ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ

ปราสาทแก้ว หรือ ปราสาทพระปืด #คันธกุฎีแบบล้านนาในเขตเขมรป่าดง ปราสาทแก้ว หรือ ปราสาทพระปืด ตั้งอยู่ภายในวัดปราสาทแก้ว ในเขตคูน้ำคันดินด้านทิศตะวันออกของเมืองโบราณบ้านพระปืด ซึ่งเป็นชุมชนโบราณ มีคูน้ำล้อมรอบ ๒ ชั้น กำหนดอายุอยู่ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีลักษณะเป็นอาคารโปร่ง รูปสี่เหลียมผืนผ้า มีขนาด กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๔.๕๐ เมตร มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าคือทิศตะวันออก ๒ บันได (ซ้าย-ขวา) ฐานยกสูงประมาณ ๑.๖๐ เมตร ส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลง เหนือขึ้นไปก่อด้วยอิฐสอดิน แต่ยังมีบางส่วนที่มีศิลาแลงประกอบ อิฐที่ใช้ลักษณะการก่อเป็นแบบ English bond คือแบบที่ใช้ด้านกว้างและยาวของอิฐก่อสลับชั้นกัน และในส่วนบนของฐานบางด้านปรากฏร่องรอยอิฐปาดมุม ลักษณะจงใจตกแต่งเป็นเส้นลวดบัวของชุดฐาน มีโครงสร้างไม้โดยรอบอาคารรองรับหลังคา โครงสร้างหลังคาเป็นโครงไม้มุงสังกะสีลดหลั่นซ้อนกัน ๒ ชั้น ชาวบ้านเล่าว่าแต่เดิมส่วนหลังคาเคยมุงด้วยแป้นเกล็ดหรือกระเบื้องไม้ นอกจากนี้ ยังมีช่อฟ้า ใบระกา ทำด้วยไม้ประดับอยู่บนหลังคาด้วย (แต่ปัจจุบันได้ผุพังหมดแล้ว) ด้านในสุดของอาคารก่ออิฐเป็นซุ้มคันธกุฎีทรงปราสาทย่อมุมไม้สิบสอง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดกว้างและยาวด้านละ ๒.๕๐ เมตร สูงประมาณ ๔.๕๐ เมตร ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้า (ด้านทิศตะวันออก) มีการฉาบปูนปิดทับ ส่วนด้านหลัง (ด้านทิศตะวันตก) ยังปรากฏสภาพดั้งเดิมว่าเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วอกไก่ คือ ประกอบด้วยบัวคว่ำ ท้องไม้ที่คาดประดับด้วยแถบนูนเป็นสัน และบัวหงายตามลำดับ ถัดขึ้นไปเป็นส่วนเรือนธาตุ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีบัวเชิง และบัวรัดเกล้า ประดับที่มุมส่วนล่างและส่วนบนของเรือนธาตุ ด้านหน้า (ด้านทิศตะวันออก) มีช่องคูหาสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร (พระปืด) พื้นผนังเรียบเพราะฉาบด้วยปูนซีเมนต์สมัยใหม่ ส่วนผนังด้านอื่นๆ เป็นผนังทึบเรียบ ยังปรากฏร่องรอยการฉาบปูนแบบเก่า และภายในปราสาทยังปรากฏร่องรอยโครงสร้างไม้ที่เป็นคานด้วย เครื่องบนมีลักษณะเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป สภาพชำรุด แต่เดิมเข้าใจว่าจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมของปราสาทแก้ว โดยส่วนของตัวปราสาทน่าจะสร้างขึ้นมาก่อน ต่อมาจึงมีการสร้างอาคารที่มีหลังคาเครื่องไม้คลุมทับลงไปในภายหลัง แต่จากการศึกษาพบว่าอาคารทั้งหมดก่อสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมล้านช้าง ในรูปแบบที่เป็นวิหารโถงที่ก่อซุ้มพระเป็นอุบมุงหรือคันธกุฎีทรงปราสาทบรรจุพระพุทธรูปไว้ภายใน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมล้านนาอีกต่อหนึ่ง ซึ่งพบได้ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ไม่ค่อยพบโบราณสถานรูปแบบนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างนอกพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำมูล แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชุมชนในวัฒนธรรมล้างช้าง หรือพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัยกับวัฒนธรรมอยุธยาที่รับวัฒนธรรมล้านช้าง ที่ย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งในพื้นที่อีสานตอนล่างในพื้นที่เขมรป่าดงที่เป็นชุมชนชาวเขมรที่รับวัฒนธรรมอยุธยา ก่อนที่บ้านพระปืดจะกลายเป็นชุมชนเชื้อสายเขมรในปัจจุบัน โดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ เอกสารอ้างอิง -กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจแหล่งเมืองโบราณบ้านพระปืด ต.เขวาสินรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์. โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กองโบราณคดี กรมศิลปากร เล่ม ๒๑/๒๕๒๖. (เอกสารอัดสำเนา), ๒๕๒๖. -สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๙ นครราชสีมา. รายงานประกอบการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถานปราสาทแก้ว บ้านพระปืด ตำบลบ้านแร่ กิ่ง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. (เอกสารอัดสำเนา), ๒๕๔๕.


นิทรรศการ "ช่างศิลป์ไทย เทิดไท้องค์ราชัน" ครั้งที่ ๒ เสมือนจริง


ชื่อเรื่อง                                อานิสงส์เวสสันดร (ฉลองมหาชาด) สพ.บ.                                  422/1ก ประเภทวัสดุมีเดีย                  คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                               พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                          28 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 56 ซม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                             เทศน์มหาชาติ                                             ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอมธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: สถานีประมงจังหวัดแพร่ -- เมื่อหลายสิบปีก่อน รัฐบาลส่งเสริมกิจกรรมประมงทุกภูมิภาค โดยทยอยจัดตั้งสถานีประมงในหลายจังหวัด เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพประมง คิดค้น วิจัย พัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ราษฎร จังหวัดแพร่เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ รัฐจึงมอบหมายกรมประมงจัดตั้งสถานีประมงขึ้น จากแผนที่ที่นำมาเสนอนี้ แสดงบริเวณที่ตั้งสถานีประมง ซึ่งกำหนดไว้ว่าจะใช้พื้นที่ในอำเภอหนองม่วงไข่ ใกล้กับหนองน้ำชื่อนั้น เป็นบริเวณไร่ข้าวโพดเดิม ขนาด 94 ไร่ ซึ่งองค์ประกอบทางกายภาพรวมๆแล้ว คือแหล่งชุมชนพร้อมมูล มีทั้งหมู่บ้าน ตลาดสด โรงเรียน วัด การประปา และไม่ไกลจากแม่น้ำยม แม่น้ำที่จะใช้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมประมงต่างๆได้ต่อไป นอกจากนั้น พื้นที่ยังเป็นบริเวณกึ่งที่ลุ่มที่ดอน ไม่แปลกแยกจากพื้นที่ข้างเคียง ทำให้ในอนาคตสามารถขยายสถานีประมงได้ง่าย อย่างไรก็ตาม แผนที่นี้หาได้ประกอบด้วยแผนผังอาคาร บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือโรงเรือนต่างๆ อีกทั้งยังไม่มีแบบแปลนขณะก่อสร้างสถานีประมง มิฉะนั้นเราจะเห็นสถานีประมงจังหวัดแพร่เมื่อแรกเริ่มชัดเจนผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/6 แผนที่สังเขปบริเวณที่ตั้งสถานีประมงจังหวัดแพร่ [ม.ท.]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


      สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการ เรื่อง “ศาสตร์พระราชาในวรรณกรรมยอดเยี่ยมสมัยรัชกาลที่ ๙” จัดแสดงองค์ความรู้จากวรรณกรรมยอดเยี่ยมในสมัยรัชกาลที่ ๙ ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ สารคดี และวรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน           ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ “ศาสตร์พระราชาในวรรณกรรมยอดเยี่ยมสมัยรัชกาลที่ ๙” ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๘.๓๐ น. และวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ โถงกลาง อาคาร ๑ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ (ปิดวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดชดเชย และวันหยุดอื่นๆ ตามมติ ครม.)


       ตะเกียงดินเผา สมัยทวารวดี        ตะเกียงดินเผา พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง        ตะเกียงดินเผา ขึ้นรูปด้วยมือ ขนาดกว้าง ๙ เซนติเมตร ยาว ๑๙ เซนติเมตร อยู่ในสภาพชำรุด แตกต่อไว้ ส่วนลำตัวที่เป็นถ้วยหักหายไปบางส่วน มีลำตัวลักษณะคล้ายถ้วยรูปทรงกลม ปากกลม ก้นแบน สำหรับใส่น้ำมัน มีพวยยาวยื่นออกมาจากลำตัว ปากพวยทรงกลมอยู่ในระดับเสมอกับปากถ้วย สำหรับสอดไส้ตะเกียงเพื่อจุดไฟให้แสงสว่าง เนื้อตะเกียงค่อนข้างหยาบและหนา พื้นผิวด้านนอกขรุขระ ไม่ตกแต่งลวดลาย กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว         ตะเกียงดินเผารูปแบบนี้ นักวิชาการบางท่านเรียกว่า “ตะเกียงโรมัน” หรือ “ตะเกียงอานธระ” เนื่องจากมีรูปทรงและลักษณะการใช้งานคล้ายคลึงกับตะเกียงโรมันสำริด ซึ่งพบที่ชุมชนโบราณพงตึก จังหวัดกาญจนบุรี และยังคล้ายคลึงกับตะเกียงดินเผาที่มีต้นแบบจากตะเกียงโรมัน ซึ่งผลิตขึ้นในแคว้นอานธระซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียอีกด้วย นักวิชาการสันนิษฐานว่าตะเกียงดินเผารูปแบบนี้น่าจะผลิตขึ้นในท้องถิ่น โดยอาจมีต้นแบบมาจากตะเกียงโรมันโดยตรง หรืออาจรับรูปแบบจากตะเกียงดินเผาที่ผลิตขึ้นในประเทศอินเดีย ซึ่งมีต้นแบบมาจากตะเกียงโรมันอีกทอดหนึ่งก็เป็นได้        ตะเกียงดินเผารูปแบบที่มีลำตัวเป็นถ้วยทรงกลมและมีพวยลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทองแล้วยังพบที่เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี เมืองโบราณบ้านคูเมือง จังหวัดสิงห์บุรี แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค จังหวัดลพบุรี เมืองโบราณจันเสนและเมืองโบราณโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น เนื่องจากในดินแดนไทย ตะเกียงรูปแบบนี้พบจำนวนไม่มาก จึงสันนิษฐานว่า อาจเป็นของใช้ในหมู่ชนชั้นสูงหรือใช้ในพิธีกรรม เพราะให้แสงสว่างยาวนานกว่าตะคันดินเผาซึ่งพบทั่วไปตามเมืองโบราณสมัยทวารวดี  แม้ตะเกียงดินเผาใบนี้จะอยู่ในสภาพชำรุด แตกหัก ไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนของผู้คนท้องถิ่นบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง กับชาวต่างชาติในดินแดนห่างไกลเมื่อกว่าพันปีมาแล้ว   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. จากบ้านสู่เมือง : รัฐแรกเริ่มบนแผ่นดินไทย. นครปฐม : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๖๑.   ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘.  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           43/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               80 หน้า : กว้าง 5.1 ซม. ยาว 57.3 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           46/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่อง ท้าวแสนปม กับ หนามยอกเอาหนามบ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงไผ่ เกษมศุขการี ต.จ. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2493 ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468ปีที่พิมพ์ : 2493 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ. จำนวนหน้า : 154 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงไผ่ เกษมศุขการี ต.จ. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2493 เนื้อหาภายในประกอบด้วย ตำนานเรื่องท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นตำนานและสันนิษฐานทางโบราณคดี และบทละครเรื่องท้าวแสนปม ยกมาเฉพาะฉากพระชินเสนทูลลาพระบิดาไปดูตัวนางในไตรตรึงษ์ จนได้นางกลับมาศรีวิชัย สุดท้ายคือบทละครชวนหัวสลับลำเรื่อง เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 143/7ก เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/2จเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : คำบรรยาย “ต้นไม้ยาไทย” คณะเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ภริยา และบุตรธิดา จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานฌาปนกิจศพ หมอสูน หงษ์ทอง ณ เมรุวัดสัตตนาถปริวัตร วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ชื่อผู้แต่ง : สูน หงษ์ทอง ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : บริษัท บพิธ จำกัดจำนวนหน้า : 186 หน้า สาระสังเขป : เนื้อหาเป็นประวัติหมอสูน หงษ์ทอง ซึ่งนายสมัคร หงษ์ทอง (บุตรชาย) เป็นผู้เขียนได้อย่างน่าอ่าน ตามด้วยคำไว้อาลัยของพระพิทักษ์สมุทรเขต เพื่อนเก่าและคนเก่าๆ ในราชบุรีหลายคน ต่อจากนั้นจึงเป็นภาคความรู้เรื่องต้นไม้ยาไทยที่หมอสูนฯ เคยบรรยายไว้เมื่อครั้งเป็นวิทยากรพิเศษให้นิสิตฯ คณะเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2484 มาจัดพิมพ์ (อาจารย์ไฉน สัมพันธารักษ์ เป็นผู้แนะนำให้ไปเอาบันทึกของ ดร.วิเชียร จีรวงศ์ ที่เคยนั่งจดคำบรรยายของหมอสูนฯ ในห้องเรียนครั้งนั้น)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           14/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              42 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


    ชื่อผู้แต่ง          วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อเรื่อง           วิศวกรรมสาร  (ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๑) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๑ จำนวนหน้า      ๘๗  หน้า รายละเอียด                    วิศวกรรมสาร ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์  ๒๕๒๑ ประกอบด้วยบทความเรื่องระบบกำจัดน้ำโสโครกแบบไม่ใช้อากาศโดยใช้สารสังเคราะห์บรรจุในถังหมัก การกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำโดยใช้วิธีทางฟลูอิไดเซซั่น การพาความร้อนโดยบังคับในท่อสามเหลี่ยม เป็นต้นพร้อมภาพประกอบ กราฟและตาราง  


เลขทะเบียน : นพ.บ.378/1ขห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 143  (26-39) ผูก 1ข (2566)หัวเรื่อง : จีรธารกถา --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger