ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.78/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 48 (59-70) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ)ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา(ลำมโหสถ) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ยุคพระเวท เป็นยุคที่มีการรวบรวมพระเวท ที่กระจัดกระจายตามที่ต่างๆ ประกอบด้วย 3 คัมภีร์หลัก คือ ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท คัมภีร์ส่วนที่เก่าที่สุดที่รวบรวมครั้งนี้ คือ “ฤคเวท” ซึ่งในเนื้อหาของฤคเวทเป็นการสรรเสริญและจัดแบ่งเทพเหล่านี้ออกเป็น 3 หมวดหมู่ ประกอบด้วย เทพประจาท้องฟ้า เทพประจาบรรยากาศ และเทพประจาพื้นดิน โดยเทพเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นบุคลาธิษฐานของธรรมชาติต่างๆ อุษา เป็นเทวีที่จัดอยู่ในกลุ่มเทพประจาท้องฟ้าที่เป็นบุคลาธิษฐานของแสงเงินแสงทองบนท้องฟ้ายามรุ่งอรุณ ทรงเป็นธิดาของเทพแห่งท้องฟ้านามว่าทยาอุสหรือทโยส เป็นพี่น้องกับราตรีและอัคนิ เป็นชายาแห่งสุริยะ และยังมีความเกี่ยวข้องกับเทพอัศวินอีกด้วย คัมภีร์ฤคเวทได้กล่าวถึงลักษณะของนางว่าเป็นหญิงสาวที่มีรูปโฉมงดงามและอ่อนเยาว์อยู่เสมอเพราะเกิดใหม่อยู่ตลอด ทรงยิ้มเป็นนิตย์ มีรัศมีสว่างสดใส เปลือยอก และสวมอาภรณ์สีกุหลาบ นางมักประทับอยู่บนราชรถสีทองที่เทียมด้วยม้าและวัวสีแดงคล้ายกับสีแห่งแสงยามอรุณรุ่ง ถือคันธนูพร้อมลูกศร และมักปรากฏกายขึ้นทางทิศตะวันออกเสมอ เนื่องจากอุษาเป็นเทวีแห่งแสงเงินแสงทองยามรุ่งอรุณ นางจึงมีบทบาทหลักในการขจัดความมืดมิดและสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง เช่น ฝันร้าย วิญญาณชั่วร้าย โดยการประทานแสงสว่างในยามเช้า เพื่อปลุกผู้คนและเหล่าสรรพสัตว์ให้ตื่นขึ้นจากภวังค์เพื่อดาเนินชีวิต นอกจากการขจัดความมืดมิดและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ แล้ว นางยังสามารถประทานทรัพย์สินเงินทอง บุตร ความรุ่งโรจน์ ความปลอดภัย รวมไปถึงอายุขัยที่ยืนยาวให้แก่ผู้สักการบูชาได้อีกด้วย ไม่เพียงแต่อุษาจะปรากฏหลักฐานในศาสนาพราหมณ์ช่วงยุคพระเวทเท่านั้น ในส่วนของศาสนาและลัทธิอื่นๆ อุษาก็ปรากฏร่องรอยด้วยเช่นกัน อาทิ พุทธศาสนาของจีนและทิเบตปรากฏในชื่อ เทพธิดามาริจี ที่มีบทสวดที่ใช้สรรเสริญบูชาท่านในยามที่ดวงอาทิตย์ขึ้น หากเป็นลัทธิเต๋า อุษาจะปรากฏในชื่อพระดาริกานภาธิราชซึ่งมีฐานะเป็นพระแม่แห่งดวงดาวทั้งปวงและเป็นพระมารดาแห่งดาวนพเคราะห์ในพิธีถือศีลทานเจในเดือน 9 อีกด้วย -------------------------------------------------------- เรียบเรียง : นายวัชวิศ ศานติธรรม นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี กรมศิลปากร --------------------------------------------------------- อ้างอิง ภาษาไทย จิรัสสา คชาชีวะ. โบราณคดีอินเดีย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2559. จาลอง สารพัดนึก. วรรณกรรมพระเวท. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522. บุญชอบ ยี่สาร. “การศึกษาวิเคราะห์เทพแห่งแสงสว่างในวรรณคดีพระเวท.” วิทยานิพนธ์ปริญญา อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531. ผาสุข อินทราวุธ. ศาสนาฮินดูและประติมานวิทยา. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2520. พระมหาจาลอง ภูริปญฺโญ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพระเวท. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2511. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. เทพเจ้าและสิ่งน่ารู้. นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2556. สุรศักดิ์ ทอง. สยามเทวะ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2553. อุดม รุ่งเรืองศรี. เทวดาพระเวท (เทพเจ้าในคัมภีร์พระเวทแห่งชาวอารยัน). เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2523. ภาษาอังกฤษ Hackin, J., and other. Asiatic mythology: a detailed descriptive and explanation of the mythologies of all the Great Nations of Asia. London: George G. Harrap, 1932. Hillebrandt, Alfred. Vedic mythology. Delhi: Motilal Banarsidass, 1980-1981. Macdomell, Arthur Anthony. A Vedic reader for student. Oxford: Clarendon press, 1917. *ภาพประกอบ : ภาพสันนิษฐานของเทวีอุษา (ที่มาภาพ:จากอินเทอร์เน็ต)
เลขทะเบียน : นพ.บ.148/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 91 (392-403) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เวทมนต์คาถาและตำรายา ชบ.ส. ๕๐
เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.24/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
700 ปี ลายสือไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526. รวบรวมเนื้อหาการกำเนิดอักษาไทย องค์ประกอบของวิวัฒนาการ รูปแบบอักษรแบบแรกในแหลมอินโดจีน รูปแบบอักษรหลังปัลละ เอกลักษณ์ของรูปอักษร ภาษาไทยที่ปรากฎในจารึกครั้งแรก รูปอักษรพ่อขุนรามคำแหง (ลายสือไทย) รูปอักษรไทยสุโขทัย การแพร่ขยายอิทธิพลของอักษรไทยสุโขทัย รูปอักษรไทยอยุธยา รูปอักษรไทยรัตนโกสินทร์ การพัฒนาอักษา แบบอักษรสมัยต่างๆ เช่น อักษรปัลลวะ แบบอักษรขอม แบบอักษรมอญ แบบอักษรไทยสุโขทัย ไทยล้านนา ไทยอีสาน ไทยอยุธยา ตารางเปรียบเทียบแบบอักษรปัลลวะ ขอม มอญ ตารางเปรียบเทียบแบบอักษรไทย รูปพยัญชนะ และตารางเปรียบเทียบแบบอักษรไทยรูปสระและเลข
เสฐียร พันธรังษี. ละครในศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : สำนักพิมพ์สาส์นสวรรค์,
๒๕๐๖. ๗๖๖ หน้า.
ผู้เขียนได้นำเรื่องธรรมมะส่วนสำคัญของศาสนานั้น ๆ มาเขียนให้เป็นบทละคร และเป็นความเรียงร้อยแก้ว และยังกล่าวถึงเรื่องของศาสนานั้นไว้โดยย่อ เช่น เมื่อกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ ก็จะมีบทละคร เรื่องอาศรมบท กล่าวถึงศาสนายิว ก็มีบทละคร เรื่อง พระอำนาจ เป็นต้น
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปถมสมโพธิ์พุทธปูชา-ธาตุวิภชนปริวตฺต)
สพ.บ. 352/11ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า วรรณกรรมพุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรชาวจังหวัดนครนายกหลายครั้งซึ่งทำให้เล็งเห็นปัญหาที่ประชาชนประสบในการขาดแคลนน้ำในการใช้สอยในฤดูแล้งตลอดจนปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรน้ำ และมีการดำเนินการตลอดจนติดตามผลอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการสร้างอ่างเก็บน้ำจนถึงการสร้างฝาย การแก้ปัญหาในระยะแรกไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจึงเกิดโครงการเขื่อนท่าด่านขึ้น เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ อนุมัติการก่อสร้างระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๔๐ - ๒๕๔๖ ในวงเงิน ๑๐,๑๙๓ ล้านบาท เริ่มดำเนินงานก่อสร้างในวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ความเป็นมาของการสร้างเขื่อนขุนด่านปราการชลตามลำดับเหตุการณ์และรายละเอียดดังนี้ ๑. วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศคลองท่าด่าน และพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาสร้างฝายท่าด่าน ๒. วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความคืบหน้าการก่อสร้างฝายท่าด่าน และมีพระราชปฏิสันถารกับข้าราชการกรมชลประทานเกี่ยวกับการจัดสร้างระบบชลประทาน ๓. พ.ศ. ๒๕๒๓ ฝายท่าด่านก่อสร้างแล้วเสร็จ ๔. วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแนวพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาดำเนินการโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก ๕. พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๓ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๔ ปราจีนบุรี กรมศิลปากร ดำเนินงานทางด้านโบราณคดีีก่อนการสร้างเขื่อนคลองท่าด่าน ๖. กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ กรมชลประทานดำเนินการสำรวจและออกแบบเขื่อนคลองท่าด่านแล้วเสร็จ ๗. วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่าน โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘. ตุลาคม ๒๕๔๗ งานก่อสร้างเขื่อนหลักและอาคารประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์ และเริ่มเก็บกักน้ำ ๙. วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนาม “เขื่อนขุนด่านปราการชล” หมายถึงเขื่อนซึ่งเป็นกำเเพงกั้นน้ำ ๑๐. วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการชลประทาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๕ โครงการ ณ บริเวณท่าเรือกรมชลประทาน สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์
ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ ขุนสุพรรณธานี อดีตนายอำเภออู่ทองมอบให้เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๙ จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ ขนาดกว้าง ๘ เซนติเมตร สูง ๘.๓ เซนติเมตร สิงห์มีใบหน้ากลม มีคิ้วเป็นสันนูนต่อกันคล้ายปีกกา ดวงตากลมโต จมูกใหญ่ อ้าปากแยกเขี้ยวยิงฟัน มีแผงคอเป็นเม็ดกลมเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่ในท่านอนหมอบเอี้ยวตัว สองเท้าหน้ายื่นออกมาวางชิดกัน สองเท้าหลังวางพาดมาด้านหน้าลำตัวโดยขาซ้ายทับขาขวา ด้านหลังมีแนวสันหลังยกเป็นสันต่อด้วยหางยาวม้วนมาด้านหน้าสอดอยู่ใต้ขาหลัง มีการเจาะรูกลมสองรูบริเวณต้นขาหน้าด้านซ้าย และด้านหลังต้นขาหน้าด้านขวา แต่รูดังกล่าวไม่ได้เจาะทะลุถึงกัน ด้านล่างของประติมากรรมเป็นฐานกลม โค้งมนรองรับประติมากรรม ด้านในฐานกลวง สันนิษฐานว่าอาจเป็นส่วนฝาของภาชนะ ดังนั้นประติมากรรมรูปสิงห์ชิ้นนี้จึงอาจเป็นประติมากรรมประดับบนฝาภาชนะหรือเป็นส่วนจุกของฝาภาชนะดินเผาก็เป็นได้ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว ฝาภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี พบทั้งฝาขนาดเล็กที่ขึ้นรูปด้วยมืออย่างหยาบ ๆ และฝาที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ผลิตด้วยฝีมือประณีตและมีการตกแต่งอย่างงดงาม พบทั้งฝาที่มียอดเป็นปุ่มมนหรือแหลม และฝาที่มีประติมากรรมรูปสัตว์ประดับ นอกจากประติมากรรมรูปสิงห์ชิ้นนี้แล้ว ยังพบฝาภาชนะดินเผาที่มีรูปสิงห์ประดับที่เมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี อีกด้วย ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ชิ้นนี้ ผลิตขึ้นด้วยฝีมือประณีตและแสดงถึงอารมณ์ที่ปรากฏบนใบหน้าอย่างชัดเจน สิงห์ถือเป็นสัตว์มงคลที่พบมากในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี ซึ่งพบทั้งบนตราดินเผา ประติมากรรมดินเผา และประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถาน จึงสันนิษฐานได้ว่า ประติมากรรมชิ้นนี้น่าจะเป็นประติมากรรมประดับฝาของภาชนะที่มีความสำคัญ อาจใช้สำหรับบรรจุของที่ใช้ในพิธีกรรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ หรืออาจเป็นเครื่องใช้ของบุคคลชั้นสูง ก็เป็นได้-------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘. อนุสรณ์ คุณประกิจ. “การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณ ภาคกลางของประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัย ประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๙.