ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

ค่ายเนินวง           ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองโบราณที่มีกำแพงเมืองและ คูเมืองล้อมรอบ สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๗๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เพื่อเป็นปราการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและที่ตั้งของค่ายเนินวงเป็นเนินดินสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ จึงเหมาะสมต่อการตั้งทัพป้องกันข้าศึกศัตรู            คูเมืองของค่ายเนินวงเกิดจากการขุดลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ และนำดินมาถมเป็นกำแพงเมือง โดยบริเวณช่องประตูทั้ง ๘ ช่อง ก่อด้วยอิฐเป็นกำแพงกันดินเพื่อรองรับอาคารด้านบนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหอรบหรือหอสังเกตการณ์ ปัจจุบันคงเหลือเพียงฐานอาคารที่ประตูต้นไทรทางด้านเหนือของเมืองเพียงแห่งเดียว ด้านข้างของอาคารมีแนวใบบังทำจากศิลาแลง และเชิงเทินยาวต่อเนื่องไปตามแนวกำแพงเมือง           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานค่ายเนินวง ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๓ วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๙๗ มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๖๒๒ ไร่ ๒ งาน ๖๘ ตารางวา      Noen Wong Fortress           Noen Wong Fortress is in Bang Kacha Subdistrict, Mueang Chanthaburi District, Chanthaburi Province. It was built in 1834, during the reign of King Rama III, to protect the eastern of Thailand. Noen Wong means a circle hill that the fortress is located on. Therefore, this hill is appropriate to build a fortress surrounded by a moat and a rampart to prevent an enemy.           The rampart or city wall was built with laterite soil that dug out from the moat. All 8 doors made of brick as a retaining wall to support the superstructure that is assumed of the observation tower or battle tower, only remain at the Banyan Tree Gate on the north side.  On each side of the building, there are laterite merlons and the walkway throughout the length of the city wall.           The Fine Arts Department announced the registration of Noen Wong Fortress as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 71, Part 3, dated 5th January 1954. The total area is around 996,272 square meters.    


แต่ง/ผู้แปล/ผู้เรียบเรียง : Author:  ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ และนางสาวเรไร นัยวัฒน์ ครั้งที่พิมพ์ : Edition:  พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม 2550 ผู้พิมพ์ : Publisher:  สำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต ISBN:  978-974-417863-3 ราคา : Price:  500 บาท หนังสือทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ เป็น หนังสือที่ว่าด้วยพัฒนาการของดินแดนภาคใต้ โดยเฉพาะระบบการค้าในสมัยศรีวิชัยที่มีแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นความเคลื่อนไหวของผู้คน ไม่เฉพาะในดินแดนภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์การติดต่อของผู้คนไปยังดินแดนที่เป็นแหล่ง โบราณคดีที่คนไทยควรภาคภูมิใจ หนังสือเล่มนี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการศึกษาเรื่องการติดต่อทางการค้า ทางทะเลระหว่างดินแดนในประเทศไทยกับดินแดนภายนอก ทั้งในทางกว้างและทางลึกให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต   ติดต่อซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๔๗๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๒๐๕๐


ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ ๖ ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๗๐ ๒๕́ ๓๐˝ - ๑๗๐ ๒๖́ ๐๐˝ เหนือ และเส้นแวงที่ ๙๙๐ ๔๗́ ๐๐˝ -๙๙๐ ๔๗́ ๔๐˝ ตะวันออก (แผนที่ทหารระวางที่ ๔๙๔๓I พิมพ์ครั้งที่ ๑-RTSD ลำดับชุด L๗๐๑๗ มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ ) ตัวเมืองตั้งอยู่บนพื้นที่ราบริมแม่น้ำยมเชิงเทือกเขาพระศรี ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง ประกอบไปด้วยเขาพระศรีและเขารังแร้งเทือกเขาพนมเพลิงวางตัวอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยเขาแก้วและเขาใหญ่อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก เขาสุวรรณคีรีและเขาพนมเพลิงตั้งอยู่กลางเมือง จากนั้นเป็นไหล่เขาลาดลงไปยังแม่น้ำยม ช่วงที่พาดผ่านแม่น้ำยมทำให้เกิดแก่งน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า“แก่งหลวง” ลักษณะธรณีสัณฐานกลุ่มเทือกเขาด้านทิศตะวันตกเป็นกลุ่มหินราชบุรี (Ratburi Group) จัดอยู่ในยุคCarboniferousและPermianที่เกิดขึ้นเมื่อ ๓๔๕ ล้านปีมาแล้ว ประกอบด้วยหินหมวดราชบุรี (Ratburi Formation) หินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นหินปูนผลึกสีเทาอ่อน บางบริเวณเป็นเขาโดด แต่บางบริเวณเป็นเทือกเขาใหญ่ หินมีการโค้งงอและมีการเกิดผลึกใหม่ ส่วนหินที่อยู่ด้านล่างของกลุ่มนี้เป็นหินกลุ่มตะนาวศรีซึ่งพบกว้างกว่า พบมากที่ราชบุรีซึ่งมีซากดึกดำบรรพ์ของยุคเพอร์เมียน โดยวางตัวในลักษณะไม่ต่อเนื่องทางธรณีวิทยาบนหินแก่งกระจานและมีหินชั้นสีแดงของหมู่หินยุคเพอร์เมียนวางตัวอยู่บนร่องรายการเซาะพังของหินปูนกลุ่มเทือกเขาด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นกลุ่มหินตะนาวศรี(Tanaosi Group) จัดอยู่ในยุคSilurian-DevonianและCarboniferousที่เกิดขึ้นเมื่อ ๔๒๕ล้านปีมาแล้ว ประกอบด้วยหินหมวดกาญจนบุรี(Kanchanaburi Formation) เป็นชุดที่มีการแปรสภาพและมีซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในยุคไซลูเรียนและดีโวเนียน ส่วนมากเป็นหินที่มีการตกตะกอนซึ่งได้แปรสภาพไปเป็นหินชนวน หินฟิลไลท์และหินควอทไซท์หินมีการโค้งงอมาก ลักษณะปฐพีสัณฐานมีวัตถุต้นกำเนิดดินที่สามารถแยกได้เป็น ๒ ชนิดคือ - วัตถุตกค้างและหินลาดเชิงเขา(Residium and Colluvium) เกิดจากการผุพังสลายตัวของพวกหินดินดาน ส่วนหินชนิดอื่นๆ มีบ้างเล็กน้อย เช่น หินกรวดมน หินควอทไซท์ เนื้อดินบริเวณนี้เป็นดินละเอียด แต่บางครั้งจะมีพวกเศษหินดังกล่าวปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย - ตะกอนของลำน้ำ(Alluvium) ดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำ เกิดขึ้นตามลำห้วยหรือที่ราบระหว่างหุบเขาที่เป็นบริเวณแคบๆ มีเนื้อดินที่ไม่แน่นอน เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง ดินตะกอนของลำน้ำบริเวณนี้มี ๓ ชนิด คือ ดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำใหม่(Recent Alluvium) ดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำค่อนข้างใหม่(Semi – Recent Alluvium) และดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำเก่า(Old Alluvium) เนื้อดินบริเวณนี้เป็นดินเนื้อละเอียดปานกลางถึงหยาบ และบางแห่งจะมีพวกก้อนกรวดปะปนอยู่ในเนื้อดิน มีอายุประมาณ ๗๕ ล้านปีถึงปัจจุบัน สภาพพื้นที่บริเวณเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยค่อนข้างราบเรียบถึงสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยและสภาพพื้นที่เนินเขา พื้นที่ส่วนใหญ่ลาดเทจากด้านทิศตะวันตกไปสู่ตะวันออกและสามารถจำแนกประเภทของดินได้ดังนี้ 1. Red-Yellow Podzolic Soils เป็นประเภทของดินที่พบอยู่บริเวณที่ตั้งเมืองศรีสัชนาลัยดินประเภทนี้เกิดทั่วไปจากหินหลายประเภทตลอดจนบนที่ราบขั้นบันไดต่างระดับกัน เป็นดินส่วนใหญ่ที่พบในบริเวณป่าไม้และเชิงเขาโดยทั่วๆ ไป 2. Low Humic Grey Soils เป็นประเภทของดินที่พบอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองศรีสัชนาลัย ลักษณะของดินเป็นดินที่เกิดในที่ต่ำ มีการระบายน้ำเลว ลักษณะที่สำคัญ คือ ระดับน้ำใต้ดินจะตื้นและแช่ขังเป็นครั้งคราว เกิดในที่ราบขั้นบันไดเป็นส่วนใหญ่และใช้ในการเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก 3. Grey Podzolic Soils เป็นประเภทของดินที่พบทางตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองศรีสัชนาลัย เกิดบนที่ราบขั้นบันไดที่มีอายุ สภาพพื้นที่มักเป็นที่ราบลุ่มๆ ดอนๆ และมีภูมิอากาศที่มีระยะเปียกและแห้งสลับกัน เป็นดินที่ถูกชะล้างมาก หน้าดินจะมีสีเทาจัดเมื่อแห้ง”(ธาดา สุทธิเนตรและนารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์ : ๒๕๔๐)   ภาพที่ ๑ ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณเมืองเชลียง   เมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยในศิลาจารึกและเอกสารทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวก่อนสมัยสุโขทัย(หรือก่อนการสถาปนาราชวงศ์สุโขทัยของพ่อขุนบางกลางหาวในปลายพุทธศตวรรษที่๑๘)ของเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยนั้นไม่ชัดเจนนัก มีเพียงเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันว่าชุมชนแห่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานมาแล้วตั้งแต่ในราวพุทธศตวรรษที่๑๖เป็นอย่างน้อย โดยปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ซ่งภาคเหนือ(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๖๖๙)ฉบับหอหลวง เล่มที่๔๘๙ บทที่๒๔๘ ว่า “ประเทศตันเหมยหลิวเบื้องตะวันออกไปยังจ้านล่าระยะทาง ๕๐ เฉิง เบื้องใต้ไปหลิงเย่โดยทางน้ำ ๑๕ เฉิง เบื้องตะวันตกไปสีเทียนระยะทาง ๓๕ เฉิง เบื้องเหนือไปเฉิงเหลียงระยะทาง ๖๐ เฉิง เบื้องตะวันออกเฉียงใต้ไปเฉิงเย่อระยะทาง ๑๕ เฉิง เบื้องตะวันตกเฉียงเหนือไปลั่วหัวระยะทาง ๒๕ เฉิง”(วินัย พงศ์ศรีเพียร : ๒๕๓๑) นอกจากนี้แล้วยังปรากฏในจารึกวัดศรีชุม ซึ่งเป็นจารึกสมัยสุโขทัยที่กล่าวถึงการมีตัวตนของเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยในลักษณะของการบอกเล่าเรื่องราวย้อนหลังในรัชสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถุม ด้านที่๑ บรรทัดที่๑๑-๑๒ ความว่า ”เป็นขุนยี่ขุนนางนักหนาแ.........เป็นขุนในเมืองเชลียง.........เมืองใต้ออกพ่อขุนนำถุม” (กรมศิลปากร :๒๕๔๗) และกล่าวถึงความวุ่นวายทางการเมืองในแคว้นสุโขทัยภายหลังการสวรรคตของพ่อขุนศรีนาวนำถุม อันเป็นเหตุให้พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลาวหาวร่วมมือกันทำสงครามยึดอำนาจทางการเมืองกลับคืนมาจากขอมสบาดโขลญลำพง โดยเริ่มจากการที่พ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยได้ จากนั้นจึงยกทัพลงมารวมพลกับพ่อขุนผาเมืองที่เมืองบางขลัง ก่อนจะบุกเข้าตีเมืองสุโขทัยได้สำเร็จ และพ่อขุนบางกลาวหาวได้สถาปนาราชวงศ์สุโขทัยขึ้นในเวลาต่อมา ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่๒๐-๓๕ ความว่า ” สิริพลพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดพาพ่อขุนผาเมืองผดาจกันแลกัน พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีเสชนาไล......พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดเอาพลมาตบกันที่บางขลง”(กรมศิลปากร :๒๕๔๗)   เมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยในมิติการดำเนินงานทางโบราณคดี กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจ-ขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยและในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๖ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่นและวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญที่พบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงก่อนสมัยสุโขทัยเป็นจำนวนมาก และยังช่วยให้สามารถแบ่งพัฒนาการทางสังคมภายในเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยก่อนสมัยสุโขทัยได้ดังนี้ (ธาดา สุทธิเนตรและสถาพร เที่ยงธรรม : ๒๕๔๐) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่๙ เป็นยุคแรกที่มนุษย์เริ่มเข้ามาอยู่อาศัยบริเวณเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัย หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญได้แก่ เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ(earthenware)เนื้อดินหยาบสีน้ำตาลและสีเทามีเม็ดทรายปนในปริมาณมาก ตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้เนื้อด้านในของภาชนะยังคงเป็นสีดำ สันนิษฐานว่าลักษณะทางสังคมมนุษย์ที่อาศัยบริเวณเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยในขณะนั้นเป็นสังคมแบบเกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกผสมผสานกับการล่าสัตว์หาของป่า มีการใช้ภาชนะที่ทำจากดินเผาแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการนับถือศาสนาและการใช้ภาษา-ตัวอักษร ภาพที่ ๒ เศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่พบจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น   สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์-วัฒนธรรมทวารวดี กำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่๑๑-๑๖ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่บริเวณวัดชมชื่น กล่าวคือปรับเปลี่ยนจากแหล่งที่อยู่อาศัยไปเป็นสุสานหรือหลุมฝังศพ จากการขุดค้นได้พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 18 โครงที่ถูกฝังลงไปในชั้นดินธรรมชาติที่ว่างเปล่าใต้ชั้นวัฒนธรรมที่พวกเขาอยู่อาศัยราว ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร โครงกระดูกเหล่านี้หันศีรษะค่อนไปทางทิศตะวันตก ไม่มีแบบแผนการจัดเรียงศพที่ชัดเจนตายตัว มีทั้งนอนหงายเหยียดยาว,นอนตะแคงและนอนขุดคู้ โดยเกือบทั้งหมดมีการมัดตราสังข์ที่ข้อเท้าและหัวเข่า พบทั้งเพศหญิงและเพศชาย มีอายุขณะเสียชีวิตตั้งแต่ ๕-๓๕ปี ความสูงโดยเฉลี่ยของเพศชาย ๑๖๘.๐๓ เซนติเมตร(สมการไทยจีน) เพศหญิง ๑๖๐.๐๕ เซนติเมตร(สมการไทยจีน) เป็นกลุ่มคนที่มีสุขภาพอนามัยดี เนื่องจากไม่พบร่องรอยของโรคที่มีผลกระทบต่อกระดูกโดยตรงและโรคฟันผุ อีกทั้งยังมีการดูแลสุขภาพในช่องปากด้วยการขัดและฝนฟันทั้งด้านตัดและด้านหน้าที่ติดกับริมฝีปากอีกด้วย(ประพิศ ชูศิริ : ๒๕๔๐) ภาพที่ ๓ โครงกระดูกมนุษย์ที่แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น   หลักฐานทางโบราณคดีที่พบร่วมกับโครงกระดูกเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุอุทิศที่ฝังร่วมกับศพผู้ตายที่แสดงให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมทวารวดีมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ แท่งดินเผาทรงกระบอกตกแต่งผิวด้วยการขูดขีดเป็นลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โบราณวัตถุชนิดนี้พบได้ทั่วไปตามแหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมทวารวดี เช่น เมืองพระรถ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เป็นต้น โดยศ.ดร.ผาสุก อินทราวุธ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเป็นวัตถุที่ใช้ขัดถูผิวกาย เนื่องจากในปัจจุบันยังมีกลุ่มคนในประเทศอินเดียที่ยังใช้แท่งดินเผาในลักษณะนี้ขัดผิวเวลาอาบน้ำ(ธาดา สุทธิเนตรและสถาพร เที่ยงธรรม : ๒๕๔๐) ภาพที่ ๔ แท่งดินเผาจากแหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น   นอกจากนี้แล้วยังพบลูกปัดหินคาร์เนเลียนสีส้มที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่เรียกว่าการหุงลูกปัด ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษของช่างอินเดีย อันแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่เมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยกับอินเดีย โดยอาจเป็นการติดต่อผ่านชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดีที่เป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลในขณะนั้น เช่น เมืองอู่ทองหรือเมืองคูบัวก็เป็นได้ ภาพที่ ๕ ลูกปัดหินคาร์เนเลียนจากแหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น   วัฒนธรรมร่วมแบบเขมร-ต้นสุโขทัย ในพุทธศตวรรษที่๑๘ อาณาจักรเขมรในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่๗ได้แผ่ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมเข้ามายังดินแดนไทยเป็นอย่างมาก ดังที่ได้ปรากฏโบราณสถานและโบราณวัตถุในศิลปะแบบบายนมากมาย ในขณะนั้นชายขอบวัฒนธรรมเขมรด้านทิศใต้ได้แก่วัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันตกได้แก่ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนชายขอบทางวัฒนธรรมด้านทิศเหนือนั้นก็คือเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยนั่นเอง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชุมชนขนาดเล็กที่มีศาสนสถานเป็นศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง โบราณสถานในเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัยที่สร้างขึ้นในยุคนี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายนอย่างเด่นชัด ได้แก่ ยอดซุ้มประตูทางเข้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง ที่ก่อเป็นยอดคล้ายปราสาทเขมร โกลนในเป็นศิลลาแลงประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ส่วนบนสุดทำเป็นรูปใบหน้าบุคคลยิ้มแบบมีเลศนัยทั้งสี่ด้าน สันนิษฐานว่าอาจเป็นใบหน้าของประโพธิสัตว์ ถัดลงมาเป็นรูปเทวดาประทับนั่งและรูปนางอัปสรร่ายรำ ภาพที่ ๖ ซุ้มประตูทางเข้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง   ส่วนโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งคือปราสาทวัดเจ้าจันทร์ ซึ่งเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ ด้านหน้าเป็นห้องที่มีกรอบประตูโค้งสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ แต่ต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนาแบบหินยาน นอกจากนี้ที่โบราณสถานวัดชมชื่นยังพบหลักฐานว่ามีการก่อสร้างเจดีย์ประธานครอบสิ่งก่อสร้างคล้ายปราสาทเขมรเอาไว้ภายใน(กรมศิลปากร : ๒๕๓๖) ภาพที่ ๗ วัดเจ้าจันทร์   จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียงและวัดชมชื่นได้พบซากอาคารก่อด้วยอิฐจำนวน ๓ หลังด้วยกัน โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญที่พบร่วมกับซากอาคารอิฐที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง คือ ชิ้นส่วนกระเบื้องเชิงชายทำด้วยดินเผาสีน้ำตาลเข้มปนดำ ตกแต่งเป็นรูปใบหน้าบุคคลสวมเทริด มีลวดลายค่อนข้างละเอียดและมีจุดวงกลมประดับอยู่ที่หน้าผาก(กรมศิลปากร : ๒๕๓๖) และการขุดแต่งด้านนอกกำแพงวัดยังได้พบเครื่องถ้วยจีนเคลือบขาวสมัยราชวงศ์ซ่งภาคใต้จากแหล่งเตาเต๋อฮั่ว มณฑลฝูเจี้ยน ที่กำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่๑๘ด้วยเช่นกัน ชุมชนดังกล่าวนี้ได้มีพัฒนาการทางสังคมอย่างต่อเนื่องมาจนเป็นเมืองศรีสัชนาลัยในสมัยสุโขทัยเมื่อราวพุทธศตวรรษที่๑๙ และเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองสวรรคโลกในเวลาต่อมา ภาพที่ ๘ ซากอาคารก่ออิฐภายในหลุมขุดค้นทางโบราณคดีวัดชมชื่น   ภาพที่ ๙ กระเบื้องเชิงชายรูปบุคคลพบจากการขุดค้นที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง     ภาพที่ ๑๐ เครื่องถ้วยจีนเคลือบขาวสมัยราชวงศ์ซ่งภาคใต้จากแหล่งเตาเต๋อฮั่ว มณฑลฝูเจี้ยน กำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่๑๘ที่พบจากการขุดแต่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง   บทความโดย บัณฑิต ทองอร่าม นักโบราณคดีชำนาญการ  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย     บรรณานุกรม นอร์ทเทิร์นซัน(๑๙๓๕) ,บริษัทจำกัด.รายงานเบื้องต้น : การขุดค้น-ขุดแต่งทางโบราณคดี โครงการปรับปรุงอาคารหลุมขุดค้นวัดชมชื่น,เอกสารอัดสำเนา,๒๕๔๙.----------.รายงานการขุดค้น-ขุดแต่งทางโบราณคดี :โครงการขุดแต่งและออกแบบภูมิทัศน์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง(ต.๑) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย,เอกสารอัดสำเนา,๒๕๕๑.ปุราณรักษ์ , ห้างหุ้นส่วนจำกัด.รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย,เอกสารอัดสำเนา,๒๕๓๗.สุรเดช วิชิตจารุกุล.พัฒนาการเมืองเชลียง : การศึกษาจากหลักฐานเอกสารประวัติศาสตร์และข้อมูลใหม่ทางโบราณคดี,สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๓๗.ศิลปากร,กรม.เมืองเชลียง เชียงชื่น ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก,สำนักพิมพ์สมาพันธ์,๒๕๓๖.----------.รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีเมืองเชลียง แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น,เอกสารอัดสำเนา,๒๕๓๗.----------. วัดชมชื่น, ส.ไพบูลย์การพิมพ์ , ๒๕๔๐.----------. ประชุมจารึกภาคที่๘ จารึกสุโขทัย, อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ,๒๕๔๗.วินัย พงศ์ศรีเพียร.ศรีสัชนาลัย:ปัญหาในประวัติศาสตร์ไทย,แถลงงานประวัติศาสตร์เอกสารโบราณคดี ฉบับพิเศษ ปีที่๒๒ มกราคม-ธันวาคม,๒๕๓๒.วันวิสาข์ ธรรมานนท์.ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย,วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๓.หฤทัย ดีรุ่งโรจน์.การกำหนดอายุและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถาปัตยกรรมภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย,สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๓๗.เหมลักษณ์ก่อสร้าง , ห้างหุ้นส่วนจำกัด. รายงานเบื้องต้นการขุดค้นทางโบราณคดี โครงการขุดค้นชั้นดินทางโบราณคดี ขุดแต่งกำแพงเมืองด้านตะวันออกริมแม่น้ำยม กำแพงเมืองด้านทิศเหนือและวัดร้างต.๓๒.เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๔๒.




 


กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต


กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต


ประตูนะโม      เป็นประตูหลักของเมืองโบราณสุโขทัยทางด้านใต้ มีลักษณะทั่วไปเช่นเดียวกับประตูเมืองด้านอื่นๆ คือตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางกำแพงด้านใต้ และมีป้อมดินที่สร้างยื่นออกไปจากแนวกำแพงเป็นรูปสี่เหลี่ยม หลักฐานเรื่องกำแพงเมืองสุโขทัยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "…เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง… " และ… "รอบเมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา…"      ลักษณะกำแพงเมืองสุโขทัยเป็นกำแพงสามชั้น สองชั้นนอกเป็นคันดินสลับกับคูน้ำ กำแพงชั้นในมีแกนเป็นคันดินบางส่วนก่อหุ้มด้วยศิลาแลงและอิฐ ประโยชน์ของกำแพงเมืองคือใช้บอกขอบเขตของเมือง ป้องกันข้าศึก และคูน้ำใช้เป็นทางระบายน้ำไม่ให้ท่วมเมือง เนื่องจากพื้นที่ลาดเอียงจึงเป็นทำเลที่ดีและมีการใช้เทคนิควิทยาการที่เหมาะสม คือใช้คันดินบังคับน้ำให้พ้นตัวเมือง     การขุดค้นทางโบราณคดีระหว่าง พุทธศักราช ๒๕๒๔ - ๒๕๒๕ พบว่าการสร้างกำแพงเมืองทั้งสามชั้นนั้น คงสร้างในระยะสมัยที่แตกต่างกัน คือครั้งแรกมีกำแพงเมืองกับคูน้ำชั้นในเพียงชั้นเดียววัดก้อนแลง     ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโดยห่างจากประตูนะโมประมาณ ๖๐ เมตร เป็นวัดเล็กๆ และไม่มีหลักฐานการสร้างวัด ลักษณะโบราณสถานเหลือฐานเจดีย์ประธานซึ่งเป็นฐานสูงแบบฐานเขียงของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม(ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) มีวิหารและเจดีย์รายก่อด้วยอิฐ วัดต้นจันทร์     อยู่ห่างจากวัดก้อนแลงไปทางใต้ประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดนี้แม้ไม่มีประวัติการสร้างวัดแต่ได้ค้นพบพระพิมพ์ดินเผาที่เรียกว่าเสน่ห์จันทน์ ซึ่งเป็นพระพิมพ์(พระเครื่อง) ที่มีชื่อเสียงของสุโขทัย มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐ มีคูหาหรือซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง ๔ ทิศ ส่วนยอดเหลือแต่องค์ระฆังเท่านั้น ด้านตะวันออกของเจดีย์มีวิหารก่ออิฐ มีเสาศิลาแลงรองรับหลังคามุงกระเบื้อง วัดเชตุพน     วัดโบราณแห่งนี้ มีสิ่งสำคัญคือมณฑปจตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ (นั่ง นอน ยืน เดิน) ขนาดใหญ่ องค์พระพุทธรูปปั้นด้วยปูนแกนอิฐโดยรอบ ผนังอิฐซึ่งทำหน้าที่เป็นแกนรองรับหลังคา อันเป็นลักษณะที่พัฒนามาจากสถาปัตยกรรมของพม่าในเมืองพุกาม ทางด้านตะวันตกของมณฑปจตุรมุขนี้มี มณฑปย่อมุมไม้ยี่สิบขนาดเล็ก มีหลังคาก่อซ้อนกันเป็นเสาและใช้หินชนวนขนาดใหญ่ทำเป็นเพดาน ยังปรากฏร่องรอยของพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยแต่ชำรุดมากแล้ว ที่ผนังด้านนอกมีลายเขียนสีดำ แสดงลักษณะแบบที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีน เป็นลายพรรณพฤกษา      วัดเชตุพนยังมีสิ่งที่น่าดูอีกอย่างหนึ่งก็คือ กำแพงแก้วที่ล้อมมณฑปจตุรมุขนี้สร้างจากหินชนวนที่มีขนาดใหญ่และหนา โดยมีการสกัดและบากหินเพื่อทำเป็นกรอบและซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้      ไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยใด ศิลาจารึกวัดสรศักดิ์กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ว่าเมื่อพระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ มีศักดิ์เป็นน้าของพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัยพระองค์หนึ่ง มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสรศักดิ์ได้ร่วมชุมนุมกับพระวัดเชตุพนพิจารณาการสร้างเจดีย์ช้างรอบและศาสนสถานอื่นๆ ที่วัดสรศักดิ์ จากข้อความที่ระบุชื่อวัดเชตุพนในศิลาจารึกหลักนี้ประกอบกับรูปแบบทางศิลปกรรมของที่นี่แสดงให้เห็นว่าวัดเชตุพนคงเป็นวัดที่มีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองในช่วงสุโขทัยตอนปลาย      นอกจากนี้ยังได้พบศิลาจารึกที่วัดเชตุพน กล่าวถึงเจ้าธรรมรังษีซึ่งบวชได้ ๒๒ พรรษา มีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูปขึ้นในพุทธศักราช ๒๐๕๗ วัดเจดีย์สี่ห้อง     ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน นอกจากวิหาร เจดีย์ประธานและเจดีย์รายต่างๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญของวัดคือ ที่ฐานเจดีย์องค์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับอยู่โดยรอบ ปั้นเป็นรูปบุคคล ทั้งบุรุษและสตรี สวมอาภรณ์และเครื่องประดับต่างๆ กัน ในมือถือภาชนะมีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออกมาแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม ภาชนะนี้เรียกว่าปูรณฆฎะ (หม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์) นอกนั้นก็มีปูนปั้นรูปช้างและสิงห์ประดับ รูปบุคคลที่กล่าวนี้อาจหมายถึงมนุษยนาคซึ่งถือว่าเป็นเทพอยู่ในโลกบาดาลตามแบบอย่างคติที่นิยมในลังกา      องค์เจดีย์ประธานที่ได้รับการบูรณะมาแล้วหลายสมัย เป็นทรงระฆัง ส่วนยอดของเจดีย์หักพังลงคงปรากฏส่วนปล้องไฉนตกอยู่ที่ฐานเจดีย์วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม      วัดนี้ชาวบ้านเรียกแต่เดิมว่าวัดตาเถรขึงหนัง ต่อมาได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้ปรากฏชื่อเรียกว่า วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม สร้างขึ้นในพุทธศักราช ๑๙๔๖ โดยพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลงแม่ ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า(ที่ ๒) และเป็นพระราชมารดาของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าที่ ๓ (ไสลือไท) เจ้าเมืองสุโขทัย ได้โปรดให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองกำแพงเพชรมาอำนวยการสร้างวัดแห่งนี้      วัดแห่งนี้ ล้อมรอบด้วยคูน้ำเช่นเดียวกับวัดทั่วไปในสุโขทัย รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัด ได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบทั่วไปของสุโขทัยที่มีฐานเตี้ย แต่เจดีย์วัดศรีพิจิตรฯ ตั้งอยู่บนฐานสูง มีฐานเขียงสี่เหลี่ยมเรียบ ๓ ชั้น ต่อด้วยฐานย่อมุมไม้ยี่สิบ แล้วจึงถึงส่วนเรือนธาตุที่เป็นทรงระฆัง ทางด้านตะวันออกของเจดีย์ได้พบ "อัฒจันทร์" คือลายบนพื้นเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก (ครึ่งวงกลม) มีลวดลายเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากศิลปะลังกา วัดวิหารทอง     อยู่ใกล้กับคลองยาง (ซึ่งไหลมาจากเขาหลวงผ่านถ้ำแม่ย่าลงมาที่ฝายโบราณสรีดภงส์ ๒ ที่บ้านมนต์คีรี) ที่ตั้งวัดห่างจากประตูนะโมไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร มีเจดีย์ทรงดอกบัวตูม (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) เป็นเจดีย์ประธาน แต่ปัจจุบันส่วนเรือนธาตุถึงยอดเจดีย์ได้หักพังลงแล้ว จากตำแหน่งที่ตั้ง สันนิษฐานว่า อาจจะเป็นวัดทักษิณารามตามปรากฏนามในศิลาจารึกวัดอโสการาม ที่กล่าวว่า พระมหาเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระชายาพระมหาธรรมราชาธิราช ที่ ๒ ทรงสร้างถวายแก่พระมหาวันรัตนเถรในปีพุทธศักราช ๑๙๔๒วัดอโสการาม      ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดสลัดได อยู่นอกเมืองโบราณห่างจากประตูนะโมไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นวัดที่พบศิลาจารึกกล่าวว่าสร้างเมื่อ พุทธศักราช ๑๙๔๒ โดยพระมหาเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระมเหสีของพระมหาธรรมราชาธิราช(ที่ ๒) ผู้เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชา (ที่ ๑) ลิไท ในคราวเดียวกับที่ก่อสร้างวัดทักษิณาราม เมื่อสร้างวัดอโสการามเสร็จแล้วได้นิมนต์สรภังคเถรให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัด รูปแบบของเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) เช่นเดียวกัน ปัจจุบันส่วนยอดหักพังลงแล้ว      นอกจากนี้ก็มี วิหาร มณฑป เจดีย์ราย สร้างอยู่ภายในบริเวณคูน้ำล้อมรอบตามที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกด้วย  วัดโพรงเม่น     อยู่ตรงกับมุมกำแพงเมืองด้านตะวันออกเฉียงใต้พอดี และอยู่ทางตะวันออกของวัดวิหารทอง วัดนี้ไม่มีประวัติการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ เจดีย์ทรงระฆังที่มีฐานแปดเหลี่ยม โดยเป็นฐานเขียงเรียบ ๓ ชั้น ต่อด้วยฐานบัวลูกแก้วอกไก่ อยู่ในผังแปดเหลี่ยม ส่วนเหนือองค์ระฆังกลมขึ้นไปชำรุดหมดวัดมุมลังกา      ตั้งอยู่ทางตะวันออกของถนนพระร่วง (ในปัจจุบันถนนพระร่วงช่วงนี้ถูกลาดยางทับบนแนวถนนเดิม) ไม่ปรากฏหลักฐานประวัติการสร้าง เนื่องจากมีฐานเจดีย์ใหญ่ซึ่งเข้าใจว่าอาจเป็นเจดีย์ทรงระฆัง นักวิชาการสันนิษฐานว่าอาจเป็น วัดลังการาม ตามที่ปรากฏชื่อในจารึกวัดอโสการาม ที่กล่าวว่าสร้างขึ้นประมาณ พุทธศักราช ๑๙๔๒      เจดีย์ประธานเหลือแต่ฐาน มีวิหารอยู่ด้านตะวันออกของเจดีย์ และเจดีย์รายรอบบริเวณนั้น ที่น่าสังเกตคือมีอุโบสถตั้งอยู่ในทิศตะวันตกขององค์เจดีย์ อันเป็นการวางผังที่พบในการสร้างวัดของกรุงศรีอยุธยา



                      เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. คณครูและนักเรียนโรงเรียนตาเกาตาโกย อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี เข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี  โดยมีครู ๖ คน นักเรียน ๗๐ คน   


วันพฤหัสบดีที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา (ประธานตรวจการจ้าง) พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้าง ตรวจรับงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ โบราณสถานปรางค์บ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา งวดที่3 (งวดสุดท้าย) ณ โบราณสถานปรางค์บ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา





Messenger