ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ
ป. ชื่นประโยชน์. หลักวิชาดนตรีสากลการเรียนแอ๊คคอร์เดียน กับโน๊ตสากลเบื้องต้น.
พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : เขษมบรรณกิจ, ๒๕๐๑. ๗๙ หน้า.
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนดีดแอ๊คคอเดียนกับตัวโน๊ต ด้วยตนเอง ซึ่งเริ่มแนะนำส่วนประกอบต่างของแอ๊คคอเดียน ลักษณะตัวโน๊ต ซึ่งมีกุญแจประจำเสียงหลัก ๒ ตัว คือ กุญแจซอล และกุญแจฟา ความสัมพันธ์ของตัวคีย์ ลักษณะการชักแอ๊คคอเดียน การนับนิ้ว เริ่มตั้งแต่หัวแม่มือ คือ ๑ นิ้วชี้ คือ ๒ เป็นต้น มีแบบฝึกหัดการดีด วิธีการเล่นส่วนต่าง ๆ ของเสียงเบสส การจับเล่นคอร์ดต่าง ๆ
องค์ความจากหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เรื่อง “ยาแผนไทย” : กรรมวิธีการแปรสภาพและเก็บสมุนไพร ตลอดจนการเตรียมเครื่องยาในการ ผลิตยาสมุนไพรไทยอย่างถูกวิธีเรียบเรียงโดย นางสาวสุภาพัฒน์ นำแปง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณรักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สุขภาพร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่ให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ แต่ตัวเราเองก็ไม่สามารถหลีกหนีการเจ็บป่วยได้เช่นกัน จึงต้องมีการหาหนทางรักษาเพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆซึ่งการแพทย์แผนไทยก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง บำบัด บรรเทาและรักษาโรค โดยการใช้ยาสมุนไพรเข้ามาช่วยในการรักษานั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนยังมีความเชื่อแบบผิด ๆ ที่ว่า การใช้สมุนไพรนั้นไม่มีอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เมื่อขึ้นชื่อว่ายา ย่อมเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งสิ้น หากเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายไม่สามารถรับได้ ในบริบทของยาแผนไทยก็คือ การใช้ยาในปริมาณที่ไม่ถูกส่วน ซึ่งอาจส่งผลกับร่างกายได้ เช่น การแพ้ยา กระตุ้นโรคจนอาการหนักขึ้น หรือใช้ยาไม่ถูกส่วนกับโรค เป็นต้น
ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมตัวยาเพื่อใช้ปรุงยาตามตำรับต่าง ๆ ทางการแพทย์แผนไทยมีวิธีการเก็บ การทำให้แห้งและรักษาสมุนไพรให้เกิดตัวยาที่มีคุณภาพสูงสุด ปรุงแล้วสามารถรักษาโรคตามต้องการ โดยวิธีการต่าง ๆ อาจแตกต่างกันออกไปตามชนิดของสมุนไพร นอกจากนี้สมุนไพรหรือส่วนประกอบในการปรุงยาบางชนิดยังต้องผ่านกระบวนการบางอย่าง ก่อนจะนำมาใช้ปรุงยาเพื่อลดหรือเพิ่มฤทธิ์ตัวยาสมุนไพร ทำให้พิษของตัวยาลดลง ทำให้ตัวยาปราศจากเชื้อโรค เป็นต้น ซึ่งวิธีการต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมผ่านประสบการณ์อันยาวนาน ถ่ายทอดผ่านปากจากรุ่นสู่รุ่น
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปถมสมโพธิ์พุทธปูชา-ธาตุวิภชนปริวตฺต)
สพ.บ. 352/26ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า วรรณกรรมพุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง รำพันพิลาปผู้แต่ง สุนทรภู่ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.91164 ส798รสสถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์ 2500ลักษณะวัสดุ 40 หน้าหัวเรื่อง กวีนิพนธ์ไทยภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรำพันพิลาป เป็นสำนวนของสุนทรภู่นับว่าเป็นหนังสือชั้นดีเรื่องหนึ่ง สุนทรภู่ได้เล่าถึงประวัติของตนเอง ได้ความรู้เพิ่มเติมจากเพลงยาวเรื่องนี้ว่าที่สุนทรภู่ถูกออกจากราชการเป็น ปีวอก พ.ศ.2367 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ก็โปรดให้ถอดสุนทรภู่แล้วก็บวช
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เรื่อง ชุดความรู้ทางวิชาการ : หลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในภาคใต้ของประเทศไทย ตอน พระสุริยะที่พบในภาคใต้ ค้นคว้า/เรียบเรียงโดยนางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ
สาวกนิพฺพาน (อานนฺท,ควมฺปติ,พิมฺพา,มหากสฺสป,โมคฺคลฺลาน,สารีปุตฺตเถรนิพฺพาน)
ชบ.บ.90/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.244/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4 x 57.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 114 (194-202) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปพฺพเปตพลีกถา(หนังสือเทศนาวิเศษ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้ทางโบราณคดี เรื่อง เวียงแพร่ : การดำเนินงานทางโบราณคดีและการกำหนดอายุสมัยโดย นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่. เวียงแพร่เป็นชุมชนโบราณที่มีคูคันดินหรือกำแพงเมือคูเมืองล้อมรอบ โดยมีกำแพงเมือง ๑ ชั้น คูเมือง ๑ ชั้น ขุดล้อมเนินดินธรรมชาติอันเกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำยมจำนวน ๓ เนิน ตัวเมืองมีความกว้างที่สุด ๘๓๐ เมตร ยาวที่สุด ๑,๔๖๖ เมตร เดิมมีประตูเมือง ๔ ประตู ซึ่งเป็นประตูมาแต่โบราณ ประกอบด้วย ประตูชัย ประตูยั้งม้า ประตูศรีชุม และประตูมาน เวียงแพร่เป็นศูนย์กลางของนครรัฐแพร่ จนกระทั่งในปี พ.ศ.1986 พระเจ้าติโลกราชทรงให้พระมารดายกทัพหลวงมาตีเมืองซึ่งในขณะนั้นมีท้าวแม่นคุณเป็นเจ้าเมือง ต่อมาเมืองแพร่ถูกปกครองโดยอาณาจักรพม่า ก่อนที่พญามังไชยเจ้าเมืองแพร่เข้าสวามิภักดิ์กับพระเจ้ากรุงธนบุรีทำให้เมืองแพร่อยู่ภายใต้การปกครองของสยามในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ โดยเมืองแพร่ในขณะนั้นมีเมืองขึ้น ๒ เมืองคือเมืองสองและเมืองม่าน ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองแพร่ถือเป็นหนึ่งใน ๕ หัวเมืองประเทศราชที่สำคัญของสยาม . เวียงแพร่ได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองและพื้นที่ใช้งานภายในเมือง จำนวน ๔ ครั้ง ทำให้เราทราบได้ว่าว่าเวียงแพร่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานทางโบราณคดีโดยสรุป ดังนี้ - ครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ในบริเวณวัดศรีชุม จากการขุดค้นพบเศษภาชนะดินเผาชนิดเคลือบและไม่เคลือบแบบเชลียงจากแหล่งเตารุ่นเก่าเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งพบเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้พบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเคลือบสีเขียว (Celadon) ผลิตจากแหล่งเตาหลงฉวน มณฑลเจ๋อเจียง สมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ. ๑๘๒๓ – ๑๙๑๑) ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเคลือบจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาจากแหล่งเตาพื้นเมืองล้านนา แวดินเผา ร่องรอยหลุมเตาไฟ และเศษถ่านที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ กำหนดอายุชั้นการอยู่อาศัยในระยะแรกนี้อยู่ในช่วงระยะเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ - ครั้งที่ ๒ เป็นการขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองแพร่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จากหลุมขุดค้นทางโบราณคดีหลุมที่ ๑ สรุปการค้นพบหลักฐานได้ว่า “...ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เป็นชิ้นส่วนแตกหักของภาชนะดินประเภทชามหรือจาน ไห ถ้วย โดยในชั้นหลักฐานที่ ๑ ๒ และ ๓ ของหลุมขุดตรวจที่ ๑ พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่งเคลือบสีดำ เคลือบสีเขียวมะกอก เคลือบสีน้ำตาลไหม้ เป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาลำปาง เตาบ่อสวก (จังหวัดน่าน) และเตาเมืองพะเยา ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๒ หรือประมาณ ๘๐๐ – ๔๐๐ ปีมาแล้ว ฉะนั้นจึงสามารถกำหนดอายุกำแพงเมืองแพร่ได้ว่าถูกสร้างขึ้นและใช้งาน รวมทั้งพัฒนาขึ้นเป็นกำแพงอิฐตั้งแต่เมื่อประมาณ ๘๐๐ – ๔๐๐ ปีมาแล้ว” อย่างไรก็ตามค่าอายุข้างต้นเป็นการกำหนดอายุเชิงเปรียบเทียบในปัจจุบันมีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ในแหล่งเตาบ่อสวก จังหวัดน่านและแหล่งเตาเวียงบัว (แหล่งเตาพะเยา) จังหวัดพะเยา เป็นที่แน่ชัดแล้ว โดยกำหนดอายุด้วยวิธีคาร์บอน ๑๔ ได้ค่าอายุเตาบ่อสวกอยู่ที่ พ.ศ.๑๘๓๘ หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และค่าอายุแหล่งเตาเวียงบัว (แหล่งเตาพะเยา) อยู่ที่ พ.ศ.๑๘๓๓ หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดังนั้นค่าอายุเศษเครื่องถ้วยบ่อสวกและพะเยาที่ขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองแพร่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ สามารถช่วยกำหนดอายุกำแพงเมืองแพร่ว่ามีก่อสร้างขึ้นไม่ควรเกินไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ครั้งที่ ๓ การขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีประกอบการบูรณะและพัฒนาเจดีย์วัดหลวง ในหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ ๓ โดยดำเนินการขุดค้นบริเวณฐานกำแพงวัดด้านในทางด้านทิศตะวันออกของวัดใกล้ซุ้มประตูโขง จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบเศษเครื่องถ้วยเนื้อแกร่งลายขูดขีดเป็นเส้นคลื่นสีน้ำตาลมีหูปั้นแปะโดยพบในชั้นความลึก 190 – 220 cm.DT ซึ่งเป็นชั้นดินและชั้นวัฒนธรรมที่ไม่ถูกรบกวน มีลักษณะคล้ายกับเศษเครื่องถ้วยเนื้อแกร่งสีน้ำตาลลายขูดขีดเส้นคลื่นของแหล่งเตาเมืองเชลียงและมีบางส่วนมีลักษณะคล้ายเศษเครื่องถ้วยเนื้อแกร่งชนิดเคลือบแหล่งเตาบ่อสวก เศษเครื่องถ้วยที่พบยังมีลักณะเหมือนกับที่ขุดค้นพบที่วัดศรีชุม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ จากข้างต้นจึงสันนิษฐานได้ว่ามีการใช้พื้นที่ภายในเมืองแพร่อย่างน้อยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒ - ครั้งที่ ๔ เป็นการขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองบริเวณชุมชนร่องซ้อหรือกำแพงเมืองส่วนด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากการขุดค้นชั้นคันดินชั้นแรกสุด ขุดค้นพบเศษภานะดินเผาจากแหล่งเตาสันกำแพง ที่มีแหล่งผลิตบริเวณที่ลาดเชิงเขาแม่น้ำปิง เป็นแหล่งเตาที่มีการผลิตถ้วยชามและจานเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างมาก โดยมักพบเศษเครื่องถ้วยในแหล่งโบราณคดีหลายแหล่งทั่วภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะโดยทั่วไปของแหล่งเตาสันกำแพงจะมีเนื้อดินหยาบสีเทาถึงสีเทาดำมีการใช้น้ำดินสีขาวทารองพื้นบริเวณขอบปากและตัวภาชนะด้านในก่อนนำไปตกแต่งลวดลายหรือเคลือบ เครื่องถ้วยสันกำแพงมีทั้งประเภทเคลือบสีเขียวและสีน้ำตาล หรือเขียนลายสีดำ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ สอดคล้องกับค่าชั้นคันดินชั้นแรกที่นำไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ที่กำหนดอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (TL Dating) ได้ค่าอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ เช่นเดียวกัน --------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง - ก่องแก้ว วีระประจักษ์, สายันต์ ไพรชาญจิตร์ และสุภมาศ ดวงสกุล. โบราณคดีล้านนา. กรุงเทพฯ : สมาพันธ์, 2540.ชอว์, จอห์น. เครื่องปั้นดินเผาไทย .กรุงเทพฯ : โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2534.ปริวรรต ธรรมาปรีชากร. เครื่องถ้วยศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โอสถสภา, 2539.สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน. การบูรณะและพัฒนาโบราณสถานเจดีย์วัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. น่าน :สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน, 2555.สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่. สรุปผลการขุดตรวจทางโบราณคดีกำแพงเมืองแพร่. เชียงใหม่ : สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่, 2546.อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค.วัยอาจ. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์มบุคส์, 2547.Praicharnjit, Sayan. Archaeology of Ceramic in LAN NA, Northern Siam. Bangkok : Silpakorn University, 2011.
ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง : ประชุมนิทานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖ (นิทานทองอิน ภาคที่ ๒)
ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๖
จำนวนหน้า : ๑๑๖ หน้า
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์ตรี พระธราทร พิทักษณ์ (อั๋น กนิษฐะเสน)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไทยไว้ทุกแผนก ในแผนกกวีมีทั้งฉันท์ ลิลิต และกลอน เฉพาะที่เป็นนิทานได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับไหวพริบ คติและนักสืบ ส่วนมากได้ตีพิมพ์ในหนังสือทวีปัญญา