนถึงอิทธิพลในด้านต่างๆ ทั้งอิทธิพลด้านวรรณกรรมที่เป็นแม่แบบให้กับรามเกียรติ์ของไทย ด้านนาฏกรรมที่กลายมาเป็นบทละครที่ใช้แสดงหนังใหญ่หรือโขน และด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ที่สะท้อนผ่านเรื่องราวบนภาพสลักในปราสาทเขมรในดินแดนไทย โดยเฉพาะปราสาทพิมาย แม้ปราสาทพิมายจะสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา แต่ทับหลังและหน้าบันส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นเรื่องราวในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับมหากาพย์สำคัญอย่างรามายณะ และถือได้ว่าเป็นปราสาทที่ปรากฏภาพสลักมหากาพย์รามายณะมากที่สุดในบรรดาปราสาทเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ขอเชิญชวนผู้สนใจไปร่วมไขคำตอบกันว่า ทำไมปราสาทในพุทธศาสนาอย่างปราสาทพิมายถึงมีการสลักเรื่องราวรามายณะในศาสนาฮินดู และชมภาพสะท้อนของรามายณะที่ปรากฏเป็นหลักฐานต่างๆ ในนิทรรศการ “รามายณะ จากวรรณกรรมสู่เรื่องราวบนทับหลัง” ซึ่งเป็นนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๕ เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๔๔๔๗ ๑๑๖๗


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “น้ำตกพลิ้ว” จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย เสน่ห์ของเมืองจันท์นอกจากทะเลแล้ว ก็ยังมีน้ำตกที่สวยงาม น่าท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอยู่หลายแห่ง เข้าหน้าฝนแล้ว น้ำตกจะมีน้ำมากเหมาะแก่การเล่นน้ำพักผ่อน ในตอนนี้จะนำเสนอเรื่องของน้ำตกพลิ้ว ที่มาของชื่อ “พลิ้ว” นั้น มาจากภาษาขอม มีความหมายว่า ทรายหรือหาดทราย สันนิษฐานกันว่าชื่อน้ำตกพลิ้ว คงมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นในที่ดินปนทราย ลักษณะเป็นไม้เถา มีดอกเป็นช่อ ผลเล็กคล้ายลูกเกด สีเหลืองอมแดงขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบนี้ (ปัจจุบันอุทยานฯปลูกไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูด้วย) น้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี อยู่ในเทือกเขาสระบาปภายในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อยู่ในตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีไปทางจังหวัดตราดตามเส้นทางถนนสุขุมวิท 15 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายมือตรงหลักกิโลเมตรที่ 347 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นถนนราดยางตลอดก็จะถึงบริเวณน้ำตก ก่อนถึงตัวน้ำตกจะผ่านที่ทำการอุทยาน ที่มีนิทรรศการให้ความรู้เรื่องป่าและสถานที่ท่องเที่ยวภายในน้ำตก น้ำตกพลิ้วตกลงมาจากหน้าผาสูง ลดหลั่นลงมา 3 ชั้น มีอ่างศิลาธรรมชาติรองรับเป็นชั้นๆ น้ำที่ตกลงมาถึงอ่างศิลา 20 เมตร จะกระทบแง่หินแตกกระจายเป็นฟองฝอย และน้ำใสมาก ในแอ่งน้ำเป็นที่อาศัยของฝูงปลาจำนวนมาก โดยเฉพาะปลาฟองหิน สองฟากฝั่งลำธารมีต้นไม้ใหญ่น้อยเขียวขจีน่าชม เป็นเอกลักษณ์และจุดเด่นของที่นี่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสหลายคราว ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้ ได้สร้างสิ่งก่อสร้างเป็นอนุสรณ์ คือ อลงกรณ์เจดีย์สร้างในปี พ.ศ. 2419 เป็นเจดีย์ที่มีมอสปกคลุมเขียวขจี ส่วนสถูปพระนางเรือล่มสร้างในปี พ.ศ. 2424 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จมาที่นี และภายหลังที่พระนางสิ้นพระชนม์จากเรือพระประประเทียบล่มแล้ว ภายในสถูปก็ได้บรรจุพระอังคารของพระนางเจ้าฯด้วย อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวป่าจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 66 - 76. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ชื่อเรื่อง                                    มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐ  กถา(สุวรรณสาม)สพ.บ.                                       420/2หมวดหมู่                                  พระพุทธศาสนาภาษา                                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                                    พระพุทธศาสนา                                               ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย                    คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ                               40 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก              เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: ตำแหน่งไม้เลือก (ตอนที่ 1) -- เมื่อหลายสิบปีก่อน ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีพื้นที่ป่าน้ำยาว ซึ่งถูกระบุว่าเป็น " ตำแหน่งไม้เลือก " ตำแหน่งไม้เลือกไม่ใช่พันธุ์ไม้เลือกป่าหรือคนเลือกเพาะปลูก แต่หมายถึงไม้ที่ถูกเลือกเข้าสู่อุตสาหกรรมและแปรรูป ด้วยสมัยก่อนประเทศไทยยังเปิดให้สัมปทานทำไม้เช่นเดียวกับอารยประเทศ ผู้ประมูลสัมปทานจะได้พื้นที่จำนวนหนึ่งแปรรูปไม้ พร้อมกับฟื้นฟูระบบนิเวศตามสัญญากำหนด จากแผนที่ป่าน้ำยาวนี้ ย่อส่วนจากพื้นที่จริงขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 จะเห็นความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ อาทิ แม่น้ำน่าน ลำห้วยสาขา และไร่หรือป่าไร่เก่า นั่นหมายความว่า ก่อนที่รัฐจะให้ทำเป็นตำแหน่งไม้เลือก ป่าน้ำยาวถูกหักล้างถางพงมาก่อนแล้ว ส่วนพืชไร่สันนิษฐานว่าเป็นยาสูบ ข้าวฟ่าง หรือกาแฟไม่ทราบสายพันธุ์ สำหรับตำแหน่งไม้เลือกในจังหวัดน่านนั้น หาได้มีแต่ที่ป่าน้ำยาวแห่งเดียว โปรดติดตามต่อไปว่า บริเวณไม้เลือกใดที่มีความสำคัญ ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน ผจ นน 1.6/7 แผนที่สังเขปแสดงตำแหน่งไม้เลือกป่าน้ำยาว ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน [ม.ท.]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ



        ย้อนรอยแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ : เรื่องเล่าจากพงศาวดาร (ตอนที่ ๘ สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์)         นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) หลักฐานชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย         ในปีขาล พุทธศักราช ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสร้างพระราชอุทยานขึ้นในพระบรมมหาราชวัง อันมีชื่อว่า สวนขวา ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อสวนขวา และนำเอาสิ่งก่อสร้าง และเครื่องประดับสวน นำไปอุทิศถวายแก่พระอารามสำคัญ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวยังว่างอยู่ จึงโปรดเกล้าให้สร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานขึ้นเพิ่มเติมจากพระราชมณเฑียรเดิมที่มีมาแต่ครั้งสถาปนากรุงฯ ดังความในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ) ความว่า          "....จึงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยเป็นแม่กอง ให้ทำพระมหาราชมนเทียรขึ้นอีก ๕ องค์ ให้รื้อพระตำหนักเดิมมาปลูกไว้ด้วย และให้สร้างพระที่นั่งสูง มีพื้น ๕ ชั้น สำหรับทอดพระเนตรไปไกลๆ องค์ ๑ แล้วให้สร้างพระที่นั่งสำหรับไว้ขององค์ ๑ แล้วมีหอสำหรับพระสงฆ์เจริญพระปริตรหลัง ๑ สำหรับไว้พระแสงเครื่องศาสตราคมหลัง ๑ สำหรับเลี้ยงแขกเมืองหลัง ๑ ชักเขื่อนเพ็ชรล้อมรอบ สำหรับพวกพนักงานอยู่ทุกพนักงาน ชั้นนอกเขื่อนเพ็ชรเชิงเทินปราการตรงหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นองค์ ๑ และพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เดิมก็โปรดให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ทำป้อมที่พระราชวังกำแพงตรงถนนบำรุงเมือง ให้ชื่อป้อมสัญจรใจวิง ..."          เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระที่นั่งและอาคารต่างๆ ไว้อย่างคล้องจองกัน ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ต่อมาว่า "....พระที่นั่งหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามชื่อพระที่นั่งไชยชุมพล พระที่นั่งสูง ๕ ชั้น ชื่อภูวดลทัศไนย พระที่นั่งสุทธาสวรรย์โปรดให้แปลงชื่อว่าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ท้องพระโรงเสด็จออกให้ชื่อพระที่นั่งอนันตสมาคม พระมหามนเทียรฝ่ายในองค์ ๑ ชื่อบรมพิมาน ท้องพระโรงฝ่ายในที่เฝ้าชื่อนงคราญสโมสร พระพิมานฝ่ายใต้องค์ ๑ ชื่อจันทรทิพโยภาศ พระพิมานฝ่ายเหนือองค์ ๑ ชื่อภาณุมาศจำรูญ พระตำหนักเดิมชื่อมูลมนเทียร หอพระปริตรชื่อว่าหอเสถียรธรรมปริตร หอแสงศาสตราคมให้ชื่อว่าหอราชฤทธิรุ่งโรจน์ หอที่เลี้ยงแขกเมืองให้ชื่อว่าหอโภชนลีลาศ พระที่นั่งไว้ของประหลาดต่างๆ ชื่อพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์..."  และพระราชทานนามหมู่พระราชมณเฑียรสถานแห่งใหม่นี้ว่า "พระอภิเนาว์นิเวศน์"         นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๐๒ ซึ่งเป็นปีที่สร้างเสร็จพระอภิเนาว์นิเวศน์จึงมีความสำคัญ ในฐานะพระราชมณเฑียรสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกระทั่งเสด็จสวรรคต โดยในระหว่างนี้ได้ใช้สถานที่ดังกล่าวในการสำคัญๆ อาทิ การเสด็จออกรับทูตจากประเทศต่างๆ ที่เดินทางมาทำหนังสือสัญญาเจริญพระราชไมตรี เช่น ฮอลันดา, ปรัสเซีย, ฝรั่งเศส, โปรตุเกส เป็นต้น ดังปรากฏภาพเขียนสีน้ำมันที่ประดับอยู่ภายในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท แสดงการเสด็จออกแขกเมืองของพระองค์ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม อันเป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์          ภายหลังสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระอภิเนาว์นิเวศน์ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่ได้ใช้เป็นที่ประทับอีก ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้รื้อเสีย อันเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการสร้างพระราชนิเวศน์แห่งใหม่ นั่นคือ พระราชวังสวนดุสิต จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำเอานามท้องพระโรงของพระอภิเนาว์นิเวศน์ มาใช้เป็นนามของท้องพระโรงแห่งใหม่นั้น ปรากฏนามที่รู้จักกันจนปัจจุบันว่า "พระที่นั่งอนันตสมาคม"   ภาพ : ภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม ในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           46/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              64 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง           สืบสานมรดกวัฒนธรรมเมืองใต้ : หนังตะลุง อำเภอควนเนียง จัวหวัดสงขลา ชื่อผู้แต่ง         สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     ม.ป.ท สำนักพิมพ์       มป.พ. ปีที่พิมพ์          2529 จำนวนหน้า      ๓๘  หน้า รายละเอียด                     หนังตะลุง เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่สำคัญของอำเภอควนเนียง  ซึ่งมีมาแต่โบราณกาลและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  เป็นศิลปะการแสดงที่ให้ความบันเทิง  ทั้งยังสอดแทรกคติธรรม  คุณธรรม  จริยธรรม  และขนบธรรมเนียมประเพณี  การเมือง  การปกครอง และการศึกษาแก่ผู้ชม    


Messenger