ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิกถา (ปถมสมโพธิ์พุทธปูชา-ธาตุวิภชนปริวตฺต) สพ.บ.                                  352/27ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           36 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 51.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า                                           วรรณกรรมพุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี       


องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ชุดความรู้ทางวิชาการ เรื่อง หลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในภาคใต้ของประเทศไทย ตอน นฤตตมูรติ : พระศิวนาฏราช


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.48/1-7  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สีอาริยเมตฺไตร (พฺรสีอาริยเมไตร)  ชบ.บ.91/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.245/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 114 (194-202) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ชาลีกณฺหาภิเสก(ชาลีภิเษก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


จารึกอักษรขอมจำนวน ๔ บรรทัด คำอ่าน-แปล พิมพ์เผยแพร่ในสาส์นสมเด็จ ฉบับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ และประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา (ภาค ๑) พ.ศ. ๒๕๑๐           ประวัติการพบปรากฏในบันทึกเรื่องการซ่อมรักษาวัดพระศรีสรรเพชญ ในพระราชวังโบราณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕–๒๔๗๖ (เอกสารกองโบราณคดี) ความว่า “มูลเหตุที่จะซ่อมรักษา (พระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์) คราวนี้ เกิดขึ้นจากมีผู้ร้ายลอบขุดพระสถูปองค์กลางขึ้นก่อน ได้ของไปมาก จับตัวหัวหน้าผู้ร้ายได้ รับสารภาพ ศาลตัดสินจำคุก ๕ ปี หัวหน้าผู้ร้ายนี้เองเป็นผู้ยืนยันว่า องค์ข้างด้านตะวันออก ยังมีของบรรจุไว้ข้างในอีกมาก ทางเทศาภิบาลจึงขอให้ทางราชบัณฑิตสภาขุดค้นเสีย โดยชี้แจงว่า ถ้าทิ้งไว้ก็จะเป็นเหตุให้มีการลักขุดกันไม่หยุดหย่อน” ในการขุดค้นได้พบสถูปพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป พระพิมพ์และวัตถุ อื่น ๆ จำนวนมาก ส่วนเจดีย์องค์กลางที่คนร้ายลักลอบขุดได้ของสำคัญ คือ จารึกลานทอง ที่คนร้ายทำตกทิ้งไว้ ความว่า          “ในองค์กลางที่ผู้ร้ายลักขุดนั้น มีสถูปศิลาเช่นเดียวกัน สิ่งของที่มีราคาผู้ร้ายเอาไปหมด ทิ้งไว้แต่สถูปหินชั้นนอกเท่านั้น แต่ผู้ร้ายได้ทิ้งของสำคัญไว้อย่าง ๑ คือ ลานทองจารึกหนังสือขอม เป็นสุพรรณบัฏทรงตั้งมเหสีองค์ ๑ เป็นมงคลเทวีศรีวรแก้ว ศักราช ใช้มหาศักราช ตรงในแผ่นดินพระรามาธิบดีที่ ๒”           ปัจจุบันจารึกลานทองดังกล่าว เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา------------------------------------------------------------------ผู้เขียน : เด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


ชื่อผู้แต่ง         : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ชื่อเรื่อง           : เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ ครั้งที่พิมพ์       : พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์    : พระนคร สำนักพิมพ์       : โรงพิมพ์พฤกษ์ศิริ ปีที่พิมพ์          : ๒๔๙๑           จำนวนหน้า      : ๖๔ หน้า หมายเหตุ        : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงละม่อม  อรรถการยบดี                    หนังสือเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ เปนเรื่องราวกล่าวถึงมนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อครั้งยังไม่รู้จักจดเอาไว้เปนหนังสือ แนวทางที่จะทราบเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่ที่การศึกษาให้รู้จักใช้สังเกต พิจารณาลักษณะของวัตถุที่ขุดค้นพบ แล้ววินิจฉัยลงข้อสันนิษฐานหาเหตุผล แวดล้อมประกอบกับวัตถุที่ขุดค้นได้ วิธีที่นักปราชญ์ชาวตะวันตกใช้เปนแนวพิจารณาหาความรู้มีอย่างไร ได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้ชัดเจนแล้ว


               แอบไปหาหนังสือ"รัก" มาค่ะ                แอบตั้งโจทย์ให้ตัวเองหาคำว่า "รัก" มาบอกรักเพื่อนรักนักอ่านทั้งหลายค่ะ



พี่นักโบ พาทุกท่านชมความงามของ #ปราสาทโคกงิ้วหรือปราสาทโคกปราสาท ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายหลังที่ดำเนินการบูรณะแล้วเสร็จไปสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา . ปราสาทโคกงิ้วเป็น #ศาสนสถานประจำโรงพยาบาล หรืออาโรคยศาลาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผังประกอบไปด้วยปราสาทประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีอาคารที่เรียกกันว่าบรรณาลัยอยู่ทางที่ตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคารทั้งสองหลังมีกำแพงแก้วโอบล้อมอาคารไว้ โดยมีโคปุระเป็นซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ด้านนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นสระน้ำผังสี่เหลี่ยม ที่กล่าวมานี้เป็นแผนผังโดยทั่วไปของศาสนสถานประจำโรงพยาบาลสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 . นอกจากนี้ ที่ปราสาทโคกงิ้วยังเคยพบจารึกบนแผ่นสำริดรูปวงโค้ง กล่าวถึงการถวายไทยธรรม (ซึ่งน่าจะหมายถึงแผ่นสำริดรูปวงโค้งดังกล่าว) โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แก่อาโรคยศาลา ณ วิเรนทรปุระ เมื่อมหาศักราช 1115 (บางท่านอ่านเป็น 1114) ตรงกับ พ.ศ.1736 (หรือ 1735)



          สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดกิจกรรมพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๖๕ การบรรยายหัวข้อ "Open Data : การปรับตัวของห้องสมุดในยุคสังคมดิจิทัล" ออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.           กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ Open Data การปรับตัวของห้องสมุดในยุคสังคมดิจิทัล แก่บุคลากรในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น          กิจกรรมแบ่งการบรรยายเป็น ๓ หัวข้อย่อย ได้แก่ ๑. การบรรยายเรื่อง “Open Government กับการเปิดเผยข้อมูล (Open Data)” วิทยากรโดย นายไกลก้อง ไวทยการ ที่ปรึกษาสถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม มูลนิธิบูรณชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๒. การบรรยายเรื่อง “มาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ”วิทยากรโดย ดร.อุรัชฎา เกตุพรหมผู้อำนวยการฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ๓. การบรรยายเรื่อง “การปรับตัวของห้องสมุดในยุคการศึกษาแบบเปิด (Toward Open Access)” วิทยากรโดย ดร.ฐิติมา ดีบุญมี ณ ชุมแพผู้จัดการงานบริการและจัดการความรู้ ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)          ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านการสแกน QR Code ด้านล่าง หรือไปที่ https://forms.gle/TcZgWFHWGGscZQsy5 (ปิดรับลงทะเบียนวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕ หรือหากมีผู้ลงทะเบียนเต็มจำนวนแล้ว) รีบสมัครด่วน รับจำนวนจำกัด


สวัสดีค่ะ วันนี้อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม ได้นำสาระน่ารู้เรื่อง นาคปัก ไปชมกันได้เลยค่ะ นาคปักเป็นชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่ง ประดับบริเวณมุมประธานของชั้นวิมาน หรือชั้นหลังคาของปราสาทในวัฒนธรรมเขมร โดยทำเป็นรูปพญานาคอยู่ในโครงสามเหลี่ยม วิวัฒนาการมาจาก “ปราสาทจำลอง” ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมของอินเดียใต้ เช่น วิหารมาวลีปุรัม เมืองมหาพลิปุรัม รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย แล้วจึงแพร่เข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในวัฒนธรรมเขมรโบราณ การใช้ปราสาทจำลองประดับตกแต่งมุมชั้นวิมานของปราสาทเขมรพบได้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ และปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๖ สมัยศิลปะเกลียง – บาปวน รัชสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ ๑ ถึงพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ ๒ จึงเริ่มถูกแทนที่ด้วยนาคปัก ปราสาทที่ประดับด้วยนาคปักในช่วงเริ่มแรก ได้แก่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัด ศรีสะเกษ ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว และปราสาทแม่บุญตะวันตก จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา เมื่อเข้าสู่สมัยนครวัด พุทธศตวรรษที่ ๑๗ การใช้นาคปักประดับปราสาทมีความแพร่หลายมากขึ้น แต่เมื่อเข้าสู่ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ สมัยบายน รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระองค์ทรงนับถือและอุปถัมภ์ศาสนาพุทธแบบมหายาน ทำให้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับรูปแบบสรวงสวรรค์ของศาสนาฮินดู แต่ใช้การประดับใบหน้าบุคคลขนาดใหญ่ คือ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร" บริเวณส่วนเรือนยอดของปราสาทแทน ทำให้การใช้นาคปักถูกลดบทบาทลง คติการใช้นาคปัก สันนิษฐานว่า มาจากตำนานพื้นเมืองเขมรเกี่ยวกับปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเขมรที่มาจากดินแดนอื่นได้เสกสมรสกับธิดานางนาค และปกครองอาณาจักรเขมร อีกทั้ง การใช้นาคปักประดับมุมประธาน ทำให้ยอดปราสาทมีลักษณะทรงพุ่มเป็นยุคแรก ๆ ของปราสาทในวัฒนธรรมเขมร สอบเป็นยอดแหลม ดูรูปทรงอ่อนช้อย และงดงาม ไม่ดูแข็งเป็นมุมเหมือนใช้ปราสาทจำลอง นาคปักของปราสาทสด๊กก๊อกธมทำจากหินทราย มีลักษณะเป็นพญานาค ๕ เศียรอยู่ภายใน กรอบสามเหลี่ยม ตัวกรอบประดับตกแต่งด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา โดยประดับอยู่บริเวณมุมประธานของชั้นวิมาน บนยอดของปราสาท ยอดของปราสาทสด๊กก๊อกธมจัดเป็นปราสาททรงพุ่มยุคแรกของปราสาทในวัฒนธรรมเขมร ที่มาภาพ https://wanderwisdom.com/.../must-see-attractions-in...) https://www.facebook.com/.../a.216597220.../2443189699160582) อ้างอิง - ราฆพ บัญฑิตย์, ปราสาทสด๊อกก๊อกธม : ปราสาทเขมรทรงพุ่มรุ่นแรกในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร) - สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล, การกลายรูปจากอาคารจำลอง-นาคปัก-บรรพแถลงของปราสาทในศิลปะขอมมาเป็นกลีบขนุนของปรางค์ในศิลปะไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร) - กรมศิลปากร. (๒๕๖๕). ปราสาทสด๊กก๊อกธม: อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์. -อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (๒๕๖๒). ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.


          วันอังคารที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” โดยมีนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร นายนานริ ทากาชิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น นายโอบะ ยูอิจิ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ดร. ซูซูตะ ยูกิโอะ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นายคุริยามะ มาซายูกิ ผู้อำนวยการเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร เข้าร่วมในพิธี ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า พุทธศักราช ๒๕๖๕ นับเป็นโอกาสอันสำคัญยิ่งในวาระครบรอบ ๑๓๕ ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณในการส่งเสริมศิลปาชีพ เครื่องปั้นดินเผาให้แก่ราษฎรทั่วประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จึงร่วมกับจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” โดยจังหวัดซากะอนุญาตให้กรมศิลปากรนำเครื่องเคลือบเซรามิกจากพิพิธภัณฑสถาน   เซรามิกแห่งคิวชู จำนวน ๘๒ รายการ ๙๗ ชิ้น มาจัดนิทรรศการพิเศษร่วมกับเครื่องปั้นดินเผาไทย จำนวน ๙๐ รายการ ทั้งนี้ เครื่องเคลือบเซรามิกเป็นหัตถศิลป์อันเชิดหน้าชูตาและทุนวัฒนธรรมสร้างสรรค์เศรษฐกิจของจังหวัด ซากะมายาวนาน เครื่องปั้นดินเผาของเมืองอาริตะ จังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น และเครื่องปั้นดินเผาของไทยจากหลายแหล่งในประเทศ เป็นโบราณวัตถุสำคัญและประจักษ์พยานแห่งการติดต่อสัมพันธ์ลึกซึ้งยาวนานของสองประเทศ            เนื้อหาการจัดแสดงนิทรรศการฯ แบ่งออกเป็น ๖ หัวเรื่อง คือ            ๑. น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง: เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕           ๒. วิวัฒนาการเซรามิกแห่งสองสายใย (ญี่ปุ่น-ไทย) ในโลกพาณิชยวัฒนธรรม           ๓. ภูมิปัญญาชาวแหลมทองและชาวอาทิตย์อุทัย ในดิน-น้ำ-ลม-ไฟ: “ปั้นดินทราย ฉาบไล้ด้วยน้ำ นำผึ่งลม โหมฟืนไฟในเตาเผา” บอกเล่าเรื่องราวภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่นและไทย           ๔. สูงสุดแห่งภูมิปัญญา: ภาพฉายาในพาณิชยวัฒนธรรมโลก สะท้อนเรื่องราวการค้า ศิลปะและ วัฒนธรรมผ่านเครื่องปั้นดินเผาญี่ปุ่นและไทยที่ไปไกลยังต่างแดน           ๕. แรงบันดาลใจไม่หยุดยั้งคือพลังสร้างสรรค์ใหม่ โดยสืบทอดวัฒนธรรมและพัฒนากระบวนการผลิต สู่ความคิดใหม่           ๖. สำรับคาวหวาน อาหารญี่ปุ่น – ไทย ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมอาหารควบคู่กับภาชนะ  ที่มีบทบาทสำคัญมาแต่อดีต          นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ให้ผู้เข้าชมนิทรรศการได้ร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” โดย ดร. ซูซูตะ ยูกิโอะ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก)            วันที่ ๑๔ – ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ กิจกรรม "TRIP to SAGA” สัมผัสเสน่ห์การท่องเที่ยว อาหาร หัตถกรรมดั้งเดิมของจังหวัดซากะ ประกอบด้วย เวิร์คช็อป (Workshop) กิจกรรมลงสีเครื่องปั้นดินเผาอาริตะยากิ ทดลองลงสีบนจานอาริตะยากิ  ผู้ร่วมกิจกรรม ๒๐ ท่านต่อวัน ซึ่งจานที่ลงสีแล้วจะนําไปเผาอบให้สีอยู่ตัวก่อนจะมอบให้ผู้ร่วมกิจกรรมต่อไป กิจกรรมทําเครื่องประดับจากเศษกระเบื้องที่เกิดจากกระบวนการเผาเครื่องปั้นดินเผาอาริตะยากิ ผู้ร่วมกิจกรรม ๖๐ ท่านต่อวัน โดยสามารถเข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมท่านละ ๑ ครั้งเท่านั้น และยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมโบราณที่สืบทอดกันมาของญี่ปุ่น การจัดแสดงและจําหน่ายของดีจังหวัดซากะอีกด้วย           กิจกรรมเวิร์คช็อป (Workshop) จากสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้แก่ การขึ้นรูปชิ้นงานจาน ๓ ครั้งๆ ละ ๔ รอบ ในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๕ วันที่ ๙ และ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ และการเขียนสีใต้เคลือบ ๓ ครั้งๆ ละ ๔ รอบ ในวันที่ ๖ และ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ และ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ ผู้ร่วมกิจกรรมรอบละ ๓๐ ท่าน กรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมสำนักช่างสิบหมู่ได้ที่ https://forms.gle/TizU2wEYujkzxTKv7           นิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันพุธ – อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ – อังคาร ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th   


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: ทำนบปลาดงเจน -- ปี 2511 สถานีประมงน้ำจืดพะเยา จังหวัดเชียงราย จัดโครงการทำนบปลาสนับสนุนการประกอบอาชีพประมงแก่ประชาชน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในท้องที่ด้วย ดังนั้น ตำบลดงเจนคือหนึ่งในพื้นที่ได้รับการก่อสร้างทำนบขึ้น ก่อนดำเนินการ เจ้าหน้าที่เข้าสำรวจ เลือกบริเวณ นำมาสู่การเขียน " แผนที่สังเขปการก่อสร้างทำนบปลา " ขนาดมาตราส่วน 1 : 1,000 เราจะเห็นองค์ประกอบทางกายภาพหลายอย่าง เช่น แม่น้ำอิง ร่องน้ำสาขา ฝาย ผืนนา ที่ดินส่วนบุคคล และการระบุบริเวณที่ก่อสร้างทำนบไว้ การเลือกพื้นที่ก่อสร้างนั้น ไม่เพียงคำนึงถึงหลักวิชาการ แต่จำเป็นต้องเห็นแก่ความสะดวก ไม่กีดขวางทางหรือที่ดินสาธารณะ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมถาวร การกำหนดให้ตำบลดงเจนมีทำนบปลา เพราะคุณลักษณะของทรัพยากรพร้อมสรรพ มีแหล่งน้ำเกื้อกูล ฝายชะลอน้ำควบคุมการไหลเชี่ยว อีกทั้งมีพื้นที่ลุ่มรองรับน้ำฝนเมื่อเข้าสู่ฤดูน้ำหลากน้ำล้น แผนที่ที่นำมาเสนอนี้ นับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่งของตำบลดงเจน และเป็นจุดเริ่มของงานประมงท้องถิ่น ก่อนที่อำเภอพะเยาจะได้รับการสถาปนาเป็นจังหวัดต่อไป.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/20 แผนที่สังเขปที่จะก่อสร้างทำนบปลาตำบลดงเจน อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย [29 พ.ค. 2511]  #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


Messenger