เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ภาชนะดินเผาทรงพาน
ชื่อวัตถุ
ภาชนะทรงพาน ทะเบียน ๒๗/๑๘๒/๒๕๓๒
อายุสมัย
ก่อนประวัติศาสตร์ วัสดุ(ชนิด) ดินเผา
ประวัติที่มา
จากหลุมขุดค้นที่เพิงผาถ้ำหลังโรงเรียน บ้านทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๖ โดยดักลาศ แอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา ส่งมอบให้กองโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมาเมื่อ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
สถานที่เก็บรักษา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“ภาชนะทรงพาน” ภาชนะทรงพาน ปากภาชนะผายออกลำตัวสั้นและโค้งเข้าเป็นฐาน จากส่วนฐานมีเชิงสูงต่อลงมาส่วนฐานของเชิงโค้งออก ไม่มีการตกแต่งลวดลายบนภาชนะ ภาชนะใบนี้เป็นภาชนะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์พบหลากหลายรูปทรง เช่น หม้อ ภาชนะทรงปากแตรภาชนะแบบสามขา และภาชนะทรงพาน เป็นต้น ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นภาชนะแบบเนื้อดิน (Earthenware)การผลิตภาชนะดินเผามีขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดินและนำดินที่ได้มาผสมเพื่อนำไปขึ้นรูปภาชนะเป็นทรงต่างๆ ซึ่งอาจขึ้นรูปด้วยมือ การตกแต่งผิว เช่น การใช้เชือกทาบ เปลือกหอย และการขูดขีด เป็นต้น จากนั้นจึงตกแต่งบนผิวภาชนะ อาทิ การขัดผิว การทาสี การทาผิวด้วยน้ำดินข้น และการรมควัน เป็นต้น แล้วจึงนำมาตากให้แห้งและเผา ซึ่งการเผาภาชนะในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของภาคใต้คงใช้เตาเผาแบบเปิดซึ่งเป็นการเผากลางแจ้ง ภาชนะทรงพานใบนี้ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เพิงผาถ้ำหลังโรงเรียน บ้านทับปริกอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาชนะดินเผาทรงพานเป็นภาชนะรูปแบบพิเศษซึ่งไม่ได้ใช้ในครัวเรื่อง ภาชนะรูปแบบนี้จึงอาจถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ อาทิ พิธีฝังศพซึ่งใช้เป็นของอุทิศให้กับผู้ตาย ภาชนะทรงพานจึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของการผลิตภาชนะดินเผาของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และเป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในอดีตอีกด้วย
-----------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
-----------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
- พัชรี สาริกบุตร. เทคโนโลยีสมัยโบราณ (Primitive Technology)เครื่องมือโลหะ งานโลหะ เครื่องปั้นดินเผา และ แก้วและลูกปัด. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๓.
(จำนวนผู้เข้าชม 3592 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน